#1
|
|||
|
|||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563
กรมอุตุนิยมวิทยา
ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับภาคใต้มีฝนน้อยในระยะนี้ พยากรณ์อากาศสำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. รายละเอียดเพิ่มเติม ออกประกาศ 05 มีนาคม 2563 05:00 น. คาดหมาย ในวันที่ 5 มี.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 6 - 11 มี.ค. 63 มีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ข้อควรระวัง ในวันที่ 5 มี.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย |
#2
|
|||
|
|||
ข่าวสด
พายุพัดถล่ม ขอนแก่น ลูกเห็บตกกระจาย หนุ่มใหญ่ถูกฟ้าผ่าตายคารถ ขอนแก่น - เมื่อวันที่ 4 มี.ค. คลิปจากพนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น สามารถบันทึกวินาทีที่พายุฤดูร้อนพัดผ่านบริเวณโรงงาน โดยลมมีความรุนแรง ได้พัดสิ่งของต่างๆปลิวไปตามแรงลม โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ที่ผ่านมา นอกจากลมพายุที่พัดแรงแล้ว ยังมีลูกเห็บก่อนเท่าผลลูกมะยมจนถึงผลมะนาว ตกลงมาตามถนนและบ้านคนในพื้นที่ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น เบื้องต้นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบ้านหว้า ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น ตำบลบ้านฝาง ตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 2 อำเภอ กำลังสำรวจความเสียหายจากพายุฤดูร้อนที่พัดผ่าน ทั้งนี้ยังมีผู้เสียชีวิตจากการถูกฟ้าผ่า 1 ราย ที่บริเวณถนนสายบ้านฝาง-บ้านม่วงโป้ คือ นายคำมูล สมวงษา อายุ 76 ปี โดยจะมีการสรุปความเสียหายของพายุฤดูร้อนอีกครั้ง ก่อนส่งรายงานไปให้กับทางจังหวัดขอนแก่น เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือต่อไป |
#3
|
|||
|
|||
กาแล็กซีทางช้างเผือกบิดเบี้ยว - โคลงเคลง เพราะชนกับดาราจักรบริวาร
แม้นักดาราศาสตร์จะทราบมาระยะหนึ่งแล้วว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกมีรูปทรงเป็นจานแบนที่บิดเบี้ยวโค้งงอตรงริมขอบ ทั้งยังโคลงเคลงสั่นไหวไปมาคล้ายระลอกคลื่นอีกด้วย แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่า เหตุใดกาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่จึงเป็นเช่นนั้น ล่าสุดนักวิจัยของสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งชาติอิตาลี (INAF) ได้เผยผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวลงในวารสาร Nature Astronomy โดยระบุว่าพบหลักฐานใหม่ ซึ่งชี้ว่ารูปทรงและการเคลื่อนไหวแปลกประหลาดของกาแล็กซีทางช้างเผือก เกิดจากการชนเข้ากับดาราจักรแคระที่เป็นบริวาร โดยสันนิษฐานว่าการชนและรวมตัวของดาราจักรทั้งสองกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ หรืออาจจะเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง ทีมผู้วิจัยใช้ข้อมูลการโคจรของดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ 12 ล้านดวงในกาแล็กซีทางช้างเผือก ที่รวบรวมได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศกายอา (Gaia) มาสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คำนวณความเร็วในการเคลื่อนที่ของกาแล็กซีส่วนที่บิดเบี้ยวและสั่นไหวไปมาได้ ดวงดาวในกาแล็กซีทางช้างเผือกเคลื่อนที่เหมือนระลอกคลื่น กาแล็กซีทางช้างเผือก "ตาย" ไปแล้วครั้งหนึ่งก่อนฟื้นคืนชีพใหม่ กาแล็กซีทางช้างเผือกเขมือบดาราจักรอื่นไปแล้ว 15 แห่ง ผลวิเคราะห์พบว่า การเคลื่อนที่ของส่วนที่บิดเบี้ยวและไหวตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและดาวฤกษ์ จะใช้เวลาราว 600 -700 ล้านปีในการวนรอบศูนย์กลางกาแล็กซีครบ 1 รอบ ซึ่งถือว่านานกว่าระยะเวลาที่ดวงดาวอื่น ๆ ใช้โคจรวนรอบกาแล็กซีทางช้างเผือกมาก เช่นดวงอาทิตย์ของเราใช้เวลาในการวนรอบศูนย์กลางกาแล็กซีทั้งสิ้น 220 ล้านปี ดร. เอลุยซา ป็อกจิโอ หนึ่งในทีมผู้วิจัยอธิบายว่า "แม้ส่วนที่บิดเบี้ยวและสั่นไหวจะเคลื่อนที่ช้ามาก แต่ก็ยังเร็วกว่าอัตราที่ควรจะเป็น หากความผิดปกตินี้เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่เคยมีผู้สันนิษฐานไว้" ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์บางกลุ่มสันนิษฐานว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกอาจบิดเบี้ยวและสั่นไหวเพราะอิทธิพลของสสารมืด แรงเหวี่ยงจากศูนย์กลางดาราจักร หรือสนามแม่เหล็กระหว่างดาราจักร แต่ดูเหมือนว่าข้อมูลที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับแนวคิดที่เคยมีมา NASA / JPL-CALTECH / R. HURT /SSC กาแล็กซีทางช้างเผือกกำลังดูดกลืนดาราจักรแคระอยู่ ทำให้เกิด "ธารดาวฤกษ์" คล้ายวงแหวนล้อมอยู่ถึง 3 สาย ดร. ป็อกจิโอชี้ว่า บางสิ่งที่ทรงพลังยิ่งกว่านั้นทำให้กาแล็กซีทางช้างเผือกเกิดการบิดตัวและสั่นไหว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าอาจเป็นผลจากการชนเข้ากับดาราจักรบริวารที่โคจรอยู่ใกล้ ๆ เช่นดาราจักรทรงกลมแคระซาจิตทาเรียส (Sagittarius Dwarf Spheroidal Galaxy) ในอดีตมีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกชนและรวมตัวเข้ากับดาราจักรบริวารหลายครั้ง โดยกระบวนการนี้ใช้เวลาหลายล้านปี และทำให้กาแล็กซีทาช้างเผือกกลืนเอามวลสารของดาราจักรขนาดเล็กกว่าเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของตนในที่สุด |
#4
|
|||
|
|||
พร้อมผลัก ?กิ่วแม่ปาน? สู่ห้องเรียนธรรมชาติ สร้างจิตสำนึกแก่นักท่องเที่ยว
อุณหภูมิเปลี่ยน -โลกเปลี่ยน!! ตลอดระยะเวลา 22 ปีที่เปิดให้ได้เยี่ยมชม สภาพแวดล้อมของระบบนิเวศแห่งนี้ มีการเปลี่ยนแปลง สร้างทางเดินยกระดับ-ปรับปรุงป้ายให้ความรู้ เพื่อเปิดเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ?กิ่วแม่ปาน? ห้องเรียนธรรมชาติ ให้คงอยู่สืบไป ?ป่าต้นน้ำที่นี่ให้น้ำไปหล่อเลี้ยงถึง 4 อำเภอด้วยกัน คือ อ.จอมทอง อ.แม่แจ่ม อ.แม่วาง และบางส่วนของ อ.ดอยหล่อ ถือว่าเป็นหุบเขาหรือขุนเขาที่ให้น้ำจากธรรมชาติเยอะมาก แล้วเมื่อไหลไปหล่อเลี้ยง 4 อำเภอ ก็ไหลไปรวมตัวเป็น แม่น้ำปิง สู่เขื่อนภูมิพล และเจ้าพระยา https://mpics.mgronline.com/pics/Ima...002282811.JPEG นี่คือป่าต้นน้ำที่สูงที่สุดในประเทศไทย ที่กำหนดสายน้ำไปหล่อเลี้ยง ทั้งมนุษย์และสรรพสิ่งนานาชีวิต ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนเดินทางมาตรงนี้ ณ ที่นี่ คือจุดเริ่มต้นของสายน้ำจริงๆ หรือว่าต้นน้ำเจ้าพระยา? เกษม เลายะ หัวหน้ามัคคุเทศก์ท้องถิ่น บอกเล่าถึงความสำคัญระหว่างนำพาสำรวจ เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานแห่งนี้ ซึ่งใครจะรู้ล่ะว่า "กิ่วแม่ปาน? ที่เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติสั้นๆ ในระยะประมาณ 2.8 กม.