#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเกิดขึ้น กับมีอากาศเย็น ส่วนบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาว สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆมาก กับมีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 7 ? 8 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศกัมพูชา ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 13 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 พ.ย. 63 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนตัวผ่านบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนไว้ด้วย และประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
เศร้า!พบพะยูนตายลอยกลางทะเลตรัง ตัวที่4ในรอบปี พบซากพะยูนวัยรุ่น เน่าลอยตายกลางทะเลตรังบริเวณเกาะเหลาเหลียง ตัวที่ 4 ในรอบปีพบบาดแผลที่โคนหางก่อนนำซากไปผ่าหาสาเหตุ นักวิชาการเผย ประชากรพะยูนในทะเลอันดามันตอนล่าง 3 จังหวัด เหลือเพียง 170-200 ตัวเท่านั้น ? เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณัฐพงษ์ ลิ้มอุจันโน นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนล่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตตรัง (มทร.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ได้ลงพื้นที่ไปยังริมลำคลองบ้านปากรน บริเวณหลังวัดปากปรน ต.หาดสำราญ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง เพื่อตรวจสอบซากพะยูนเสียชีวิต หลังได้รับแจ้งจากนายอนุวัฒน์ ตีกาสม อายุ 20 ปี อยู่บ้านเลขที่ 9/2 หมู่ 4 ต.ตะเสะ อ.หาดสำราญ ซึ่งเป็นชาวประมงพื้นบ้าน จากการตรวจสอบซากพะยูนตัวดังกล่าว เป็นเพศเมียอายุประมาณ 5-10 ปี คาดว่ายังไม่โตเต็มวัย ความยาวประมาณ 240 เมตร น้ำหนักประมาณ 200-250 กรัม ส่งกลิ่นเหม็นเน่าคละคลุ้งทั่วบริเวณ เสียชีวิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 วัน ตรวจสอบพบบริเวณโคนหางมีบาดแผลจำนวน 2 แผล รอยบาดแผลยาวประมาณ 4 ซม. ลึกประมาณ 1 ซม. ส่วนบริเวณอื่นของซากไม่พบร่องรอยการถูกทำร้ายแต่อย่างใด นายอนุวัฒน์ เล่าว่า เมื่อช่วงเช้าตรู่ของวันนี้เวลาประมาณ 04.00 น. ระหว่างที่ตนเองกำลังวางอวนอยู่กลางทะเลใกล้เกาะเหลาเหลียง ห่างจากชายทะเลหาดสำราญ อ.หาดสำราญ ประมาณ 10 กิโลเมตร บังเอิญได้ส่องไฟฉายไปเห็นสิ่งแปลกปลอมส่งกลิ่นเหม็นอยู่ในทะเล ในขณะนั้นก็ตกใจคิดว่าคงจะเป็นซากศพหรือซากมนุษย์ ประกอบกับความมืดทำให้มองเห็นไม่ชัด ก่อนที่จะแล่นเรือเข้าไปดูแต่ปรากฏว่า เมื่อเข้าไปใกล้กลับกลายเป็นซากพะยูนจึงได้นำขึ้นมาบนเรือ แล้วนำเอากลับเข้าฝั่งและแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบในเวลาต่อมา ด้านนายณัฐพงษ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบเพียงบาดแผลที่โคนหางเท่านั้น ส่วนบริเวณอื่นไม่พบร่องรอยของการถูกทำร้าย และสาเหตุการเสียชีวิตขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ หลังจากนี้จะนำซากไปผ่าชันสูตร ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตตรัง เพื่อหาสาเหตุการตายที่แน่ชัด รวมทั้งผ่าท้องเพื่อตรวจสอบอวัยวะภายใน จากข้อมูลที่ได้รับรายงานพะยูนตัวดังกล่าวได้เสียชีวิตเป็นตัวที่ 4 ในท้องทะเลตรัง ภายในปี 2563 และเป็นตัวที่ 10 ในท้องทะเลอันดามันตอนล่าง ได้แก่ สตูล ตรัง และกระบี่ โดยประชากรพะยูนเหลืออยู่ประมาณ170-200 ตัวในทะเลอันดามันตอนล่าง https://www.dailynews.co.th/regional/805631
