#1
|
||||
|
||||
ปลา "แมนดาริน" มังกรน้อยคาบสมุทรอินโดฯ
ปลา "แมนดาริน" มังกรน้อยคาบสมุทรอินโดฯ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาทีมงาน "หลายชีวิต" มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับ ศ.นพ.สมพล พงศ์ไทย อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อดูความคืบหน้าการสร้างอควาเรียมสถานีเรียนรู้ "โลกใต้ทะเล" รูปร่างคล้ายปลากระเบน จังหวัดชลบุรี ที่คาดว่าจะเปิดดำเนินการในปี’54 ...กลุ่มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามอย่าง "การ์ตูน" (นีโม) จะรู้จักกันดี เพราะที่นี่เคยสร้างชื่อด้านการอบรมเพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้มาแล้ว ส่งผลให้หลายรายมีอาชีพ รายได้เป็นกอบเป็นกำกันมาแล้ว.... ดร.เสวภา สวัสดิ์พีระ รองผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสน มหาวิทยาลัยบูรพา อ.บางแสน จ.ชลบุรี บอกกับ "หลายชีวิต" ว่า...ก่อนตัดสินใจที่จะเลือกเลี้ยงปลาตู้นั้น เพื่อให้ปลามีชีวิตอยู่รอด เราต้องรู้ก่อนว่าเขาต้องการบ้านลักษณะแบบใด น้ำที่ใช้เลี้ยงระบบต้องดีปลาถึงอยู่รอด ซึ่งที่ผ่านมาทางสถาบันได้เปิดอบรมการเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูนให้กับผู้ที่สนใจเพื่อไปประกอบอาชีพมาแล้วหลายราย ส่วนชนิดใหม่ในขณะนี้ที่เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้นก็คือ "ปลาแมนดาริน" ซึ่งอยู่ในช่วงเก็บข้อมูล โดยรุ่นที่เลี้ยงเพื่อวิจัยสร้างสายพันธุ์นั้นนำเข้ามาจากประเทศ อินโดนีเซีย โดยสถาบันมีเป้าหมายว่าจะสร้างสายพันธุ์เชิงพาณิชย์ จากนั้นจะส่งต่อเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ให้กับผู้ที่สนใจ สำหรับลูกปลาแมนดารินครอกแรกที่ได้มีประมาณ 10 ตัว ปัจจุบันมีอายุ 4 เดือน สามารถผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 1 ปี ...และจากการสังเกตพบว่า เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้จะมีนิสัยที่รักสงบ ลูกที่ออกมาจะมีอัตราการรอดสูงกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติ สามารถอยู่ร่วมกับปลาชนิดอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มผู้ล่า... "ปลาแมนดาริน" (Dragonets) หรือที่หลายคนเรียกว่า "มังกรน้อย" มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ไล่ลงมาเรื่อยไปจนถึงปาปัวนิวกินี นิวแคลิโดเนีย หมู่เกาะแคโรไลน์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ อาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีกระแสน้ำไม่แรงนักพัดผ่าน กลางวันจะหลบซ่อนตามโพรงหิน ออกหากินสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยตามหน้าดินเป็นอาหารช่วงค่ำ มีนิสัยที่ก้าวร้าวกับพวกเดียวกัน หวงถิ่น สร้างอาณาเขตเป็นของตัวเองค่อนข้างชัดเจน ...มังกรน้อย มีขนาดรูปร่างใกล้เคียงกับปลาบู่ มีสีสันสวยสะดุดตา ซึ่งภายใต้ผืนน้ำแห่งท้องทะเลนั้น กลุ่มของพวกมันมีด้วยกันหลากหลาย แต่ที่ถูกคัดสรรให้ขึ้นมาเวียนว่ายในตลาดปลาสวยงามนั้นมีเพียงแค่ สปอตแมนดาริน สกู๊ตเตอร์ และเรดสกู๊ตเตอร์ โดยกลุ่มนักเลี้ยงปลาตู้ยกนิ้วให้แมนดารินธรรมดาหรือที่ส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม "กรีนแมนดาริน" (S. splendidus) เป็นชนิดที่สวยงามสุด ส่วนลวดลาย "แมนดาริน" บนลำตัวงดงามหลากสี ตามีขนาดใหญ่ ปากเล็ก ครีบสามารถใช้ "คลาน" ไปมาตามพื้นได้ ลำตัวเรียบลื่น เต็มไปด้วยเส้นสายสีเขียวทาบทับกันไปมาบนพื้นลำตัวสีส้ม และมีทั้งพื้นลำตัวสีส้มแสดไปจนถึงสีน้ำตาลอ่อน สามารถปรับเปลี่ยนได้เล็กน้อยตามสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วงที่ปลากำลังจับคู่ผสมพันธุ์ หรือต่อสู้กับพวกเดียวกัน โตเต็มที่ยาวประมาณ 6-8 ซม. ปลาตัวผู้บริเวณครีบหลังจะมีกระโดงยื่นยาว ส่วนตัวเมียไม่มี แม้ว่า....ปลามังกรน้อยมีขนาดตัวเล็กสีสันสดสวย ว่ายน้ำเชื่องช้า แต่มี "เมือกพิษ" รอบตัว สำหรับป้องกันศัตรูใต้น้ำที่หวังเขมือบมันเป็นอาหาร ทว่ามันก็ยังหนีไม่พ้นน้ำมือมนุษย์อยู่นั่นเอง! จาก ................ ไทยรัฐ วันที่ 10 สิงหาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
|||
|
|||
มังกรน้อยที่เราไปเฝ้ารอชมด้วยความหนาวเหน็บ....Y_Y
|
#3
|
||||
|
||||
เป็นข้อมูลที่น่าสนใจอย่างมากครับ อยากมีแบบนี้มาให้อ่านอีก อิอิ
|
#4
|
||||
|
||||
ต้นเดือนตุลาคมนี้ สองสายกับน้องตุ๊กแกผาจะไปนั่งเฝ้านอนเฝ้าปลาแมนดารินพลอดรักยามโพล้เพล้ที่ Sipadan ดูอีกครั้งค่ะ คงจะไม่ต้องหนาวเหน็บเหมือนที่ Puerto Galera แน่ๆค่ะ....
__________________
Saaychol |
#5
|
|||
|
|||
เดือนที่แล้วผมเพิ่งไปนั่งเฝ้าที่มานาโดมาครับพี่ รู้สึกปลาพวกนี้มันขยันจัง พลอดรักกัน 10 กว่าครั้งเห็นจะได้
|
#6
|
||||
|
||||
อิๆ...น่าจะลองไปสืบๆดูนะคะว่ามันกินอะไร ถึงได้มีพลังเหลือเฟือขนาดนั้น.....
__________________
Saaychol |
#7
|
||||
|
||||
ถึงว่าทำไมตัวนิดเดียวที่แท้ใช้พลังงานกับทางนี้ไปเยอะนี่เอง
|
#8
|
|||
|
|||
อยากไปนอนรอดูมั่งจังค้าบ เอาไว้ซักวันนึงคงมีโอกาสได้เจอกันนะ มังกรน้อย
|
#9
|
||||
|
||||
พี่สายชลครับ พี่ตอบอย่างนี้ ผมคิดมากนะครับเนี่ย
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
|
|