เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 20-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาวตอนบน และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุโซนร้อน "เจิมปากา" บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งที่เมืองเหมาหมิง ประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 21-22 ก.ค. 64 พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 20 ? 23 ก.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาว ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 24 ? 25 ก.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อน โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว และคาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 20 ? 23 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุโซนร้อน "เจิมปากา"" ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2564

เมื่อเวลา 04.00 น.ของวันนี้ (20 ก.ค. 64) พายุโซนร้อน "เจิมปากา" บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ หรือมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 21.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้เกือบไม่เคลื่อนที่ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งที่เมืองเหมาหมิง ประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 21-22 ก.ค. 64 พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย

อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 20-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


กรมเจ้าท่า เร่งเสริมทรายชายหาดจอมเทียน 6.2 กม. เฟสแรก 3.5 กม.เสร็จพ.ย.65



กรมเจ้าท่า เดินหน้าเสริมทรายชายหาดจอมเทียน พัทยา 6.2 กม. จ้าง ITD ลุยระยะที่ 1 ความยาว 3.57 กม. คืบหน้า 4.39 %คาดเสร็จ พ.ย.65 ลดปัญหาการกัดเซาะ คืนสภาพชายหาดสวยงาม ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ

นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยถึงโครงการเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีว่า กรมเจ้าท่า ได้ทำการว่าจ้างสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการสำรวจออกแบบเพื่อเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรีโดยมีพื้นที่ศึกษาตลอดแนวชายหาดจอมเทียน ความยาว 6.2 กิโลเมตร ตั้งแต่บริเวณหน้าร้านอาหารลุงไสวถึงบริเวณแนวโขดหินหน้าสวนน้ำพัทยาปาร์ค วอเตอร์เวิล์ด ระยะที่ 1 มีความยาว 3,575 เมตร และระยะที่ 2 มีความยาว 2,855 เมตร

โดยกรมเจ้าท่า ได้ทำการว่าจ้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้ดำเนินโครงการเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียนระยะที่ 1 มีระยะเวลาการดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ? เดือนพฤศจิกายน 2565 (900 วัน) โดยแหล่งทรายที่จะนำมาใช้เสริมบริเวณชายหาดจอมเทียนนำมาจากทิศตะวันตกของเกาะรางเกวียน ห่างจากชายหาดจอมเทียนไปทางทะเลประมาณ 15 กิโลเมตร ปัจจุบันเริ่มเสริมทรายชายหาด ตั้งแต่โรงแรมจอมเทียนชาเล่ต์จนถึงโรงแรมยู จอมเทียน พัทยา มีผลการดำเนินงานคิดเป็น 4.39 %

ทั้งนี้ โครงการเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นโครงการต่อเนื่องของกรมเจ้าท่า ในการบูรณะชายฝั่งในพื้นที่ภาคตะวันออกและเป็นแหล่งธุรกิจภาคการท่องเที่ยว ภายหลังจากกรมเจ้าท่าประสบความสำเร็จในการเสริมทรายชายหาดพัทยา จึงได้มีนโยบายเสริมทรายชายหาดบริเวณหาดจอมเทียน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีผลกระทบเรื่องการกัดเซาะค่อนข้างรุนแรง หากไม่เร่งดำเนินการจะมีการกัดเซาะเข้ามาถึงชายฝั่งที่ดินของประชาชนในพื้นที่มากขึ้น



ซึ่งสภาพพื้นที่ชายหาดจอมเทียนประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ชายหาดถดถอยและลดขนาดลงไปทุกปี ไม่เพียงพอต่อความต้องการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ภาคพิเศษเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.ได้ประสานขอให้กรมเจ้าท่าดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน อีกทั้งการรายงานจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี พ.ศ.2552 ได้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งพื้นที่อ่าวไทยตะวันออกและจัดให้พื้นที่ชายหาดจอมเทียนเป็นพื้นที่กัดเซาะรุนแรง ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน ในปี พ.ศ. 2557

ทั้งนี้ ภายหลังโครงการเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียนแล้วเสร็จ จะช่วยบูรณะฟื้นฟูชายหาดจอมเทียนให้กลับมาสวยงาม และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวชายหาดจอมเทียน สร้างรายได้สู่ชุมชนและประเทศ ให้สอดรับกับนโยบายภาครัฐในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการท่องเที่ยวและการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป


https://mgronline.com/business/detail/9640000070608

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 20-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


ลมหายใจ...ของชาวประมงพื้นบ้าน ตอน 2

ปัญหาของชาวประมงพื้นบ้านยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ชุมชนประมงบางแห่งไร้สิทธิในเรื่องที่อยู่อาศัย ปัญหาเรื่องกฎหมายอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ประกาศครอบคลุมพื้นที่หากินของชาวประมงพื้นบ้าน ปัญหาที่เกิดจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งเป็นท่าเทียบเรือ และปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขจึงกลายเป็นความขัดแย้งขึ้นในสังคมไทย ไม่มีใครให้คำตอบกับพวกเขาว่าทางออกของปัญหาควรเป็นอย่างไร

ครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณอ่าวปัตตานีเคยสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำ กระทั่งเมื่อมีเรืออวนรุน อวนลาก เริ่มเข้ามาจับสัตว์น้ำในอ่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เรือเหล่านั้นจับสัตว์น้ำไม่เลือกชนิด ไม่เลือกขนาด ขณะเดียวกันก็ได้ทำลายเครื่องมือหากินของชาวบ้านไปด้วย นับแต่นั้นเป็นต้นมาวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านที่อยู่รอบๆ อ่าวปัตตานีก็เริ่มเปลี่ยนไป




https://www.mcot.net/view/vdzvBemV

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 20-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ทะเลถูกคุกคาม ความมั่นคงทางอาหารสั่นคลอน ผู้บริโภคอย่างเราทำอะไรได้บ้าง .................. โดย Songwut Jullanan

ทะเลเป็นแหล่งอาหารที่คนไทยคุ้นเคยมาเนิ่นนาน เราอาจได้ยินมาตลอดว่าท้องทะเลไทยกำลังเผชิญปัญหาด้านความมั่นคงทางทรัพยากรปลาทะเลที่เรานิยมบริโภคกำลังลดลงและมีสิทธิ์จะหมดไปในอนาคต

การลดลงของปลาทะเลไม่ได้ส่งผลแค่ต่อระบบนิเวศ แต่รวมไปถึงชีวิตของชาวประมง ชุมชนชายฝั่ง หรือแม้แต่คนเมืองที่จะต้องจ่ายแพงขึ้นเพื่อซื้ออาหารทะเล วันหนึ่งอาหารทะเลอาจกลายเป็นอาหารที่คนไม่กี่กลุ่มสามารถเข้าถึงได้

เมื่อสิ่งแวดล้อมถูกคุกคาม ความมั่นคงทางอาหารสั่นคลอน ในฐานะผู้บริโภค มีอะไรที่เราทำได้เพื่อปกป้องอนาคตของทะเลได้บ้าง


สถานการณ์ทะเลไทย

ย้อนไปเมื่อปี 2504 เรืออวนลากเคยจับสัตว์น้ำในอ่าวไทยได้ชั่วโมงละ 298 กิโลกรัม ต่อมาปี 2555 ลดลงเหลือชั่วโมงละ 18.2 กิโลกรัม และปริมาณปลาที่จับได้ยังเป็นลูกปลาเศรษฐกิจที่ยังโตไม่เต็มวัยถึงร้อยละ 34.47 จากปลาจำนวนมากจากที่เคยจับได้

สิบกว่าปีหลังนี้ จำนวนสัตว์ทะเลที่จับได้ยังลดลงต่อเนื่อง ปี 2550 ประมงไทยเคยจับปลาน้ำเค็มได้ 2.08 ล้านตัน แต่ปี 61 ลดเหลือแค่ 1.39 ล้านตัน [1] ในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 2553?2562) ปริมาณการจับสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.20 ต่อปี [2]


แผนภูมิเส้นแสดงให้เห็นถึงจำนวนปลาที่จับได้ด้วยวิธีธรรมชาติของไทยจากอ่าวไทยและมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ปี 2540-2560 | อ้างอิง สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2561

ถ้าให้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ คงหนีไม่พ้นปลาที่คนไทยคุ้นเคยทานกันเป็นประจำอย่างปลาทู เมื่อปี 2551 เราเคยจับปลาทูได้ 112,557 ตัน แต่ในปี 61 สามารถจับได้เพียง 17,655 ตัน หรือลดลงกว่า 6 เท่า

"เมื่อก่อนสามารถจับปลาได้มากกว่านี้ แต่ปัจจุบันหาได้มั่งไม่ได้มั่ง และบางวันแทบไม่ได้เลย" อัศนีย์ วาฮับ ชาวประมงในจังหวัดระนองเล่าให้เราฟัง นี่คืออีกหนึ่งเสียงที่ยืนยันว่าทะเลไทยกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต


ทำไมปลาทะเลถึงลดลงเรื่อยๆ

การที่ปลาทะเลที่ลดลง ส่วนหนึ่งเกิดจากประมงทำลายล้างโดยใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย อีกหนึ่งสาเหตุคือการจับปลาเกินขนาด (overfishing) เกินกำลังการผลิตของธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ยังไม่โตเต็มวัยผสมพันธุ์


ชาวประมงจับปลาด้วยการใช้อวนหน้าลากหน้าดินที่อ่าวไทย | เครดิต ? Athit Perawongmetha / Greenpeace

จริงๆแล้ว การจับสัตว์น้ำที่มากเกินไป ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยอ่อนหรือที่โตเต็มที่แล้วก็ไม่ส่งผลดีในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น แต่ในปัจจุบันชาวประมงบางส่วนใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย เช่น เครื่องปั่นไฟ อวนรุนกับเรือยนต์ หรือใช้ตาอวนที่เล็กกว่ากฎหมายกำหนด กวาดปลาเล็กปลาใหญ่ขึ้นมาพร้อมกันจากท้องทะเล ไม่เหลือไว้ให้สืบพันธุ์

กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบทั้งที่รู้และอาจไม่รู้ทำคือ การเรียกชื่อผลิตภัณฑ์จากลูกปลาใหม่ในชื่อที่ต่างออกไป เช่นลูกปลาทูก็เป็นปลาทูแก้ว ลูกปลากะตักก็กลายเป็นปลาสายไหม ปลาข้าวสาร ปลาจิ้งจั้งและปลาฉิ้งฉ้าง ผู้บริโภคหลายคนก็ซื้อไปโดยไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วคือลูกปลาที่ยังโตไม่เต็มที่

ปัจจุบันห้างร้านก็ยังรับผลิตภัณฑ์จากลูกปลาวัยอ่อนเหล่านี้มาขายเรื่อยๆ ทางออนไลน์ก็มีขาย เมื่อคนจับยังขายได้เลยยังมีการจับขึ้นมาขายต่อเรื่อยๆ ตามหลักอุปสงค์อุปทาน

นี่ไม่ได้เป็นการชี้นิ้วเพื่อบอกว่า "ใครคือคนผิดหรือผู้ร้าย" ของท้องทะเล แต่เป็นการพยายามอธิบายให้เห็นภาพกว้างๆ ของห่วงโซ่การผลิตที่เชื่อมโยงเรากับสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากยังไม่มีการจัดการที่เหมาะสม


ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น

หากเรายังไม่มีมาตรการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ปล่อยให้มีการใช้เครื่องมือทำลายล้าง เช่น เรือปั่นไฟ เรืออวนลากอวนรุน สัตว์น้ำน้อยใหญ่ก็จะถูกกวาดขึ้นมาจากทะเลแบบไม่เลือก ห่วงโซ่อาหารจะถูกทำลาย นำไปสู่การล่มสลายของระบบนิเวศทางทะเล

การจับสัตว์น้ำวัยอ่อนยังส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจด้วย สัตว์น้ำขนาดเล็กได้ราคาต่ำกว่าขนาดใหญ่อยู่แล้ว ใน 1 กิโลกรัมเท่ากัน สัตว์น้ำวัยอ่อนมีจำนวนตัวเยอะกว่ามาก ถ้าปล่อยให้สัตว์น้ำเหล่านี้โตเต็มวัย จะกลายเป็นสัตว์น้ำหลายกิโลกรัม ราคาก็เพิ่มขึ้น จำนวนกิโลก็เพิ่มขึ้น นี่คือความต่างในมูลค่าทางเศรษฐกิจ


สัตว์น้ำที่ถูกจับด้วยอวนลากหน้าดินที่อ่าวไทยทำให้ติดสัตว์น้ำวัยอ่อนขึ้นมาด้วย | เครดิต ? Athit Perawongmetha / Greenpeace

ลองคิดดูง่ายๆ ถ้าซื้อปลาทู 1 กิโลกรัม จะได้ลูกปลาทู 1,000 ตัว รออีกสักประมาณ 6 เดือนปลาทูเหล่านี้จะหนัก 10-15 ตัวต่อกิโล มูลค่าของปลาทูเหล่านี้เพิ่มขึ้นกว่า 70-80 เท่าในระยะเวลาแค่ครึ่งปี

นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว ถ้าปล่อยให้ปลาทูโตขึ้นอีกหน่อย เนื้อปลาทูที่โตเต็มวัยย่อมอร่อยกว่าปลาทูตัวเล็กๆ โดยเฉพาะเนื้อปลาทูไทยที่มีรสชาติพิเศษต่างจากปลาทูนำเข้า ด้วยเพราะปลาทูไทยอยู่ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์

ผู้บริโภคในไทยหลายคนยังเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนเพียงคนเดียวเปลี่ยนแปลงอะไรได้ โดยหารู้ไม่รู้ว่าตนเองนั้นมีพลังในการขับเคลื่อนเพื่อปกป้องทรัพยากรมากเพียงใด

ในหลายๆประเทศ(ที่เจริญแล้ว) ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสิทธิของผู้บริโภค ตั้งแต่การมีสิทธิเลือกซื้อสินค้าที่สะอาดปลอดภัย การเข้าถึงข้อมูลแหล่งที่มา การเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการเรียกร้องเพื่อความเปลี่ยนแปลง ทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ผลิตต้องโปร่งใสตั้งแต่ขั้นตอนการจับ การผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการตรวจสอบและรับข้อร้องเรียน

ดังนั้น ในฐานะผู้บริโภค หากเราอยากทานเนื้อปลาทะเลอร่อยๆ ปกป้องอาหารทะเลเพื่อคนรุ่นต่อๆไปมีอาหารทะเลทานไม่หมดสิ้น ก็ควรเริ่มจากการเข้าใจการเลือกซื้ออาหารทะเล เช่น การเลือกซื้อสัตว์น้ำที่รู้แหล่งที่มาและใช้วิธีจับปลาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเลิกสนับสนุนการบริโภคสัตว์น้ำวัยอ่อน เพื่อปล่อยให้พวกมันได้เติบโตและสืบพันธุ์ออกลูกออกหลาน

อ่านถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัย ว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหนคือสัตว์น้ำวัยอ่อน เรามีขนาดที่เหมาะสมของสัตว์น้ำแต่ละชนิด ไม่ถึงกับต้องใช้ไม้บรรทัดวัด แค่ลองกะเอาง่ายๆด้วยสายตา




https://www.greenpeace.org/thailand/...food-security/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:17


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger