เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 16-01-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default สถานการณ์ปะการังฟอกขาว ปี 2553-2554


"ทส." เล็งปิด "อุทยานฯ หมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน-พีพี-ราชา" หลังพบปะการังฟอกขาวสาหัสที่สุดในประวัติศาสตร์ แย่กว่าเจอสึนามิถล่ม



วันนี้ (16 ม.ค.) นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เตรีมทำหนังสือเสนอกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อขอให้ปิดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา บางส่วน เนื่องจากเกิดปัญหาปะการังฟอกขาวทั้งหมด ส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรของปะการังในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันจนเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งปะการังเขากวาง ปะการังวงแหวน ปะการังดาวใหญ่ ปะการังโขด เป็นต้น

โดยสาเหตุมาจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นถึงกว่า 30 องศาเซลเซียสตั้งแต่ช่วงกลางปี 2553 ที่ผ่านมาต่อเนื่องกันถึง 3 เดือนรวมทั้งจากของเสียที่ถูกถ่ายเทลงน้ำ โดยเฉพาะของเสียจากเรือที่จอดอยู่จำนวนมากในบริเวณนั้นๆ รวมทั้งอาจเป็นของเสียที่ไหลซึมผ่านชั้นดิน เพราะปะการังที่เสียหายในหลายพื้นที่อยู่ไม่ไกลจากที่พักนักท่องเที่ยวและอีกสาเหตุหนึ่งมาจากการท่องเที่ยวที่มีนักดำน้ำไปยืนเหยียบปะการังจนเสียหาย

ทั้งนี้จากการสำรวจในหลายพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2553 โดยเฉพาะที่หมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน จ.พังงา รวมทั้งหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่และเกาะราชา จ.ภูเก็ต พบว่าในแต่ละแห่งแนวปะการังได้รับผลกระทบเกิดความเสียหายจากการฟอกขาวมาก เช่น เกาะสุรินทร์เหนือ หน้าช่องแคบตอนใน ปะการังตายถึง 93.6 เปอร์เซ็นต์ เกาะสุรินทร์เหนือ อ่าวแม่ยายทิศเหนือ ตายถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ เกาะปาชุมบา ตะวันออกเฉียงเหนือ ตายถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เกาะตาชัย ตายถึง 84 เปอร์เซ็นต์ เกาะสุรินทร์ใต้ (อ่าวเต่า) ตาย 85 เปอร์เซ็นต์ เกาะสิมิลัน หน้าประภาคาร ตาย 89.3 เปอร์เซ็นต์ เกาะตาชัย ตะวันออกเฉียงใต้ ตาย 84 เปอร์เซ็นต์ เกาะบางงู ทิศใต้ ตาย 60.8 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

อธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง กล่าวต่อว่า ขณะที่เกาะพีพีและเกาะใกล้เคียง อาทิ เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล เกาะไผ่ เกาะยูง เกาะบิด๊ะใน และเกาะบิด๊ะนอก พบว่า แนวปะการังส่วนใหญ่ของทุก ๆ เกาะ อยู่ในสภาพเสียหาย มีปะการังตายมากกว่าปะการังมีชีวิตประมาณ 2-3 เท่าและเสียหายมาก โดยเฉพาะจุดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น อ่าวมาหยา อ่าวต้นไทร หาดยาว อ่าวรันตี แหลมตง มีปะการังเขากวางเป็นชนิดเด่น อยู่ในแนวปะการังน้ำตื้นพบว่าปะการังเขากวางกว่าร้อยละ 90 ได้ตายลงเช่นเดียวกับที่เกาะราชาใหญ่อ่าวทิศเหนือ ปะการังตายมากถึง 96.7 เปอร์เซ็นต์และในหลายพื้นที่ไม่พบปะการังวัยอ่อนเลย

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าความเสียหายของแนวปะการังจากการฟอกขาวในครั้งนี้ ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงมากกว่าความเสียหายจากสึนามิเมื่อเดือน ธ.ค. 2547

นายเกษมสันต์ กล่าวอีกว่า ควรมีการลดผลกระทบโดยเฉพาะจากกิจกรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง เพราะพบว่าแนวปะการังหลายบริเวณยังมีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวดำน้ำเป็นจำนวนมาก แต่นักท่องเที่ยวยังขาดความรู้ความเข้าใจ มีการเหยียบปะการังของไกด์นำเที่ยวและนักท่องเที่ยว การทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง รวมทั้งพบอวนและลอบที่อยู่ในสภาพใหม่และเก่าจำนวนมากในแนวปะการัง ผู้ประกอบการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวให้อาหารปลาในแนวปะการัง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้มีสาหร่ายขึ้นคลุมปะการังจำนวนมากในหลายบริเวณ เช่น เกาะไผ่ หินกลาง เนื่องจากปลาเปลี่ยนพฤติกรรมไปกินอาหารจากนักท่องเที่ยวแทนที่จะกินสาหร่ายที่ขึ้นคลุมปะการัง

รวมทั้งผลักดันให้เรือท่องเที่ยวปรับปรุงเรือ โดยให้มีถังกักเก็บของเสียในเรือ ไมให้มีการปล่อยของเสียลงในแนวปะการังและให้มีการปิดพื้นที่ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ ในพื้นที่แนวปะการังที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด เช่น บางบริเวณในเขตอุทยานแห่งชาติฯ ที่มีความเสี่ยงว่าจะได้รับผลกระทบเพิ่มจาการท่องเที่ยว เช่น จุดที่น้ำตื้น จนเหยียบพื้นได้ เป็นต้น หากไม่มีการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โอกาสที่แนวปะการังในทะเลอันดามันจะกลับมีความสวยงามสมบูรณ์ดังเดิมคงเป็นไปได้ยาก

ด้านนายสุนันท์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดของปะการง ต้องไปสำรวจก่อน ถ้าเสียหายมากก็จำเป็นต้องปิดอุทยานฯ เลย ทั้งหมู่เกาะสิมินลันและสุรินทร์ รวมทั้งพีพี อาจจะเป็นบางจุดแม้จะเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญและขณะนี้อยู่ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวทางทะเลก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียมาก ที่สำคัญท้องทะเลอันดามัน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญและเป็นแหล่งที่จะประกาศเป็นพื้นที่มรดกโลกในอนาคต เพราะฉะนั้นจะเสียหายไม่ได้ โดยในวันที่ 20 ม.ค.นี้จะพื้นที่สำรวจที่ จ.ภูเก็ต และในวันเดียวกันนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ จะเรียกประชุมหัวหน้าอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทางทะเลทั้ง 26 แห่งเข้าประชุมเพื่อรายงานสถานการณ์ด้วย.

ขอบคุณข่าวจาก .... http://www.dailynews.co.th/newstartp...ntentId=115733
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 19-07-2012 เมื่อ 19:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 16-01-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



นับเป็นข่าวดี ที่ทางการเริ่มจะเอาจริงกับการออกมาตรการเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่ได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว หลังจากนิ่งเงียบไม่ยอมทำอะไรมาเกือบปี นับจากเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2553....

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 16-01-2011 เมื่อ 16:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
เก่า 16-01-2011
madoatz
ข้อความนี้ถูกลบโดย madoatz.
  #3  
เก่า 16-01-2011
Super_Srinuanray's Avatar
Super_Srinuanray Super_Srinuanray is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Deep Blue Sea
ข้อความ: 1,073
Default

จะปิดช่วงไหน อย่างไร หลังสำรวจก็น่าจะทำให้ชัดเจนนะคะ
อย่างไรก็คิดแบบผู้ประกอบการด้วยว่า ปีนี้ หน้า ไฮ ก็แย่แล้ว
หากปิดทั้งปี แล้วมีประมงมาลักลอบ ก็ไม่ยุติธรรมเช่นกัน
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 16-01-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