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ตะลึง! พบโครงกระดูกวาฬขนาดใหญ่ จ.สมุทรสาคร ด้านเจ้าหน้าที่ ทช.เร่งเก็บข้อมูล เพจ "ThaiWhales" เผยภาพพบโครงกระดูกวาฬขนาดใหญ่ไม่ทราบสายพันธุ์ ในพื้นที่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ด้านเจ้าหน้าที่ ทข.เร่งตรวจสอบและเก็บข้อมูลเบื้องต้น วันนี้ (7 พ.ย.) เพจ "ThaiWhales" โพสต์ภาพโครงกระดูกวาฬขนาดใหญ่ไม่ทราบสายพันธุ์ โดยโครงกระดูกที่พบลึกจากผิวดินกว่า 6 เมตร ในพื้นที่ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร โดยทางเพจระบุว่า "เมื่อบ่ายวันนี้ (6 พ.ย.) เราได้รับแจ้งในเพจว่าพบโครงกระดูกวาฬ ที่ ต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ในใจแว๊บแรกคือ พยายามคิดว่า เราเคยฝังซากวาฬที่มาเกยตื้นตายไว้แถวนั้นบ้างมั้ยนะ แต่บ้านแพ้วมันห่างทะเลนะ คำตอบคือ ไม่เคย ไม่มีแน่นอน เรารีบแจ้งไปที่ทีมสัตว์ทะเลหายาก ศวบต. ที่หลังจากทราบเรื่องเจ้าหน้าที่ก็รีบลงพื้นที่ทันที อยู่บ้านไม่ติดละทีนี้ ตื่นเต้นมากๆ ต้องไปดูเองแล้วแหล่ะ โครงกระดูกวาฬที่พบลึกจากผิวดินกว่า 6 เมตร เป็นวาฬขนาดใหญ่ยังไม่ทราบสายพันธุ์ พบส่วนกระดูกสันหลัง (Vertebrate) 5 ชิ้น ที่มีขนาดใหญ่ ดูจะใหญ่กว่าซากวาฬบรูด้าที่เคยพบมา จากการสังเกต พื้นที่ใกล้กับแม่น้ำท่าจีน ที่พบมีลักษณะเป็นกระซ้า มีซากเปลือกหอยเล็กๆ ทับถม ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่นี้เคยเป็นทะเลมาก่อน นักวิจัย ทช. กำลังหาวิธีในการเก็บกู้โครงกระดูกที่เหมาะสมที่สุด รวมทั้งหาอายุของพื้นที่และตรวจหาค่าอายุกระดูกด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ต่อไป โครงกระดูกวาฬที่เก่าแก่ที่สุดในไทยที่เคยพบ คือ โครงกระดูกวาฬฟิน (Fin whale) ที่หมู่บ้านวิจิตราธานี ถนนบางนา-ตราด ที่ค้นพบเมื่อสร้างหมู่บ้าน โครงกระดูกนั้นบางชิ้นเป็น Fossil (กลายเป็นหิน) แล้ว แอบคิดว่าซากโครงกระดูกวาฬตัวนี้ก็น่าจะเก่ามาก ซึ่งน่าจะเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งเรื่องวาฬ และ เรื่องโบราณคดีและธรณีวิทยา ที่ควรศึกษาค้นคว้าและทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของวาฬไทยมากขึ้น" https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000115366 ********************************************************************************************************************************************************* ลุยต่อทันที! กรมเจ้าท่าทุ่มเกือบ 600 ล้าน เสริมทรายอ่าวนาจอมเทียน คาดแล้วเสร็จปี 65 ศูนย์ข่าวศรีราชา - กรมเจ้าท่า เดินหน้าเสริมทรายชายหาดอ่าวนาจอมเทียน ชลบุรี เฟสแรก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร งบเกือบ 600 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จปี 65 เชื่อทันรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกคลี่คลาย จากกรณีที่กรมเจ้าท่า ได้ตรวจพบว่ามีการกัดเซาะอย่างรุนแรงในพื้นที่ชายหาดบริเวณชายฝั่งทะเลในเขตพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขใดๆ เชื่อว่าภายในระยะเวลา 5 ปี การกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งจะขยายวงกว้างไปถึงพื้นที่ถนนเลียบชายหาด ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อภาพรวม และบรรยากาศทางการท่องเที่ยวของเมืองพัทยา อย่างแน่นอน และที่ผ่านมา ยังได้อนุมัติงบประมาณจำนวนมากในการดำเนินโครงการเสริมทรายชายหาดอ่าวพัทยา ในระยะทาง 2.8 กิโลเมตร จนแล้วเสร็จ และสามารถเพิ่มพื้นที่ชายหาดให้มีความกว้างขึ้นอีก 30 เมตร สร้างความสวยงามให้แก่ชายหาดพัทยา แหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้เป็นอย่างดีนั้น วันนี้ (7 พ.ย.) นายเอกราช คันธโร ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาพัทยา ได้เปิดเผยถึงการจัดทำโครงการต่อเนื่องจากการเสริมทรายชายหาดอ่าวพัทยา ว่า กรมเจ้าท่ามีแผนที่จะจัดทำโครงการเสริมทรายจากอ่าวพัทยา จนไปถึงอ่าวนาจอมเทียน เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งให้กลับคืนสู่สภาพเดิมให้มากที่สุด โดยได้รับงบประมาณในการจ้างเหมาก่อสร้างเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดนาจอมเทียน จำนวน 586 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการในเฟสแรก ในระยะทาง 3.5 กิโลเมตร และหากดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้อ่าวจอมเทียน มีพื้นที่ชายหาดกว้างถึง 50 เมตร ซึ่งขณะนี้ได้ว่าจ้างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้จัดทำโครงการฯ โดยจะเริ่มว่าจ้างสัญญาตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค.2563 ไปจนถึง 15 พ.ย.65 รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 900 วัน "ขณะนี้ผู้รับจ้างได้เข้าพื้นที่ตามแผนงานที่กำหนด ทั้งการสำรวจแหล่งทรายที่จะนำมาเสริม โดยได้มีการสำรวจแหล่งทรายบริเวณทะเลห่างจากฝั่งพัทยา ประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งทรายเดียวกันกับโครงการเสริมทรายอ่าวพัทยา ขณะที่ปริมาณทรายที่จะใช้ในการเสริมทรายอ่าวนาจอมเทียนอยู่ที่ประมาณ 600,000 คิว และได้มีการนำผลที่ได้จากสำรวจไปเข้าห้องแล็บ เพื่อตรวจสอบคุณภาพทรายให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามสัญญาแล้ว" ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพัทยา ยังเผยอีกว่า จากนี้ผู้รับจ้างจะได้นำเรือดูดทรายเข้ามาในพื้นที่ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานไปยังเรือจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาดำเนินการ อย่างไรก็ดี กรมเจ้าท่าจะเร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการเสริมทรายให้แล้วเสร็จตามที่สัญญากำหนดไว้เพื่อคืนสภาพพื้นที่ชายหาดให้สอดคล้องระยะเวลาที่รัฐบาลได้ประกาศปลอดล็อกพื้นที่จากการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังสถานการณ์ได้คลี่คลายลงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวได้ทันเวลา "ที่ผ่านมา อธิบดีกรมเจ้าท่าได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการอย่างต่อเนื่อง พร้อมสั่งการให้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้ผู้รับจ้างสามารถทำงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้" ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพัทยา กล่าว https://mgronline.com/local/detail/9630000115262
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก
ชาวประมงไต้หวันจับปลาพญานาคยาวเกือบ 5 เมตร วันเดียวกับที่เกิดแผ่นดินไหว 2 ระลอก ร้านอาหารไต้หวันเผยภาพออร์ฟิช หรือปลาพญานาค ยาวเกือบ 5 เมตร ชาวประมงจับได้ วันเดียวกับที่เกิดแผ่นดินไหวสองระลอกทางตะวันออก ไต้หวัน นิวส์รายงานว่า ชาวประมงไต้หวันจับออร์ฟิช หรือบ้านเราเรียก ปลาพญานาค นอกชายฝั่งตงอ่าว เมืองอี้หลัน ตะวันออกของไต้หวันเมื่อวาน ( 6 พ.ย.) วัดความยาวได้ถึง 490 ซม. หรือเกือบ 5 เมตร น้ำหนัก 45 กก. Chen Kuo-pin เจ้าของภัตตาคารอาหารทะเล Fumei Huo ซื้อปลาตัวนี้ไว้ในราคา 16,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 1.6 หมื่นบาท) ชาวประมงอ้างว่ามันยังมีชีวิตอยู่เมื่อมาถึงท่าเรือ แต่เพราะเป็นปลาน้ำลึก มันจึงมีชีวิตรอดอยู่ได้ไม่นานในถังน้ำ เฉินเชื่อว่า นี่เป็นออร์ฟิชใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจับได้ในเมืองอี้หลาน ชาวประมงในพื้นที่หลายคนก็บอกเป็นเสียงเดียวกัน ไต้หวันเรียกออร์ฟิช ว่าปลาแผ่นดินไหว ตามตำนานที่เล่าต่อๆกันมาเช่นเดียวกับหลายประเทศในเอเชียว่าเมื่อเห็นปลาชนิดนี้ขึ้นมาจากใต้ทะเลลึกเมื่อไหร่ จะเป็นลางบอกเหตแผ่นดินไหวใหญ่ เฉิน ซึ่งเปิดภัตตาคารอาหารทะเลมานาน 55 ปีกล่าวว่า เนื้อปลาชนิดนี้ สามารถนำไปขายในราคากก.