ถือเป็น ไฮไลต์สำคัญของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ที่นักท่องเที่ยวต่างเข้ามาเยี่ยมชมตลอดหน้าหนาว พื้นที่แห่งนี้ เป็น 1 ใน 3 ของป่าเมฆที่มีอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งเป็นหนึ่งในป่าต้นน้ำที่ให้กำเนิดแม่น้ำปิง แม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ พร้อมทั้งเล็งเห็นปัญหาเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่เกิดขึ้นว่าควรมีการจัดการที่ดีขึ้น โดยครั้งนี้ ได้มีการปรับปรุงเส้นทางใหม่ หลังเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามานานกว่า 22 ปี ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และมูลนิธิไทยรักษ์ป่าจาก เอ็กโก กรุ๊ป เพื่อสร้างจิตสำนึกรักษาป่าต้นน้ำ ให้ยั่งยืน และรักษาระบบนิเวศป่าเมฆในกลุ่มนักท่องเที่ยว "ธงชัย โชติขจรเกียรติ" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหารองค์กร เอ็กโก กรุ๊ป และกรรมการมูลนิธิไทยรักษ์ป่า บอกเล่าผ่านมุมมองผู้ดำเนินโครงการว่าดารพัฒนาเส้นทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความเข้าใจ ได้รับแรงบันดาลใจที่จะต่อยอดการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และตระหนักในคุณค่าของป่าต้นน้ำและร่วมรักษาไว้เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป ?ปกติทำเรื่องนี้ควรจะอยู่ในพื้นที่ ที่เรามีศักยภาพขยาย เรากลับมองว่าบางทีการกระทำเพื่อสังคม เพื่อชุมชน การที่ทำนอกพื้นที่มันจะบอกว่าเราทำเพื่อสังคม เพื่อประเทศ เรามองว่ามันเป็นประโยชน์ เราไม่ได้มามองว่าเราทำแล้วจะได้กลับมาเท่านั้น จริงๆเราไม่มองไม่ได้หรอกครับ เพียงแต่ว่าในมุมนึงที่ป่า ต้นน้ำ และความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ เราก็คิดว่าตรงนี้ยังมีความจำเป็น มีความสำคัญอยู่ เราก็เลยให้ความสำคัญตรงนี้? ทว่าด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน บวกกับเป็นป่าดิบชื้น เปิดเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีการปรับตัวของพืชและสัตว์ รวมทั้งระบบรากไม้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างหนัก จึงได้มีการปรับปรุงเส้นทางเดินเท้าที่กำลังทรุดโทรม ด้วยการสร้างทางเดินยกระดับ (Boardwalk) ที่ใช้เข็มเหล็กเจาะเฉพาะจุดเป็นฐานและใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นทางเดิน ซึ่งเป็นวิธีที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่น้อยที่สุด แน่นอนว่าเมื่อสร้างทางเดินในเส้นทางธรรมชาติแห่งนี้ จะตามมาด้วยการตั้งคำถามว่ายิ่งเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ทางด้าน"มานนีย์ พาทยาชีวะ" เลขาธิการมูลนิธิไทยรักษ์ ซึ่งเธอถือเป็นคนที่ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยให้คำตอบเรื่องนี้ว่า ตั้งใจพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้เป็นเสมือนห้องเรียนที่มีชีวิต มีความกลมกลืนและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ความปลอดภัย มีมาตรฐาน เป็นไปตามกฎระเบียบของอุทยานฯ มากถึงที่สุด ?จริงๆ อุทยานเองก็ชวนเราทำบอร์ดวอร์ก มาหลายครั้ง หลายโอกาส เช่น ท่านองคมนตรี พลากร (สุวรรณรัฐ) ท่านก็อยากให้ทำ ทางเราก็ไม่ค่อยอยากให้เดินเป็นบอร์ดวอร์ก วิธีการเดิมๆ อาจจะดีกว่า หรือทางอุทยานก็บอกเราว่าทำบอร์ดวอร์กเถอะจะได้เปิดตลอด ซึ่งเราคิดว่าธรรมชาติเองต้องพัก หน้าฝนเดินกิ่วไม่สนุกหรอก อะไรก็ตกก็มาได้ เพราะมันลื่น เราก็ยื้อๆ มาแบบนี้ จนถึงสุดท้ายที่สภาพที่เราเห็นว่ามันเยอะมากจริงๆ เราก็คุยกันว่าถ้ายังต้องเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบนี้ แล้วเราจะอยู่ร่วมกันยังไง วันนั้นเราก็ทำงานกับสถาปนิก ตอนแรกจุดตั้งต้นจะไม่ทำบอร์ดวอร์ก เราก็ไปดูก่อนว่าเราจะใช้วิธีแบบไหน ถ้าฝนตก หน้าดินแบบนี้ ระบายน้ำแบบนี้ได้มั้ย หรือเอาดินที่หนึ่งมากลบอีกที่หนึ่งจะได้มั้ย คิดแบบวิธีนั้นก่อน แต่พอเก็บข้อมูลนานๆ เข้า วิธีนั้นมันได้ชั่วคราว และไม่ค่อยแก้ได้มากนัก มันก็เลยสุดท้ายต้องทำด้วยบอร์ดวอร์ค และเราก็ดื้ออีกต่อไป ว่าเราทำเฉพาะแค่จุดที่จำเป็นแล้วกัน เรายังอยากให้เดินบนเส้นทางเดิม และเราก็เลือกจุดที่มันรากไม้หลบเยอะๆ จะเห็นข้างใต้ รากไม้ลอยขึ้นมาเยอะมาก ก็จะทำโดยเฉพาะที่จำเป็น ก็จะเป็นช่วงๆ แต่ในขณะทำที่จำเป็นก็เยอะ 520 เมตร" แนวทาง ?ปรับปรุงป้าย-เส้นทาง? ควบคู่อนุรักษ์ หากมองจากสายตา "ศราวุธ เขมสิริบริรักษ์" ผู้นำเที่ยวเฉพาะท้องถิ่น ที่คลุกคลีในระบบป่านิเวศแห่งนี้ ยังฝากทิ้งท้ายให้ฟังว่า แค่ทุกคนได้เข้ามายังเส้นทางศึกษากิ่วแม่ปาน ก็ถือเป็นการดูแลป่าแห่งนี้ ให้คงอยู่สืบไปแล้ว ?ต้องมีจิตสำนึก ระบบนิเวศน์หรือระบบธรรมชาติ หรือมีหลายๆอย่างที่อยู่ในป่า มันก็อย่างที่บอก เราพึ่งป่า ป่าก็พึ่งเรา อยู่ด้วยกัน เราได้ออกซิเจนจากป่า ป่าก็ได้จากเรา ก็คือเราดูแลป่าไม้ เราก็มาช่วยดูแลป่า มาเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าเช่นกัน ไม่ใช่เราต้องทำงาน หรือทุกภาคส่วนต้องดูแล? นอกจากการปรับปรุงเส้นทางศึกษา ?ป่าเมฆกิ่วแม่ปาน? แล้วนั้น ตลอดระยะทางที่เดินสำรวจ ทางมูลนิธิฯ ยังได้จัดทำป้ายสื่อความหมายธรรมชาติใหม่อีกด้วย ให้ความรู้ ความเข้าใจ อีกทั้งการทบทวนประเด็นและข้อความในการสื่อความหมายให้ดียิ่งขึ้น สำหรับตามเส้นทางเดินจะมีแผ่นป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับผืนป่ากิ่วแม่ปานทั้งหมด 15 จุด ตลอดระยะทาง 2.8 กม. ซึ่งแต่ละแห่งทำหน้าที่เล่าเรื่องราวพื้นที่แห่งนี้ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นแลนด์มาร์คสำคัญที่นักท่องเที่ยวต่างให้ความสนใจอย่างจุดชมวิวแม่ปาน หรือแม้กระทั่งกุหลาบพันปี ที่ถือว่าเห็นได้ยากมากนักในปัจจุบัน ไม่เพียงแค่นี้ นั่งพักตลอดเส้นทาง หากใครที่รู้สึกเหนื่อย หรือเดินไม่ไหว สามารถแวะนั่งพักได้ รวมทั้งยังมีการเปลี่ยนวัสดุของป้ายให้มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง รวมทั้งพัฒนาแอปฯ ?รักษ์ป่า? สำหรับการลงทะเบียนจองคิวเดินในเส้นทาง โดยจะอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ลดความแออัดในการรอคอยเข้าเส้นทางบริเวณ หน้ากิ่วแม่ปาน อีกทั้งสอดคล้องกับการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในปัจจุบันอีกด้วย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย แมลงปอ : 05-03-2020 เมื่อ 10:08 |
|
|