น้องติ่ง....อย่าเพิ่งวิตกกังวลไปเลยค่ะ คงจะมีการศึกษาให้รอบคอบอีกครั้งว่าจะปิดอุทยานฯ บริเวณใด...เมื่อไร...ยาวนานเพียงใดนะคะ

และหากมีการปิดจริง....ก็ต้องมีมาตรการดูแลอย่างดี ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทำค่ะ

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 17-01-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

อาจารย์บอย (ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง) ได้เขียนบทความลงใน Face Book ได้น่าสนใจมากค่ะ เชิญอ่านดูนะคะ



อ้างอิง:
ปะการังฟอกขาว เราช้าในมิติของการศึกษา การจัดการเตรียมรับสถานการณ์ และการจัดการทรัพยากร


วันนี้ มีข่าวกรมอุทยานฯ จะปิดอุทยานแห่งชาติ เป็นเรื่องฮือฮากันมาก

แต่สำหรับผม มันช้าไปหน่อย

นักวิชาการเตือนก่อนหน้านี้นานแล้ว ว่าสถานการณ์ปะการังฟอกขาววิกฤตมาก จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขปัญหา แต่ในช่วงที่ผ่านมา กรมอุทยานฯเอง ก็ไม่มีความชัดเจนในการประเมินสภาพปัญหา

นักวิชาการพร้อมที่จะช่วยมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม แต่ก็ได้แต่คุยกันไปมา

ในทางปฏิบัติไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะไม่มีงบประมาณทำงาน

ทุกวันนี้ เราจึงยังไม่สามารถสำรวจได้ทุกพื้นที่

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีงบประมาณก็ค่อยๆ ทำไป

แต่นักวิชาการที่พร้อมจะช่วยเหลือ ไม่มีงบประมาณ ได้แต่เฝ้าดู

เป็นเรื่องน่าเสียดาย เรามีคนพร้อมจะทำงาน แต่ไม่มีโอกาส


นักวิชาการจัดประชุมกันเพื่อระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการทุกสถาบัน และออกเงินไปก่อนล่วงหน้า ตั้งแต่เดือนตุลาคม ชี้แจงให้เห็นปัญหาของปะการังฟอกขาว เงินที่สำรองจ่ายไปแล้ว เพิ่งจะออกมาจากกรมฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเงินของการประชุม ไม่ใช่เงินค่าใช้จ่ายในการสำรวจ การสำรวจ ก็ต้องออกไปเองก่อน แล้วค่อยตามเบิกทีหลัง

ในมิติของการเตรียมการรองรับสถานการณ์ เรารู้แล้วว่าสถานการณ์จะเลวร้าย ปะการังหลายบริเวณตายไปตั้งแต่เดือนกันยายน ตุลาคมที่ผ่านมา และเราก็ทำนายผลกระทบจากการท่องเที่ยวไว้แล้ว แต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้เตรียมการอะไรเลยที่จะบรรเทาผลกระทบ เช่น ถ้าต้องปิดจุดดำน้ำ แล้วจะทำอย่างไรต่อ

ข้อเสนอแนะ เช่น การจัดทำปะการังเทียมเพื่อชดเชยแหล่งดำน้ำ ให้ปลาเข้ามาอยู่อาศัย ก็ยังถกเถียงกันว่า ปะการังเทียมเป็นสิ่งแปลกปลอม เป็นขยะ นักวิชาการในกรมอุทยานแห่งชาติ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยังแบ่งเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งให้สร้าง อีกฝ่ายไม่ให้สร้าง

หรือถ้าเราต้องปิดอุทยานแห่งชาติจริงๆ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะปิดทุกแห่ง แนวปะการังหลายบริเวณก็ยังอยู่ในสภาพที่ดี อย่างหมู่เกาะอาดัง ราวี ก็ยังมีสภาพที่ดีอยู่ ยังรองรับนักท่องเที่ยวได้ ยกเว้นบริเวณหาดทรายขาว ของเกาะราวี จะต้องปิด และต้องไม่ไปพัฒนาสิ่งก่อสร้างห้องน้ำ ห้องส้วม ร้านอาหาร ที่พัก ในบริเวณนั้น ทุกวันนี้ เปิดท่องเที่ยวกันอย่างไม่สนใจว่าแนวปะการังตรงนั้น ตายไปแล้ว ต้องการการดูแลให้มันฟื้นตัวเอง ไม่ใช่การซ้ำเติม

หมู่เกาะสุรินทร์ ถือว่าวิกฤติหนักที่สุด ถ้าจะต้องปิดทั้งอุทยานฯ ก็ต้องปิด เพราะเสียหายมากที่สุด แต่ถ้ากลัวผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว ก็ต้องกำหนดกิจกรรม กำหนดสถานที่ให้เหมาะสม

ส่วนสิมิลันนั้น จุดดำน้ำลึกยังพอมีให้ใช้ได้ แต่ไม่ทุกจุด และต้องควบคุมอย่างเข้มงวด อย่าไปสร้างปัญหาซ้ำเติม จากของเสียจากเรือ การเหยียบย่ำ การให้อาหารปลา การทิ้งเศษอาหารลงทะเล

ส่วนจุดดำน้ำตื้น และบริเวณที่เป็นแนวปะการังแข็งทั้งหมดของหมู่เกาะสิมิลัน ต้องปิด เช่น เกาะหนึ่ง เกาะสอง เกาะสาม ต้องปิดอยู่แล้วเพราะเป็นเขตสงวนอย่างเข้มงวด แต่ที่ต้องปิดเพิ่มเป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 3 ปี ได้แก่ ทางฝั่งตะวันออกของเกาะแปด เกาะเจ็ด

หมู่เกาะพีพี ต้องปิดหลายบริเวณ เช่น บริเวณที่ตื้นของเกาะไผ่ แนวปะการังทางทิศตะวันตกของเกาะพีพีดอนไปจนถึงแหลมตง

ในภาพรวมของการท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามัน เราอาจจะต้องย้ายนักท่องเที่ยวลงไปทางหมู่เกาะอาดัง ราวี และใช้มาตรการต่างๆ ควบคุมไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสร้างความเสียหาย ต้องส่งคนลงไปดูแลมากขึ้น เรือตรวจ ทุ่นจอดเรือ


ส่วนในมิติของการจัดการทรัพยากร...

วันนี้ ต้องยอมรับกันว่า ประเทศไทย ใช้คนที่ไม่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ไปบริหารจัดการแนวปะการัง อย่างเช่น แนวปะการังของประเทศอยู่ในอุทยานแห่งชาติเกือบครึ่ง

แต่ถามว่า วันนี้ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ มีทีมงานที่รู้เรื่องแนวปะการัง และการจัดการแนวปะการังหรือเปล่า หัวหน้าอุทยานฯแห่งชาติ เข้าใจหรือเปล่าว่าจะจัดการแนวปะการังอย่างไร ทุกวันนี้ ได้แต่บอกว่า รอนักวิชาการข้างนอกเข้าไปสำรวจ แต่ถามว่า มีงบประมาณให้นักวิชาการทำงานหรือเปล่า แล้วทำไม เจ้าหน้าที่ประเมินสถานการณ์กันเองไม่ได้ แค่ลงน้ำไปก็รู้แล้ว ว่าปะการังตรงไหนตายบ้าง เว้นแต่ว่า ไม่มีคนที่รู้จักปะการังว่า ลักษณะไหนที่ยังมีชีวิต ลักษณะไหนที่ตายแล้ว

ทุกวันนี้เราเน้นแต่การบริหารจัดการคน บริหารจัดการนักท่องเที่ยว บริหารจัดการเงินรายได้ต่างๆ ทำอย่างไร ให้นักท่องเที่ยวพึงพอใจ ทำอย่างไร จะมีนักท่องเที่ยวมาพัก แล้วเกิดความสบาย ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมีอาหารทะเลกิน และทำอย่างไรถึงจะเก็บเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ เข้ารัฐ และยังค่าอาหาร ค่าที่พัก ที่อยู่นอกระบบอีกเท่าไร

กรมอุทยานแห่งชาติ มีแนวทางการคัดเลือกหัวหน้าอุทยานแห่งชาติทางทะเลต่างๆ อย่างไร คนที่จะมาเป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติทางทะเล ควรมีความรู้และประสบการณ์อะไรบ้าง

ทุกวันนี้กลายเป็นว่า ส่งใครก็ได้ที่สามารถบริหารจัดการคน และงบประมาณเข้าไปเป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติทางทะเล


น่าเสียดายเราจำใจ.....ต้องฝากฝังทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดีที่สุดของประเทศและภูมิภาค ไว้ในมือของกลุ่มคนที่ไม่รู้จักแนวปะการังเลย
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-01-2011 เมื่อ 20:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 17-01-2011
ดอกปีบ's Avatar
ดอกปีบ ดอกปีบ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ข้อความ: 703
Default

ขอบคุณสำหรับบทความครับพี่น้อย อาจารย์ศักดิ์อนันต์เขียนหลายๆประเด็นไว้โดนใจมากเลยครับ
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow

You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 17-01-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

มันเหมือนๆกับเรื่องของ "ไก่ได้พลอย" หรือ "สุนัขในรางหญ้า" อย่างไงก็ไม่รู้นะคะ


แต่ไม่ใช่ "ช้าๆได้พร้าเล่มงาม" แน่ๆ......
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 17-01-2011
muffin muffin is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Oct 2009
สถานที่: Nijmegen (NL) / Samutprakan (TH)
ข้อความ: 99
Default

ขอบคุณบทความดีๆ จากพี่น้อยค่ะ (ตั้งใจอ่านมากกว่า textbook ตรงหน้าอีก ฮาาา)

หากมีการดำเนินการอย่างจริงจังและเข้มแข็ง เชื่อว่า ซักวันปะการังสวยๆ จะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในทะเลไทยค่ะ แต่ก็ยังกลัว ความไร้วินัยของคนบางกลุ่ม เช่นกันค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 17-01-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


อาจารย์บอยผู้เขียนบทความนี้ และนักวิชาการอีกหลายๆท่านจากหลายสถาบัน ทำการสำรวจและทำรายงานเรื่องปะการังฟอกขาวกันอย่างเอาจริงเอาจัง ด้วยความห่วงใยและหวังจะให้ปะการัง ได้รับความบอบช้ำน้อยที่สุด และกลับมาฟื้นคืนตัวอย่างรวดเร็ว

แต่ด้วยระบบการทำงานแบบไทยๆของทางการบ้านเรา ทำให้นักวิชาการเหล่านี้เหนื่อยใจ หนักใจ และเกือบจะถอดใจกันเป็นแถวๆ

การเขียนบทความนี้ของอาจารย์บอยจึงเหมือนกลั่นออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจจริงๆ จึงน่าสนใจและน่าติดตามมากค่ะ


พวกเราก็ต้องมาช่วยกันลุ้นว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป หรือ จะไม่มีอะไรในกอไผ่....

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 17-01-2011
Thoto_Dive Thoto_Dive is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Dec 2010
ข้อความ: 80
Default

ดูเหมือนนักวิชาการทุกคนทำงานกันหนักมากๆ แต่ข้างบนเอาตัวรอดไปวันๆ
ดูคำตอบของท่านอธิบดีกรมอุทยานซิครับ ผมว่า....ด้านแท้ๆ รู้ปัญหาอยู่เต็มอกตั้งแต่ปีมะโว้

ผมจะลองนะครับ(แต่จริงๆไอเดียยังเป็น 0 แค่รู้ว่าถ้ามันเกิดแล้วจะดีมาก) ผลักดันให้เกิดคณะอนุกรรมการสิ่งแวดล้อมที่ดูและเรื่องปะการังฟอกขาวโดยตรง หวังว่าผู้ที่มีความรู้อย่างท่านๆจะได้เข้าไปนั่งกำกับดูแล
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:37


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger