#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ด้านรับมรสุมของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 22 ? 25 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 ? 27 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 26 ? 27 มิ.ย. 64 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
"ทช.-กองทัพเรือ" เคลียร์อวนยักษ์ติดปะการัง เกาะโลซิน หนักกว่า 800 กิโล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประสานและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เคลียร์อวนยักษ์ติดปะการัง เกาะโลซิน หนักกว่า 800 กิโลกรัม "วราวุธ" ชื่นชมทุกฝ่ายช่วยกันจนสำเร็จ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 จากกรณี มีการโพสต์ภาพอวนยักษ์ติดแนวปะการัง บริเวณเกาะโลซิน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ระบบนิเวศปะการัง ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำนักดำน้ำกว่า 40 นาย พร้อมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ลงพื้นที่จัดการเก็บกู้ทันที โดยสามารถเก็บกู้อวนได้กว่า 800 กิโลกรัม ประเมินความเสียหายของปะการัง ได้ประมาณ 550 ตารางเมตร ซึ่งได้เตรียมแผนฟื้นฟูพื้นที่แล้ว อีกทั้ง จะได้เร่งติดตามสืบสวนหาผู้กระทำความผิดและดำเนินการทางกฎหมาย รวมถึง เร่งรัดประกาศกฎกระทรวง เพื่อให้พื้นที่เกาะโลซิน เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ต่อไป นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า นับตั้งแต่พบอวนยักษ์ติดแนวปะการังบริเวณเกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี ตนได้เร่งสั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประสานและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้นำทีมเก็บกู้อวนยักษ์ลงปฏิบัติการในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2564 และเสร็จสิ้นภารกิจแล้วเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564 โดยการปฏิบัติการครั้งได้ ได้มีการสนธิกำลังร่วมกับนักดำน้ำอาสาสมัครกว่า 40 คน ซึ่งเป็นนักดำน้ำระดับ Instructor 14 คน และระดับ Dive Master 6 คน และได้รับการสนับสนุนจาก กองทัพเรือภาคที่ 2 นำทีมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานใต้น้ำ 15 นาย พร้อมยุทโธปกรณ์ เรือหลวงราวี เรือ ต 991 เครื่องบินตรวจการณ์และเฮลิคอปเตอร์ อย่างละ 1 ลำ พร้อมทีมแพทย์สนามกรณีฉุกเฉิน เพื่อดูแลอาสาสมัครนักดำน้ำที่เข้าร่วมภารกิจ และยังมีทีมนักวิชาการ จากหลายหน่วยงาน ร่วมกันสำรวจประเมินความเสียหายแนวปะการัง อย่างไรก็ตาม ตนได้กำชับให้เตรียมอากาศ Nitrox ให้นักดำน้ำทุกท่านได้ใช้ ในทุกไดฟ์ตลอดการปฏิบัติการ เนื่องจากระดับน้ำลึกพอสมควร ซึ่งภายหลังภารกิจเสร็จสิ้น ตนได้กำชับนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามและกำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสืบหาแหล่งที่มาของอวน และประมาณการค่าเสียหายของแนวปะการังและค่าใช้จ่ายจากการปฏิบัติการครั้งนี้ รวมถึง เร่งรัดการประกาศกฎกระทรวงกำหนดให้เกาะโลซิน เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ตามมาตรา 20 แห่ง พรบ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ตนต้องขอขอบคุณภาพถ่ายจาก iManCamera ที่เป็นแนวหน้าในการถ่ายภาพแนวปะการัง นำมาสู่ปฏิบัติการช่วยชีวิตปะการังเกาะโลซินในครั้งนี้ และขอบคุณ Just Dive Thailand ด้วย รวมถึง นักดำน้ำอาสาสมัคร หน่วยงานกองทัพเรือ ศรชล. รวมทั้ง อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน ที่ได้ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจจนทำให้ภารกิจลุล่วงไปได้ด้วยดี สุดท้ายตนต้องฝากถึงพี่น้องประชาชนทุกคน "ขึ้นชื่อว่า ขยะ ก็คงไม่มีใครต้องการ ปะการังเองก็ไม่ต้องการขยะอวนนี้เช่นกัน การลักลอบทำประมงอย่างขาดจิตสำนึกทำลายปะการังไม่อาจรับได้ เศษขยะยิ่งตกค้างมากเท่าไร แสดงถึงจิตสำนึกที่ตกต่ำของผู้กระทำมากเท่านั้น" ด้านนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเสริมว่า ทีมปฏิบัติเก็บกู้อวนเกาะโลซินได้เดินทางจากท่าเทียบเรือของฐานทัพเรือสงขลาเมื่อค่ำวันที่ 18 มิถุนายน 2564 โดยได้ลงดำน้ำเก็บกู้อวน 2 วัน สามารถเก็บกู้อวนขึ้นมาได้ทั้งหมด รวม 800 กิโลกรัม โดยอวนมีความยาว 200 เมตร กว้าง 50 เมตร และได้ลงดำน้ำครั้งที่ 3 เพื่อประเมินความเสียหายของปะการัง และซ่อมแซมกิ่งที่แตกหักเสียหาย และเดินทางกลับถึงฐานทัพเรือสงขลา ทรภ. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ซึ่งจากการสำรวจและประเมินเบื้องต้น อวนได้ปกคลุมแนวปะการังกว่า 2,750 ตารางเมตร ปะการังได้รับความเสียหายประมาณ 550 ตารางเมตร ลักษณะความเสียหายหลัก คือ ปะการังซีดจาง ฟอกขาวบางส่วน คิดเป็นร้อยละ 10 ปะการังแตกหัก ได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังแผ่น ปะการังจาน คิดเป็นร้อยละ 5 และปะการังมีรอยถลอก เสียดสี คิดเป็นร้อยละ 5 ของพื้นที่ปกคลุมทั้งหมด นอกจากปะการังยังมีผลกระทบอื่นๆ ประกอบด้วย ดอกไม้ทะเล และสัตว์หน้าดิน จำพวกปูและหอยเม่น ถูกทับและพันเกี่ยว อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้กำหนดแผนการฟื้นฟูทันที โดยจะดำเนินการปลูกทดแทนในพื้นที่เสียหาย สำหรับการดำเนินการทางกฎหมาย กรมฯ ได้มอบให้ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9 (ปัตตานี) เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อเจ้าพนักงานสอบสวนสืบหาผู้กระทำผิด ซึ่งคาดว่าเป็นเรือประมงเครื่องมือประมงอวนล้อมหิน หากพบมีการทำประมงในพื้นที่จะมีความผิดตามคำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เรื่องพื้นที่คุ้มครองปะการังในบริเวณพื้นที่กองหินใต้น้ำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 เนื่องจาก ทำให้ปะการังเสียหาย แตกหักและตาย มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในมุมมองนักวิชาการอย่าง ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีกิจการพิเศษและรองหัวหน้าภาควิชา ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การเก็บกู้อวนที่เกาะโลซินถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญด้านการดูแลแนวปะการังของไทย ที่ทุกฝ่ายต่างเห็นความสำคัญและร่วมมือกันจนสามารถดำเนินการเก็บกู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นจะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลชายฝั่งที่สุด อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าเราต้องสร้างความร่วมมือด้านการลาดตระเวนเพิ่มขึ้น เพื่อดูแลและจัดการการทำประมงที่ผิดกฎหมาย และสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ คือ แรงกระตุ้นจากกระแสสังคม และประชาชนที่ช่วยกันเห็นหูเห็นตาในการดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเล ซึ่งหากทุกคนช่วยกันเช่นนี้ ทรัพยากรทางทะเลของประเทศจะเพิ่มความสมบูรณ์ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ต่อไป ดร.ธรณ์ กล่าวแสดงความมั่นใจ https://www.thairath.co.th/news/local/south/2121256
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
ฉลามวาฬว่ายน้ำเข้าใกล้เรือเก็บกู้ซากอวนที่เกาะโลซิน ปัตตานี 21 มิ.ย.-กรมอุทยานแห่งชาติฯ เผยแพร่ภาพ "ฉลามวาฬ" ขนาดใหญ่ว่ายน้ำเข้ามาใกล้เรือที่ปฏิบัติงานเก็บกู้ซากอวนที่เกาะโลซิน จ.ปัตตานี พร้อมระบุ "น้องมาให้กำลังใจ" และ "เจ้าจุดก็เป็นห่วงทะเล" สร้างความดีใจให้เจ้าหน้าที่ทุกคน นายยุทธนา สัจกุล ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี รายงานมายังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชว่า ได้นำเจ้าหน้าที่ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจการกู้เครื่องมือประมง ซากอวนขนาดใหญ่ พื้นที่แนวปะการังเกาะโลซิน อำเภอปานาเระจังหวัดปัตตานี ร่วมกับกองทัพเรือภาค 2 ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 2 (ศรชล.2) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยอาสาสมัครนักดำน้ำ สำหรับเรือที่ร่วมปฏิบัติการประกอบด้วย เรือหลวงราวี เรือต. 991 อากาศยานจากกองเรือภาคที่ 2 เรือของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 1 ลำ เรือตรวจการณ์กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2 ลำ เรือตรวจการณ์อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว- เขาตันหยง เรือสำหรับดำน้ำชื่อ "อิสระ" 1 ลำ เรือประมงสำหรับเก็บซากอวน 1 ลำ และเรือยาง 4 ลำ ทั้งหมดเก็บกู้ซากอวน โดยตัดเลาะส่วนที่ติดกับปะการังแล้วสาวขึ้นเรือยาง นำไปเก็บรวบรวมไว้ที่เรือประมงของเอกชน และคัดสิ่งมีชีวิตหรือปะการังออกเพื่อนำไปปลูกฟื้นฟู ในระหว่างปฏิบัติภารกิจมีฉลามวาฬขนาดใหญ่มาปรากฏตัวให้เห็นด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ต่างยินดีเพราะบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล โดยฉลามวาฬได้ว่ายมาใกล้เรือปฏิบัติการด้วย ในการเผยแพร่ดังกล่าว กรมอุทยานแห่งชาติได้ระบุข้อความว่า "น้องมาให้กำลังใจ" ส่วนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระบุข้อความว่า "พี่จุดก็เป็นห่วงทะเล" โดยเรียกขานจากลายที่มีลักษณะเป็นจุดของฉลามวาฬ "ฉลามวาฬ" เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์และอยู่ในบัญชีสัตว์สงวน ตามพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และพ.ร.ก. การประมง นอกจากนี้ยังอยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ใน 2-3 ปีที่ผ่านมามีผู้พบเห็นฉลามวาฬในท้องทะเลไทยบ่อยขึ้น แต่ยังจำเป็นที่จะต้องคุ้มครองจากการล่าและภัยคุกคามต่างๆ. https://tna.mcot.net/environment-721940
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
สถิติพลัดถิ่นในประเทศสูงสุดตั้งแต่เคยบันทึก เหตุเพราะ "ภัยพิบัติจากโลกร้อน" .................. โดย ณิชา เวชพานิช รายงานล่าสุดขององค์กรเฝ้าระวังกรณีผู้พลัดถิ่นในประเทศย้ำสาเหตุหลักของการพลัดถิ่น คือ ภัยพิบัติจากโลกร้อน มีผลมากกว่าปัจจัยความไม่สงบและความรุนแรง 3 เท่า พื้นที่หนักสุดคือเอเชียตะวันออก ชี้ถึงเวลาเข้าใจปัญหาผู้อพยพสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง "คนขุนสมุทรจีนมีบ้านกันคนละ 10-11 หลัง พวกเราย้ายบ้านกันบ่อยมาก ไม่ใช่เพราะความรวย แต่เป็นความซวยของชีวิต" สมร เข่งสมุทร ผู้ใหญ่บ้านขุนสมุทรจีน กล่าวด้วยเสียงสั่นเครือ ระหว่างการเสวนา "วัฒนวิกฤต ชีวิตคนชายฝั่ง" แม้เธอจะเล่าให้ผู้เข้าฟังผ่านโปรแกรมประชุมออนไลน์ Zoom แต่น้ำเสียงเปี่ยมอารมณ์ยังคงสื่อสารมาถึงคนฟังอย่างชัดเจน ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนเคยเป็นข่าวโด่งดังในไทยกับสมญานาม "แผ่นดินที่หายไป" ด้วยเป็นชุมชนชายฝั่งติดอ่าวไทยที่ทยอยถูกกัดเซาะจากคลื่นกระทบฝั่งและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เสาไฟฟ้าบ้านขุนสมุทรจีนตั้งอยู่กลางทะเล แสดงถึงที่ตั้งชุมชนเก่าก่อนถูกทะเลรุกคืบ (ภาพ: Open Source Art Performance) อย่างไรก็ตามแม้เวลาผ่านไป ข่าวจะเงียบหาย แต่เสียงคลื่นกระทบฝั่งและกัดกินแผ่นดินยังดังต่อเนื่อง พร้อมกับความหนักใจของคนขุนสมุทรจีน สมรและเพื่อนบ้านนับเป็นหนึ่งใน "พลัดถิ่นภายในประเทศ" หรือผู้คนที่ถูกบังคับให้โยกย้ายในประเทศตัวเอง ซึ่งนับวันจะมีจำนวนและความถี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกซึ่งเป็นทวีปที่เกิดผู้พลัดถิ่นเพราะภัยพิบัติทางธรรมชาติมากที่สุด เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา องค์กรเฝ้าระวังกรณีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (Internal Displacement Monitoring Center : IDMC) องค์กรสากลที่ตั้งอยู่สวิสเซอร์แลนด์ เปิดเผยรายงานสถานการณ์ผู้ผลัดถิ่นในประเทศฉบับใหม่ พบว่า ปี 2020 เป็นปีที่มีการพลัดถิ่นในประเทศเกิดขึ้นใหม่ทั่วโลก 40.5 ล้าน นับว่าสูงที่สุดรอบสิบปี การพลัดถิ่นอาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งต่อคนๆ หนึ่ง ดังนั้นตัวเลขดังกล่าวจึงไม่ได้แสดงจำนวนผู้พลัดถิ่น ทว่าแสดงจำนวนการโยกย้ายที่ผู้คนต้องเผชิญ ขณะที่หลายคนอาจจดจำภาพ "คนพลัดถิ่น" ว่าต้องจากบ้านเพราะความขัดแย้งและความรุนแรงในประเทศ เช่น การต่อสู้ระหว่างกลุ่มติดอาวุธในประเทศตะวันออกกลาง รายงานย้ำว่าภัยพิบัติเป็นสาเหตุสำคัญ โดยคิดเป็นต้นเหตุ 3 ใน 4 ของการพลัดถิ่น สูงกว่าสาเหตุความไม่สงบถึง 3 เท่า 98% ของภัยพิบัติเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เช่น ภัยแล้ง ดินถล่ม ไฟป่า รวมถึงน้ำท่วมและมรสุม ซึ่งประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นทวีปที่เจอการพลัดถิ่นเพราะภัยพิบัติมากที่สุด ปี 2020 มีจำนวนผู้พลัดถิ่นในประเทศอย่างน้อย 12.1 ล้านคน ประเทศที่มีผู้พลัดถิ่นในประเทศปี 2020 เยอะสุด คือ จีน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เรียงลำดับ โดยประเทศจีนเจอเหตุน้ำท่วมหนัก แม่น้ำกว่า 72 สายมีระดับน้ำสูงที่สุดตั้งแต่เคยเก็บข้อมูล จนทำให้เขื่อน Anhui แตกและยังมีการระบายน้ำจากเขื่อนทำให้ท่วมจังหวัดต่างๆ นอกจาก ภัยพิบัติที่ถี่และรุนแรงขึ้นเพราะวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ประชากรจำนวนมากยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ-ริมชายฝั่ง ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของเมือง 3% ทุกปี สูงกว่าทุกทวีป สาเหตุการพลัดถิ่นใหม่ในประเทศปี 2020 สีส้มคือสาเหตุความขัดแย้งและความรุนแรง สีฟ้าแสดงถึงภัยพิบัติ (ภาพ: GRID2021) สำหรับประเทศไทย ภัยพิบัติทำให้เกิดการพลัดถิ่นใหม่ในปี 2020 ราว 13,000 นั้นอาจจะเป็นจำนวนที่ไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาที่สูง 66,000 แต่ตัวเลขนี้อาจเป็นแค่ขั้นต่ำ เนื่องจากยังมีการศึกษาเรื่องนี้ไม่เพียงพอ ปัจจุบัน การเก็บข้อมูลเรื่องผู้พลัดถิ่นจากภัยธรรมชาติในประเทศยังน้อย เป็นเพราะมายาคติหลายอย่าง เช่นว่าเป็นแค่เรื่อง "ระยะสั้น" แต่แท้จริงแล้ว หลังจากภัยพิบัติซาลง ยังมีคนจำนวนมากที่ไม่อาจตั้งตัวหรือกลับไปบ้านได้ ยังไม่นับการพลัดถิ่น ?ข้ามประเทศ? จำนวนมาก เช่น แรงงานกัมพูชาซึ่งผันตัวจากอาชีพเกษตรกรรมเพราะภัยแล้งและน้ำท่วมมารับจ้างในประเทศไทย "เราควรจะทุ่มเทกับการลดความเสี่ยงและสนับสนุนคนที่ต้องอพยพ และโต้กลับความคิดที่ว่าภัยพิบัติเป็นเรื่อง ?ธรรมชาติ? เราต้องตระหนักในบทบาทว่าพวกเราว่าเรามีส่วนสร้างความเสี่ยงและลดความเสี่ยงนั้นๆ ด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน" องค์กรเฝ้าระวังกรณีผู้พลัดถิ่น ย้ำ นอกจากนี้ ยังมีมายาคติ เหตุการณ์ขนาดเล็กไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะแท้จริงแล้วการพลัดถิ่นของคนกลุ่มเล็กๆ นั้นกระทบกับระดับบุคคลและการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงฉายภาพถึงอนาคต "ความเสี่ยง" กับพื้นที่ลักษณะเดียวกัน เหมือนกับที่ สมร เข่งสมุทร ที่ต่อสู้เพื่อ "แผ่นดิน" บ้านขุนสมุทรจีนมาตลอด 26 ปี กล่าวในงานเสวนาออนไลน์ ด้วยความหวังว่าจะย้ำความทรงจำสังคมเกี่ยวกับเรื่องราวที่ขุนสมุทรจีนเผชิญ "ขุนสมุทรจีนล่มสลายไปก็ไม่ได้เดือดร้อนใครหรอก แต่ถ้ากรุงเทพมหานครและชุมชนริมทะเลทั้งหลายหายไปเหมือนกันจะทำอย่างไร" https://greennews.agency/?p=24133
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|