เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > Main Category > ห้องรับแขก

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 16-10-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default ยาแก้น้ำกัดเท้า


ท่านใดต้องการขี้ผึ้งแก้น้ำกัดเท้า เพื่อนำไปบริจาค กรุณาอ่านได้ที่นี่ค่ะ....


http://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n14.php

เภสัช มช.อาสาทำขี้ผึ้งแก้น้ำกัดเท้า บริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม


เภสัช. มช ระดมอาสาสมัครจากคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ผลิตขี้ผึ้งแก้น้ำกัดเท้า “ วิทฟิวออยเม้นท์ ” เพื่อร่วมบริจาคผู้ประสบภัยน้ำท่วม จากปัญหาน้ำกัดเท้า ซึ่งแม้องค์การเภสัชกรรมจะเร่งการผลิต แต่ไม่พอและไม่ทันต่อความต้องการ ดังนั้น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงขออาสาเป็นส่วนหนึ่งการผลิตขี้ผึ้งบริจาคเพื่อบรรเทาปัญหาด้านสุขภาพของผู้ประสบภัย

รศ.ภญ.วรรณดี แต้โสตถิกุล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ คณะเภสัชศาสตร์มีความห่วงใยผู้ประสบภัยจากปัญหาน้ำท่วมที่ทำให้มีผู้ประสบความเดือดร้อนจำนวนมาก ในฐานะของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีส่วนดูแลระบบยาและสนับสนุนการดูแลสุขภาพด้านยาจึงประสงค์จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยา โดยเฉพาะการขาดแคลนยาสำหรับโรคน้ำกัดเท้า เนื่องจากมีความต้องการจำนวนมาก แม้องค์การเภสัชกรรมกำลังเร่งการผลิต แต่ไม่พอและไม่ทันต่อความต้องการดังนั้นคณาจารย์ เภสัชกร นักศึกษา และบุคลากรจึงได้ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันผลิตขี้ผึ้งแก้น้ำกัดเท้า (Whitfield's Ointment) โดยประสานงานกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่และกระทรวงสาธารณสุขจัดส่งมอบถึงพื้นที่ประสบภัย ”




รศ.ภญ.วรรณดี แต้โสตถิกุล


ส่วนการป้องกันและรักษาโรคน้ำกัดเท้า ในสถานการณ์น้ำท่วมเช่นนี้ รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้คำแนะนำว่า “ โรคน้ำกัดเท้า แม้เป็นโรคที่ป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน เนื่องจากเท้าจะเปื่อย หรือชุ่มชื้น ทำให้เกิดการติดโรคเชื้อราได้ แต่ในภาวะน้ำท่วมผู้ประสบภัยก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแช่น้ำได้ ”

“ ซึ่งในการป้องกันนั้นอาจทำได้ยากสักหน่อยในภาวะน้ำท่วม แต่ในบางพื้นที่ที่อาจสามารถทำได้ หรือในกลุ่มอาสาสมัครที่ไปช่วยผู้ประสบภัยบางท่านอาจนำวิธีไปใช้ได้ กล่าวคือการป้องกัน เมื่อต้องเดินลงน้ำ เพื่อไปทำกิจกรรมใด ภายหลังขึ้นจากน้ำ ควรใช้น้ำประปา (หากมี) หรือใช้น้ำสะอาดล้างเท้า หรืออาจใช้ คลอรีน เติมลงไปในตุ่มน้ำที่จะใช้ล้างเท้าปริมาณเล็กน้อย แช่ไว้ก่อนใช้ เพื่อให้ส่วนเกินของคลอรีน ระเหยออกไป จากนั้นจึงนำมาใช้ล้างเท้า วิธีล้างเท้าทำโดยการใช้สบู่ ฟอกนิ้วเท้าให้สะอาด โดยนวดไปให้ทั่ว ใช้นิ้วมือประสานนิ้วเท้า นวดวนไปจากซ้ายไปขวา และจากขวาไปซ้าย หลังจากนั้น อาจนวดฝ่าเท้าเสริมไปด้วย การนวดใช้เวลาประมาณ อย่างน้อย สองนาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงฝ่าเท้า จะเห็นว่าผู้ดูแลเท้าเป็นประจำ บริเวณรอบนิ้วเท้าจะไม่มีเนื้อย่น หรือเหี่ยว และใช้วิธีนี้เป็นการรักษาอาการล้าที่เท้าและการที่เดินมากๆจนปวดและเป็นก้อนแข็ง หรือรองเท้ากัดได้ด้วย ภายหลังการนวด ล้างสบู่ออกให้หมด แล้วเช็ดน้ำออกให้หมดทุกซอก ทุกมุม ใช้ครีมที่มีน้ำมันหรือใช้น้ำมันบำรุงเช่น น้ำมันงา น้ำมันมะกอก น้ำมันโจโจ้บา ”





“ สำหรับผู้มีเวลามากขึ้นอาจทำแช่เท้าด้วยน้ำอุ่น ที่หยดน้ำมันยูคาลิปตัส หรือน้ำมันขิง โดยใช้ปริมาณเล็กน้อย (ประมาณ 1 หยด ต่อน้ำ 1 ลิตร)หากเป็นเชื้อราหรือมีลักษณะติดเชื้อรา ก็อาจใช้น้ำมันตะไคร้ แทน เมื่อเข้านอนหากจะทำให้เลือดมาเลี้ยงเท้ามากขึ้น ก็ช่วยทำให้เท้าอบอุ่น โดยการทาน้ำมัน น้ำผึ้ง วิตามินอี โดยส่วนผสมนี้ทำให้อุ่นๆก่อนทาแล้วห่อเท้าหรือสวมถุงเท้า ผู้ที่จำเป็นต้องลงน้ำและอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน อาจใช้รองเท้าบูทสวม หรือทาวาสลินให้ทั่วโดยเฉพาะนิ้วเท้า ก่อนลงน้ำ แต่ถ้าเป็นโรคน้ำกัดเท้าแล้วก็ควรถึงขั้นการรักษา ”

“ เนื่องจากน้ำกัดเซาะเท้าอยู่เป็นเวลานาน ผิวหนังที่แช่น้ำนานๆโดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า ที่มีเนื้ออ่อน ก็จะพบเนื้อเปื่อยหลุดลอก และติดเชื้อรา ทำให้เกิดอาการคัน และลามได้ทั่วนิ้วเท้า




เกิดโรคน้ำกัดเท้า จึงต้องทำการรักษา โดยใช้ยาประเภทฆ่าเชื้อราทา ซึ่งมีรูปแบบเป็นครีม และแบบขี้ผึ้ง แต่ยาชนิดครีม เมื่อถูกน้ำก็จะละลายยาออกไปด้วย ส่วนชนิดขี้ผึ้งจะมีลักษณะเหมาะสม เนื่องจากจะปกป้องผิวไม่ให้สูญเสียน้ำไปด้วย ซึ่งยาชนิดขี้ผึ้งใช้กันมานานแล้ว และยังใช้ได้ดี คือขี้ผึ้งน้ำกัดเท้าที่เรียกว่า วิทฟิวออยเม้นท์ ประกอบด้วยตัวยาสองตัวร่วมกันรักษาโรคเชื้อรา วิธีการผลิตไม่ยุ่งยากแต่ต้องเตรียมในสภาวะที่ไม่มีอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ เพราะจะเป็นตัวเสริมทำให้ตัวยาเสื่อมได้

ขี้ผึ้งน้ำกัดเท้ามีวิธีการใช้ คือทาให้ทั่ว บางๆ วันละสองครั้ง เป็นเวลา สอง สามอาทิตย์ และเมื่อหายแล้ว อาจทาต่ออีกหนึ่ง ถึงสองอาทิตย์ เพื่อป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำ อย่างไรก็ดียานี้อาจเกิดการระคายเคืองในเด็ก เล็กหรือผู้ใหญ่ เช่นเกิดผื่นแดง หรือบางครั้งแพ้ได้ ต้องระมัดระวังในการใช้ การรักษาโรคน้ำกัดจะไม่ยากเพียงแต่อาจใช้เวลานาน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานและผู้สูงอายุ เพราะเลือดลมเดินไม่ค่อยสะดวก อาจจะต้องดูแลเป็นพิเศษมากขึ้น

“ บางพื้นที่ที่น้ำลดแล้ว หรือมีน้ำท่วมไม่มาก หากพอมีสมุนไพรก็สามารถนำมารักษาได้ เช่น ใบหรือรากชุมเห็ดเทศ และรากทองพันชั่ง โดยนำมาตำผสมเหล้า อีกชนิดหนึ่งคือใช้ กระเทียม โดยนำมาตำหรือคั้นน้ำ วิธีใช้คือนำมาทาวันละสามครั้ง หากมีอาการหายแล้วควรทาต่อประมาณอีกหนึ่งถึงสองสัปดาห์ ” รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด กล่าวเพิ่มเติม


“ เราจะดำเนินการเตรียมยาที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่ประสบอุทกภัยต่อเนื่องไปจนกว่าสาธารณสุขจะมียาเพียงพอ โดยหวังว่าจะสามารถให้ความช่วยเหลือด้านยาแก่ผู้ประสบภัย แม้จะผลิตได้ไม่มากนักแต่ก็จะพยายามอย่างเต็มที่ และหากหน่วยงานใดประสงค์จะนำยาสำหรับโรคน้ำกัดเท้าไปบริจาคให้ผู้ประสบภัยโปรดแจ้งมายัง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5394-4317 หรือแจ้งมาที่ e-mailharpost@gmail.com นอกจากนี้หากมีหน่วยงานใดประสงค์จะร่วมสมทบและให้เราช่วยเป็นกำลังในการผลิตก็ยินดี เพื่อร่วมมือกันช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเดือนร้อน ” รศ.ภญ.วรรณดี แต้โสตถิกุล กล่าวทิ้งท้าย


สกู๊ปข่าวและภาพประกอบโดย : สุภฎารัตน์ สุธีพรวิโรจน์

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 07:17


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger