เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > เรื่องเล่าชาวทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 11-05-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default กุ้งตัวตลก...จะกลับบ้านเกิด



กุ้งตัวตลก...จะกลับบ้านเกิด



__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 02-07-2012 เมื่อ 22:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 11-05-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



กุ้งตัวตลก หรือ กุ้งการ์ตูน (Harlequin Shrimp)...เป็นสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ที่คนทั่วๆไป อาจจะไม่ค่อยรู้จักมากนัก แต่สำหรับนักดำน้ำแล้ว ด้วยสีสันและแต้มสีที่งดงาม หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู ลายรูปหัวใจที่หัว และการอยู่กันเป็นคู่ๆ ไปไหนไปกัน ทำให้ “กุ้งตัวตลก” เป็นขวัญใจหรือสัตว์ทะเลตัวโปรด ที่ครั้งใดที่ได้เห็น ก็จะทำให้บังเกิดความสุขใจ ยิ้มและคุยถึงน้องกุ้งแสนสวยตัวนี้ไปได้อีกนาน...







กุ้งตัวตลก คงจะอยู่คู่กับทะเลมานานแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบ และได้ศึกษากุ้งตัวตลกอย่างจริงๆจังๆ เมือปี คศ. 1852 โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มกุ้งสวยงาม ที่น่าสนใจและมีผู้คนชื่นชอบมากที่สุด ถ้าเป็นตัวละคร ก็ต้องบอกว่า กุ้งตัวตลกเป็นตัวเอก ชนิดที่ข่มให้กุ้งตัวอื่นอับแสงไปได้เลย





ไม่เชื่อก็ลองชมภาพของกุ้งตัวตลกเหล่านี้สิคะ...






น่ารักน่าเอ็นดูจริงๆค่ะ...





__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 12-05-2012 เมื่อ 09:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 11-05-2012
Super_Srinuanray's Avatar
Super_Srinuanray Super_Srinuanray is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Deep Blue Sea
ข้อความ: 1,073
Default

รัก กุ้งตัวตลกด้วยค่ะ....

แต่รักน้อยกว่า ปลาหมึก ประมาณ 0.00000009%
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 11-05-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default




สองสายดำน้ำในเมืองไทยมานานยี่สิบห้าปีแล้ว แต่เพิ่งได้เห็นตัวจริงของกุ้งตัวตลก เมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้เอง เพราะกุ้งตัวตลก ชอบซ่อนตัวอยู่ในโพรงมืดๆ ถ้าเขาไม่บังเอิญออกมาจากโพรง และเราไม่บังเอิญไปเห็นเข้า ก็คงจะไม่มีโอกาสได้พบกันแน่....





โดยปกติแล้วเราจะเห็นกุ้งตัวตลกเฉพาะในทะเล แต่ในระยะหลังๆ กุ้งตัวตลกไปปรากฏโฉมอยู่ในตู้ปลา เพราะมีการจับกุ้งตัวตลกจากทะเลไปเลี้ยงใน “ตู้ทะเล” กันมาก จนมีนักดำน้ำหลายคนบ่นว่าไม่เคยได้เห็นกุ้งตัวตลกในทะเลเลย แต่ไปเห็นที่ร้านขายปลาทะเลในตลาดจตุจักร ทำให้อารมณ์บ่จอยกันมาก


ยิ่งเห็นราคากุ้งตัวตลกคู่ละ 1,500-2,500 บาทแล้ว ก็ยิ่งทำให้ยิ่งหงุดหงิด เพราะราคาสูงอย่างนี้นี่เอง จึงทำให้คนเห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้ ต้องพยายามไปดำน้ำค้นหากุ้งตัวตลกจากทะเลมาขาย เพราะราคาแพงมาก เมื่อเทียบกับสัตว์ทะเลที่ใส่ตู้วางขายอยู่ข้างๆกัน






เมื่อสองสามปีก่อน มีข่าวว่าเอกชนรายหนึ่ง ชื่อ คุณนพดล เสนาหาญ ได้เพาะเลี้ยงกุ้งตัวตลก จนออกลูกมาได้แล้ว ทำให้นักดำน้ำอย่างเราดีอกดีใจกันมาก แต่เรื่องก็เงียบหายไป ไม่ทราบว่าการเพาะเลี้ยงกุ้งตัวตลก ได้ผลดีพอจะเหลือให้เราไปปล่อยกลับคืนสู่ทะเลบ้างหรือไม่...