ละ 400 ดอลลาร์ไต้หวัน ( ราว 400 บาท) เนื้อปลานุ่มกว่าเต้าหู้ เหมาะสำหรับนำไปนึ่ง สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันแจ้งว่า เมื่อเวลา 2.36 น. วันที่ 6 พ.ย. เกิดแผ่นดินไหว 5.4 ห่างราว 30.3 กม. จากทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองไถ้ถง ศูนย์กลางลึก 25.3 กม. จากนั้น เกิดแผ่นดินไหว 5.4 อีกระลอก เวลา 9.40 น. ห่างจากเมืองไถ้ถง ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 107.8 กม. ออร์ฟิชโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เพราะแผ่นดินไหวหรือไม่ เจ้าของร้านอาหาร กล่าวว่า นั่นจะต้องฟังจากผู้เชี่ยวชาญ แต่ในเมืองอี้หลาน จับปลาชนิดนี้ได้ทุกปี แต่ปกติ เป็นออร์ฟิชขนาดความยาวเพียง 100-200 ซม. ตัวใหญ่และยาวเกือบ 5 เมตร แทบไม่เคยมี https://www.komchadluek.net/news/foreign/448395
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ตะลึง! พบกระดูกวาฬโบราณที่บ้านแพ้ว คาดจุดพบเป็นทะเลมาก่อน พบกระดูกวาฬโบราณที่บ้านแพ้ว สมุทรสาคร เบื้องต้นคาดเป็นเป็นซากโบราณ และบริเวณดังกล่าวน่าจะเคยเป็นทะเลมาก่อน ขณะที่ปัจจุบันห่างจากชายฝั่งอ่าวไทยถึง 15 ก.ม. วันนี้ (7 พ.ย.2563) เพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/thaiwhales รายงานว่า เมื่อบ่ายวันนี้ 6 พ.ย. เราได้รับแจ้งในเพจว่าพบโครงกระดูกวาฬ ที่ ต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร "ในใจแว๊บแรกคือ พยายามคิดว่า เราเคยฝังซากวาฬที่มาเกยตื้นตายไว้แถวนั้นบ้างมั๊ยนะ แต่บ้านแพ้วมันห่างทะเลนะ คำตอบคือ ไม่เคย ไม่มีแน่นอน" เรารีบแจ้งไปที่ทีมสัตว์ทะเลหายาก ศวบต. (ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก) ที่หลังจากทราบเรื่องเจ้าหน้าที่ก็รีบลงพื้นที่ทันที โครงกระดูกวาฬที่พบลึกจากผิวดินกว่า 6 เมตร เป็นวาฬขนาดใหญ่ยังไม่ทราบสายพันธุ์ พบส่วนกระดูกสันหลัง (Vertebrate) 5 ชิ้น ที่มีขนาดใหญ่ ดูจะใหญ่กว่าซากวาฬบรูด้าที่เคยพบมา "จากการสังเกต พื้นที่ใกล้กับแม่น้ำท่าจีน ที่พบมีลักษณะเป็นกระซ้า มีซากเปลือกหอยเล็กๆ ทับถม ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่า พื้นที่นี้เคยเป็นทะเลมาก่อน" นักวิจัย ทช. กำลังหาวิธีในการเก็บกู้โครงกระดูกที่เหมาะสมที่สุด รวมทั้งหาอายุของพื้นที่และตรวจหาค่าอายุกระดูกด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ต่อไป โครงกระดูกวาฬที่เก่าแก่ที่สุดในไทยที่เคยพบคือโครงกระดูกวาฬฟิน (Fin whale) ที่หมู่บ้านวิจิตราธานี ถนนบางนา-ตราด ที่ค้นพบเมื่อสร้างหมู่บ้าน โครงกระดูกนั้นบางชิ้นเป็น Fossil (กลายเป็นหิน) แล้ว แอบคิดว่าซากโครงกระดูกวาฬตัวนี้ก็น่าจะเก่ามาก ซึ่งน่าจะเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งเรื่องวาฬ และ เรื่องโบราณคดีและธรณีวิทยา ที่ควรศึกษาค้นคว้าและทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของวาฬไทยมากขึ้น ขณะที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รายงานว่า สำนักงาน ทช.ที่ 8 (สมุทรสาคร) และศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก รับแจ้งจากกลุ่มวาฬไทย เรื่องการพบซากกระดูกวาฬ ไม่ทราบชนิด ในพื้นที่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร จึงร่วมกันตรวจสอบในพื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นบ่อของบริษัท ไบรท์ บลู เวอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร จากสภาพที่พบคาดว่า เป็นกระดูกวาฬ ยังไม่ทราบชนิด ซึ่งเป็นสัตว์อยู่ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 จึงได้นำหลักฐานไปลงบันทึกประจำวัน ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เก็บกู้ซากและเก็บตัวอย่างเพื่อยืนยันชนิด และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้นเจ้าหน้าที่คาดว่าเป็นกระดูกวาฬโบราณ และบริเวณดังกล่าวน่าจะเคยเป็นทะเลมาก่อน เนื่องจากปัจจุบัน จุดที่พบกระดูกวาฬอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลอ่าวไทยถึง 15 กิโลเมตร https://news.thaipbs.or.th/content/298138
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
ความท้าทายและวิกฤตมลพิษพลาสติกของประเทศไทย .................. โดย ธารา บัวคำศรี ดังที่รับรู้กันว่า รัฐบาลโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินมาตรการตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 ? 2573 โดยยกเลิกพลาสติกใช้แล้วทิ้งซึ่งรวมถึงถุงพลาสติกหูหิ้วนับตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา และมุ่งลดขยะพลาสติกลงร้อยละ 30 ภายในสิ้นปี 2563 นี้ แต่การแพร่ระบาดของ Covid-19 และผลจากมาตรการล็อกดาวน์ได้ผลิกผันสถานการณ์ขยะพลาสติกในประเทศไทยโดยสิ้นเชิง สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ระบุว่าปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นจาก 2,120 ตันต่อวันในปี 2562 เป็น 3,440 ตันต่อวัน ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2563 เฉพาะเดือนเมษายนอย่างเดียว การเพิ่มขึ้นของขยะพลาสติกคิดเป็นเกือบร้อยละ 62 ขยะพลาสติกจำนวนมากลอยอยู่ในคลองหัวลำโพงบริเวณหลังชุมชนคลองเตย ? Chanklang Kanthong / Greenpeace ในสถานการณ์เช่นนี้ แม้จะกล่าวกันว่า พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย แต่เราต้องไม่ลืมว่า ขยะพลาสติกคือปัญหามลพิษ(plastic pollution) ไม่ใช่ปัญหาขยะ และเราต้องเน้นการแก้ปัญหาตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์พลาสติกตั้งแต่การผลิตไปจนถึงเมื่อพลาสติกหมดอายุการใช้งาน บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่า มีความท้าทายประการใดและสิ่งที่จะต้องทำคืออะไร หากสังคมไทยต้องการจะปลดแอกจากวิกฤตมลพิษพลาสติก (Break Free From Plastic Pollution) ความท้าทาย : รัฐบาลขาดความมุ่งมั่นและเจตจำนงทางการเมือง จริงอยู่ที่รัฐบาลกำลังดำเนินมาตรการภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ตลอดจนนโยบาย แผนแม่บท และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำเนินงานภายใต้กรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล ในขณะที่อีกหลายภาคเอกชนริเริ่มแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างไรก็ตาม นโยบายทั้งหลายเหล่านี้อยู่บนฐานความสมัครใจ(voluntary) อาศัยความร่วมมือร่วมใจและจิตสำนึก โดยไม่มีผลบังคับในทางกฏหมาย(legally-binding) ตลอดจนแรงจูงใจเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณะชนอย่างแท้จริง ดังที่กรีนพีซมีข้อเสนอต่อ Roadmap การจัดการพลาสติก ที่นี่ ดังนั้น เจตจำนงทางการเมืองอันแรงกล้าของรัฐบาลเพื่อออกแบบระบบกฏหมายสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ต่อยอดจากฐานทางกฏหมายที่เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงเป็นก้าวแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของทางออกจากวิกฤตมลพิษพลาสติก ความท้าทาย : นโยบายที่มีอยู่ตามไม่ทันกับวิกฤตมลพิษพลาสติก สารจากรายงาน "Breaking the Plastic Wave" ของ The PEW Charitable Trust ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองระดับโลกเป็นครั้งแรก ระบุชัดเจนว่า ไม่มีทางออกจากวิกฤตมลพิษพลาสติกหากไม่ให้ความสำคัญต่อการลงมือปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดใช้พลาสติกและการผลิตพลาสติก ประเด็นสำคัญจากรายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า คำมั่นสัญญาของภาคอุตสาหกรรมและนโยบายรัฐบาลที่มีอยู่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเพื่อจัดการกับมลพิษพลาสติกนั้นไม่เพียงพอ รายงาน Breaking the Plastic Wave ย้ำว่า แผนการขยายอุตสาหกรรมพลาสติกจะยิ่งทำให้เกิดมลพิษพลาสติก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความเสียหายที่ไม่อาจฟื้นคืนได้ต่อระบบนิเวศทะเลและมหาสมุทรมากขึ้น หลายคนอาจเห็นข่าวล่าสุดที่ระบุว่า สหรัฐอเมริกาสร้างขยะพลาสติก 42 ล้านตัน ซึ่งมากที่สุดในโลก ในขณะที่ไทยขึ้นแท่นประเทศที่สร้างขยะพลาสติกต่อประชากร(กิโลกรัมต่อปี)สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก และมีขยะพลาสติกในขยะทั่วไปในสัดส่วนมากเป็นอันดับ 3 ของโลกตัวเลขดังกล่าวข้างต้นมาจากงานวิจัยเรื่อง ?The United States? contribution of plastic waste to land and ocean? ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยทำการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลของธนาคารโลกที่เก็บรวบรวมจาก 217 ประเทศ พบว่าในปี พ.ศ. 2559 ปริมาณขยะพลาสติกในสหรัฐอเมริกาที่หลุดออกสู่สิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลในปี พ.ศ.2559 มีมากกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2553 ถือว่าเป็นประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกออกสู่ทะเลมากที่สุดในโลก ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนลงมาเป็นอันดับ 2 จากที่เคยเป็นอันดับ 1 มาก่อน ตารางแสดงรายชื่อประเทศที่มีการผลิตขยะพลาสติกสูงที่สุด 5 อันดับของโลกในปี พ.ศ.2559 (คำนวณจากฐานข้อมูลใน What a Waste 2.0 ? A Global Snapshot of Solid Waste Management to 2050 ของ World Bank Group) ที่มา : The United States? contribution of plastic waste to land and ocean กรีนพีซมีข้อสังเกตต่อข้อมูลที่นำมาอ้างอิงในงานวิจัยในวารสาร Science Advances โดยเฉพาะกรณีที่ระบุว่าปริมาณขยะพลาสติกของไทยอยู่ที่ 4,796,494 ตัน/ปี (หรือราว 69.54 กิโลกรัม/ปี/คน) เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษที่ระบุว่าการเกิดขยะพลาสติกอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี (หรือราว 29 กิโลกรัม/ปี/คน) ดังนั้น ไทยจะไม่อยู่ในอันดับ 5 ของโลกที่สร้างขยะพลาสติกต่อหัวประชากรมากที่สุด แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร นี่ควรเป็นเสียงปลุกให้ภาคการเมืองและรัฐสภาไทยตื่นขึ้น หากต้องการริเริ่มป้องกันมลพิษพลาสติกที่ปลดปล่อยสู่ระบบนิเวศทะเล/มหาสมุทรและสิ่งแวดล้อมของเรา แนวนโยบายที่จำเป็นคือการยุติการขยายการผลิตพลาสติก สิ่งที่จะต้องทำ : ออกกฏหมายเพื่อจัดการและป้องกันมลพิษพลาสติกบนหลักการ "การผลิตที่สะอาด(clean production) และ การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต(Extended Producer Responsibility)" บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขายได้เร็ว (Fast-Moving Consumer Goods) ต้องคำนึงถึงวงจรชีวิตของพลาสติกที่ผลิตออกมาไม่ใช่แค่จบที่แค่ชั้นวางขายของ ? Wason Wanichakorn / Greenpeace บนฐานความคิดที่ว่า เราสามารถประสบความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันมลพิษควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน กรีนพีซจึงเสนอให้มีการจัดทำ "กฏหมายจัดการและป้องกันมลพิษพลาสติก(Break Free From Plastic Pollution Act)" ขึ้น กรอบกฏหมายนี้จะวางอยู่บนแนวคิด ?การผลิตที่สะอาด? ซึ่งประกอบด้วย (1) หลักการระวังไว้ก่อน (The Precautionary Principle) นิยามว่า "ในการทำกิจกรรมใดๆ (ในที่นี้คือกระบวนการผลิตพลาสติก) ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น ควรนำมาตรการระวังไว้ก่อนมาใช้ แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลกระทบอาจยังพิสูจน์ไม่ได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์" ภายใต้หลักการนี้ความรับผิดชอบจึงตกอยู่กับผู้ประกอบการที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าวิธีประกอบการของตนปลอดภัยที่สุด แทนที่ผู้ได้รับผลกระทบหรืออาจได้รับผลกระทบจะต้องเป็นผู้พิสูจน์ว่าการประกอบกิจกรรมนั้นๆ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ตน (2) หลักการป้องกัน (The Preventive Principle) การป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีที่ถูกกว่าและมีประสิทธิภาพกว่าความพยายามจัดการหรือ "ฟื้นฟู" ความเสียหายนั้น การป้องกันทำได้โดยการตรวจสอบทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบไปจนถึงการกำจัดเมื่อเลิกใช้ หลักการป้องกันกระตุ้นให้เกิดการหาทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดขึ้น (3) หลักการประชาธิปไตย (The Democratic Principle) การผลิตที่สะอาดเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมซึ่งได้แก่ คนงาน ผู้บริโภค และชุมชน การเข้าถึงข้อมูลและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การผลิตที่สะอาดจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อคนงานและผู้บริโภคมีส่วนร่วมตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตอย่างแท้จริง (4) หลักการแบบองค์รวม (The Holistic Principle) รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุ พลังงาน และผู้คนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าทุกชิ้นที่เราซื้อ การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้จะเอื้อให้เกิดการสร้างแนวร่วมเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนขึ้นได้ เราจะไม่สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาจากการแก้ปัญหาเดิม หรือนำความเสี่ยงจากคนกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง เมื่อพิจารณาถึงพลาสติก เราต้องพิจารณาถึงต้นทุนผลกระทบภายนอกที่สังคมโลกต้องแบกรับซึ่งมีการประเมินว่าอยู่ที่ประมาณ 1,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน (350 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) จากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นทุนด้านสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรวมรวมและมลพิษพลาสติกในทะเล หัวใจสำคัญของกรอบกฏหมายเพื่อจัดการและป้องกันมลพิษพลาสติกคือ การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ในปี 2552 กรีนพีซเสนอผลการวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตมาประยุกต์ใช้ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ซึ่งต่อยอดไปสู่การยกร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น พ.ศ.?. และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2558 โดยกรมควบคุมมลพิษ "การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต" จะต้องเป็นหลักการสำคัญที่มีผลบังคับใช้ทางกฏหมายในการจัดการและป้องกันมลพิษพลาสติกของประเทศไทย ซึ่งเราจะนำมาเสนอในรายละเอียดในโอกาสต่อไป กิจกรรมตรวจสอบขยะจากแบรนด์ที่กรีนพีซจัดขึ้นเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องให้ประเทศไทยใช้หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต หรือ Extended Producer Responsibility (EPR) โดยให้ผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของตน https://www.greenpeace.org/thailand/...n-in-thailand/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|