#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลมแรงและอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย ส่วนภาคใต้ขอให้ชาวเรือระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปควรงดจากฝั่ง ฝุ่นละอองในระยะนี้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันยังคงมีอยู่ ส่วนภาคเหนืออากาศยกตัวได้ไม่ดีในตอนเช้าและลมอ่อน ทำให้ตอนเช้ามีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควัน ส่วนตอนบ่ายจะดีขึ้นเนื่องจากอากาศยกตัวได้ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 พื้นที่ และมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563)" ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ในช่วงวันที่ 18-19 ก.พ. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงนี้ไว้ด้วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 18-23 ก.พ. 63 ทั้งนี้เนื่องจาก บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
พิษไฟป่า ทำภูกระดึงเสียหายกว่า 3,400 ไร่ จนท.คุมได้แล้ว สามารถเที่ยวได้ตามปกติ จากกรณีไฟไหม้ป่าที่ภูกระดึงเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมเพลิงได้อยู่ในวงจำกัดแล้ว คาดเสียหายหนักกว่า 3,400 ไร่ พร้อมเปิดบริการท่องเที่ยวตามปกติ เมื่อเวลา 06.00 น. เพจเฟซบุ๊ก "ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" โพสต์ข้อความกรณีไฟป่าบนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย ว่า นายอดิสร เหมทานนท์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการดับไฟป่า เปิดเผยว่า วานนี้(16ก.พ.63) เวลา 08.30 น. มีไฟป่าเกิดขึ้นบริเวณซำขอนแดง เจ้าหน้าที่กอ.ไฟป่าภูกระดึงร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จำนวน 10 นาย ออกปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าในพื้นที่โดยจุดเกิดไฟป่าห่างจากขอบหน้าผาประมาณ 2 กม. แต่ด้วยสภาพความแห้งแล้งประกอบกับสภาพกระแสลมพัดแรงทำให้เกิดลูกไฟพัดลอยข้ามแนวกันไฟมาตกในพื้นที่บริเวณหลังแปห่างจากขอบหน้าผาประมาณ 400 เมตร บริเวณผาเมษา เวลา 11.00 น.ไฟป่าบริเวณผาเมษา พิกัดได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการได้ร่วมกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง สั่งการให้กำลังเจ้าหน้าที่ กอ.ไฟป่าภูกระดึง จำนวน 32 นายและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จำนวน 60 นาย และผู้ประกอบการ และจิตอาสา รวมทั้งสิ้น จำนวน 130 นาย เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมพร้อมด้วยรถแทรกเตอร์ จำนวน 3 คัน รถน้ำ จำนวน 4 คัน โดยการทำแนวกันไฟและชิงเผากลับตามเส้นทางหลังแป - วังกวาง และเส้นทางหลังแป - หมากดูก ? สระใหญ่เบื้องต้นสามารถควบคุมไฟให้อยู่ในวงจำกัดได้แล้ว ประเมินพื้นที่เสียหายประมาณ 2,000 ไร่ พื้นที่เสียหายแบ่งตามแบ่งตามชนิดป่า ป่าสน - ป่าก่อ - และทุ่งหญ้า ต่อมาเวลา 17.00 น. ไฟป่าบริเวณเส้นทางผาหมากดูก ได้ข้ามแนวควบคุมและขยายตัวไปทางสระแก้ว จึงได้สั่งการให้แบ่งกำลังไปควบคุม โดยใช้วิธีทำแนวกันไฟและชิงเผากลับจากเส้นทางองค์พระพุทธเมตตา - สระแก้ว - สะพานหิน - สระอโนดาษ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการควบคุมไฟตลอดทั้งคืนจนถึงขณะนี้ ต่อมาเมื่อเวลา 10.25 น. เพจเฟซบุ๊ก "ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" โพสต์ความคืบหน้าล่าสุด จากกรณีไฟป่าบนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย ว่า เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงบริเวณหลังแปยอดภูกระดึงได้แล้ว วันนี้เร่งเข้าเก็บแนวดำในพื้นที่ที่ยังติดขอนไม้ให้สนิท ประเมินความเสียหายรวมกว่า 3,400 ไร่ วันที่ 17 ก.พ. 2563 นายอดิสร เหมทานนท์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการดับไฟป่า รายงานเข้ามาว่า เมื่อเวลา 02.00 น. เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมไฟป่าบนหลังแปยอดภูกระดึงได้แล้ว และได้ประเมินพื้นที่เสียหายรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,400 ไร่ เบื้องต้นไม่มีเจ้าหน้าที่และนักท่องเที่ยวผู้ใดได้รับอันตรายและไม่มีทรัพย์สินของทางราชการรวมถึงของผู้ประกอบการได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ทั้งนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการใช้รถน้ำดับไฟเก็บแนวดำในพื้นที่ที่ยังมีไฟติดต้นไม้ขอนไม้ให้ดับสนิทภายในวันนี้และจะรายงานความคืบหน้าโดยด่วนที่สุด หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้คุมเพลิงไฟป่าบนภูกระดึงได้แล้ว ทางอุทยานฯ ยังเปิดให้บริการท่องเที่ยวตามปกติ แม้ว่าอากาศบนภูกระดึงในปีนี้แล้งมาก จึงได้ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวโปรดระมัดระวังและดับไฟจากก้นบุหรี่ดับให้สนิท แล้วนำรวบรวมมาทิ้งถังรับขยะหรือนำลงจากภู เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ สำหรับข้อมูลด้านการท่องเที่ยว "ภูกระดึง" ถือว่าเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินป่าอันดับต้นๆ ที่หลายๆ คนเลือกจะไปเยือน บางคนก็ลองมาสักครั้งในชีวิต จะได้สัมผัสบรรยากาศอย่างที่เขาว่ากัน แต่บางคนกลับติดใจในเสน่ห์ของภูกระดึงอย่างถอนตัวไม่ขึ้น จนต้องกลับมาเยือนอีกหลายๆ ครั้ง จุดที่เที่ยวบนภูกระดึงที่นักท่องเที่ยวนิยมไปก็คือ ชมพระอาทิตย์ตกที่ "ผาหมากดูก" ที่อยู่ห่างจากบริเวณที่พักประมาณ 2,000 เมตร ส่วนในยามเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ก็ไปชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ "ผานกแอ่น" ซึ่งเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นแห่งเดียวบนยอดภูกระดึง ชื่นชมบรรยากาศยามเช้าที่พระอาทิตย์ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาจากขอบฟ้า ส่องแสงอบอุ่นในยามเช้า ขับไล่ความหนาวเย็นของอากาศไปได้เล็กน้อย ถ่ายรูปกันจนพอใจแล้วก็เดินทางกลับสู่ที่พัก ผ่านบริเวณ"ลานพระแก้ว" ลานหินกว้างแวดล้อมด้วยทิวสน ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนเส้นทางการท่องเที่ยวบนภูกระดึงนั้นมีให้เลือก 2 เส้นทาง คือ เส้นทางหน้าผา และเส้นทางน้ำตก โดย "เส้นทางหน้าผา" เริ่มต้นตั้งแต่เช้าตรู่หลังจากชมพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ก็หลับมาอาบน้ำอาบท่า เตรียมน้ำเตรียมขนมให้พร้อม สะพายกล้องคู่ใจ แล้วออกเริ่มต้นเดินจากวังกวางไปสู่ "องค์พระพุทธเมตตา" ที่ประดิษฐานอยู่บนลานหิน และยังมี "สระอโนดาต" แหล่งน้ำธรรมชาติที่มีลำธารไหลผ่านตลอดทั้งปี รวมถึงผาแดง ผาเหยียบเมฆ ผานาน้อย ผาจำศีล และผาหมากดูก เป็นเส้นทางการเดินท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ส่วนฤดูการท่องเที่ยวภูกระดึง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคมของทุกปี และช่วงปิดฤดูการท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-30 กันยายนของทุกปี https://mgronline.com/travel/detail/9630000015856 ********************************************************************************************************************************************************* เผยภาพ "ภูกระดึง" หลังไฟป่าผ่านพ้น อุทยานฯ ระบุเที่ยวได้ตามปกติ ภาพจากเฟซบุ๊ก Phuri Phankradueng เมื่อเวลา 12.40 น. ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Phuri Phankradueng โพสต์ภาพความเสียหายของป่าบนอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย หลังจากที่เพลิงได้เผาไหม้วอดวาย พร้อมระบุข้อความว่า สภาพบนภูกระดึงที่ถูกไฟป่า เสียดายต้นไม้ขอให้ฝนตกลงมาจะได้ทำให้พื้นที่ต่างๆ และต้นไม้คืนสภาพ จากภาพดังกล่าวเป็นภาพของป่าสนที่ถูกเพลิงไหม้ บริเวณหลังแป ซึ่งจากเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าบนภูกระดึงครั้งนี้สร้างความเสียหายรวมทั้งสิ้น 3,400 ไร่ โดยเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมไฟป่าบนหลังแปยอดภูกระดึงได้แล้ว เมื่อเวลา 02.00 น. ภาพจากเฟซบุ๊ก Phuri Phankradueng หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้คุมเพลิงไฟป่าบนภูกระดึงได้แล้ว ทางอุทยานฯ ยังเปิดให้บริการท่องเที่ยวตามปกติ แม้ว่าอากาศบนภูกระดึงในปีนี้แล้งมาก จึงได้ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวโปรดระมัดระวังและดับไฟจากก้นบุหรี่ดับให้สนิท แล้วนำรวบรวมมาทิ้งถังรับขยะหรือนำลงจากภู เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ https://mgronline.com/travel/detail/9630000016043
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
"แอนตาร์กติก" น่าวิตก! อุณหภูมิสูงทะลุ 20 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรก ภาพ:https://www.theguardian.com/world/20...st-time-record อุณหภูมิแถบแอนตาร์กติก หรือพื้นที่แถบขั้วโลกใต้ได้เพิ่มขึ้นสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือ 68 องศาฟาเรนไฮต์ เป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อและผิดปกติ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความวิตกต่อสภาพความไม่แน่นอนของแหล่งกักเก็บน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิลระบุว่าอุณหภูมิวัดได้ที่เกาะซีมัวร์ (Seymour Island) เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2020 สูงถึง 20.75 องศาเซลเซียส จากระดับ 19.8 องศาเซลเซียสของการวัดครั้งก่อนที่เกาะซิกนี (Signy Island) ปี 1982 ซึ่งก่อนหน้านักวิทยาศาสตร์ชาวอาร์เจนตินาวัดอุณหภูมิของสถานีเอสเพอร์รันซา (Esperanza) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2020 ได้ 18.3 องศาเซลเซียส ก็เป็นระดับที่สูงสุดมาแล้วของคาบสมุทรแอนตาร์กติก อุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์จากการวัดทั้งสองครั้งนี้ แม้ว่าจะต้องผ่านการรับรองจากกรมอุตุนิยมวิทยาโลก แต่ก็สอดคล้องกับสถานการณ์ส่วนใหญ่ในบริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติกและเกาะที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งอุ่นขึ้นเกือบ 3 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และเป็นอุณหภูมิที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแห่งหนึ่งของโลก โดยนักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งเก็บข้อมูลจากสถานีตรวจสอบระยะไกลทุกๆ 3 วัน อธิบายว่า อุณหภูมิที่ทำสถิติใหม่นี้เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อและผิดปกติ ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/20...st-time-record "เราเคยเห็นแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจากหลายสถานีที่เราเฝ้าติดตาม