#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับยังคงมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีการกระจายของฝนน้อย เว้นแต่บริเวณรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 24 ? 25 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 ? 30 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิย. มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ข้อควรระวัง ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
พบซากเรืออายุหลายร้อยปี นอกชายฝั่งสิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศที่เป็นเกาะ มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของเส้นทางเดินเรือทั่วโลก โดยเชื่อมต่อมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้มาช้านาน ล่าสุด ได้มีการค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการค้าในอดีตของภูมิภาคนี้ เมื่อคณะกรรมการ มรดกแห่งชาติสิงคโปร์และสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค เผยว่าค้นพบซากเรืออายุกว่า 200 ปีลำที่ 2 นอกพื้นที่เปดรา บรังกา ซึ่งเป็นภูเขาหินตั้งอยู่ทางตะวันออกของสิงคโปร์ ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ.2558 มีการขุดค้นใต้ท้องทะเลและได้พบซากเรือลำแรก เนื่องจากนักดำน้ำบังเอิญไปเจอแผ่นเซรามิก จนกระทั่งต่อมาก็ได้ค้นพบซากเรือลำที่ 2 คาดว่าจะเป็นเรือชาห์ มันชาห์ (Shah Munchah) ซึ่งเป็นเรือสินค้าที่ต่อขึ้นในอินเดียและอับปางลงในปี พ.ศ.2339 ขณะแล่นจากจีนไปยังอินเดีย ของที่กู้คืนจากซากเรือลำที่ 2 มีตั้งแต่เครื่องเซรามิกของจีน ไปจนถึงวัตถุทำจากแก้วและหินโมรา รวมถึงสมอ และปืนใหญ่ที่มักถูกติดตั้งบนเรือเดินสมุทรที่ใช้โดยบริษัทอินเดียตะวันออก ซึ่งเป็นกลุ่มการค้าขนาดใหญ่ของจักรวรรดิอังกฤษที่ขยายออกไปในเอเชียช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 มีการตั้งข้อสังเกตว่าวัตถุบางชิ้นที่จมอยู่กับเรือ ดูคล้ายกับสิ่งประดิษฐ์ที่พบในการขุดค้นทางโบราณคดีบนบก นั่นแสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้าก่อนการมาถึงของยุคอาณานิคมอังกฤษ อย่างไรก็ตาม การสำรวจและการกู้คืนสิ่งประดิษฐ์จากซากเรือทั้ง 2 ลำดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2122860 ********************************************************************************************************************************************************* หุ่นยนต์ขนาดแบคทีเรีย ใช้กำจัดไมโครพลาสติก พลาสติกชิ้นเล็กจิ๋วนั้นแทรกตัวอยู่ทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่สภาพแวดล้อมในเมืองไปจนถึงถิ่นห่างไกลมลพิษ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายร้อยปีกว่าพลาสติกจะย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ จริงอยู่ที่สารประกอบที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งถูกกระตุ้นโดยแสงแดดสามารถเร่งกระบวนการได้ แต่การทำให้สารประกอบเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับไมโครพลาสติกที่มีขนาดไม่ถึง 5 มิลลิเมตรนั้นทำได้ยาก ล่าสุด มีรายงานใน ACS Applied Materials & Interfaces เผยว่า มีกลุ่มวิจัยได้พัฒนาไมโครโรบอทแบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่สามารถว่ายน้ำและยึดติดกับพลาสติกจากนั้นก็ทำลายพลาสติกเหล่านั้นได้ ในรายงานระบุว่าในการเปลี่ยนวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาให้เป็น ?ไมโครโรบอท? ที่ขับเคลื่อนด้วยแสง พวกเขาได้สร้างอนุภาครูปดาวของสารประกอบอนินทรีย์ที่เรียกว่าบิสมัทวานาเดต (Bismuth vanadate-BiVO4) แล้วเคลือบโครงสร้างที่มีความกว้าง 4-8 ไมโครเมตรอย่างสม่ำเสมอด้วยเหล็กออกไซด์ ไมโครโรบอทนี้จะว่ายไปตามช่องว่างท่ามกลางความยุ่งเหยิงของไมโครพลาสติก เพื่อจัดการกับชิ้นส่วนไมโครพลาสติกตลอดความยาวของพวกมัน นักวิจัยพบว่าภายใต้แสงที่มองเห็นได้ ไมโครโรบอทจะมุ่งไปที่พลาสติกทั่วไป 4 ประเภท ทีมได้ฉายแสงไปยังชิ้นส่วนพลาสติก 4 ประเภทที่เคลือบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาไมโครโรบอทซึ่งอยู่ในสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เจือจางเป็นเวลา 7 วัน ทีมสังเกตพบว่าพลาสติกสูญเสียน้ำหนักไป 3% และพื้นผิวเปลี่ยนจากเรียบเป็นหลุม ทั้งยังพบโมเลกุลจิ๋วและส่วนประกอบของพลาสติกในสารละลายที่เหลือ ชี้ให้เห็นว่าตัวเร่งปฏิกิริยาไมโครโรบอทที่ขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้ ปูทางไปสู่ระบบที่สามารถดักจับและย่อยสลายไมโครพลาสติกในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2122861
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ตื่นเต้น! พบวาฬเพชฌฆาตแคระ 40 ตัว ว่ายน้ำหากินที่เกาะเต่า สุราษฎร์ธานี - สุดตื่นเต้น! พบวาฬเพชฌฆาตแคระกว่า 40 ตัว โผล่ว่ายน้ำหาอาหาร และแหวกว่ายคลอเคลียเรืออาสาสมัครทีมวางประการังเทียมที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี วันนี้ (24 มิ.ย.) เวลา 09.00 น. ทีมอาสาสมัครชุดครูสอนดำน้ำคนไทย จำนวน 14 คน ได้นำเรือออกไปวางปะการังเทียม และเก็บขยะใต้ทะเล ร่วมกับทีม KTDT และนักดำน้ำชาวต่างชาติ ระหว่างออกเรือได้พบ False killer whal หรือวาฬเพชฌฆาตแคระ จำนวนกว่า 40 ตัว กำลังแหวกว่ายหาอาหารที่หัวแหลมเทียนจนถึงอ่าวโตนดของเกาะเต่า เมื่อฝูงวาฬเพชฌฆาตแคระ เห็นเรือวิ่งมาจึงว่ายน้ำมาวนอยู่กับเรือประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นดำน้ำหายไป ครูวีม หนึ่งในทีมอาสาสมัครได้บอกว่าหลังจากเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ท้องทะเลได้พักฟื้นเต็มที่ ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาอย่างมาก จึงทำให้ฝูงวาฬเข้ามาหากินในพื้นที่รอบๆ เกาะเต่า และมีโอกาสได้พบบ่อยขึ้น นับเป็นเรื่องที่ดี และช่วยสร้างสีสันให้แก่ทะเล https://mgronline.com/south/detail/9640000061245
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
พบเหยื่อฉลามอายุมากสุดในโลก นักวิทย์ผงะ790แผลอายุ3พันปี พบเหยื่อฉลามอายุมากสุดในโลก ? วันที่ 24 มิ.ย. ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์โบราณที่สันนิษฐานว่าเสียชีวิตจากการถูกฉลามโจมตี มีอายุเก่าแก่ถึง 3 พันปี ถือเป็นเหยื่อฉลามโจมตีที่มีอายุมากที่สุดในโลก ผลงานดังกล่าวเป็นฝีมือของนักวิจัยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ที่แหล่งขุดค้น สึคุโมะ บริเวณทะเลเซโตะใน ประเทศญี่ปุ่น โดยการตรวจสอบพบว่าโครงกระดูกนี้เป็นของชายที่เสียชีวิตจากบาดแผลกว่า 790 แผล ทั่วร่างกายตั้งแต่แขน ขา อกด้านหน้า และท้อง นางเจ. อลิซซา ไวต์ และนายริก ชุลติง หนึ่งในคณะนักขุดค้น ระบุว่า รู้สึกงุนงงมากว่าชายผู้นี้เสียชีวิตจากสาเหตุใดถึงมีบาดแผลได้มากเพียงนี้ เป็นบาดแผลฉกรรจ์อย่างน้อย 790 จุด แผลหลายจุดเหมือนถูกของมีคม ลักษณะแหลมเป็นรูปร่างตัววี แทงลงไปลึกมาก ไม่เหมือนกับอาวุธที่ใช้ในยุคโจวมอน และไม่เหมือนกับลักษณะฟันของสัตว์กินเนื้อบนบกในยุคนั้นด้วย คณะวิจัย กล่าวว่า หลังจากการตรวจสอบไปเรื่อยๆ ไม่พบว่าเป็นสาเหตุเกี่ยวกับการสู้รบระหว่างมนุษย์ หรือเป็นสัตว์ล่าเนื้อทั่วไป แต่เป็นฉลาม คาดว่าเป็นฉลามหัวค้อน หรือฉลามขาวยักษ์ คณะนักวิจัยยังทำงานร่วมกับนายจอร์จ เบอร์เกสส์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยฉลามรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากการโจมตีของฉลาม นายชุลติง ระบุว่า ทางโบราณคดีแล้วมีตัวอย่างของเหยื่อที่ถูกฉลามขย้ำเสียชีวิตน้อยมาก โดยศพเดียวที่พบมาจากแหล่งขุดค้นจากเปอร์โตริโก มีอายุเก่าแก่มาตั้งแต่เมื่อค.ศ. 1000 "เหตุผลที่เราพบน้อยมาก เพราะว่าเหตุฉลามโจมตีมนุษย์นั้นเกิดขึ้นน้อยมาก แม้แต่ปัจจุบันที่จำนวนคนบนโลกมีมากขึ้น เมื่อเทียบสัดส่วนแล้วก็ยังมีคนตกเป็นเหยื่อฉลามโจมตีน้อย" ภายหลังการศึกษาพบว่า ชายผู้นี้เสียชีวิตมาตั้งแต่ช่วง 1,370 ถึง 1,010 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณกว่า 3,000 ปีที่ผ่านมา จากนั้นจึงนำโครงกระดูกมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบเรือนร่างและบาดแผล ผู้เชี่ยวชาญ สันนิษฐานว่า ชายผู้เสียชีวิตนั้นเป็นนักล่าสัตว์ และตอนเกิดเหตุน่าจะมีชีวิตอยู่ เนื่องจากตำแหน่งบาดแผลที่กระจายไปทั่วเรือนร่าง มือซ้ายก็หายไป แปลว่า เป็นแผลจากการต่อสู้ดิ้นรนเอาชีวิตรอด นายชุลติง ระบุว่า นักล่าคนนี้น่าจะออกไปตกปลา อาจไปคนเดียว หรือไปกับเพื่อนหลายคน อาจตกปลาจากเรือ หรือดำน้ำเก็บหอย หรืออาจถึงขั้นล่าฉลาม เพราะฟันฉลามนั้นสามารถพบได้ตามแหล่งขุดค้นยุคโจวมอน "เราคิดว่าน่าจะเป็นฉลามตัวเดียว หรือหลายตัวก็ไม่ทราบได้แน่ชัด เข้าโจมตีชายผู้เคราะห์ร้ายคนนี้ขณะอยู่ในน้ำ อาจจะเสียศูนย์พลัดตกจากแพ หรือถูกลากลงไปจากแพ หรือถูกเบ็ดลากลงไปในทะเล ที่แน่ใจได้คือ ฉลามไม่ได้ตัวเล็กแน่นอน" "บาดแผลจำนวนมากบนร่างกายของชายคนนี้หมายความว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นนั้นกินเวลานานพอสมควร" ชุลติง ระบุ ต่อมาศพของชายคนนี้ถูกเพื่อนๆ นำมาฝังพร้อมทำพิธี โดยขาขวาของชายผู้นี้หายไป ส่วนขายซ้ายนั้นถูกวางไว้บนตัวของผู้เสียชีวิต นายมาร์ก ฮัดสัน หนึ่งในคณะนักวิจัย จากสถาบันมักซ์พลังค์ ประเทศเยอรมนี ระบุว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่านักโบราณคดีสามารถจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงจากเหตุการณ์ในอดีตได้จากการขุดค้นหลักฐานโบราณ https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6472722
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ภัยน้ำทะเลสูง คาดพื้นที่ 'กรุงเทพ' 96% เสี่ยงน้ำท่วมภายในปี 73 กรีนพีซ คาด "กรุงเทพ" ติดหนึ่งใน 7 เมืองของเอเชีย มีระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมแนวชายฝั่งในสภาวะสุดขีด ก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์ กรีนพีซ เอเชียตะวันออก เปิดรายงานฉบับใหม่วันพฤหัสบดี (24 มิ.ย.) ที่กรุงโซล ระบุว่า ภายในปี 2573 มากกว่า 96% ของพื้นที่กรุงเทพ อาจถูกน้ำท่วม หากเกิดอุทกภัยอุบัติซ้ำ ประกอบกับพื้นที่พักอาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่มีความหนาแน่นสูงใจกลางเมือง ในรายงานระบุว่า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และน้ำท่วมแนวชายฝั่งในสภาวะสุดขีดใน 7 เมืองของเอเชียในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 724,000 ล้านดอลลาร์ "ภายในทศวรรษนี้ เมืองที่อยู่ติดชายฝั่งในเอเชียจะมีความเสี่ยงสูงจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุที่เข้มข้นรุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อบ้านเรือน ความปลอดภัย และวิถีชีวิตของผู้คน ทำให้เหลือเวลาไม่มากในการยุติโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด" คิม มี กยอง ผู้จัดการโครงการภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกระบุ และกล่าวว่า รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องดำเนินการระบบบริหารจัดการน้ำท่วมและการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพิ่มมากขึ้น ปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงเป้าหมายภายใต้แผนที่นำทางก๊าซเรือนกระจกของประเทศนั้น ไม่เพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากน้ำท่วมชายฝั่งในสภาวะสุดขีด "รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องยกเลิกแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในทันทีและเร่งการเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เรากำลังเผชิญกับสภาวะฉุกเฉินของสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น เราต้องเสริมสร้างการวางแผนจัดการภัยพิบัติและการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เมืองของเราหลายแห่งในเอเชียเสี่ยงต่อน้ำท่วม เราไม่อาจรอได้" คิม มีกยองกล่าว รายงานฉบับนี้คาดการณ์ว่า ภายในปี2573 ประชาชนกว่า 15 ล้านคนใน 7 เมือง อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม การวิเคราะห์ครั้งนี้เป็นหนึ่งในการวิเคราะห์ครั้งแรกที่ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีความละเอียดสูงในการระบุถึงพื้นที่ของเมืองที่อาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และขอบเขตของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ข้อค้นพบหลักจากรายงาน ?ภายในปี 2573 มากกว่า96%ของพื้นที่กรุงเทพฯ อาจถูกน้ำท่วมหากเกิดอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ รวมถึงพื้นที่พักอาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่มีความหนาแน่นสูงใจกลางเมือง ?กรุงจาการ์ตาเผชิญกับภัยคุกคามสองประการ ทั้งจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและแผ่นดินทรุด ราว17%ของพื้นที่ทั้งหมดของจาการ์ตาซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ในปี 2573 อาจถูกน้ำท่วมภายใต้สถานการณ์อุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ซึ่งจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์ ?พื้นที่ลุ่มต่ำทางตะวันออกรวมถึงแขวงโคโตซึ่งเป็น1ใน23แขวงพิเศษของกรุงโตเกียว (ประกอบด้วยเขตสุมิดะ โคโตะ อาดาจิ คัตสึชิกะและเอโดงาวะ)มีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 68,000 ล้านดอลลาร์ อาจจะเกิดขี้นจากน้ำท่วมชายฝั่งภายในปี 2573 หรือคิดเป็น10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) รวมของกรุงโตเกียว ?ในกรุงไทเป สถานีกลางไทเป ซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญที่สุดทางตอนเหนือของไต้หวัน มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมเช่นเดียวกับเขตต้าถงอันเก่าแก่ คิดเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจราว24%ของจีดีพี รวมของกรุงไทเป ?เกือบ87%ของพื้นที่กรุงมะนิลาเป็นที่ลุ่มต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมซึ่งหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ10ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี2573ผู้คนมากกว่า1.54ล้านคน อาจได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ารวม3.9หมื่นล้านดอลลาร์ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/945283
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
คนเขาใหญ่ออกแคมเปญ "NO DAM" ค้าน 7 อ่างผุดกลางป่า "มรดกโลก" ชาวบ้านคลองมะเดื่อ-เครือข่ายอนุรักษ์ ติดป้ายค้านผุดเขื่อนกลางมรดกโลก "ดงพญาเย็น-เขาใหญ่" หลังกรมชลประทาน มีแผนศึกษา และเดินหน้าอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง เสี่ยงถูกถอดมรดกโลก ช้างและสัตว์ป่าหากินหนักกระทบชุมชน พร้อมออกแคมเปญล่ารายชื่อผ่าน change.org วันนี้ (24 มิ.ย.2564) น.ส.อรยุพา สังขะมาน หัวหน้าฝ่ายวิชาการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวว่า กรณีที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้หลังจากเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์และนักวิชาการเกือบ 30 องค์กร เช่น มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, มูลนิธิโลกสีเขียว, สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย, สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, กลุ่มรักษ์เขาใหญ่ ร่วมออกแถลงการณ์คัดค้านการเห็นชอบรายงานอีเอชไอเอ และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยุติการอนุมัติโครงการเพื่อรักษาถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นอกจากนี้ ยังเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมลงชื่อคัดค้านโครงการผ่านทาง change.org แคมเปญคัดค้านโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ?.?จันทบุรี พื้นที่อุทยานเขาสิบห้าชั้น ซึ่งล่าสุดเมื่อเวลา 13.00 น.มีผู้ร่วมลงชื่อ 2,300 คน น.ส.อรยุพา ระบุว่า การสูญเสียป่า เพื่อสร้างเขื่อนจะกระทบต่อระบบนิเวศตามมา เพราะเขื่อนจะบล็อกพื้นที่หากินของสัตว์ป่า โดยเฉพาะช้างที่ออกนอกพื้นที่เป็นประจำในบริเวณแก่งหางแมว จะยิ่งออกนอกป่า และเพิ่มปัญหากับชุมชน "เขื่อนมีความจุอ่าง 99 ล้าน ลบ.ม.ถือเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ จึงอยากให้พิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบ รอบด้าน เพื่อไม่เสี่ยงที่จะสูญเสียป่านับหมื่นไร่ " ชาวบ้าน-กลุ่มอนุรักษ์ ค้านเขื่อนในป่ามรดกโลก ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ตัวแทนเครือข่ายมรดกโลก-ดงพญาเย็นเขาใหญ่ กล่าวว่า หลังจากมีความชัดเจนว่ากรมชลประทาน เข้ามาศึกษาโครงการเขื่อนในเขตป่ามรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งพบว่าจะมีโครงการอ่างเก็บน้ำ 7 แห่งในป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติตาพระยา ทำให้ชาวบ้านบางส่วน เริ่มออกมาเคลื่อนไหว ไม่เห็นด้วยกับโครงการ เพราะมองว่าไม่คุ้มกับการสูญเสียพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางท่องเที่ยวทางธรรมชาติ "โดยเฉพาะอ่างคลองมะเดื่อ จ.นครนายก ที่ถือว่ามีก้าวหน้ามากที่สุด กรมชลประทานเข้ามาทำรายงานสิ่งแวดล้อม ศึกษาโครงการเสนอให้กับคชก.แล้ว ขณะที่ชาวบ้านมีการทำป้ายคัดค้าน ไม่เอาเขื่อน มีการพูดคุยกับทางเครือข่ายอนุรักษ์ เพราะกังวลผลกระทบจากช้างป่าเขาใหญ่ ที่จะออกนอกพื้นที่มากขึ้น" นอกจากนี้แหล่งข่าวจากเครือข่ายมรดกโลก-ดงพญาเย็นเขาใหญ่ ระบุอีกว่า บริเวณนี้มีเขื่อนขุนด่านปราการชล ห่างไปประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวบ้านไม่ได้ประสบปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง และไม่ตอบโจทย์การจัดการน้ำในพื้นที่ แต่มองว่าเขื่อนทั้ง 7 แห่งที่แบ่งเป็น 3 เฟสจะใช้น้ำไปป้อนให้กับทางอีอีซี "ทางเครือข่าย ห่วงว่าพื้นที่เขาใหญ่ เป็นเกาะ และไม่สามารถขยายพื้นที่ได้อีกแล้ว จะยิ่งเสียพื้นที่ป่าที่มีเหลือน้อย จนเสี่ยงต่อการถูกถอดจากมรดกโลก และยิ่งบีบให้สัตว์ป่า ทั้งช้าง กระทิง ออกนอกพื้นที่รอบๆเขาใหญ่หนักขึ้น แทนที่จะแก้ปัญหากลับสร้างปัญหา " #NODAM มรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ มี 7 อ่าง ปัจจุบันมีการขออนุญาตสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็นเขาใหญ่ ทั้งหมด 7 อ่าง โดยแต่ละอ่างได้เตินตามขั้นตอน ดังนี้ - อ่างเก็บน้ำคลองมะเดื่อ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครนายก อยู่ในขั้นตอนส่ง EIA ให้คณะ คชก.พิจารณาและถูกตีกลับมาให้ทำประเด็นเพิ่มเติม เสียพื้นที่ป่าประมาณ 1,000 ไร่ - อ่างเก็บน้ำห้วยสโตน อุทยานแห่งชาติตราพระยา จ.สระแก้ว อยู่ในขั้นตอนของกรมชลประทาน ยื่นขอใช้พื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำจากกรมอุทยานฯ เสียพื้นที่ป่าประมาณ 4,700 ไร่ - อ่างเก็บน้ำลำพระยาธาร อุทยานแห่งขาติเขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี อยู่ในขั้นตอนขอเข้าสำรวจพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำจากรมอุทยานเพื่อออกแบบและหาจุดที่เหมาะสม - อ่างเก็บน้ำใสน้อยใสใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี อยู่ในขั้นตอนขอเข้าสำรวจพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำจากรมอุทยานฯ เพื่อออกแบบและหาจุดที่เหมาะสม - อ่างเก็บน้ำคลองวังมืด อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี อยู่ในขั้นตอนขอเข้าสำรวจพื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำจากรมอุทยานเพื่อออกแบบและหาจุดที่เหมาะสม - อ่างเก็บน้ำคลองหนองแก้ว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี อยู่ในแผนการขอเข้าสำรวจในปี 2572 - 2575 - อ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครนายกอยู่ในขั้นตอนการขอให้สร้างจากสภาเกษตรกร https://news.thaipbs.or.th/content/305480
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลแบบสภาวะสุดขีดใน 7 เมืองของเอเชียภายในปี พ.ศ.2573 : ข้อค้นพบหลัก โดยสรุป เมืองชายฝั่งทั่วเอเชียกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากน้ำท่วมที่มากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุโซนร้อนที่เข้มข้นมากขึ้น คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) เตือนว่า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ระหว่าง 0.43-0.84 เมตรภายในปี พ.ศ.2643 (IPCC, 2019) ขณะเดียวกัน ตลอดศตวรรษที่ 21 พายุมีความเร็วลมรุนแรงซึ่งสร้างความเสียหายมากขึ้น คลื่นพายุซัดฝั่งที่สูงขึ้น และปริมาณน้ำฝนที่มีสภาวะสุดขีดมากกว่าในอดีต (Knutson et al., 2020) เราเลือกเมือง 7 แห่งในเอเชียที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและตั้งอยู่บนชายฝั่งหรือใกล้ชายฝั่งเพื่อวิเคราะห์ถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากน้ำท่วมชายฝั่ง(coastal flooding) ในปี พ.ศ.2573 ตามภาพฉายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นไปตามปกติ (business as usual) การวิเคราะห์ของเราชี้ให้เห็นว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเมืองต่างๆ ที่อยู่ในรายงานนี้ ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งทศวรรษ เว้นแต่เราจะลงมือทำในทันทีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างรวดเร็ว ปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงเป้าหมายภายใต้แผนที่นำทางก๊าซเรือนกระจกของประเทศ(nationally determined contribution targets) นั้นไม่เพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากน้ำท่วมชายฝั่งแบบสภาวะสุดขีด รัฐบาลและบรรษัทต่างๆ ต้องลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมให้เร็วขึ้น เช่น ยุติการสนับสนุนทางการเงินให้กับอุตสาหกรรมถ่านหินและเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เพื่อป้องกันมิให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มมากไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ระเบียบวิธีการวิเคราะห์ การวิเคราะห์นี้ใช้ข้อมูลการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในสภาวะสุดขีด ข้อมูลประชากร และ GDP เพื่อคำนวณผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลของเมือง 7 แห่งในเอเชีย โดยถือเป็นหนึ่งในการวิเคราะห์ครั้งแรกที่ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีความละเอียดสูงในการระบุถึงพื้นที่ของเมืองที่อาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และขอบเขตของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น แหล่งข้อมูล: - การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเชิงพื้นที่และข้อมูลน้ำท่วมชายฝั่งมาจาก Climate Central (Kulp and Strauss, 2019) - ชุดข้อมูลความหนาแน่นของประชากรทั่วโลกเชิงพื้นที่มาจากศูนย์ข้อมูลและการประยุกต์ใช้งานทางเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(NASA) ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์นี้เป็นข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ.2563 - ชุดข้อมูลระดับโลกเชิงพื้นที่ของ GDP (คิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อคิดตามหลักความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ(purchasing power parity หรือ PPP) จัดทำโดย Dr. Matti Kummu ซึ่งเคยตีพิมพ์บทความซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิเคราะห์แบบเดียวกัน(Kummu et al., 2018) โดยเป็นฐานข้อมูลในปี พ.ศ.2562 ข้อค้นพบหลัก - ภายในปี พ.ศ.2573 มากกว่า 96% ของพื้นที่กรุงเทพฯ อาจถูกน้ำท่วมหากเกิดอุทกภัยคาบ 10 ปี รวมถึงพื้นที่พักอาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่มีความหนาแน่นสูงใจกลางเมือง - กรุงจาการ์ตาเผชิญกับภัยคุกคามสองประการ ทั้งจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและแผ่นดินทรุด ราว 17% ของพื้นที่ทั้งหมดของจาการ์ตาซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ในปี 2573 อาจถูกน้ำท่วมภายใต้สถานการณ์อุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ซึ่งจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 6.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ - พื้นที่ลุ่มต่ำทางตะวันออกของกรุงโตเกียว รวมถึงเขตโคโตะ 5 (สุมิดะ โคโตะ อาดาจิ คัตสึชิกะ และเอโดงาวะ) มีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 68,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อาจจะเกิดขี้นจากน้ำท่วมชายฝั่งภายในปี 2573 หรือคิดเป็น 10% ของ GDP รวมของกรุงโตเกียว - ในกรุงไทเป สถานีกลางไทเปซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญที่สุดทางตอนเหนือของไต้หวัน มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมเช่นเดียวกับเขตต้าถงอันเก่าแก่ คิดเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 24% ของ GDP รวมของกรุงไทเป - เกือบ 87% ของพื้นที่กรุงมะนิลาเป็นที่ลุ่มต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมซึ่งหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยในคาบ 10 ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ.2573 ผู้คนมากกว่า 1.54 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ารวม 3.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตารางแสดงการคาดการณ์ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมต่อเศรษฐกิจ(วัดจาก GDP-PPP) ประชากรและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของเมือง 7 แห่งในเอเชีย เรียงลำดับตามขนาดพื้นที่เมือง (หน่วย : ตารางกิโลเมตร) *GDP(PPP) คือ GDP ที่แปลงเป็นดอลลาร์สหรัฐโดยสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อคิดตามหลักความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity หรือ PPP) กรุงเทพฯ - ความเปราะบางของเมืองจากการเกิดน้ำท่วมรุนแรงขึ้น และเสี่ยงจมน้ำอันเนื่องมาจากดินอ่อน การขยายตัวของความเป็นเมือง และการทรุดตัวของแผ่นดิน รวมถึงอิทธิพลของน้ำเหนือ น้ำฝนและน้ำทะเล - มากกว่า 96% ของกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ.2573 ตามการวิเคราะห์โดยใช้ภาพฉายอนาคต RCP8.5 - สัปปายะสภาสถาน รัฐสภาแห่งใหม่ของไทยเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวม 512,280 ล้านเหรียญสหรัฐและประชากร 10.45 ล้านคนในกรุงเทพฯ อาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมชายฝั่งในปี พ.ศ.2573 - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น 96% ของ GDP(PPP) รวมของกรุงเทพฯ (มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#8
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลแบบสภาวะสุดขีดใน 7 เมืองของเอเชียภายในปี พ.ศ.2573 : ข้อค้นพบหลัก ............. ต่อ ฮ่องกง - จำนวนเฉลี่ยของพายุหมุนเขตร้อนที่ส่งผลกระทบต่อฮ่องกงอยู่ระหว่าง 5-7 ลูกต่อปี พายุหมุนเขตร้อนทำให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง และเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในอดีตทำให้ระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำขึ้นน้ำลงมากกว่า 3 เมตร (Lee et al., 2010) - ประมาณ 2% ของพื้นที่แผ่นดินของฮ่องกงเป็นพื้นที่ต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ.2573 ตามการวิเคราะห์โดยใช้ภาพฉายอนาคต RCP8.5 - พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฮ่องกง รวมถึงเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Mai Po ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลนและพื้นที่ชุ่มน้ำ มีระดับต่ำและเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ตามเส้นทางของนกอพยพเอเชีย-ออสเตรเลียตะวันออก เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Mai Po เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำในฤดูหนาวและนกน้ำกว่า 80,000 ตัว (Wikramanayake et al., 2020) - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวม 2,240 ล้านเหรียญสหรัฐและผู้คนมากถึง 90,000 คนในฮ่องกงอาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมชายฝั่งในปี 2573 - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น 0.4% ของ GDP(PPP) รวมของฮ่องกง กรุงโตเกียว - ประมาณ 13% ของพื้นที่กรุงโตเกียว เป็นพื้นที่ต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ.2573 ตามการวิเคราะห์โดยใช้ภาพฉายอนาคต RCP8.5 - พื้นที่ทางตะวันออกของโตเกียว โดยเฉพาะพื้นที่ระหว่างแม่น้ำอาราคาวะและแม่น้ำเอโดงาวะ อาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมชายฝั่งในปี 2573 ภายใต้ภาพฉายอนาคต RCP8.5 ในเมืองเอโดงาวะ (เอโดงาวะ-คุ) พื้นที่ 70% ตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล - พื้นที่อื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม ได้แก่ สวนสาธารณะ Kasai Rinkai (รวมถึง Tokyo Sea Life Park) ซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นที่ถมทะเล และสวนสาธารณะริมแม่น้ำตามแม่น้ำ Arakawa ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยมในการชมดอกซากุระบานในฤดูใบไม้ผลิ - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวม 68,190 ล้านเหรียญสหรัฐและมากถึง 0.83 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมชายฝั่งในปี 2573 - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น 10% ของ GDP(PPP) รวมของกรุงโตเกียว กรุงจาการ์ต้า - ในแต่ละปี กรุงจาการ์ตาประสบภัยพิบัติจากอุทกภัยหลังฝนตกหนัก แม่น้ำไหลเชี่ยว และกระแสน้ำขึ้นสูง (Surya et al., 2019) นอกจากนี้ การระบายน้ำใต้ดินที่มากเกินไปมีส่วนทำให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ถึง 15 เซนติเมตรในแต่ละปี (Abidin et al., 2011) บางพื้นที่ของจาการ์ตาจมลงไประหว่าง 3 ถึง 4.1 เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชายฝั่งทะเล (Rahman et al., 2018) - เกือบ 17% ของกรุงจาการ์ตาเป็นพื้นที่ต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ.2573 ตามการวิเคราะห์โดยใช้ภาพฉายอนาคต RCP8.5 - ทางเหนือของกรุงจาการ์ตามีความเสี่ยงจากน้ำท่วมมากที่สุดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ - พื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ได้แก่ อาคารที่พักอาศัยและอาคารพาณิชย์ อนุสาวรีย์แห่งชาติ และศาลาว่าการกรุงจาการ์ตา และห้างสรรพสินค้าตามแนวชายฝั่ง - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวม 68,200 ล้านเหรียญสหรัฐและมากกว่า 1.80 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมชายฝั่งในปี 2573 - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น 18% ของ GDP(PPP) รวมของกรุงจาการ์ตา กรุงโซล - ประมาณ 3% ของกรุงโซลเป็นพื้นที่ต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ.2573 ตามการวิเคราะห์โดยใช้ภาพฉายอนาคต RCP8.5 - พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอยู่ในส่วนตะวันตกของกรุงโซล ส่วนใหญ่เป็นเขต Gangseo-gu บนฝั่งทางใต้ของแม่น้ำ Han และสองฝั่งแม่น้ำ Anyangcheon - ขอบด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสนามบินนานาชาติกิมโปอาจถูกน้ำท่วมเล็กน้อย อุทยานนิเวศวิทยาพื้นที่ชุ่มน้ำคังซออาจเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งเก็บน้ำ อุดมไปด้วยพืชน้ำและสัตว์ป่าและเป็นสถานที่ดูนกยอดนิยมโดยเฉพาะนกอพยพหลายชนิด(Visitseoul, 2021) - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวม 4,690 ล้านเหรียญสหรัฐและประชากร 0.13 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมชายฝั่งในปี พ.ศ.2573 - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น 1% ของ GDP(PPP) รวมของกรุงโซล กรุงไทเป - ตามบันทึกพายุไต้ฝุ่นในศตวรรษที่ผ่านมาจาก Central Weather Bureau (CWB)ในไต้หวัน โดยเฉลี่ย มีไต้ฝุ่น 4 ลูกจะขึ้นฝั่งที่ไต้หวันในแต่ละปี ความแรงและขนาดของพายุไต้ฝุ่นเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา (Hsu et al., 2017 ). ไต้ฝุ่นมักก่อให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงตามพื้นที่ชายฝั่งของไต้หวัน (Hsu et al., 2014) - ประมาณ 17% ของกรุงไทเปเป็นพื้นที่ต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ.2573 ตามการวิเคราะห์โดยใช้ภาพฉายอนาคต RCP8.5 - ทางตะวันตกของกรุงไทเป โดยเฉพาะบริเวณริมแม่น้ำตั้นสุ่ย จะได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ของเมือง หากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น - เขตประวัติศาสตร์ต้าถงและสถานีกลางไทเปอาจถูกน้ำท่วม - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวม 29,640 ล้านเหรียญสหรัฐ และประชาชนมากถึง 430,000 คนในกรุงไทเป อาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมชายฝั่งในปี 2573 - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น 24% ของ GDP(PPP) รวมของกรุงไทเป กรุงมะนิลา - ชายฝั่งทะเลบางแห่งของกรุงมะนิลาเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีความสูงน้อยกว่าสองถึงสามเมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (Morin et al., 2016) - ในอ่าวมะนิลา ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 13.24 มม. ต่อปี (Tseng, 2014) - กรุงมะนิลาทรุดตัวลง 10 ซม.ต่อปี (Kramer, 2018) อันเนื่องมาจากการใช้น้ำบาดาลมากเกินไป (Clemente et al., 2001) - เกือบ 87% ของกรุงมะนิลาเป็นพื้นที่ต่ำที่เสี่ยงน้ำท่วมหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี ที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ.2573 ตามการวิเคราะห์โดยใช้ภาพฉายอนาคต RCP8.5 - สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น Binondo, Intramuros, Malacanang Palace และ Rizal Monument ใน Luneta Park อาจถูกน้ำท่วม Luneta ถือเป็นสวนสาธารณะในกรุงมะนิลาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด รวมถึงนกนานาชนิดและพรรณไม้กว่า 3,424 ต้น (Gonzales & Magnaye, 2017) - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวม 39,240 ล้านเหรียญสหรัฐและประชากร 1.54 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมชายฝั่งในปี 2573 - ความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็น 87% ของ GDP(PPP) รวมของกรุงมะนิลา *RCP8.5 เป็นหนึ่งใน 4 ของภาพฉายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบใหม่(Representative Concentration Pathway) หมายถึง สถานการณ์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่สูงโดยที่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกช่วงปลายศตวรรษที่ 21 จะอยู่ระหว่าง 2.6-4.8 องศาเซลเซียส https://www.greenpeace.org/thailand/...ise-report-th/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|