#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน "เตี้ยนหมู่" บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเคลื่อนตัวเข้าสู่แนวร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุดีเปรสชัน "เตี้ยนหมู่" ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่บริเวณ จ.ขอนแก่นแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 24 - 25 ก.ย. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 ? 30 ก.ย. 64 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง อนึ่ง พายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู่" มีแนวโน้มจะอ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้ (24 ก.ค.64) ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 25 - 26 ก.ย. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุดีเปรสชัน "เตี้ยนหมู่" " ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 25 กันยายน 2564 เมื่อเวลา 05.00 น. ของวันนี้ (25 ก.ย. 64) พายุดีเปรสชัน "เตี้ยนหมู่" ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่บริเวณ จ.ขอนแก่นแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 25 กันยายน 2564 ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร ตาก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อนึ่ง ในช่วงวันที่ 25 - 26 ก.ย. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน ?เตี้ยนหมู่? บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเคลื่อนตัวเข้าสู่แนวร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นได้
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
โคลอมเบียยึดหูฉลามเตรียมส่งไปฮ่องกง เจ้าหน้าที่โคลอมเบียยึดจับกุมหูฉลาม เกือบ 3,500 ชิ้น ขณะเตรียมลักลอบส่งขึ้นเครื่องบินไปยังฮ่องกง จากสนามบินกรุงโบโกตา สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมโคลอมเบีย เผยเมื่อวันศุกร์ ว่า เจ้าหน้าที่บุกจับกุมสินค้าผิดกฎหมาย หูฉลาม 3,493 ชิ้น จากคลังสินค้าสนามบินกรุงโบโกตา ที่เตรียมจะส่งทางอากาศ ไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีน โดยหูฉลามเหล่านี้มาจากเมืองรอลดานิลโญ่ ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ เจ้าหน้าที่กำลังสอบสวน เพื่อหากลุ่มผู้อยู่เบื้องหลัง หูฉลามที่ยึดได้หมายความว่า ฉลามประมาณ 900 ? 1,000 ตัว ความยาวประมาณ 1 ? 5 เมตร ถูกฆ่า นางแคโรไลนา อูร์รูเตีย รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมโคลอมเบีย กล่าวว่า การจับกุมเกิดขึ้นหลังจากเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ และตำรวจ ได้รับแจ้งความผิดปกติ จากบริษัทขนส่งสินค้า เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบสายพันธุ์ของฉลาม ซึ่งมีอยู่มากกว่า 3 สายพันธุ์ ในทะเลนอกชายฝั่งโคลอมเบีย นางอูร์รูเตีย กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติโคลอมเบีย จะรับผิดชอบการสอบสวน เพื่อหาตัวขบวนการลักลอบค้าหูฉลาม. เครดิตคลิป ? VOA News, TRT World https://www.dailynews.co.th/news/309330/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
มหันตภัย CLIMATE CHANGE ................... วุฒิชัย กปิลกาญจน์ วิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบสิ้นลงอย่างไรและในช่วงระยะเวลาอีกนานเท่าไร เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ีร้ายแรง ซึ่งจะมีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติทั้งมวล ก่อให้เกิดการปรับตัวในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรงในแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในขณะที่พฤติกรรมของมนุษยท์ทำให้ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา อุณหภูมิโลกเริ่มร้อนขึ้น ทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกทั้งสองมีอัตราการละลายเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อระดับน้ำทะเลที่นอกจากจะเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังมีความหนาแน่น เปลี่ยนไป ทำให้การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรมีความเร็วลดลงอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในลักษณะต่างๆ และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไต้ฝุ่นเฮอริเคน หรือไซโคลน ซึ่งเป็นพายุที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย ตลอดจนไฟป่าที่เกิดในทวีปต่างๆ ทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย อุทกภัยขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นทุกภูมิภาค รวมถึงความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรุนแรงในทวีปแอฟริกา นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการชั้นแนวหน้าทางด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศตะวันตกออกมาเตือนภัยที่จะเกิดขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก เรียกร้องให้มีมาตรการต่างๆ เพื่อลดภาวะโลกร้อน ตลอดจนติดตามการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกทั้งสองอย่างใกล้ชิด ทำให้ผู้นำประเทศทั้งหลายที่อยู่ติดทะเล เริ่มตระหนักถึงอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นกับเมืองริมฝั่งทะเลในประเทศของตน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและบ่อยครั้งกว่าปกติ บางประเทศในทวีปยุโรปมีประสบการณ์จากการทำเขื่อนกั้นน้ำทะเล เพื่อเพิ่มพื้นที่ของประเทศ แต่เมื่อเกิดพายุอย่างรุนแรงในทะเลเหนือ ทำให้น้ำทะเลเคลื่อนที่ผ่านเขื่อนเข้ามาได้ ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณกว้าง ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการแก้ไขอย่างมากมาย ชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ประสบกับอุทกภัยร้ายแรงจากการที่มีพายุเฮอริเคนขนาดรุนแรงมาก พัดพาน้ำทะเลเข้ามาท่วมพื้นที่ชุมชน โดยระบบป้องกันน้ำท่วมเดิมที่มีอยู่ไม่สามารถป้องกันได้ ต้องอพยพผู้คนจำนวนมากออกจากที่อยู่อาศัยที่ถูกน้ำท่วม ใช้งบประมาณจำนวนมากในการระบายน้ำออก ตลอดจนซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น ก่อนจะเคลื่อนย้ายประชาชนกลับเข้าพื้นที่ได้ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและมีรายได้ต่ำ ตัวอย่างเช่น บังกลาเทศ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบลุ่มเกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่พัดพามากับแม่น้ำ เมื่อพายุไซโคลนเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งทำให้เกิดอุทกภัยขนาดใหญ่ แทบจะกล่าวได้ว่าน้ำท่วมทั้งประเทศ ต้องอพยพผู้คนขึ้นไปทางเหนือ เสียผืนดินชายฝั่งให้กับทะเล โดยทวีความรุนแรงและรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับอินโดนีเซียประเทศผู้นำในกลุ่มอาเซียน ที่อาจจะต้องดำเนินการย้ายเมืองหลวงของประเทศไปอยู่ในที่ตั้งใหม่ (เหมือนกับประเทศเมียนมาที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว) เพราะกรุงจาการ์ตาเจอกับปัญหาน้ำท่วมอย่างต่อเนื่องและรุนแรงในหลายส่วนของเมือง เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นต้องหาทางแก้ไขในระยะยาว การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ทำให้ระดับน้ำทะเลและมหาสมุทรต่างๆ สูงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเมื่อเกิดน้ำท่วมก็อพยพผู้คน ระบายน้ำออก ซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น และย้ายคนกลับมา ประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เทคโนโลยีก้าวหน้า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรปตะวันตก อาจมีการวางแผนแก้ไขระยะยาว รวมถึงการจัดเตรียมงบประมาณจำนวนมากสำหรับการดำเนินการ โดยบางแนวคิดก้าวหน้าไปถึงขั้นที่ให้มนุษย์สามารถอยู่อาศัยบนพื้นน้ำได้ เช่นเดียวกับที่อยู่บนแผ่นดินในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับประเทศของเราซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง พื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งหมดต้องถูกกระทบจากภาวะโลกร้อนอย่างแน่นอน บางเมืองอาจจะมาก บางจังหวัดอาจจะน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ จึงควรจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษา วิจัย และวางแผนการดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ กำหนดระยะเวลาดำเนินการ ประกอบด้วย นักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยใช้งบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งคงจะไม่มากนัก (ในรูปแบบของงานวิจัยทั่วไป) เพราะในขณะนี้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแลสุขภาพของประชาชน การวางแผนคือการคิดคาดการณ์ล่วงหน้า หากดำเนินการอย่างรอบคอบ ทั่วถึง และเป็นระบบ จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ดังคำกล่าวที่ว่า ในวิกฤต มีโอกาส คาดล่วงหน้า https://www.matichon.co.th/article/news_2955598 ********************************************************************************************************************************************************* โลกร้อนน้ำแข็งละลาย หายนะมวลมนุษยชาติ ตลอดเวลาที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาหนึ่งในแผ่นน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และพวกเขาก็ต้องตกใจเมื่อพบว่าอุณหภูมิของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากถึงเพียงนี้แล้ว จอช วิลลิส นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของOceans Melting Greenlandของนาซ่า ใช้เวลาช่วงฤดูร้อนบินไปรอบ ๆ แผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์ วิลลิสรู้สึกตกใจมากที่ได้ยินเรื่องฝนที่ตกบนยอดที่สูงสุดในกรีนแลนด์ ดินแดนแห่งหิมะซึ่งนี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีฝนตกบนยอดที่สูงถึง 10,000 ฟุตนี้ โดยปกติแล้วก้อนเมฆมักจะบดบังทัศนวิสัยในการมองแผ่นน้ำแข็งที่อยู่เบื้องล่างนักวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อไม่นานมานี้วิลลิสเพิ่งบินผ่านแผ่นน้ำแข็งที่กำลังละลายในวันที่ท้องฟ้าสดใส "มีทะเลสาบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำสายเล็กๆ หลายร้อยสายไหลผ่านและกัปตันเครื่องบินของเรา ซึ่งบินอยู่เหนือเกาะกรีนแลนด์มาเป็นเวลา 25 ปี ระบุว่าเขาไม่เคยเห็นอะไรที่ใหญ่และอยู่สูงขนาดนี้บนที่พื้นที่ราบสูงมาก่อนในช่วงปลายปี" ธารน้ำแข็ง Sermeq ที่กำลังละลายตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองนุก ห่างไปราว 80 กม. ที่เกาะกรีนแลนด์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน REUTERS/Hannibal Hanschke สิ่งนี้ทำให้เกิดความกังวลเรื่องระดับการละลายของน้ำแข็งที่มักเกิดขึ้นเพียง 1 ครั้งในรอบ 100 ปี แต่ตอนนี้เกิดขึ้นถึง 3 ครั้งในช่วงเวลา 20 ปีเท่านั้น และจะถี่แบบนี้ต่อไปขณะโลกร้อนขึ้น นักวิจัยชาวเดนมาร์กคาดการณ์ว่าน้ำแข็งที่ละลายในเดือนกรกฎาคมมากพอที่จะปกคลุมพื้นที่รัฐฟลอริดาทั้งหมดด้วยน้ำสูงนิ้ว และในปีนี้ถือเป็นปีที่น้ำแข็งละลายมากที่สุดครั้งหนึ่งของกรีนแลนด์ "ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา น้ำแข็งบนกรีนแลนด์ละลายมากถึง 5 ล้านล้านตัน และนั่นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นได้เกือบหนึ่งนิ้ว ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นบนเกาะนี้มีผลกระทบต่อโลกทั้งใบจริงๆ" วิลลิสกล่าว ทั้งนี้กรีนแลนด์มีขนาดประมาณใหญ่กว่ารัฐเท็กซัสราว 3 เท่าและมีน้ำแข็งเพียงพอที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 24 ฟุต โดยแผ่นน้ำแข็งหนา 10,000 ฟุตนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลของโลกทั้งใบจริงๆ https://www.matichon.co.th/foreign/news_2941768
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|