แต่ไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน" คาร์ลอส เชฟเฟอร์ ซึ่งทำงานในโครงการเทอร์รานทาร์ (Terrantar) โครงการของรัฐบาลบราซิลที่มุ่งไปที่การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ climate change ต่อชั้นดินเยือกแข็งคงตัว หรือ permafrost (permafrost หมายถึง พื้นดินที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่พบพื้นดินแบบนี้ในบริเวณขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ และพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งบนผิวดินอาจไม่จำเป็นต้องมีน้ำแข็งปกคลุมก็ได้) และด้านชีววิทยาจาก 23 สถานีที่คาบสมุทรแอนตาร์ติก เชฟเฟอร์กล่าวว่า อุณหภูมิในคาบสมุทรแอนตาร์ติก บริเวณเกาะเชตแลนด์ใต้ (South Shetland Island) และหมู่เกาะเจมส์ รอสส์ (James Ross archipelago) ซึ่งครอบคลุมเกาะซีมัวร์ มีความไม่แน่นอนในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา และหลังจากที่เย็นลงในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษนี้ ก็กลับมาอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิลซึ่งอยู่ในโครงการแอนตาร์กติกให้ความเห็นว่า การที่อุณหภูมิสูงขึ้นเกิดจากอิทธิพลของการยกตัวของกระแสน้ำในมหาสมุทรและปรากฎการณ์เอลนีโญ "เราพบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกันมากกับการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวและมหาสมุทร ทั้งหมดนี้สัมพันธ์กันมาก" ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/20...st-time-record ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันทั่วทั้งคาบสมุทร ที่ประกอบด้วยผืนดิน เกาะ และมหาสมุทรซึ่งอยู่บริเวณเส้นขนานหรือละติจูดที่ 60 องศาใต้ ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ 70% ของโลกในรูปของหิมะและน้ำแข็ง ซึ่งหากละลายทั้งหมดจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 50-60 เมตร แต่นั่นต้องเป็นอีกหลายชั่วชีวิตคน นักวิทยาศาสตร์สหประชาชาติพยากรณ์ว่า ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นราว 30-110 เซนติเมตรภายในสิ้นศตวรรษนี้ แต่ขึ้นอยู่กับความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความเปราะบางของแผ่นน้ำแข็ง ขณะที่อุณหภูมิทางตะวันออกและตอนกลางของแอนตาร์กติกยังคงทรงตัว แต่ก็มีความวิตกมากขึ้นต่อทางตะวันตกของแอนตาร์กติก ซึ่งมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นมีผลต่อธารน้ำแข็งที่เกาะไพน์และเกาะทะวาอิทส์ (Thwaites and Pine Island) และก็ยังมีผลน้อยต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล แต่ก็อาจจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วได้หากอุณหภูมิสูงขึ้นต่อเนื่อง คาบสมุทรแอนตาร์ติกที่มีความยาวทอดไปยังอาร์เจนตินาได้รับผลกระทบมากที่สุด จากการที่เดอะการ์เดียนร่วมเดินทางไปกับกลุ่มกรีนพีซพบว่า ธารน้ำแข็งลดลงมากกว่า 100 เมตรในอ่าวดิสคัฟเวอรี (Discovery Bay) และพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะคิง จอร์จ (King George Island) ซึ่งหิมะค่อยๆ ละลายมากว่าสัปดาห์ จนเห็นก้อนหินสีดำ ขณะที่การละลายของน้ำแข็งเกิดขึ้นทุกๆ หน้าร้อน นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดขึ้นว่า อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นในหน้าหนาว สิ่งเหล่านี้เชื่อว่าเป็นสาเหตุของสัญญานอันตรายของการลดลงมากกว่า 50% ของกลุ่มนกเพนกวินสายพันธ์ชินสแตรป (chinstrap penguin) ซึ่งต้องพึ่งพาทะเลน้ำแข็ง เชฟเฟอร์กล่าวว่า การติดตามการเก็บบันทึกข้อมูลในบริเวณนี้ อาจจะบ่งชี้ได้ถึงสถานการณ์ในส่วนอื่นของภูมิภาค "เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีพื้นที่เฝ้าระวังอย่างเกาะเชตแลนด์ใต้ และคาบสมุทรแอนตาร์กติกเพราะจะบ่งชี้ถึงสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นอนาคตอันใกล้นี้" หมายเหตุ แอนตาร์กติกา (Antarctica) หมายถึง ทวีปหรือพื้นดินที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับห้าของโลก ส่วนแอนตาร์กติก (Antarctic Regions) หมายถึง บริเวณที่รวมทวีปแอนตาร์กติกาและผืนน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย เขตแอนตาร์กติก เป็นบริเวณตั้งแต่เส้นรุ้ง (latitude) ๖๖? ๓๓? ใต้ลงมา ทวีปแอนตาร์กติก มีพื้นที่ประมาณ ๑๔ ล้านตารางกิโลเมตร หรือ ใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ ๒๗ เท่า ประมาณ ร้อยละ ๙๘ ของพื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุมไปด้วยแผ่น น้ำแข็งที่มีความหนาเฉลี่ยประมาณ ๒,๔๕๐ เมตร ดังนั้น หากแผ่นน้ำแข็งบนทวีปแอนตาร์กติกละลาย ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่ม สูงขึ้นได้ถึง ๖๐ เมตร (ประมาณเท่ากับความสูงของ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) เนื่องจากทวีปแอนตาร์กติก ปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งที่ค่อนข้างหนา จึงทำให้ทวีป แอนตาร์กติกอยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร คือสูงกว่าทวีปอื่นๆ ราว ๓ เท่า ทวีปแอนตาร์กติกเป็นบริเวณที่ไม่มีมนุษย์ อาศัยอย่างถาวร มีเพียงคณะสำรวจของหลายประเทศ ที่เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาวิจัยประมาณ ๔,๐๐๐ คนต่อปี พื้นที่นี้ถือได้ว่าเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ในโลก เนื่องจากมีการระเหยของน้ำน้อย และมีอากาศ ที่ค่อนข้างแห้งมาก ประกอบกับไม่ได้รับความอบอุ่น จากมหาสมุทร อุณหภูมิต่ำสุดที่ตรวจวัดได้ที่ทวีป แอนตาร์กติกคือ -๙๓.๒ องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิ เฉลี่ยของน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแอนตาร์กติกอยู่ ระหว่าง -๑.๘ ถึง ๓.๕ องศาเซลเซียส ข้อมูลอ้างอิง THAIPUBLICA , https://www2.mtec.or.th/th/e-magazin...oad/296_51.pdf https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000015743
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
"แอนตาร์กติก" น่าวิตก! อุณหภูมิสูงทะลุ 20 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรก ภาพ:https://www.theguardian.com/world/20...st-time-record อุณหภูมิแถบแอนตาร์กติก หรือพื้นที่แถบขั้วโลกใต้ได้เพิ่มขึ้นสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือ 68 องศาฟาเรนไฮต์ เป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อและผิดปกติ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความวิตกต่อสภาพความไม่แน่นอนของแหล่งกักเก็บน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิลระบุว่าอุณหภูมิวัดได้ที่เกาะซีมัวร์ (Seymour Island) เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2020 สูงถึง 20.75 องศาเซลเซียส จากระดับ 19.8 องศาเซลเซียสของการวัดครั้งก่อนที่เกาะซิกนี (Signy Island) ปี 1982 ซึ่งก่อนหน้านักวิทยาศาสตร์ชาวอาร์เจนตินาวัดอุณหภูมิของสถานีเอสเพอร์รันซา (Esperanza) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2020 ได้ 18.3 องศาเซลเซียส ก็เป็นระดับที่สูงสุดมาแล้วของคาบสมุทรแอนตาร์กติก อุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์จากการวัดทั้งสองครั้งนี้ แม้ว่าจะต้องผ่านการรับรองจากกรมอุตุนิยมวิทยาโลก แต่ก็สอดคล้องกับสถานการณ์ส่วนใหญ่ในบริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติกและเกาะที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งอุ่นขึ้นเกือบ 3 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และเป็นอุณหภูมิที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแห่งหนึ่งของโลก โดยนักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งเก็บข้อมูลจากสถานีตรวจสอบระยะไกลทุกๆ 3 วัน อธิบายว่า อุณหภูมิที่ทำสถิติใหม่นี้เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อและผิดปกติ ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/20...st-time-record "เราเคยเห็นแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจากหลายสถานีที่เราเฝ้าติดตาม แต่ไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน" คาร์ลอส เชฟเฟอร์ ซึ่งทำงานในโครงการเทอร์รานทาร์ (Terrantar) โครงการของรัฐบาลบราซิลที่มุ่งไปที่การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ climate change ต่อชั้นดินเยือกแข็งคงตัว หรือ permafrost (permafrost หมายถึง พื้นดินที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่พบพื้นดินแบบนี้ในบริเวณขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ และพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งบนผิวดินอาจไม่จำเป็นต้องมีน้ำแข็งปกคลุมก็ได้) และด้านชีววิทยาจาก 23 สถานีที่คาบสมุทรแอนตาร์ติก เชฟเฟอร์กล่าวว่า อุณหภูมิในคาบสมุทรแอนตาร์ติก บริเวณเกาะเชตแลนด์ใต้ (South Shetland Island) และหมู่เกาะเจมส์ รอสส์ (James Ross archipelago) ซึ่งครอบคลุมเกาะซีมัวร์ มีความไม่แน่นอนในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา และหลังจากที่เย็นลงในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษนี้ ก็กลับมาอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิลซึ่งอยู่ในโครงการแอนตาร์กติกให้ความเห็นว่า การที่อุณหภูมิสูงขึ้นเกิดจากอิทธิพลของการยกตัวของกระแสน้ำในมหาสมุทรและปรากฎการณ์เอลนีโญ "เราพบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกันมากกับการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวและมหาสมุทร ทั้งหมดนี้สัมพันธ์กันมาก" ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/20...st-time-record ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันทั่วทั้งคาบสมุทร ที่ประกอบด้วยผืนดิน เกาะ และมหาสมุทรซึ่งอยู่บริเวณเส้นขนานหรือละติจูดที่ 60 องศาใต้ ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ 70% ของโลกในรูปของหิมะและน้ำแข็ง ซึ่งหากละลายทั้งหมดจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 50-60 เมตร แต่นั่นต้องเป็นอีกหลายชั่วชีวิตคน นักวิทยาศาสตร์สหประชาชาติพยากรณ์ว่า ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นราว 30-110 เซนติเมตรภายในสิ้นศตวรรษนี้ แต่ขึ้นอยู่กับความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความเปราะบางของแผ่นน้ำแข็ง ขณะที่อุณหภูมิทางตะวันออกและตอนกลางของแอนตาร์กติกยังคงทรงตัว แต่ก็มีความวิตกมากขึ้นต่อทางตะวันตกของแอนตาร์กติก ซึ่งมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นมีผลต่อธารน้ำแข็งที่เกาะไพน์และเกาะทะวาอิทส์ (Thwaites and Pine Island) และก็ยังมีผลน้อยต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล แต่ก็อาจจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วได้หากอุณหภูมิสูงขึ้นต่อเนื่อง คาบสมุทรแอนตาร์ติกที่มีความยาวทอดไปยังอาร์เจนตินาได้รับผลกระทบมากที่สุด จากการที่เดอะการ์เดียนร่วมเดินทางไปกับกลุ่มกรีนพีซพบว่า ธารน้ำแข็งลดลงมากกว่า 100 เมตรในอ่าวดิสคัฟเวอรี (Discovery Bay) และพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะคิง จอร์จ (King George Island) ซึ่งหิมะค่อยๆ ละลายมากว่าสัปดาห์ จนเห็นก้อนหินสีดำ ขณะที่การละลายของน้ำแข็งเกิดขึ้นทุกๆ หน้าร้อน นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมาเห็นได้ชัดขึ้นว่า อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นในหน้าหนาว สิ่งเหล่านี้เชื่อว่าเป็นสาเหตุของสัญญานอันตรายของการลดลงมากกว่า 50% ของกลุ่มนกเพนกวินสายพันธ์ชินสแตรป (chinstrap penguin) ซึ่งต้องพึ่งพาทะเลน้ำแข็ง เชฟเฟอร์กล่าวว่า การติดตามการเก็บบันทึกข้อมูลในบริเวณนี้ อาจจะบ่งชี้ได้ถึงสถานการณ์ในส่วนอื่นของภูมิภาค "เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีพื้นที่เฝ้าระวังอย่างเกาะเชตแลนด์ใต้ และคาบสมุทรแอนตาร์กติกเพราะจะบ่งชี้ถึงสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นอนาคตอันใกล้นี้" หมายเหตุ แอนตาร์กติกา (Antarctica) หมายถึง ทวีปหรือพื้นดินที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับห้าของโลก ส่วนแอนตาร์กติก (Antarctic Regions) หมายถึง บริเวณที่รวมทวีปแอนตาร์กติกาและผืนน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย เขตแอนตาร์กติก เป็นบริเวณตั้งแต่เส้นรุ้ง (latitude) ๖๖? ๓๓? ใต้ลงมา ทวีปแอนตาร์กติก มีพื้นที่ประมาณ ๑๔ ล้านตารางกิโลเมตร หรือ ใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ ๒๗ เท่า ประมาณ ร้อยละ ๙๘ ของพื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุมไปด้วยแผ่น น้ำแข็งที่มีความหนาเฉลี่ยประมาณ ๒,๔๕๐ เมตร ดังนั้น หากแผ่นน้ำแข็งบนทวีปแอนตาร์กติกละลาย ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่ม สูงขึ้นได้ถึง ๖๐ เมตร (ประมาณเท่ากับความสูงของ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) เนื่องจากทวีปแอนตาร์กติก ปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งที่ค่อนข้างหนา จึงทำให้ทวีป แอนตาร์กติกอยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร คือสูงกว่าทวีปอื่นๆ ราว ๓ เท่า ทวีปแอนตาร์กติกเป็นบริเวณที่ไม่มีมนุษย์ อาศัยอย่างถาวร มีเพียงคณะสำรวจของหลายประเทศ ที่เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาวิจัยประมาณ ๔,๐๐๐ คนต่อปี พื้นที่นี้ถือได้ว่าเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ในโลก เนื่องจากมีการระเหยของน้ำน้อย และมีอากาศ ที่ค่อนข้างแห้งมาก ประกอบกับไม่ได้รับความอบอุ่น จากมหาสมุทร อุณหภูมิต่ำสุดที่ตรวจวัดได้ที่ทวีป แอนตาร์กติกคือ -๙๓.๒ องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิ เฉลี่ยของน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแอนตาร์กติกอยู่ ระหว่าง -๑.๘ ถึง ๓.๕ องศาเซลเซียส ข้อมูลอ้างอิง THAIPUBLICA , https://www2.mtec.or.th/th/e-magazin...oad/296_51.pdf https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000015743
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ยันเข็มฉีดยาที่พบในทะเล ไม่ใช่ของรพ. รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ / จากกรณี เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา มีผู้พบเข็มฉีดยาลอยน้ำเป็นจำนวนมาก ประมาณ 500 เข็ม บริเวณชายทะเล หมู่ 1 ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดย นพ.อภิรัต กตัญญุตานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี พร้อมหน่วยงานในพื้นที่ ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่าน่าจะเป็นเข็มฉีดยาที่มาจากสถานคลินิกเสริมความงาม เป็นเข็มฉีดยาที่ใช้ในคลีนิค ไม่ใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นกระบอกเข็มฉีดยาขนาด 1cc จำนวนมาก เป็นเข็มฉีด botox เข็มร้อยไหม เบื้องต้นได้เก็บรวบรวม หาหลักฐานก่อนส่งทำลายและดำเนินการแจ้งความ ที่ สภ.สัตหีบ แล้ว ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ก.พ. ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นาวาเอกณัฐศักดิ์ วงเจริญศรี ประธานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล เปิดเผยว่าทราบว่า เข็มดังกล่าว ร่วมถึงอุปกรณ์ ที่ปนเปื้อนไป เป็นลักษณะของเข็มเล็ก ซึ่งเป็นเข็มที่ใช้ฉีดอินซูลิน หรือเป็นเข็มที่ใช้ฉีดยาเล็กๆ ซึ่งในกรณีนี้ ยืนยันว่าไม่ใช่ขยะที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลหรือการดูแลผู้ป่วยในบริเวณอาคารรับรองหรือคนไทยกลับบ้าน ที่เฝ้าระวังในพื้นที่สัตหีบแน่นอน โดยปกติของเราหรือทุกโรงพยาบาล จะมีระบบในการกำจัดขยะทางการแพทย์อยู่แล้ว ในเรื่องของการคัดแยกขยะ หรือการเผาขยะในโรงพยาบาล ซึ่งต้องขอยืนยันว่าไม่มีการเล็ดลอดออกไปนอกระบบออกไปสู่ทะเลอย่างที่เป็นข่าวแน่นอน พร้อมกล่าวอีกว่า ต้องบอกว่าขยะที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ทางการแพทย์เหล่านี้ เราถือว่าเป็นขยะติดเชื้อ แล้วผู้ที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ควรมีระบบคัดแยกขยะ ว่าเป็นขยะทั่วไป หรือเป็นขยะที่เกิดจากการติดเชื้อ ขยะแบบติดเชื้อควรได้รับการจำกัดแบบพิเศษ เช่นการเผา หรือการเคลื่อนย้าย ซึ่งขอแนะนำถ้าท่านมีขยะติดเชื้อเหล่านี้ ไม่รู้จะไปกำจัดที่ไหน ให้ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อเข้าสู่ระบบการจำกัด ก็จะมีทั้งของโรงพยาบาลประจำอำเภอ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งจะมีระบบกำจัดขยะติดเชื้ออยู่แล้วทุกที่ ไม่ควรนำไปทึ้งกับขยะทั่วไปหรือโยนทึ้งลงทะเล https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3593976 ********************************************************************************************************************************************************* โลกร้อนคือภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริง กระทบถึงไทย ถึงเวลาร่วมมือกันดูแลสิ่งแวดล้อม ! องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO (World Meteorological Organization) ระบุว่าปี 2019 ถูกบันทึกว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดอันดับ 2 รองจากปี 2016 และอุณหภูมิ 5 ปีที่ผ่านมาระหว่าง 2015 -2019 ถือว่าสูงสุดเท่าที่เคยมีการจดบันทึกมา ด้วยเหตุเช่นนี้เอง นักวิทยาศาสตร์กว่าหมื่นคน จาก 153 ประเทศทั่วโลก จึงได้แถลงการณ์ร่วมกันถึง ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ (Climate Emergency) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับ วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น ถึงเวลาแล้วที่มวลมนุษยชาติต้องตระหนักถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่มีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถึงเวลาแล้วที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่ออนาคต ซึ่งหากไม่เร่งลงมือแก้ไข มนุษย์โลกจะพบกับภัยธรรมชาติที่รุนแรงมหาศาลและยากจะรับมือได้ โลกที่ร้อนขึ้นทำให้ปี 2019 มนุษย์ต้องเจอกับอะไรบ้าง จะเห็นได้ว่าจาก Climate Change ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับหลายประเทศทั่วโลก อาทิ คลื่นความร้อนในยุโรป พายุหมุนในบาฮามาสและญี่ปุ่น ไฟป่าที่รุนแรงในหลายประเทศ และอุทกภัยที่รุนแรงในอเมริกากลางแคนาดา รัสเซีย และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ที่มีปริมาณน้ำฝนที่สูงผิดปกติ ภัยธรรมชาติที่ไทยกำลังประสบ สำหรับประเทศไทยเริ่มเผชิญสภาพอากาศแปรปรวน ฝนมาช้ากว่าปกติ ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีน้อยหนำซ้ำยังต้องเผชิญกับพายุโซนร้อนถึงสองลูก คือ โพดุลและคาจิกิ ที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอย่างมาก ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี บางพื้นที่แล้งมาตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วสภาพลำน้ำต่างๆ ในประเทศมีปริมาณน้ำลดต่ำมาก จนส่งผลกระทบทุกภาคส่วน รวมถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่าง ?น้ำประปา? เพราะน้ำมีความสำคัญทั้งในการอุปโภคบริโภค ภัยแล้งจึงกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำจะต้องเร่งดูแลและวางมาตรการรับมือ การประปานครหลวง (กปน.) หนึ่งในหน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนมากกว่า 2.4 ล้านราย ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตภัยแล้ง ส่งผลให้น้ำทะเลหนุนสูง จนรุกล้ำเข้ามาถึงสถานีสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี อันเป็นจุดรับน้ำดิบสำคัญที่นำมาผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง ด้วยสภาวะที่น้ำในเขื่อนน้อยไม่สามารถปล่อยน้ำจืดมาผลักดันน้ำเค็ม ประกอบกับปัญหาน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้คุณภาพน้ำประปาของกรุงเทพฝั่งตะวันออกอาจจะได้รับผลกระทบมีรสกร่อยในบางวันบางเวลา การประปานครหลวง ได้กำหนดแนวทางรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะสั้น มีการบริหารจัดการปัญหาน้ำเค็มโดยตุนน้ำดิบคุณภาพปกติในคลองประปาให้มากที่สุด และหยุดการสูบน้ำเข้าคลองประปาเมื่อมีค่าความเค็มสูงขึ้น พร้อมปฏิบัติการ Water Hammer กระแทกไล่ลิ่มความเค็มจากน้ำทะเลที่หนุนสูงเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำแหล่งน้ำดิบ พร้อมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยการเปิดจุดจ่ายน้ำประปาดื่มได้ให้ประชาชนสามารถนำภาชนะ มารับน้ำได้ฟรี! ณ สำนักงานประปาสาขาทั้ง 18 แห่ง โดยให้บริการทุกวันเวลา 08.00-20.00 น. และให้บริการรถบริการน้ำประปาเคลื่อนที่ไปยังชุมชนต่าง ๆ ระยะกลาง ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 โดยมีวัตถุประสงค์ อาทิ ขยายกำลังการผลิตน้ำของโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นในอนาคต การก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ เชื่อมฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเพิ่มอีกหนึ่งเส้นทาง รองรับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น งานปรับปรุงคลองประปาฝั่งตะวันตกเพื่อรองรับอัตราการไหลที่ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 10 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก อาทิ เพิ่มกำลังการผลิตน้ำที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ การก่อสร้างขยายถังเก็บน้ำใสที่โรงงานผลิตน้ำบางเขน เป็นต้น ระยะยาว มีแผนลงทุน Mega project เตรียมโครงการผันน้ำดิบจากคลองประปาฝั่งตะวันตกเข้าสู่คลองประปาฝั่งตะวันออก ซึ่งจะช่วยเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคงในการใช้น้ำประปาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ อย่างยั่งยืนโดยการประปานครหลวงให้ความมั่นใจกับประชาชนในพื้นที่ให้บริการว่าจะสามารถผลิตน้ำประปาให้บริการได้ตลอดหน้าแล้งนี้อย่างแน่นอน ช่วยโลกได้ด้วยมือเรา ภัยธรรมชาติข้างต้นเป็นผลจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส ยังก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้เช่นนี้ ถ้าอุณหภูมิโลกสูงมากกว่านี้ มนุษย์จะดำเนินชีวิตกันเช่นไร ฉะนั้นสิ่งที่มนุษย์โลกต้องร่วมมือทำตั้งแต่วันนี้คือ ?ร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม? ด้วยวิธีหลากหลายที่สามารถลงมือทำได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นประหยัดลดใช้พลังงาน หันมาใช้บริการรถสาธารณะ จัดการขยะด้วยกฎ 3R คือ Recycle Reuse Reduce ปลูกไม้ยืนต้นเพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยพลังเล็ก ๆ ร่วมกันใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า หมั่นตรวจสอบระบบประปาภายในบ้าน และซ่อมแซมทันทีหากพบการแตกรั่ว รวมทั้งใช้อุปกรณ์ที่มีฉลากประหยัดน้ำ ถ้าทุกคนร่วมมือกันก็กลายเป็นพลังยิ่งใหญ่ได้ รีบลงมือ รีบช่วยโลก รีบช่วยเรา! https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_3591784
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
'ฉลามวาฬ' ยักษ์ใหญ่ใจดีโผล่ว่ายน้ำอวดโฉมใกล้เรือนักท่องเที่ยวหมู่เกาะลันตา 17 ก.พ.63 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบฉลามวาฬขนาดใหญ่ลำตัวยาวกว่า 4 เมตรกำลังเวียนว่ายหากินบริเวณเกาะห้า ต.เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ขณะที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา กำลังดำน้ำสำรวจความสมบูรณ์ทรัพยากรทางทะเลในเขตอุทยานหมู่เกาะลันตา โดยฉลามวาฬตัวดังกล่าวโผล่ขึ้นมาใกล้เรือให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯและนักท่องเที่ยวได้เห็นในระยะใกล้ โดยไม่มีอาการตื่นกลัวแต่อย่างใด หลังจากเวียนว่ายอยู่ประมาณ 10 นาทีก็ดำน้ำหายไปในทะเลลึก เจ้าหน้าที่จึงบันทึกภาพไว้ก่อนแชร์ในโลกออนไลน์ สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น เพราะการที่ฉลามวาฬจะปรากฎตัวให้เห็นในระยะใกล้นั้นมีไม่บ่อยนัก นายวีระศักดิ์ ศรีสัจจัง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่อุทยานฯหมู่เกาะลันตานำเรือตรวจขนาดเล็กออกลาดตระเวนบริเวณเกาะห้า ซึ่งเป็นแหล่งดำน้ำที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของ จ.กระบี่ เพื่อดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว ก็พบกับฉลามวาฬยาวประมาณ 4 เมตรเวียนว่ายหากินอยู่รอบๆ ลำเรือ เจ้าหน้าที่จึงได้บันทึกภาพไว้เพื่อเก็บข้อมูลการอาศัยของฉลามวาฬในพื้นที่เกาะลันตา ขณะที่นักประดาน้ำว่ายไปใกล้ๆ ฉลามวาฬก็ไม่ได้ทำร้ายหรือมีอาการตื่นกลัวแต่อย่างใด เนื่องจากฉลามวาฬไม่มีนิสัยดุร้าย ทั้งนี้การที่ฉลามวาฬหากินบริเวณเกาะห้า เนื่องจากทรัพยากรยังมีความสมบูรณ์ มีแพลงก์ตอน แหล่งอาหารของฉลามวาฬ หลังจากนี้ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้คอยเตือนนักท่องเที่ยวหากพบเห็นฉลามวาฬ สามารถบันทึกภาพได้ แต่ห้ามใช้แฟลชอย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะทำฉลามวาฬตกใจ และอาจทำอันตรายโดยไม่ได้ตั้งใจ https://www.thaipost.net/main/detail/57410
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
แพทย์ทหารเรือยันเข็มที่พบในทะเลไม่ใช้ของ รพ.แนะนำให้กำจัดอย่างถูกวิธี จากกรณี เมื่อวันที่ 16 ก.พ.63 บริเวณชายทะเล หมู่ 1 ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ชาวบ้านพบเข็มฉีดยาลอยน้ำเป็นจำนวนมาก ประมาณ 500 เข็ม โดย นพ.อภิรัต กตัญญุตานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี พร้อมหน่วยงานในพื้นที่ ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่าน่าจะเป็นเข็มฉีดยาที่มาจากสถานคลินิกเสริมความงาม เป็นเข็มฉีดยาที่ใช้ในคลีนิค ไม่ใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นกระบอกเข็มฉีดยาขนาด 1cc จำนวนมาก เป็นเข็มฉีด botox เข็มร้อยไหม. เบื้องต้นได้เก็บรวบรวม หาหลักฐานก่อนส่งทำลายและดำเนินการแจ้งความ ที่ สภ.สัตหีบ แล้ว ต่อมาวันที่ 17 ก.พ.63 ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นาวาเอกณัฐศักดิ์ วงเจริญศรี ประธานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้เปิดเผยว่าทราบว่าเข็มดังกล่าวมีลักษณะ ร่วมถึงอุปกรณ์ ที่ปนเปื้อนไป ก็พบว่าเป็นลักษณะของเข็มเล็ก ซึ่งเป็นเข็มที่ใช้ฉีดอินซูลิน หรือเป็นเข็มที่ใช้ฉีดยาเล็กๆ ซึ่งในกรณีนี้ ต้องยืนยันว่าไม่ใช้ขยะที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลหรือการดูแลผู้ป่วยในบริเวณอาคารรับรองหรือคนไทยกลับบ้าน ที่เฝ้าระวังในพื้นที่สัตหีบแน่นอน โดยปกติของเราหรือทุกโรงพยาบาล จะมีระบบในการกำจัดขยะทางการแพทย์อยู่แล้ว ในเรื่องของการคัดแยกขยะ หรือการเผาขยะในโรงพยาบาล ซึ่งต้องขอยืนยันว่าไม่มีการเล็ดลอดออกไปนอกระบบออกไปสู่ทะเลอย่างที่เป็นข่าวแน่นอน พร้อมกล่าวอีกว่า ต้องบอกว่าขยะที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ทางการแพทย์เหล่านี้ เราถือว่าเป็นขยะติดเชื้อ แล้วผู้ที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ควรมีระบบคัดแยกขยะ ว่าเป็นขยะทั่วไป หรือเป็นขยะที่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งขยะแบบติดเชื้อควรได้รับการจำกัดแบบพิเศษ เช่นการเผา หรือการเคลื่อนย้าย ซึ่งขอแนะนำถ้าท่านมีขยะติดเชื้อเหล่านี้ ไม่รู้จะไปกำจัดที่ไหน ให้ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อเข้าสู่ระบบการจำกัด ก็จะมีทั้งของโรงพยาบาลประจำอำเภอ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งจะมีระบบกำจัดขยะติดเชื้ออยู่แล้วทุกที่ ซึ่งไม่ควรนำไปทึ้งกับขยะทั่วไปหรือโยนทึ้งลงทะเล https://www.naewna.com/local/473680
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#8
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
เผาเก็บของป่าและซากวัสดุเกษตร ถูกระบุ เป็นตัวการไฟป่ามากที่สุด นอกจากนี้ ยังพบ การแกล้งจุด ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งกับรัฐ หลังจากเหตุการณ์ไฟป่าไหม้อุทยานแห่งชาติยอดนิยมภูกระดึงไปกว่า 3,400 ไร่ ตั้งแต่เช้าวานนี้ จนสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้เมื่อกลางดึกที่ผ่านมานั้น ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ระบุว่า สาเหตุของไฟป่าในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ ซึ่งสามารถจำแนกแจกแจงได้เป็นประมาณ 7 พฤติกรรมหลักๆ ซึ่งรวมทั้ง "การแกล้งจุด" ที่หมายถึงการจุดไฟเผาป่า อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ การกระทำจุดไฟเผาป่าอื่นๆ ยังมีเรื่องของการคึกคะนอง ซึ่งเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์, การจุดไฟเพื่อล่าสัตว์ ทั้งนี้ โดยมุ่งหวังใช้ไฟไล่สัตว์ป่าออกมาจากที่ซ่อน, การจุดไฟเพื่อเลี้ยงสัตว์ โดยจุดไฟเผาป่าให้กลายเป็นที๋โล่งเลี้ยงสัตว์, การจุดไฟเพราะความประมาท อันเกิดจากการขาดความสำนึกรับผิดชอบ, การจุดไฟเผาพื้นที่เกษตร เพื่อกำจัดซากวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าเป็นอันดับที่ 2 , และการจุดไฟเพื่อเก็บหาของป่า ซึ่งกรมอุทยานฯ ระบุว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าที่ผ่านมามากที่สุด ทั้งนี้ กรมอุทยานฯ ได้แจ้งประกาศถึงประชาชน หากพบเห็นไฟป่า หรือการกระทำที่อาจก่อให้เกิดไฟป่า สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วนไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง https://www.bangkokbiznews.com/news/..._campaign=life
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#9
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
หาดูยาก "ปลาพญานาค" โผล่ผิวน้ำ ญี่ปุ่น 17 ก.พ.-ภาพหาดูยาก "ปลาออร์ฟิช" หรือ ปลาพญานาค แหวกว่ายโผล่ผิวน้ำที่ญี่ปุ่น ทวิตเตอร์ @toythefishing ของชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง แชร์ภาพปลาออร์ฟิช (Oarfish) 2 ตัวแหวกว่ายอยู่ในเขตทะเลน้ำตื้น ของท่าเรือเขตจังหวัดฟุคุอิ (ตอนเหนือของ จ.เกียวโต) ติดทะเลญี่ปุ่นตะวันออก ออร์ฟิช (Oarfish) เรียกอีกอย่างว่า ปลาริบบิ้น บ้านเราเรียกปลาพญานาค เพราะมีลักษระคล้ายพญานาค เป็นปลาที่มีกระดูกสันหลังยาวที่สุดในโลก เฉลี่ยตัวโตเต็มไว มีความยาวลำตัวได้ถึง 11 เมตร อาศัยอยู่ใต้ทะเลในระดับลึก ระดับตั้งแต่ 50 เมตรลงไปถึง 1,000 เมตร ลำตัวยาว มีเกล็ดสีเงิน ครีบสีแดงที่หัว จึงเป็นสัตว์น้ำที่หาชมได้ยาก ทุกครั้งที่พบหรือมีการเกยตื้นตายของออร์ฟิช จะได้รับสนใจเป็นพิเศษ เพราะเชื่อกันว่าจะมีเหตุเภทภัย หลายครั้งมันเกยตื้นขึ้นปลา เพราะใต้น้ำลึกเกิดแผ่นดินไหวหรือสึนามิ มันจึงหนีขึ้นมา แต่ด้วยความดันอากาศที่ต่างกัน ทำให้ปลาเหล่านี้ปรับร่างกายไม่ได้จนตายและเกยตื้นขึ้นมา ตำนานญี่ปุ่นโบราณเชื่อว่า "ปลาพญานาค" คือ "ผู้ส่งสาส์นจากวังแห่งเทพใต้สมุทร" จากความเปลี่ยนแปลงใต้ทะเลลึกซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภัยพิบัติ ปี 2011 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่และคลื่นสึนามิถล่มพื้นที่ฟูกูชิมะ คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 20,000 คน ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นปลาพญานาคถูกซัดมาเกยตื้นหลายสิบตัว เพราะการมีความเปลี่ยนแปลงที่ใต้ท้องทะเลก่อนหน้าการเกิดแผ่นดินไหว ทำให้กระแสน้ำปั่นป่วน สัตว์ใต้ทะเลลึกจึงต้องว่ายเข้าเขตน้ำตื้น "ปลาพญานาค" อีกภาพโด่งดังมากเมื่อปี 2516 คือภาพทหารอเมริกัน ที่ตั้งฐานทัพอยู่ที่ สปป.ลาว จับปลาขนาดใหญ่ที่เชื่อว่าเป็น "พญานาค" และถูกอ้างว่า จับปลาชนิดนี้ได้ที่แม่น้ำโขง เป็นภาพที่ขายดีมาก ถูกนำไปเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค จากนั้นมา นักวิชาการด้านสมุทรศาสตร์หลายคน ระบุตรงกันว่า สถานที่ในภาพไม่ใช่ สปป.ลาว ในรูปเป็นฐานทัพเรือน้ำเค็มและเป็นน้ำลึก "เพราะลาวไม่มีทางออกสู่ทะเล" และทหารในรูปแต่งเครื่องแบบลำลองทหารเรือ ซึ่งอเมริกาไม่เคยส่งทหารเรือมาแถบลาว และปลาที่อุ้มอยู่นั้น คือ ปลาออร์ฟิช เป็นปลาทะเล ไม่มีทางที่จะถูกจับได้ที่แม่น้ำโขง https://www.mcot.net/viewtna/5e4a7838e3f8e40af5420aa2
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|