#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรงดการเดินเรือ ในระยะ 1-2 วันนี้ อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ?หลิ่นฟา?แล้ว และเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง โดยจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในช่วงวันที่ 11-12 ต.ค. 63 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ตลอดช่วง ในขณะที่ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมในระยะนี้ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 ? 14 ต.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มที่จะทวีกำลังแรงขึ้น คาดว่าเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม และเคลื่อนขึ้นสู่อ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีนในระยะต่อไป ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สำหรับชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง " ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2563 เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (10 ต.ค. 63) พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางที่ละติจูด 14.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือค่อนทางตะวันตกด้วยความเร็ว ประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนผ่านบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนาม เข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย โดยจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. 63
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
13 เหตุการณ์พิษจากอาหารทะเล จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (ปี 2559-2563) พบเหตุการณ์การรับประทานอาหารทะเลที่มีพิษทุกปี รวม 13 เหตุการณ์ กรมควบคุมโรค ขอเผยแพร่ "พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์" ฉบับที่ 282 ประจำสัปดาห์ที่ 41 (วันที่ 11 ? 17 ต.ค. 63) "จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (ปี 2559-2563) พบเหตุการณ์การรับประทานอาหารทะเลที่มีพิษทุกปี รวม 13 เหตุการณ์ จำแนกเป็น พิษจากแมงดาทะเล 6 เหตุการณ์ พิษจากปลาปักเป้า 7 เหตุการณ์ พบผู้ป่วยรวม 37 ราย มีผู้เสียชีวิต 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 29.7 หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้ที่รับประทานอาหารทะเลที่มีพิษ โดยเหตุการณ์ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานผู้ป่วย 1 ราย รับประทานแมงดาทะเล โดยผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ ชาที่บริเวณปลายมือและปลายเท้าทั้งสองข้าง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา" "การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้ไปจนถึงต้นปีมีโอกาสจะพบผู้ป่วยจากการรับประทานอาหารทะเลที่มีพิษ เช่น แมงดาทะเล ปลาปักเป้าได้ เนื่องจากในช่วงนี้กำลังจะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ที่พายุฝนน้อยลงอาจทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมทะเล มีโอกาสพบเจอสัตว์ทะเลที่มีพิษและเก็บมารับประทานได้โดยง่าย โดยแมงดาทะเล และปลาปักเป้า เป็นสัตว์ทะเลที่มีพิษ tetrodotoxin หรือ saxitoxin ซึ่งยับยั้งการทำงานของระบบประสาทโดยตรง ผู้ที่รับประทานพิษเข้าไปจะมีอาการ ภายหลังรับประทานประมาน 10-45 นาที หรือนานถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นกับชนิด ฤดูกาล จำนวนที่รับประทาน หรือจำนวนพิษที่ได้รับ เช่น รับประทานไข่แมงดาทะเล อาการพิษจะเกิดรุนแรงกว่ารับประทานเฉพาะเนื้อ อาการมักเริ่มจากเวียนศีรษะ อาเจียน ชาบริเวณลิ้น ปาก ปลายมือ ปลายเท้า หรือมีอาการน้ำลายฟูมปาก เหงื่อออกมาก พูดลำบาก ตามองเห็นภาพไม่ชัด ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจทำให้กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 6-24 ชม. ทั้งนี้ แมงดาทะเลไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ แมงดาถ้วย หรือ เห-รา ตัวเล็กกว่าหางกลมเรียบ แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่มีพิษ ทั้งในเนื้อและไข่ อีกชนิดคือแมงดาจาน ที่ตัวใหญ่กว่าแต่หางรูปสามเหลี่ยมมีรอยหยัก แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่ไม่มีพิษ สามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ตาม ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูงในการจำแนกชนิดของสัตว์แมงดาทะเลทั้งสองชนิด กรมควบคุมโรค จึงขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการรับประทานอาหารทะเลจำพวก แมงดาทะเล และปลาปักเป้า หากไม่ทราบ แยกไม่ออก ไม่ควรนำมารับประทาน เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีพิษรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูง หากประชาชนสงสัยจะได้รับพิษหรือมีอาการผิดปกติตามอาการข้างต้น ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการรับประทานอาหารที่สงสัย เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422" https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/901924
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
5 ปี ตาย 11 ราย สาเหตุกินอาหารทะเลมีพิษ กทม. 10 ต.ค.- กรมควบคุมโรค เตือน 5 ปี มีผู้เสียชีวิต 11 ราย สาเหตุรับประทานอาหารทะเลที่มีพิษ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (ปี 2559-2563) พบเหตุการณ์การรับประทานอาหารทะเลที่มีพิษทุกปี รวม 13 เหตุการณ์ จำแนกเป็น พิษจากแมงดาทะเล 6 เหตุการณ์ พิษจากปลาปักเป้า 7 เหตุการณ์ พบผู้ป่วยรวม 37 ราย มีผู้เสียชีวิต 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 29.7 หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้ที่รับประทานอาหารทะเลที่มีพิษ โดยเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานผู้ป่วย 1 ราย รับประทานแมงดาทะเล โดยผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ ชาที่บริเวณปลายมือและปลายเท้าทั้งสองข้าง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา คาดว่าในช่วงนี้ไปจนถึงต้นปีมีโอกาสจะพบผู้ป่วยจากการรับประทานอาหารทะเลที่มีพิษ เช่น แมงดาทะเล ปลาปักเป้าได้ เนื่องจากในช่วงนี้กำลังจะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ที่พายุฝนน้อยลงอาจทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมทะเล มีโอกาสพบเจอสัตว์ทะเลที่มีพิษและเก็บมารับประทานได้โดยง่าย แมงดาทะเล และปลาปักเป้า เป็นสัตว์ทะเลที่มีพิษ tetrodotoxin หรือ saxitoxin ซึ่งยับยั้งการทำงานของระบบประสาทโดยตรง ผู้ที่รับประทานพิษเข้าไปจะมีอาการ ภายหลังรับประทานประมาน 10-45 นาที หรือนานถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นกับชนิด ฤดูกาล จำนวนที่รับประทาน หรือจำนวนพิษที่ได้รับ เช่น รับประทานไข่แมงดาทะเล อาการพิษจะเกิดรุนแรงกว่ารับประทานเฉพาะเนื้อ อาการมักเริ่มจากเวียนศีรษะ อาเจียน ชาบริเวณลิ้น ปาก ปลายมือ ปลายเท้า หรือมีอาการน้ำลายฟูมปาก เหงื่อออกมาก พูดลำบาก ตามองเห็นภาพไม่ชัด ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจทำให้กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 6-24 ชม. ทั้งนี้ แมงดาทะเลไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ แมงดาถ้วย หรือ เห-รา ตัวเล็กกว่าหางกลมเรียบ แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่มีพิษ ทั้งในเนื้อและไข่ อีกชนิดคือ แมงดาจาน ตัวใหญ่กว่าแต่หางรูปสามเหลี่ยมมีรอยหยัก แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่ไม่มีพิษ สามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ตาม ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูงในการจำแนกชนิดของสัตว์แมงดาทะเลทั้งสองชนิด กรมควบคุมโรค จึงขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการรับประทานอาหารทะเลจำพวก แมงดาทะเล และปลาปักเป้า หากไม่ทราบ แยกไม่ออก ไม่ควรนำมารับประทาน เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีพิษรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูง หากประชาชนสงสัยจะได้รับพิษหรือมีอาการผิดปกติตามอาการข้างต้น ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการรับประทานอาหารที่สงสัย เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422. https://tna.mcot.net/social-559280
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|