#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมและฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 มิ.ย. 64 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 11 ? 12 มิ.ย. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 ? 16 มิ.ย. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน และเวียดนามตอนบนมีกำลังอ่อน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 ? 14 มิ.ย. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนคาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นและคาดว่าเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 12 มิ.ย. 64 ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 11 ? 12 มิ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนงดออกจากฝั่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ศรีลังกาเจอคราบน้ำมัน หวั่นรั่วจากเรือสินค้าไฟไหม้นอกฝั่งโคลอมโบ ทางการศรีลังกาเริ่มการตรวจสอบ หลังพบคราบน้ำมันนอกชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ หวั่นเป็นน้ำมันที่รั่วจากเรือขนสินค้าซึ่งถูกไฟไหม้อย่างรุนแรงนานนับสิบวัน สำนักข่าว แชนเนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า นายนาลากา โกดาเฮวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอนุรักษ์ชายฝั่งของประเทศศรีลังกา เปิดเผยในวันที่ 10 มิ.ย. 2564 ว่า ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นไปตรวจสอบ คราบน้ำมันบนผิวทะเลพื้นที่ประมาณ 0.35 ตร.กม. ในจุดที่เรือขนสินค้า 'เอ็มวี เอ็กซ์-เพรส' ไฟไหม้และเกยตื้นเมื่อช่วงต้นเดือน "เมื่อวาน (9 มิ.ย.) ผมนั่งเรือลงตรวจพื้นที่ และสิ่งที่เราสังเกตเห็นคือ คราบน้ำมันบางๆ ที่ดูเหมือนจะเป็นน้ำมันดีเซล" นายโกดาเฮวาบอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงโคลอมโบ "มันดูไม่เหมือนน้ำมันเตา แต่เราต้องขอให้ผู้เชี่ยวชาญของเราเข้าตรวจสอบ" ทั้งนี้ เรือขนสินค้า เอ็มวี เอ็กซ์-เพรส แจ้งเหตุกรดรั่วไหลบนเรือเมื่อเดือนพฤษภาคม ก่อนจะเกิดเหตุเพลิงไหม้อย่างรุนแรงในวันที่ 20 เดือนเดียวกัน ขณะรอเทียบท่ากรุงโคลอมโบ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาถึง 13 วันกว่าจะควบคุมเพลิงได้ แต่ท้ายเรือกลับจมลงก้นทะเลในตอนที่เรือลากจูงพยายามลากมันไปในเขตน้ำลึก เหตุไฟไหม้ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์กว่า 1,486 ตู้เสียหายเกือบทั้งหมด และมีตู้บรรจุเม็ดพลาสติกตกทะเลอย่างน้อย 8 ตู้ ส่งผลให้เม็ดพลาสติกจำนวนมหาศาลถูกซัดขึ้นตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 80 กม. ของศรีลังกา จนทางการต้องสั่งระงับการทำประมงในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนั้น ทางการยังเตรียมรับมือความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำมันเชื้อเพลิงรั่วไหลจากเรือลำนี้ ซึ่งมีน้ำมันเตารวมกว่า 300 ตัน ที่ยังอยู่ในแท็งก์เก็บ โดยนายโกดาเฮวาระบุว่า ตอนนี้เรือ 5 ลำ รวมถึงเรือของหน่วยยามฝั่งอินเดีย 2 ลำ ซึ่งมีอุปกรณ์ป้องกันน้ำมันรั่วไหล ทอดสมอประจำการรอบเรือสินค้าลำนี้แล้ว https://www.thairath.co.th/news/fore...PANORAMA_TOPIC ********************************************************************************************************************************************************* 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อน เป็นผลจาก 'ภาวะโลกร้อน' ที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่ผ่านมา งานวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เป็นการคาดการณ์จาก "ความเสี่ยงในอนาคต" เป็นส่วนใหญ่ (เช่น คลื่นความร้อน, ภัยแล้ง, ไฟป่า) แต่งานวิจัยล่าสุดโดยผู้เชี่ยวชาญ 70 คน ที่ศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา บ่งบอกว่า ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่มันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นอย่าง "รุนแรง" เสียด้วย จนถึงขั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยตรง ที่ผ่านมา งานวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เป็นการคาดการณ์จาก "ความเสี่ยงในอนาคต" เป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น คลื่นความร้อน, ภัยแล้ง, ไฟป่า ที่จะค่อยๆ รุนแรงมากขึ้น อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน แต่งานวิจัยล่าสุดโดยผู้เชี่ยวชาญ 70 คน ที่ศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา บ่งบอกว่า ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่มันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นอย่าง "รุนแรง" เสียด้วย จากจำนวนผู้เสียชีวิตใน 732 เมืองทั่วโลก ระหว่างปี 1991-2018 นักวิจัยกลุ่มนี้พบว่า 37% หรือประมาณ 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตจากอากาศร้อน (Heat Deaths) มาจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่มนุษย์กระทำ (Human-made Climate Change) ซึ่งสัดส่วนของประชากรที่เสียชีวิตจากอากาศร้อนมากที่สุดมาจากอเมริกาใต้ นำโดย เมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล ที่มียอดเฉลี่ยถึง 239 คนต่อปี และเมื่อลองพิจารณารายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร และ สเปน จะมีสัดส่วนอยู่ที่ 35-39% โดยเฉลี่ย ขณะที่ เม็กซิโก, แอฟริกาใต้, ไทย, เวียดนาม และ ชิลี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสูงกว่า 40% แต่ที่น่าวิตกก็คือ บราซิล, เปรู, โคลอมเบีย และ ฟิลิปปินส์ มีอัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 60% หรือมากกว่านั้น อย่างไรก็ตาม บทความ The burden of heat-related mortality attributable to recent human-induced climate change ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ระบุว่า เนื่องด้วยข้อมูลจากภูมิภาคที่สำคัญคือ เอเชียใต้และแอฟริกา อันน่าจะเป็นพื้นที่ที่เปราะบางต่อการเสียชีวิตจากอากาศร้อน ยังมีไม่มากพอ จึงทำให้ไม่สามารถคำนวณออกมาได้ชัดเจน แต่ก็คาดว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านี้มาก งานวิจัยนี้ใช้ตัวเลขผู้เสียชีวิตใน 732 เมือง จาก 43 ประเทศ แล้วนำมาสร้างกราฟเปรียบเทียบกับอุณหภูมิ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ 10 แบบ (ในกรณีที่ภูมิอากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลง) จากการใช้วิธีการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยนักวิจัยสามารถคำนวณเพื่อเปรียบเทียบตัวเลขผู้เสียชีวิตจากความร้อนที่มนุษย์สร้างขึ้น กับตัวเลขผู้เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เพื่อดูว่าอัตราการตายของแต่ละเมืองเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน และทิศทางของการเสียชีวิตจากความร้อนของแต่ละเมืองแตกต่างกันอย่างไร เช่น บางเมืองปรับตัวกับความร้อนได้ดีกว่าหลายเมือง เพราะมีเครื่องปรับอากาศ รวมถึงปัจจัยทางวัฒนธรรม และเงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อม นักวิจัยพบว่า ตั้งแต่ปี 1991 เป็นต้นมา คลื่นความร้อนเป็นสาเหตุสำคัญที่เป็น "ปัจจัยเร่ง" การเสียชีวิต โดยขึ้นอยู่กับว่า ความร้อนนั้นคงอยู่นานแค่ไหน, อุณหภูมิในเวลากลางคืนและระดับความชื้นเป็นอย่างไร หรือความสามารถในการปรับตัวของประชากรมีผลต่ออัตราการเสียชีวิตเพียงใด รวมถึงกรณีจำเพาะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจลดต่ำลง เมื่อประชากร 95% มีเครื่องปรับอากาศ แต่หากไม่มี หรือมีผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งในอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ก็อาจได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้ยังไม่นับรวมภัยพิบัติอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากวิกฤติโลกร้อนด้วย เช่น น้ำท่วม ไฟป่า เป็นต้น ก่อนที่โลกจะเผชิญกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วในรอบ 100 ปี คลื่นความร้อนระดับรุนแรงมักเกิดขึ้นเพียง 1 ครั้ง แต่นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ผ่านมา คลื่นความร้อนกลับเกิดขึ้น "ถี่ขึ้น" องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ระหว่างปี 2000-2016 ประชากรกว่า 125 ล้านคนทั่วโลก เผชิญกับคลื่นความร้อน และระหว่างปี 1998-2017 มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนดังกล่าวถึง 166,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้ยังหมายรวมถึงผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนปี 2003 ในยุโรป ราว 70,000 คน อนา วิเซโด-คาบริรา จากมหาวิทยาลัยเบิร์น ผู้เป็นหนึ่งในคณะวิจัย กล่าวว่า ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ปัญหาของอนาคต ที่เราคิดว่าเป็นเรื่องที่คนรุ่นหลังจะต้องเผชิญ แต่เรากลับได้เผชิญกับมันแล้ว ซึ่งในท่ามกลางอนาคตที่มืดมนลงกว่าเดิมนี้ จึงอาจถึงเวลาที่มนุษย์เราต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเสียที. อ้างอิง: France24, AP News, WHO, Nature.com, Science Daily, The New York Times, The Verge https://www.thairath.co.th/news/fore...PANORAMA_TOPIC ********************************************************************************************************************************************************* นักวิจัยชี้ทะเลสาบในโลกสูญออกซิเจนเร็ว เมื่อโลกร้อนขึ้น ทะเลสาบเป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมันตอบสนองต่อสัญญาณจากภูมิทัศน์และบรรยากาศโดยรอบ ล่าสุด มีรายงานในวารสารเนเจอร์เผยว่าระดับออกซิเจนในทะเลสาบน้ำจืดที่มีอุณหภูมิปานกลางของโลกกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเร็วกว่าในมหาสมุทร 2.75-9.3 เท่า นักวิจัยจากสถาบันโพลิเทคนิคเรนส์ซเลียร์ ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เผยว่าระดับออกซิเจนในทะเลสาบที่สำรวจทั่วเขตอบอุ่นมาตั้งแต่ พ.ศ.2523 ได้ลดลง 5.5% ที่พื้นผิวน้ำ และ 18.6% ที่ในน้ำลึก ขณะเดียวกันในส่วนย่อยขนาดใหญ่ของทะเลสาบส่วนใหญ่ที่ปนเปื้อนสารอาหารระดับออกซิเจนบนพื้นผิวก็เพิ่มขึ้น อุณหภูมิน้ำก็อยู่ในเกณฑ์ที่เอื้อต่อการเติบโตของไซยาโนแบคทีเรียหรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ที่สามารถสร้างสารพิษได้เมื่อพวกมันเจริญเพิ่มจำนวนมหาศาลอย่างรวดเร็ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ขับเคลื่อน มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่คุกคามความหลากหลายทางชีวภาพของ น้ำจืดและคุณภาพน้ำดื่ม ที่น่าจับตาก็คือสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนทั้งหมดขึ้นอยู่กับออกซิเจน ซึ่งเป็นระบบสนับสนุนด้านอาหารของสัตว์น้ำ เมื่อพวกมันเริ่มสูญเสียออกซิเจน ก็มีโอกาสที่จะสูญเสียสายพันธุ์ตามมา การวิจัยนี้ยังพิสูจน์ให้เห็นว่าปัญหาในน้ำจืดมีความรุนแรงมากขึ้น คุกคามแหล่งน้ำดื่มของมนุษย์และความสมดุลที่ละเอียดอ่อน นักวิจัยได้แต่คาดหวังว่างานวิจัยชิ้นนี้จะทำให้เกิดความเร่งด่วนมากขึ้นในการรับมือและจัดการกับผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2111972
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
สวยสะดุดตา "หาดวอน" บางแสนโฉมใหม่ ปรับปรุงพร้อมเที่ยวหลังโควิด-19 คลี่คลาย ภาพจากเฟซบุ๊กณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม โฉมใหม่ "หาดวอน" บางแสน ชลบุรี สวยงามชวนเที่ยว หลังมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมทะเล ให้มีความเป็นระเบียบ สะอาดตา พร้อมพื้นที่ทำกิจกรรมเป็นสัดส่วนมากขึ้น เฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ ณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม ของนายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข โพสต์ภาพพร้อมหาดวอนนภา บางแสน โฉมใหม่ ที่มีที่นั่งพื้นที่ใช้สอยที่สวยงามสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น / นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข เผยภาพงานปรับปรุงภูมิทัศน์ ริมทะเล บางแสนล่าง (หาดวอนนภา) ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม โดยพื้นที่ที่มีการปรับปรุงอยู่บริเวณชายหาดบางแสนล่าง (หาดวอนนภา) ตั้งแต่บริเวณแนวเขื่อนกันคลื่นใกล้ๆ บริเวณซอย 8 เลียบหาด บางแสนล่าง แต่เดิมบริเวณหาดวอนนภา เป็นสถานที่ที่คนมาทำกิจกรรมกันมากมายทุกๆ วัน โดยเฉพาะช่วงกลางคืนและคืนศุกร์-เสาร์ แน่นอนว่ามีปัญหาตามมามากมายทั้งการจราจร ความแออัด ความสกปรก และเสียงดัง ทั้งจากการจุดพลุ เปิดเพลง และ การตะโกนโหวกเหวก ทำให้ ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนและ ผู้ประกอบการโรงแรมได้รับผลกระทบมากพอควร จึงได้มีการปรับปรุงพื้นที่ขึ้นใหม่โดยมีโจทย์ว่าจะต้องมีการออกแบบให้สวยและใช้ดีไซน์มาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ บริเวณนั้น เช่น มีที่ทิ้งขยะที่นักท่องเที่ยวชอบทิ้งในแนวโขดหินแนวกันคลื่น, การจัดzoning ที่มีรั้วรอบขอบชิดให้มีการเปิด-ปิดพื้นที่ในบางเวลา และบางพื้นที่เปิดให้ใช้ได้ตลอด 24 ชม. รวมถึงมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของต้นไม้ การแบ่งพื้นที่แบบ active Zone สามารถสังสรรค์ได้ และโซนที่ต้องการความสงบ เพื่อเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่สำหรับการออกกำลังกายด้วย เป็นต้น https://mgronline.com/travel/detail/9640000056197 .
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
ไมโครพลาสติกจำนวนมหาศาลปกคลุมชายฝั่งทะเลตะวันตกของศรีลังกา ................. อันนา ริสโตวา นักวางแผนยุทธศาสตร์งานรณรงค์พลาสติก กรีนพีซสากล ไมโครพลาสติกจำนวนมหาศาลที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งปกคลุมชายฝั่งทะเลตะวันตกของศรีลังกา ปูบนชายหาดที่ปนเปื้อนด้วยเม็ดพลาสติกที่พัดขึ้นฝั่งหลังจากเรือ MV X-Press Pearl เกิดไฟไหม้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะนี้เรือจมลงใต้ทะเลนอกชายฝั่งเมืองโคลัมโบ ศรีลังกา เศษซากจากเรือที่ถูกไฟไหม้ทำให้เกิดวิกฤตมลพิษรุนแรงบนชายหาด (AP Photo/Eranga Jayawardena) เกิดอะไรขึ้น? ศรีลังกากำลังเผชิญกับหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ หลังจากเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองหลวงที่มีชายหาดเก่าแก่ยาวหลายกิโลเมตร และคุกคามสิ่งมีชีวิตทางทะเล เม็ดพลาสติกขนาดเท่าเมล็ดถั่วเป็นชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือศรีลังกาเก็บเศษซากที่ถูกพัดเกยฝั่งจากเรือขนส่งสินค้า MV X-Press Pearl ที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ ซึ่งเกิดเพลิงลุกไหม้ต่อเนื่องนาน 12 วัน นอกชายฝั่งทะเลไม่ไกลจากท่าเรือโคลัมโบของศรีลังกา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (Photo by Lakruwan WANNIARACHCHI / AFP) (Photo by LAKRUWAN WANNIARACHCHI/AFP via Getty Images) ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ ทำไมไมโครพลาสติกที่ผลิตขึ้นใหม่หลายร้อยตันมีการขนส่งข้ามมหาสมุทรทั่วโลก ราวกับว่าวิกฤตมลพิษพลาสติกนั้นยังเลวร้ายไม่พอ ในช่วงเวลากว่า 70 ปี ของการผลิตสินค้าจำนวนมาก พลาสติกได้เข้าไปอยู่ในทุกซอกทุกมุมของโลก ผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและวิกฤตสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ภาพของอาสาสมัครที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อพยายามกำจัดไมโครพลาสติกขนาดเล็กออกจากชายหาดของศรีลังกา ทรัพยากรธรรมชาติถูกดึงออกมาเพื่อเพิ่มผลกำไรสูงสุด บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลและสินค้าอุปโภคบริโภคต่างทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งผลกำไรจะอยู่เหนือต้นทุนของผลกระทบของชุมชน ความคิดเห็นของกรีนพีซ อาบิเกล อากีลา ผู้ประสานงานรณรงค์ระดับภูมิภาค กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า "บริษัทแบรนด์ใหญ่ ๆ ไม่ควรเพิ่มการผลิตพลาสติกอีกต่อไปแล้ว เพราะนั่นเป็นการทำลายสุขภาพชุมชน และความหลากหลายทางชีวภาพ ในขณะเดียวกันก็เร่งรัดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราเหลือเวลาไม่มากนัก บริษัทต่าง ๆ และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลจะต้องหยุดการฟอกเขียว แล้วเปลี่ยนไปเป็นแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองผลิตเสียที" The Singapore-registered container ship MV X-Press Pearl carrying hundreds of tonnes of chemicals and plastics, sinks after burning for almost two weeks, just outside Colombo?s harbour on June 2, 2021. (Photo by ISHARA S. KODIKARA / AFP) (Photo by ISHARA S. KODIKARA/AFP via Getty Images) What needs to happen พลาสติกไม่ได้เป็นเพียงแค่วิกฤตมลพิษในมหาสมุทรเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางด้านวิกฤตสภาพภูมิอากาศ สุขภาพ และความเป็นธรรมทางสังคมอีกด้วย สุขภาพของเราจะดีถ้าสุขภาพของโลกใบนี้ดีเช่นกันแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ที่พึ่งพาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น Coca-Cola, Nestle และ Pepsi ต้องทบทวนรูปแบบธุรกิจใหม่และยอมรับการปรับตัวสู่อนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้แบรนด์ผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Coca-Cola หยุดสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล หยุดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และหันมาลงทุนในระบบเติมและนำกลับมาใช้ซ้ำอย่างยั่งยืน ในแง่ของภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ บริษัทขนส่งควรรับผิดชอบต่อคอนเทนเนอร์ที่สูญหายทั้งหมด และผลกระทบใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น และที่สำคัญพลาสติกควรถูกจัดประเภทเป็นวัสดุที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และควรมีการระบุรหัส IMDG (รหัสระหว่างประเทศสำหรับการขนส่งทางทะเลของสินค้าอันตรายในรูปแบบบรรจุภัณฑ์) https://www.greenpeace.org/thailand/...ern-coastline/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|