#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 30 มิถุนายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. - 3 ก.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนตกหนักบางพื้นที่ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทำให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 5 ก.ค. 64 ร่องมรสุมจะพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ข้อมูลใหม่ของปลา ที่ขนานนามว่า "ฟอสซิลที่มีชีวิต" ปลาซีลาแคนท์ (Coelacanths) เป็นปลาดึกดำบรรพ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงยุคดีโวเนียน (Devonian) เมื่อประมาณ 400 ล้านปีก่อน คาดว่าจะสูญพันธุ์ไปในช่วงการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 66 ล้านปีที่ผ่านมา เรียกว่าล้มหายตายจากไปกับไดโนเสาร์ แต่กลายเป็นเรื่องมหัศจรรย์เมื่อมีการค้นพบปลาที่ยังมีชีวิตชนิดนี้อย่างไม่คาดคิดบนโลก อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาใต้ในปี พ.ศ.2481 นักวิจัยขนานนามปลาซีลาแคนท์ว่า ?ฟอสซิลที่มีชีวิต? ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดยนักชีววิทยาทางทะเล จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลของฝรั่งเศส รายงานการศึกษาใหม่เกี่ยวกับปลาซีลาแคนท์ที่อาศัยในทะเลลึกขนาดใหญ่และออกหากินเวลากลางคืน โดยใช้วงแหวนการเจริญเติบโตประจำปีที่สะสมอยู่บนเกล็ดปลา แบบเดียวกับการศึกษาวงปีของต้นไม้ เพื่อกำหนดอายุของปลาซีลาแคนท์แต่ละตัว นักวิจัยพบว่าพวกมันมีอายุยืนยาวกว่าที่เคยเชื่อประมาณ 5 เท่าหรือราวๆ 100 ปี โดยปลาเพศเมียจะตั้งครรภ์เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงตั้งครรภ์ที่ยาวที่สุดเท่าที่เคยรู้จักในสัตว์อื่นๆ ส่วนชีวิตตามปกติของปลาซีลาแคนท์นั้น มักอาศัยอยู่ที่ความลึก 800 เมตร ในช่วงเวลากลางวันพวกมันจะอยู่ในถ้ำน้ำใต้ภูเขาไฟเพียงลำพังหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ทั้งนี้ ปลาตัวเมียมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าตัวผู้ โดยยาวประมาณ 2 เมตร และหนัก 110 กิโลกรัม. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2126930 ********************************************************************************************************************************************************* แจ้ง 3 ข้อหา เอาผิดมือยิง "ฉลามหูดำ" ในทะเลกระบี่ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ จับมือ ตำรวจน้ำ ติดตามคืบหน้ากรณีคนใช้ปืนยิงฉลามหูดำ ในเขตทะเลกระบี่ เจอแจ้ง 3 ข้อหา อยู่ระหว่างประกันตัว เหตุเกิดจากการที่มีคนเอาปืนพกไปยิงปลาฉลามในเขตท้องทะเลจังหวัดกระบี่ แล้วนำไปเผยแพร่ในสื่อโซเชียลจึงทำให้เกิดกระแสต่อต้านการกระทำที่ทารุณต่อสัตว์ทะเลโดยเฉพาะฉลามที่นับวันใกล้จะสูญพันธุ์และได้มีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแต่งานนี้ไม่จบง่ายๆ เพื่อป้องกันมีให้มีการเกิดเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในอนาคต วันที่ 29 มิ.ย. นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) พร้อมด้วย นายอภิชัย เอกวนากุล และ ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดี ทช. คณะผู้บริหารในสังกัด ประชุมหารือการบูรณาการการทำงานร่วมกับกองบังคับการตำรวจน้ำ ทั้งนี้ พลตำรวจตรี สมควร พึ่งทรัพย์ ผู้บังคับการตำรวจน้ำ มอบหมายให้ พันตำรวจเอก ชณพล วันขวัญ และพันตำรวจเอก ธรากร เลิศพรเจริญ รองผู้บังคับการตำรวจน้ำ พร้อมคณะ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินคดี กรณีมีผู้ใช้อาวุธปืนยิงฉลามหูดำ ในทะเลเขตน่านน้ำของ จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 พร้อมทั้งหารือแนวทางในการป้องกันการกระทำความผิดกฎหมาย มาตรการในการจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยอนุรักษ์ รักษาทรัพยากรทางทะเลและสัตว์ทะเลหายาก ให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งจากกรณีคดีดังกล่าว ได้ตั้งข้อกล่าวหา ข้อหาใช้เรือโดยไม่ได้รับอนุญาต ได้เปรียบเทียบปรับเรียบร้อยแล้วจำนวน 10,000 บาท, ข้อหา ครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งพนักงานสอบสวนส่งอาวุธปืนของกลางไปให้กองพิสูจน์หลักฐานเพื่อดำเนินการตรวจสอบ และพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต ขณะนี้ผู้ต้องหาอยู่ระหว่างการประกันตัว และเพื่อไม่ให้มีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น ต่อไปจะมีการทำงานร่วมกันโดยมุ่งเน้นไปที่เครือข่ายจิตอาสารักษ์ทะเล ของตำรวจน้ำในพื้นที่ ภาคประชาชน จิตอาสา ที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันดูแลท้องทะเลไทย. https://www.thairath.co.th/news/local/south/2127952
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ชาวบ้านเฮจับกุ้งด้วยมือเปล่าในอ่าวแหลมตะลุมพุก เผยเป็นอาชีพที่สูญหายไปกว่า 10 ปี นครศรีธรรมราช - ชาวบ้านเฮหารายได้สู้โควิด-19 ฟื้นฟูวิถีประมงพื้นบ้านงมกุ้งด้วยมือเปล่าในอ่าวแหลมตะลุมพุก ประมงเมืองคอนเผยเป็นอาชีพที่สูญหายไปกว่า 10 ปี เร่งฟื้นฟูทรัพยากรสร้างแหล่งรายได้ให้ต่อเนื่อง วันนี้ (29 มิ.ย.) มีรายงานว่า ชาวประมงในชุมชนแหลมตะลุมพุก ต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช และในพื้นที่ใกล้เคียงกำลังสร้างรายได้อย่างงามในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยชุมชนและทางการร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวแหลมตะลุมพุก และชาวบ้านเองเป็นแนวร่วมในการปราบปรามเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย จนทำให้อาชีพจับกุ้ง จับปลาดุกทะเลด้วยมือเปล่า กลับมาสร้างรายได้ให้ชาวบ้านอีกครั้ง หลังจากอาชีพนี้สูญหายไปจากพื้นที่ร่วม 10 ปี จากปัญหาเครื่องมือประมงทำลายล้างที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงอย่างมาก เมื่อนั่งเรือออกไปยังบริเวณอ่าวแหลมตะลุมพุก พื้นที่หมู่ 1 ต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงระยะนี้จะได้พบเห็นเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็กจอดอยู่กลางอ่าวจำนวนมาก แต่ไม่มีคนอยู่บนเรือ ส่วนคนนั้นได้ลงไปอยู่ในทะเล ใช้วิธีการนั่งบนแผ่นกระดาน และไถไปตามดินเลน พร้อมทั้งจับกุ้งที่มีอยู่อย่างหนาแน่นด้วยมือเปล่า ซึ่งเป็นกุ้งที่เรียกว่า ?กุ้งไข่หลัง? หรือ ?กุ้งแชบ๊วย? และผลพลอยได้ในระว่างจับกุ้ง คือ การเจอหอยแครง รวมทั้งจับปลาดุกทะเลที่อาศัยอยู่ในรูดินเลน โดยแต่ละคนนั้นสามารถสร้างรายได้หลายร้อยบาทหรือกว่า 1 พันบาทต่อคนต่อวัน ซึ่งเป็นรายได้อย่างงาม นอกจากชาวบ้านที่มาจับกุ้งสร้างรายได้ให้กลุ่มคนที่ต้องกลับคืนถิ่นฐานเดิมจากวิกฤตโรคระบาดแล้ว โอกาสยังเป็นของเด็กๆ ที่รอการเปิดภาคเรียนที่เลื่อนออกไปจากผลพวงของการแพร่ระบาดโรคจำนวนไม่น้อย มาช่วยผู้ปกครองหารายได้ในช่วงนี้ด้วย โดยใช้ชีวิตอยู่ในทะเล และไม่ต้องกังวลเรื่องการติดเชื้อ นายพรศักดิ์ ศักดิ์ธานี ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ประมงจังหวัดได้ร่วมมือกับหลายฝ่าย ที่สำคัญคือชาวบ้านที่ร่วมมือกันสร้างกระโจมบ้านปลา เพื่อเป็นที่พักอาศัยของสัตว์น้ำ และมีวงจรชีวิตที่ดึงดูดสัตว์น้ำหลายสายพันธุ์ตามห่วงโซ่อาหารเข้ามาอาศัย และเป็นการป้องกันเครื่องมือทำลายล้างได้ระดับหนึ่ง ที่สำคัญการคือการมีส่วนของชุมชนที่เฝ้าระวังพื้นที่ วิธีการนี้เพียงแค่ปีเศษเท่านั้น วิถีชีวิตนี้จึงได้กลับคืนมาอีกครั้ง หลังจากที่การทำประมงเช่นนี้ได้ห่างหายไปจากชุมชนมากกว่า 10 ปี และด้วยวิกฤตการณ์โรคระบาดในขณะนี้ ชาวบ้านในชุมชนประมงได้มีอาชีพสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี https://mgronline.com/south/detail/9640000062806
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก บ้านเมือง
เต่าวางไข่ต่อเนื่องรังที่ 11 บนเกาะทะลุ วันที่ 29 มิ.ย. นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (สบอ.3) สาขาเพชรบุรี ได้รับรายงานจาก นายภัทร อินทรไพโรจน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ร่วมกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม ขณะลาดตระเวนการขึ้นวางไข่ของเต่าอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของแม่เต่ากระ แต่ไม่พบตัวแม่เต่ากระ บริเวณอ่าวเทียน พิกัด 47 P 560261 E 1223931 N ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) เจ้าหน้าที่จึงทำการขุดหลุมรังไข่ ขนาดหลุมความกว้าง 25 เซนติเมตร ความลึก 40 เซนติเมตร วัดร่องรอยของพายได้ 50 เซนติเมตร มีจำนวนไข่ทั้งหมด 185 ฟอง จึงทำการย้ายรังไปไว้ในที่ซึ่งปลอดภัยจากสัตว์ที่จะเข้ามากินไข่เต่าและน้ำทะเลที่อาจท่วมถึงในช่วงเวลาน้ำทะเลขึ้นสูง โดยนับเป็นรังที่ 11 ที่เต่าวางไข่บนเกาะทะลุอย่างต่อเนื่องภายในไม่ถึงเดือนที่ผ่านมา พร้อมทั้งสั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับ "เต่ากระ" ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Eretmochelys imbricata (Linnaeus,1766) เป็นสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์สถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญาไซเตส (CITES) ด้วย. https://www.banmuang.co.th/news/region/240026
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
ลมหายใจ...ของชาวประมงพื้นบ้าน ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทอดยาวเป็นระยะทางเกือบ 3,000 กิโลเมตร คือพื้นที่ชุ่มน้ำที่สมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ชุมชนที่ตั้งหลักปักฐานอยู่ริมน้ำมานานนับ 100 ปี ต่างประกอบอาชีพจับสัตว์น้ำ เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือพวกเขาก็จะนำไปขาย ในแต่ละฤดูกาลคนเหล่านี้รู้ดีว่ามีสัตว์น้ำชนิดใดให้พวกเขาเลือกจับ ด้วยเครื่องมือประมงที่สืบทอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ทำให้พวกเขาจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดในจำนวนที่ไม่น้อย และไม่มากจนเกินกำลัง นี่คือการดำรงชีวิตบนพื้นฐานแห่งความยั่งยืนของชาวประมงพื้นบ้านในประเทศไทยเมื่อหลาย 10 ปีก่อน แล้วเมื่อวันนึงการจับสัตว์น้ำกลับกลายเป็นอุตสาหกรรมส่งออก ที่มุ่งเน้นตัวเลขชีวัดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ทรัพยากรที่เคยอุดมสมบูรณ์ก็ค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน ความยากจนค่อยๆ กัดกร่อนความเป็นอยู่และวิถีชีวิต จนครั้งนึงชุมชนของพวกเขาต้องล่มสลาย... https://www.mcot.net/view/NoN73yIN
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|