#1
|
||||
|
||||
'ฟองน้ำทะเล' สัตว์มีคุณต่อวงการแพทย์
'ฟองน้ำทะเล' สัตว์มีคุณต่อวงการแพทย์ สกัดสารต้านมะเร็ง
นับเป็นโชคดีของประเทศไทย ที่มีชัยภูมิที่ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ ยังมีพืชและสิ่งมีชีวิตอีกจำนวนมากทั้งบนบกในน้ำ ที่รอการวิจัยเพื่อมาต่อยอดในการผลิตยารักษาโรค รวมทั้งอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นอีกความหวังของการยืดอายุชีวิตมนุษย์ให้ยืนยาวได้ มีตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจในท้องทะเล อย่างฟองน้ำทะเล ที่ปัจจุบันสามารถสกัดมาเป็นสารต้านมะเร็งได้ สุเมตต์ ปุจฉาการ นักวิชาการด้านหน่วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล งานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลฝ่ายวิจัย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา ให้ข้อมูลเรื่องของฟองน้ำทะเลไว้ในเว็บไซต์ไบโอเทคว่า จัดอยู่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ถือกำเนิดมาเมื่อ 600 ล้านปีมาแล้ว เชื่อกันว่าฟองน้ำทะเลถือกำเนิดมาจากบรรพบุรุษสัตว์เซลล์เดียวพวกโพรโทซัว ในอดีตเคยครอบครองอาณาจักรพื้นท้องทะเลควบคู่กับปะการัง คาดการณ์ว่าในโลกนี้มีฟองน้ำ 15,000 ชนิด ฟองน้ำทะเลเป็นสัตว์กินอาหารด้วยการกรอง โดยกรองน้ำผ่านตัวซึ่งสามารถกรองน้ำทะเลได้มากกว่าสิบเท่าของปริมาตรตัวเองภายในหนึ่งชั่วโมงและทำงานต่อเนื่องทั้งเวลากลางวันกลางคืน จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกรองน้ำทะเลให้ใสสะอาดขึ้น และยังเป็นแหล่งอาศัยให้กับสิ่งมีชีวิตเล็กๆหลายชนิดเช่น กุ้ง หอย ปู และไส้เดือนทะเล นักวิชาการด้านหน่วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล งานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลฝ่ายวิจัย กล่าวถึงประโยชน์ของฟองน้ำทะเลเพิ่มเติมว่าเป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยาปัจจุบันฟองน้ำเป็นสัตว์ที่นักวิทยาศาสตร์ กำลังให้ความสนใจมาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เกาะติดอยู่กับที่แต่แทบจะไม่มีศัตรูมารบกวน จึงสันนิษฐานว่าฟองน้ำน่าจะสร้างอาวุธทางเคมีที่ไม่พึงปรารถนากับสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ อาวุธทางเคมีเหล่านี้คือแหล่งสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติทะเล (Marine natural products) ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านการศึกษาวิจัยการแพทย์และเภสัช นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าฟองน้ำบางชนิดเลี้ยงแบคทีเรียไว้เป็นอาหารของตนเองในระบบท่อน้ำแล้วสร้างสารต้านจุลชีพขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารของตนถูกทำร้ายหรือถูกแก่งแย่งแข่งขันจากแบคทีเรียชนิดอื่นที่ไม่พึงประสงค์ ความสามารถนี้จึงถูกยกย่องว่าเป็น “นักเกษตรกรรมยุคแรกของโลก” ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ไทยได้สกัดสารที่เป็นประโยชน์ในฟองน้ำทะเลออกมาได้ แล้วในรูปของสารต้านมะเร็ง ดร.พูนศักดิ์ พลอยประดิษฐ์ และคณะผู้วิจัยห้องปฏิบัติการเภสัชเคมี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ทำการศึกษาเรื่องสารในกลุ่มลาเมลลาริน ซึ่งเป็นสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทะเล ที่พบได้ในเพรียงและฟองน้ำบางชนิด งานวิจัยนี้เป็นตัวอย่างที่มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์สารที่แสดงฤทธิ์ต้านมะเร็งที่ดีแต่มีปริมาณน้อยในธรรมชาติ ทั้งนี้การศึกษาการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของสารดังกล่าว เพื่อให้ได้สารที่มีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา รวมทั้งคุณสมบัติอื่นๆที่เหมาะสมจำเป็นต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การศึกษาการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของสารดังกล่าว เพื่อให้ได้สารที่มีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยารวมทั้งคุณสมบัติอื่นๆที่เหมาะสมจำเป็นต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการศึกษาดังกล่าวต้องใช้สารในปริมาณมากขึ้น ซึ่งไม่สามารถพึ่งพาธรรมชาติเป็นแหล่งสารเพียงอย่างเดียว อีกทั้งการสังเคราะห์สารขึ้นมาทั้งหมดโดยไม่ใช้สารจากธรรมชาติเลย ยังเป็นแนวทางสำคัญในการวิจัยและพัฒนาสารที่มีศักยภาพในการใช้เป็นยาได้โดยรบกวนระบบนิเวศน้อยที่สุด นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและฤทธิ์ ต้านมะเร็ง รวมทั้งคุณสมบัติเชิงเคมีกายภาพของสารในกลุ่มลาเมลลารินอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสารสังเคราะห์หลายชนิด แสดงฤทธิ์ต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดีในห้องปฏิบัติการ และมีศักยภาพในการศึกษาและพัฒนาเป็นสารต้านมะเร็งได้ในอนาคต จากความสนใจในการศึกษาและพัฒนาสารที่มีศักยภาพใช้ต้านมะเร็งและรายงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่พบว่าสารในกลุ่มฟลาวานอยด์เป็นสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีอยู่ในพืชหลายชนิดซึ่งแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และที่สำคัญคือฤทธิ์ต้านมะเร็ง นับเป็นความก้าวหน้าของวงการแพทย์ในการเยียวยามะเร็งโรคภัยที่ทำให้ผู้คนบน โลกเสียชีวิตในอันดับต้น แต่สำหรับการเยียวยาของมะเร็งในปัจจุบันวิธีการรักษาต้องใช้ทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือกผสมผสานกันไป ตัวอย่างของการเยียวยาผู้ป่วยมะเร็ง อีกรูปแบบที่ดำเนินการภารกิจหนึ่งของศูนย์มะเร็งจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัดอีสานตอนล่างรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว เวียดนามแล้ว ศูนย์มะเร็งจังหวัดอุบลราชธานียังทำงานด้านดูแลจิตใจของผู้ป่วยด้วย เพราะเชื่อว่าหากสุขภาพจิตดี สุขภาพกายย่อมหายจากป่วยไข้ได้ นายแพทย์ถวิล กลิ่นวิมล ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็ง จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ สปสช.ได้ดำเนินการเรื่องศูนย์มิตรภาพบำบัดร่วมกับเครือข่ายผู้ป่วยและโรงพยาบาลทั่วประเทศจนทำให้ ขณะนี้มีศูนย์มิตรภาพบำบัด 17 แห่งทั่วประเทศ โดยศูนย์มะเร็งจังหวัดอุบลราชธานีก็จัดเป็นศูนย์มิตรภาพบำบัด 1 ใน 17แห่ง ที่ดำเนินการขึ้นตามเจตนารมณ์ของ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ อดีตเลขาธิการ สปสช.ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องมิตรภาพบำบัด นางชลิยา วามะลุน รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจบริการวิชาการ ศูนย์มะเร็ง จังหวัดอุบล ราชธานี กล่าวว่า โครงการ “มิตรภาพบำบัดจิตอาสา ภารกิจเพื่อเพื่อน ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” ซึ่งทางศูนย์มะเร็งฯได้นำเรื่องสุนทรียสนทนาหรือการบำบัดผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล มาใช้เพื่อให้คนไข้ได้พูดคุยและระบายความรู้สึกให้มากที่สุด โดยเจ้าหน้าที่มีหน้าที่คอยรับฟังเพื่อที่จะได้เข้าใจ และรับรู้ความต้องการของคนไข้ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 โดยทำเป็นงานวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่ พยาบาล หมอ มีความเข้าใจคนป่วยมากขึ้น และสามารถทำงานได้อย่างไม่เป็นทุกข์ ได้ช่วยเหลือตรงตามความต้องการ และต่างรู้สึกมีคุณค่าในการได้ช่วยเหลือ ได้เข้าใจ ทำให้การทำงานดูแลรักษาคนป่วยเป็นไปได้ดี สำหรับกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างกำลังใจ เช่น การทำบายศรีสู่ขวัญ การแนะนำด้านอาหาร การปรับปรุงพฤติกรรม และการออกกำลังกาย พร้อมกันนี้ยังเปิดรับอาสาสมัคร หรือจิตอาสา เพื่อช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจให้แก่ผู้ป่วยเพื่อผู้ป่วยด้วยกันเอง จากงานวิจัยต่อเนื่องมาถึงโครงการมิตรภาพบำบัดจิตอาสา แสดงให้เห็นถึงความเพียรพยายามของมนุษย์โลกที่จะรับมือกับโรคร้ายอย่างมะเร็งให้ถึงที่สุด. จาก : เดลินิวส์ วันที่ 16 พฤษภาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
|||
|
|||
อ่านแล้วยิ่งเชื่อค่ะว่าโรคภัยทั้งหลายที่ยังรักษาไม่ได้บนโลกใบนี้ คำตอบและทางรักษาล้วนอยู่ในธรรมชาติทั้งนั้นค่ะ
ดังนั้นถ้าเราไม่รักษาธรรมชาติ ก็เท่ากับฆ่าตัวตายทางอ้อมนั่นเองค่ะ |
|
|