#1
|
||||
|
||||
เพาะเลี้ยงกุ้งดอกไม้ทะเล
เพาะเลี้ยงกุ้งดอกไม้ทะเลในถังพลาสติก กุ้งดอกไม้ทะเล เป็นกุ้งสวยงามชนิดหนึ่งที่ชอบอาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลเช่นเดียวกับปลาการ์ตูน เพื่ออำพรางตัวจากศัตรู กุ้งชนิดนี้นับว่าเป็นกุ้งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกุ้งชนิดนี้มีศักยภาพทางการตลาดสูง ที่ผ่านมามีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโดยจับจากทะเลแถบประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย โดยเป็นการจับจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ สำหรับพฤติกรรมการอยู่อาศัยร่วมกับดอกไม้ทะเล เห็ดทะเล ปะการัง หากจัดตู้จำลองเลียนแบบแนวปะการังเขตร้อน จะเป็นการเสริมความน่าสนใจให้กับตู้ปลาทะเลสวยงามได้อย่างมาก กุ้งดอกไม้ทะเล เป็นกุ้งทะเลสวยงามอยู่ในธรรมชาติอาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเล หรือปลิงทะเล พบได้ในทะเลแถบอินโดนีเซีย จนถึงประเทศออสเตรเลีย จุดเด่นมีลักษณะลำตัวโปร่งใส มีจุดสีขาวกระจายทั่วไป และมีแถบสีขาวเห็นชัดในส่วนหัว กลางลำตัวและแพนหาง ที่ปลายแพนหางมีจุดสีส้มล้อมรอบด้วยจุดสีดำ 5 จุด ขาเดินคู่ที่ 2 เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นก้ามเพื่อใช้สำหรับจับอาหาร นางสาววารินทร์ ธนาสมหวัง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับวงการสัตว์น้ำสวยงามของไทย ซึ่งล่าสุดทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยการเพาะพันธุ์กุ้งดอกไม้ทะเลในห้องควบคุมอุณหภูมิเป็นผลสำเร็จ โดยใช้ชุดกรองชีวภาพร่วมกับเครื่องเก็บตะกอนโปรตีน (โปรตีนสกิมเมอร์) บำบัดคุณภาพน้ำให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เพื่อนำไปใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้ง การเพาะฟัก และการอนุบาลลูกกุ้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาครได้ทำการเลี้ยงกุ้งดอกไม้ทะเลเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ในถังพลาสติก ขนาด 50 ลิตร ที่มีชุดกรองชีวภาพ ปริมาตรน้ำ 45 ลิตร ให้อาร์ทีเมียตัวโตเต็มวัยเป็นอาหารวันละ 2 มื้อ มีการเสริมอาหารสดด้วยเพรียงทราย ปลาหมึก พบว่า กุ้งสามารถพัฒนาจนถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยในช่วงเดือน เมษายน 2554 ที่ผ่านมา พบไข่ที่ติดอยู่ใต้ท้องแม่กุ้งเปลี่ยนสีจากสีส้มเป็นสีน้ำตาลและมีจุดดำ ซึ่งเป็นตาของกุ้ง จากนั้นได้มีการย้ายแม่พันธุ์ที่มีไข่แก่ไปใส่ไว้ในถังเพาะฟัก ซึ่งเป็นถังพลาสติกสีดำขนาด 350 ลิตร ปริมาตรน้ำ 300 ลิตร เมื่อแม่กุ้งเขี่ยไข่และไข่ฟักออกเป็นตัวก็นำแม่กุ้งออกจากถังเพาะฟัก และอนุบาลลูกกุ้งต่อในถังเดิม ลูกกุ้งที่ฟักเป็นตัวในถังฟักมีจำนวนประมาณ 1,000 ตัว/แม่กุ้ง/ครั้ง จากนั้นลูกกุ้งดอกไม้ทะเล จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากระยะซูเอีย ถึงระยะลงเกาะ ใช้ระยะเวลาประมาณ 15 วัน ส่วนระยะเวลาที่ลูกกุ้งเริ่มลงเกาะจนหมดชุด ประมาณ 5 วัน และอุณหภูมิน้ำอยู่ที่ 27.0 องศาเซลเซียส ความเค็มที่ 30.0 ส่วนในพัน อนุบาลลูกกุ้งด้วยโรติเฟอร์ และอาร์ทีเมียแรกฟัก โดยจะให้โรติเฟอร์เมื่อลูกกุ้งอายุ 0-10 วัน เสริมด้วยอาร์ทีเมียแรกฟักในวันที่ 7 จนถึงระยะลงเกาะ ลูกกุ้งที่ลงเกาะแล้วสามารถปล่อยลงเลี้ยงในตู้เลี้ยงปลาที่มีดอกไม้ทะเลได้ทันที สำหรับดอกไม้ทะเล ที่อยู่อาศัยของกุ้งดอกไม้ทะเลจัดเป็นสัตว์อยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกับปะการังแข็งแต่พวกนี้ไม่สร้างโครงหินปูน บริเวณหนวดมีเซลล์เข็มพิษที่สามารถทิ่มแทงเหยื่อ เช่น ปลาให้เป็นอัมพาตเพื่อจับกินเป็นอาหาร ดอกไม้ทะเลบางชนิดมีปลาและกุ้งอาศัยอยู่ร่วมด้วย เป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน คือปลาการ์ตูน กุ้ง และดอกไม้ทะเล โดยปลาการ์ตูนและกุ้งใช้ดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบภัยได้ และดอกไม้ทะเลอาศัยปลาการ์ตูนและกุ้งเป็นเหยื่อล่อปลาชนิดอื่นๆ การศึกษาทดลองจนประสบความสำเร็จของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาครในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อลดการนำเข้ากุ้งชนิดนี้จากต่างประเทศ เป็นการลดการไหลออกของเงินตราออกต่างประเทศ และที่สำคัญ การผลิตลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักจะสามารถลดการรบกวนแนวปะการังตามธรรมชาติที่มักจะมีผู้คนลงไปจับกุ้งดอกไม้ทะเลมาจำหน่ายได้เป็นอย่างดี จึงนับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของกรมประมงในรอบปี 2554 ทั้งนี้สามารถติดตามความก้าวหน้าด้านการวิจัยของกรมประมงได้ในงานประชุมวิชาการกรมประมงประจำปี 2554 ซึ่งกำหนดจัดงานในวันที่ 13-14 มิถุนายน นี้ ณ กรมประมง สำหรับผู้สนใจสอบถามรายละเอียดของข้อมูลการเพาะเลี้ยงกุ้งดอกไม้ทะเลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร โทรศัพท์ 0-3485-7136, 0-3442-6220 โทรสาร 0-3485-7138 ในวันและเวลาราชการ. จาก .................. เดลินิวส์ วันที่ 2 มิถุนายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
เพิ่งทราบเหมือนกันว่ามีคนจับกุ้งดอกไม้ทะเลไปขายด้วย ..
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#3
|
||||
|
||||
เห็นภาพถ่ายกุ้งดอกไม้ทะเลในเดลินิวส์ภาพนี้...ก็จำได้ทันทีว่าเป็นภาพถ่ายขี้มือของสายชล เหมือนเดิมค่ะ...เดลินิวส์เจ้าเก่า ตัดชื่อเสียงเรียงนามของเรา ชื่อและโลโก้ของ SOS ออกอีกเช่นเคย พูดไม่ออกบอกไม่ถูกจริงๆค่ะ... ลองชมภาพเปรียบเทียบดูนะคะ สองสายไม่เคยหวงภาพของตัวเอง โดยเฉพาะเพื่องานการศึกษาแล้ว ไม่ต้องขอก็สามารถนำไปใช้ได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวก็ได้ แต่ขอให้บอกที่มาของภาพด้วย เพื่อคนเห็นภาพจะได้ทราบ และเป็นการให้เกียรติต่อเจ้าของภาพด้วย แต่เดลินิวส์นำภาพไปใช้โดย crop ภาพ ตัดชื่อเราไปซะดื้อๆ นี่เป็นครั้งที่สามแล้วนะคะ ที่เราได้เห็นภาพเราที่เดลินิวส์นำมาใช้ในลักษณะเช่นนี้...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 23-10-2011 เมื่อ 19:59 |
#4
|
||||
|
||||
น่าจะให้เครดิตกันบ้างนะครับ
|
#5
|
||||
|
||||
นั่นสิคะน้องหนุ่ย....เขาเป็นสื่อน่าจะมีความคิดและจรรยบรรณบ้างนะคะ... เซ็งเป็ด...
__________________
Saaychol |
#6
|
||||
|
||||
ทราบตัวคนเขียนคอลัมน์นี้มั๊ยครับพี่
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
#7
|
||||
|
||||
ไม่ทราบค่ะน้องเอก...แต่ที่นี่เขาชอบมานำภาพของเราไปตัดชื่อเราออกเพื่อนำมาใช้เป็นประจำค่ะ... เคยมีหนังสือไปถึงเขา..ก็เงียบไม่ตอบอะไรเลยค่ะ
__________________
Saaychol |
#8
|
||||
|
||||
อย่างนี้ต้องตีเข่า
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
|
|