#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนาม และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 มิ.ย. 64 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 10 ? 12 มิ.ย. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 ? 15 มิ.ย. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน และเวียดนามตอนบนมีกำลังอ่อน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 ? 14 มิ.ย. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนคาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นและคาดว่าเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 12 มิ.ย. 64 ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 10 ? 12 มิ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนงดออกจากฝั่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ตื่นตาเกาะทะลุ-แหล่งเต่าวางไข่แห่งอ่าวไทยที่ "อช.อ่าวสยาม" (ว่าที่) อุทยานแห่งชาติน้องใหม่ "อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม" (เตรียมการ) ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานป่ากลางอ่าว วนอุทยานแม่รำพึง (พื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) และพื้นที่ในทะเลคือเกาะทะลุ เกาะสิงห์ และเกาะสังข์ (พื้นที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) สำหรับแหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานนั้น จะมีทั้งส่วนที่เป็นทะเลและป่า โดยมีไฮไลต์คือที่ "เกาะทะลุ" เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่กลางอ่าวไทย อยู่ห่างจากชายฝั่ง 8 กิโลเมตร ด้านท้ายเกาะจะเป็นแหลมยื่นออกไป เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงจะเห็นบริเวณตอนเหนือมีช่องทะลุเป็นโพรงขนาดใหญ่ ที่เกิดจากสายน้ำและแรงลมที่กัดกร่อนจนเกิดเป็นช่องทะลุมองลอดผ่านไปอีกฝั่งหนึ่งได้จนกลายเป็นที่มาของ "เกาะทะลุ" เกาะนี้เหมาะแก่การมาดำน้ำชมปะการัง โดยบริเวณแหล่งดำน้ำตื้นจะสามารถเห็นทากทะเลสีขาวจุดได้ และปะการังฟองน้ำสีน้ำเงิน และที่เกาะทะลุแห่งนี้ยังเป็นที่ที่ "เต่ากระ" จะขึ้นมาวางไข่ทุกปีในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค. ซึ่งในปีนี้นั้นแม่เต่าได้ขึ้นมาวางไข่เป็นรังที่ 6 แล้ว https://mgronline.com/travel/detail/9640000055761 ********************************************************************************************************************************************************* แม่เต่ากระขึ้นวางไข่ต่อเนื่อง เป็นรังที่ 7 ที่ อช.อ่าวสยาม พบเต่ากระขึ้นวางไข่อย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม เป็นรังที่ 7 อีก 155 ฟอง ด้านเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนคงเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง วันนี้ ( 9 มิถุนายน 2564) นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี รายงานว่า นายภัทร อินทรไพโรจน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) แจ้งเข้ามาว่าเมื่อเวลาประมาณ 07.35 น. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ร่วมกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเล สยาม ลาดตระเวนการขึ้นวางไข่ของเต่ากระในพื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของแม่เต่ากระ แต่ไม่พบตัวแม่เต่ากระ ขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวในหุบ ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) เจ้าหน้าที่จึงสำรวจบริเวณโดยรอบพบหลุมวางไข่ ซึ่งเป็นรังที่ 7 มีจำนวนไข่ทั้งหมด 155 ฟอง วัดขนาดรอยพายได้ 50 เซนติเมตร ความกว้างของหลุม 24 เซนติเมตร ความลึกของหลุม 43 เซนติเมตร ทั้งนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง หมายเลขไมโครชิพยืนยันว่าเป็น ?แม่ศรีจันทร์? ก่อนหน้า เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2564 (วันทะเลโลก) พบรังเต่ากระขึ้นวางไข่รังที่ 6 จำนวน 108 ฟอง และก่อนหน้านั้น วันที่ 6 มิ.ย.2564 เจ้าหน้าที่ได้พบ "แม่ศรีจันทร์" ขึ้นวางไข่เป็นรังที่ 5 จำนวน 148 ฟอง ทั้งนี้เต่ากระแม่ศรีจันทร์ขึ้นวางไข่ครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2561 นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ บอกว่า จากการสแกนของเจ้าหน้าที่พบว่าหมายเลขไมโครชิพตรงกับ "แม่ศรีจันทร์" จากนั้นเจ้าหน้าที่ทำการวัดขนาดลำตัวของแม่ศรีจันทร์ ความยาว 89 เซนติเมตร ความกว้าง 75 เซนติเมตร ขนาดรอยพาย 75 เซนติเมตร ขนาดของหลุมความกว้าง 23 เซนติเมตร ความลึก 43 เซนติเมตร [ชมคลิป] ทั้งนี้จากข้อมูลที่ได้มีการสำรวจและรวบรวมไว้พบว่า "แม่ศรีจันทร์" ขึ้นวางไข่บนพื้นที่เกาะทะลุครั้งแรก เมื่อปี 2561 ซึ่งในครั้งนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม ทำการเฝ้าระวังภัยคุกคามและเก็บข้อมูล ตลอด 24 ชั่วโมง https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000055867
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก บ้านเมือง
"เกาะทะลุ" ถิ่นกำเนิด "เต่ากระ" สัตว์ทะเลหายากขึ้นไว้ไข่อย่างต่อเนื่อง วันที่ 9 มิ.ย. นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (สบอ.3) สาขาเพชรบุรี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก นายภัทร อินทรไพโรจน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม(เตรียมการ) ขณะร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ร่วมกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเล สยาม ลาดตระเวนการขึ้นวางไข่ของเต่ากระในพื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของแม่เต่ากระอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่พบตัวแม่เต่ากระ ขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวในหุบ พิกัด 47 P 560197 E 1223849 N ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) เจ้าหน้าที่จึงสำรวจบริเวณโดยรอบ พบหลุมวางไข่จึงทำการขุดหลุมรังไข่ ทำการย้ายรังไปไว้ในที่ซึ่งปลอดภัยจากสัตว์ที่จะเข้ามากินไข่เต่าและน้ำทะเลที่อาจท่วมถึงในช่วงเวลาน้าทะเลขึ้นสูง โดยนับเป็นรังที่ 7 มีจำนวนไข่ทั้งหมด 155 ฟอง วัดขนาดรอยพายได้ 50 เซนติเมตร ความกว้างของหลุม 24 เซนติเมตร ความลึกของหลุม 43 เซนติเมตร และได้ทำการเคลื่อนย้ายไข่เต่าไปยังจุดอนุบาลฯต่อไป ทั้งนี้ จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง นายพิชัยกล่าวว่า เกาะทะลุ ภูมิประเทศเป็นเกาะในอ่าวไทย อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 8 กิโลเมตรตั้งอยู่ในตำบลทรายทอง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ 1.178 ตารางกิโลเมตร (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง,2551) หรือประมาณ 736 ไร่ รูปร่างคล้ายวาฬวางตัวในแนวจากทิศเหนือมาทางทิศใต้ มีความยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร ด้านเหนือของเกาะจะเป็นหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับท้องทะเลไล่ระดับมาถึงตอนกลางของเกาะซึ่งเป็นภูเขาระดับความสูง 90 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางด้านตะวันออกจะเป็นแนวโขดหินและซากปะการัง ด้านทิศตะวันตกจะเป็นชายหาด 2 หาด จนถึงด้านท้ายเกาะจะเป็นแหลมยื่นออกไป เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงจะเป็นหาดทรายยาวไปทางทิศใต้ชื่อเกาะทะลุ เกิดจากสัณฐานของเกาะบริเวณตอนเหนือที่มีช่องทะลุเป็นโพรงขนาดใหญ่เกิดจากสายน้ำและแรงลมที่กัดกร่อนจนเกิดเป็นช่องทะลุมองลอดผ่านไปอีกฝั่งหนึ่งได้จนกลายเป็นที่มาของ"เกาะทะลุ" เกาะทะลุจัดเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทางชีวภาพสูง คือมีทั้งความหลากหลายด้านพืชบก พืชทะเล สัตว์ชนิดต่างๆ รวมถึงระบบนิเวศแนวปะการัง ซึ่งระบบนิเวศเหล่านี้จัดเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในแง่ของการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลบภัยและเป็นแหล่งหาอาหาร ปัจจุบันเกาะทะลุ มีการเข้ามาใช้ประโยชน์และทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อย่างมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจดำน้ำชมปะการังเนื่องจากบริเวณเกาะทะลุ มีแหล่งดำน้ำชมปะการังที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่ง สำหรับพื้นที่เกาะทะลุ เป็นแหล่งที่เต่ากระขึ้นมาวางไข่ทุกปี ในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค. ซึ่งในปีนี้แม่เต่าได้ขึ้นมาวางไข่เป็นรังที่ 7 แล้ว "เต่ากระ" ถือเป็นสัตว์ทะเลหายาก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญาไซเตส (CITES) ด้วย. https://www.banmuang.co.th/news/region/237580
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|