(อ่านข่าวได้ที่ http://www.saveoursea.net/boardapr20...p?topic=1026.0)


อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้ว...สองสายก็ได้รับข่าวดีจาก น้องแม่หอย หรือ น้องจิน..(คุณจินตนา นักระนาด เดิมเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบันคือ ท่านผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง และ สมาชิกอาวุโสของ SOS ) ที่ทำให้เราดีใจมากๆ นั่นคือ บัดนี้ มีนักวิชาการจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ระยอง ของกรมประมง ได้เพาะเลี้ยงกุ้งตัวตลกได้จากพ่อแม่พันธุ์ที่ไปซื้อมาจากจตุจักร ลูกครอกแรกมีอายุยืนยาว จนออกลูกแพร่หลานได้ต่อมาอีกสองสามครอกแล้ว...





__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 13-05-2012 เมื่อ 09:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 11-05-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



เราเริ่มมีความหวัง ที่กุ้งตัวตลกจะถูกคุกคามจากมนุษย์น้อยลงหรือหมดไป และ เริ่มฝันที่จะมีโอกาสนำกุ้งตัวตลก ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงของกรมประมง ไปปล่อยกุ้งตัวตลกกลับคืนสู่ธรรมชาติใต้ท้องทะเล ที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอนที่แท้จริงของเขาและเธอ เหมือนที่เราโชคดี ได้นำหอยมือเสือ ม้าน้ำ ปลาการ์ตูน ปูม้า ฯ ที่กรมประมงเพาะเลี้ยงได้สำเร็จ กลับคืนสู่ท้องทะเลมาแล้วหลายครั้งหลายหน....





และแล้ว...ความหวังและความฝันของเรา ก็ดูเหมือนจะใกล้ความจริงเข้ามา เมื่อน้องแม่หอยได้โทรศัพท์มานัดหมาย ให้เราไปพบกับน้องเจี๊ยบ..คุณ รินปวีร์ (ชื่อเดิม ศรัญญา) เกตุมณี นักวิชาการประมงปฏิบัติการ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ระยอง เพื่อสนทนา และเข้าเยี่ยมชมการเพาะเลี้ยงกุ้งตัวตลก ของศูนย์วิจัยฯ ระยอง เมื่อวันอังคารที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา...





ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ระยอง....น้องเจี๊ยบคอยสองสายอยู่แล้ว


ไม่น่าเชื่อเลยค่ะ...เด็กสาวหน้าตาสะสวยและดูอ่อนวัย จะเก่งกล้าสามารถขนาดเพาะเลี้ยงกุ้งตัวตลกจนอยู่รอด แถมยังแพร่ลูกแพร่หลานได้อีกถึงสองสามครอก นับจำนวนได้หลายร้อยตัว


น้องเจี๊ยบ...นักวิชาการประมงสาวตาคมชาวชุมพร เล่าให้เราฟังว่า ศูนย์ฯได้ทำการเพาะและอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูน (ทีเธอเรียกจนติดปาก) ประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 มีอัตราการรอดตาย 15-25 % กุ้งการ์ตูนชุดแรกที่เพาะสำเร็จ เจริญเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์และเริ่มวางไข่ เมื่อมีอายุได้ 5 เดือน ขณะนี้มีอายุได้ 1 ปี 6 เดือนแล้ว มีลูกกุ้งเกิดและเลี้ยงให้อยู่รอดได้หลายร้อยตัว






__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 13-05-2012 เมื่อ 09:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 11-05-2012
conundrum conundrum is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 146
Default

อยากจะกด love ให้กระทู้นี้จังครับ ^__^
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 11-05-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default




น้องเจี๊ยบได้เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเรื่องกุ้งตัวตลก และที่ไปที่มาของโครงการเพาะเลี้ยงกุ้งตัวตลก ซึ่งน่าสนใจและน่าทึ่งมากค่ะ.....






"กุ้งการ์ตูน" ที่นักดำน้ำนิยมเรียกว่า "กุ้งตัวตลก" นั้น มีชื่อสามัญเรียกว่า Harlequin Shrimp (USA) และ Painted Harlequin Shrimp (UK) (sealifebase, 2011) และมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hymenocera picta ( Dana, 1852) ในอดีตชื่อที่เรียกกุ้งการ์ตูนอีกชื่อหนึ่งคือ Hymenocera elegan (Heller, 1861) แต่ปัจจุบันชื่อที่ยอมรับและใช้เรียกกุ้งการ์ตูนคือ H. picta ( sealifebase, 2011)



กุ้งการ์ตูน...เป็นกุ้งทะเลขนาดเล็ก มักพบอยู่เป็นคู่อาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกหินที่ค่อนข้างมืดในแนวปะการัง ลำตัวสีขาว มีลวดลายสวยงาม มีสีสันที่แตกต่างกันในแต่ละถิ่นอาศัย กล่าวคือ กุ้งการ์ตูนที่พบในมหาสมุทรแถบ Indo-West Pacific มีลายจุดแต้มโทนสีฟ้าหรือสีน้ำเงินบริเวณขอบด้านนอก สำหรับกุ้งการ์ตูนที่พบบริเวณมหาสมุทร Central-Eastern Pacific โดยเฉพาะที่เกาะฮาวาย มีลายจุดแต้มโทนสีม่วงหรือสีม่วงอมแดง ทั้งสองชนิดจะมีสีเหลือง สีเหลืองอมส้มหรือสีน้ำตาลอยู่ภายในลายจุดและมีลวดลายสีน้ำเงิน สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาลที่ก้ามและบริเวณส่วนหัว




ลำตัวกุ้งจะสั้นและกว้าง มีกรีเล็กและยื่นไปไม่ยาวกว่าตา มีขาทั้งหมด 5 คู่ (Pereiopod) ขาเดิน2 คู่แรก เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เป็นเขี้ยว (Claws) สำหรับคุ้ยหรือตะล่อมอาหาร และเปลี่ยนเป็นอาวุธป้องกันตัวเอง และมีขาเดินจำนวน 3 คู่ มีความยาวประมาณ 2-3 นิ้ว



กุ้งการ์ตูน อยู่ในกลุ่ม Caridea ซึ่งเป็นกุ้งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii )...ไม่น่าเชื่อเลยนะคะ เพราะความงามและขนาดของรูปร่างช่างต่างกันเหลือเกิน


กู้งการ์ตูนจะมีการวางไข่ และเกาะติดบริเวณขาว่ายน้ำของกุ้งเพศเมีย ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่จะเป็นระยะซูเอี้ย ( ZOEA) มีลักษณะห้อยหัวลงและมีวิวัฒนาการโดยอาศัยการลอกคราบ จนถึงระยะกุ้งคว่ำหรือกุ้งวัยรุ่น (ประจวบ, 2527) จากการศึกษาของ Kraul ( 1999, อ้างตาม Lin, 2005) ลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อนใช้เวลา 28 -56 วัน จึงจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากระยะซูเอี้ย (Zoea) เป็นลูกกุ้งระยะคว่ำ (Postlarva)






ในประเทศไทยกุ้งการ์ตูนพบอาศัยอยู่ตามกองหินใต้น้ำหลายๆแห่งในทะเลอันดามัน ได้แก่ จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต โดยแหล่งที่พบได้แก่ กองหินริเชลิว ใกล้ๆกับหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา บริเวณเกาะห้าใหญ่ เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ และที่ หินม่วง กองหินจมใกล้ๆกับหินแดง ในเขตจังหวัดกระบี่ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อยมาก ด้วยราคาที่แพงและตลาดมีความต้องการสูง จึงถูกจับมาขายในตลาดกุ้งสวยงามเป็นจำนวนมากในแต่ละเดือน



__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 12-05-2012 เมื่อ 18:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 11-05-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default








จุดเริ่มต้นในการจัดตั้งโครงการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูนสวยงาม..เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นกุ้งสวยงามที่กรมประมงยังไม่ได้ทำการศึกษาเรื่องการเพาะและอนุบาลในโรงเพาะฟัก จึงต้องการวิจัยและพัฒนาเรื่องการเพาะเลี้ยงและอนุบาล เพื่อเพิ่มจำนวนในการผลิตและเผยแพร่ส่งเสริมเป็นความรู้ให้แก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจเลี้ยงกุ้งชนิดนี้



ที่เลือกเพาะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้....เนื่องจากเป็นกุ้งที่มีลวดลายสวยงาม มีรูปร่างแปลกตา มีผู้สนใจซื้อไปเลี้ยงเป็นจำนวนมาก และราคาค่อนข้างแพง จึงถูกจับมาจำหน่ายในตลาดกุ้งสวยงามเป็นจำนวนมาก ทำให้ในธรรมชาติมีจำนวนลดลงมาก ดังนั้นการเพาะเลี้ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มจำนวนและชดเชยกุ้งที่จะถูกจับขึ้นมา รวมทั้งการอนุรักษ์สายพันธุ์กุ้งในธรรมชาติและการปล่อยกุ้งคืนสู่ธรรมชาติ



อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า ในทะเลของประเทศไทยมีกุ้งชนิดนี้อยู่ด้วย สำหรับประชาชนทั่วไปโดยส่วนใหญ่ยังไม่เคยเห็นกุ้งชนิดนี้ จากการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งระยองได้นำกุ้งการ์ตูนไปแสดงในงานประมงแห่งชาติและงานเกษตรแห่งชาติ พบว่า ประชาชนทั่วไปและเด็กๆให้ความสนใจเป็นอย่างมากและส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่เคยรู้จัดกุ้งชนิดนี้



ระยะเวลาในการจัดตั้งโครงการ...เป็นงานที่ไม่ใช่งานประจำ ไม่มีระยะเวลากำหนดแต่ดำเนินการควบคู่ไปกับงานประจำ
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 12-05-2012 เมื่อ 19:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 11-05-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default




วิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งการ์ตูน


การเตรียมพ่อแม่พันธุ์กุ้งการ์ตูน.....พ่อแม่พันธุ์กุ้งการ์ตูนซื้อมาจากตลาดนัดจตุจักร เป็นกุ้งจากทะเลฝั่งอันดามัน ทำการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งการ์ตูนในตู้กระจก ขนาด 12*24*15 นิ้ว ใส่น้ำปริมาตร 40 ลิตร โดยใส่พ่อแม่พันธุ์กุ้งการ์ตูน จำนวน 1 คู่ต่อตู้





อาหารและการให้อาหารพ่อแม่พันธุ์......อาหารของกุ้งการ์ตูน ได้แก่ เม่นทะเล (sea urchin) ดาวเปราะ (brittle sea stars) ดาวทะเล (sea star , Linckia sp. , Nardoa sp. ) ดาวมงกุฎหนาม ( crown- of- thorn sea star , Acanthaster planci) ซึ่งได้มาจากเครื่องมืออวนปูของชาวประมงพื้นบ้าน โดยอาหารที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นดาวทะเล ( Linckia sp.) ระยางค์มีความยาวประมาณ 5-10 นิ้ว โดยหักครึ่งหนึ่งของความยาวระยางค์ เพื่อให้ดาวทะเลงอกออกมาใหม่ แล้วตัดเป็นชิ้นความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ให้กิน 1 ชิ้นต่อวันต่อพ่อแม่พันธุ์กุ้งการ์ตูน 1 คู่






การจำแนกเพศโดยสังเกตจากลักษณะภายนอกที่แตกต่างกัน ดังนี้

เพศผู้ มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย สีสันเข้มและมีสีน้ำเงินของลวดลายชัดเจนกว่าเพศเมีย ลำตัวเล็กและท้องแคบกว่าเพศเมีย


เพศเมีย มีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ สีสันอ่อนกว่าเพศผู้ แต่มีลวดลายสีเหลืองหรือสีน้ำตาลมากกว่าเพศผู้ ส่วนท้องกว้างกว่าเพศผู้อย่างชัดเจน เนื่องจากเพศเมียจะวางไข่ติดกับรยางค์ขาว่ายน้ำบริเวณหน้าท้อง





การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์...เลือกกุ้งเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์ มีระยางค์ครบถ้วน มีสีสันสดใส มีลวดลายสวยงามและเห็นลายหัวใจบริเวณส่วนหัวชัดเจน


การจัดการตู้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งการ์ตูน และการเตรียมน้ำ...ดูดตะกอนและเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน วันละประมาณ 20-25 % สำหรับวันจันทร์และวันพฤหัสบดีจะเปลี่ยนถ่ายน้ำ 50% และนำพ่อแม่พันธุ์กุ้งการ์ตูนออกใส่ภาชนะอื่นเพื่อทำความสะอาดตู้ทุก 2 อาทิตย์



การเตรียมน้ำทะเลสำหรับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งการ์ตูน...มีความเค็มระหว่าง 30-33 ppt ฆ่าเชื้อโดยใส่คลอรีน 15 กรัมต่อน้ำทะเล 1 ลูกบาศก์เมตร ให้อากาศอย่างน้อย 3 วัน ตรวจสอบว่า มีคลอรีนตกค้างหรือไม่ สูบน้ำไปเก็บไว้ในบ่อพักน้ำ เก็บตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์คุณน้ำก่อนนำไปใช้




__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 12-05-2012 เมื่อ 19:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 11-05-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default







การเพาะพันธุ์และการรวบรวมลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน....ใช้ถังพลาสติกสีขาว ขนาดความจุ 200 ลิตร และบางครั้งจะนำไปอนุบาลในบ่อซีเมนต์ความจุ 1.5 ลูกบาศก์เมตร



ขนาดของถังที่ใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูน....ใช้ถังพลาสติกสีขาว ขนาดความจุ 200 ลิตร และบางครั้งจะนำไปอนุบาลในบ่อซีเมนต์ความจุ 1.5 ลูกบาศก์เมตร



การรวบรวมลูกกุ้งวัยอ่อน...หลังจากกุ้งการ์ตูนเพศเมีย มีไข่ที่บริเวณหน้าท้อง ไข่จะใช้เวลาสำหรับการพัฒนาประมาณ 15-20 วัน ไข่จะพัฒนาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม จากนั้นจะฟักเป็นตัวและล่องลอยอยู่ในน้ำ ทำการเก็บรวบรวมลูกกุ้งวัยอ่อนจากตู้พ่อแม่พันธุ์ไปอนุบาล ลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อนที่ฟักออกเป็นตัวประมาณ 900-3,000 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดแม่พันธุ์



วิธีการอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อนตั้งแต่แรกฟักจนถึงระยะคว่ำ... ลูกกุ้งวัยอ่อนแรกฟักจะเรียกว่า ระยะซูเอีย (Zoea) มีพัฒนาการแต่ละระยะทั้งหมด 12 ระยะ (Zoea1-Zoea12) และใช้เวลาพัฒนาถึงระยะลงเกาะหรือระยะคว่ำ (Postlarva) อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 36-56 วัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมเช่น แสงแดดและอุณหภูมิ เป็นต้น ระยะเวลาที่ลูกกุ้งเริ่มลงเกาะจนหมดชุดใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน อุณหภูมิน้ำประมาณ 30 องศาเซลเซียส ความเค็ม 30-33 ส่วนในพัน ดูดตะกอนและทำความสะอาดถังอนุบาล อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆละ 25 % และย้ายไปถังใหม่เมื่อก้นถังเริ่มสกปรก


การให้อาหารลูกกุ้ง...เมื่อลูกกุ้งพัฒนาถึงระยะลงเกาะ(Postlarva) จะให้กินดาวทะเลเป็นอาหาร โดยหักเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดประมาณ 3 เซ็นติเมตร ให้วันละ 1 มื้อ ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำและดูดตะกอนทุกวัน วันละ 50 % และเปลี่ยนถ่ายน้ำทั้งหมดอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ลูกกุ้งลอกคราบจะได้เจริญเติบโตเร็วขึ้น







อัตราการอยู่รอดของลูกกุ้ง





__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 12-05-2012 เมื่อ 19:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:46


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger