#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะแรก และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 21 ? 23 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออก เกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24 ? 26 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น โดยฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขณะที่ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดช่วง โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง อนึ่ง พายุโซนร้อน "ซันปา" (SANBA) บริเวณอ่าวตังเกี๋ย คาดว่าจะอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 21 - 22 ต.ค. 66 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20 ? 21 ต.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ฮือฮาซากสัตว์ประหลาดจากทะเล ดูคล้าย 'เงือก' สีขาว พบซากสัตว์ทะเลเกยหาดในปาปัวนิวกินี รูปร่างคล้าย 'เงือก' ด้านผู้เชี่ยวชาญคาด เป็นสัตว์ประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม แต่สรุปไม่ได้ว่าคืออะไร ผู้เชี่ยวชาญสัตว์ทะเลรุมวิเคราะห์ภาพซากสัตว์สีขาวรูปร่างประหลาดที่เกยตื้น ณ หาดบนเกาะแห่งหนึ่งในประเทศปาปัวนิวกินี แต่ยังไม่อาจหาข้อสรุปได้ ภาพของซากสัตว์ทะเลดังกล่าวมีผู้นำมาโพสต์ไว้บนเฟซบุ๊กเพจ 'นิวไอร์แลนเดอร์ส โอนลี' เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2566 ระบุว่าชาวบ้านพบซากสัตว์ทะเลขนาดใหญ่นี้มาเกยตื้นริมหาดบนเกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อว่า ซิมเบริ ? เกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟในทะเลบิสมาร์ก จังหวัดนิวไอร์แลนด์ ประเทศปาปัวนิวกินี มีประชากรราว 1,000 คน ซากดังกล่าวไม่มีส่วนหัว มีเพียงท่อนหางและลำตัวซึ่งชิ้นเนื้อหลุดหายไปบางส่วน ทั้งร่างเป็นสีขาว ขนาดใหญ่พอ ๆ กับตัวคน เมื่อมองโดยผิวเผิน ชวนให้จินตนาการไปได้ว่าเป็นซากของ 'เงือก' ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานและเทพนิยาย ซากสัตว์ประหลาดนี้ถูกเรียกรวม ๆ กันว่า Globster หมายถึงซากวัตถุ? ซากสัตว์หรือก้อนเนื้อลึกลับที่ไม่อาจระบุที่มาได้ และโดนซัดมาเกยตื้นที่ชายฝั่ง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์เพราะความเน่าเปื่อยทำให้บางชิ้นส่วนหลุดหายไป จนไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าคือซากอะไร? ซากสัตว์สีขาวในกรณีนี้มีชิ้นส่วนที่หลุดหายไปคือส่วนหัวและเนื้อชิ้นใหญ่บางจุด อีกทั้งไม่มีรายละเอียดเรื่องขนาดและน้ำหนักของซากดังกล่าว เพราะชาวบ้านที่พบไม่ได้จดบันทึกหรือวัดขนาดไว้ตามหลักเกณฑ์ ไม่มีการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ ก่อนที่จะนำซากดังกล่าวไปฝัง ทำให้ไม่สามารถระบุชนิดของสัตว์ที่กลายเป็นซากในครั้งนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงทำได้เพียงสันนิษฐานจากภาพถ่ายมุมต่าง ๆ ที่มีผู้บันทึกไว้เท่านั้น เฮเลน มาร์ช นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยเจมส์ คุกแห่งออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่ามันน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล ส่วน ซาชา ฮูเคอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์สแห่งสกอตแลนด์ มองว่าน่าจะเป็นซากที่เน่าเปื่อยของสัตว์จำพวกวาฬหรือโลมา โดยผิวหนังของสัตว์เหล่านี้จะมีการเปลี่ยนสี เมื่อเน่าเปื่อยและหลุดออกจากร่าง เอริค ฮอยต์ นักวิจัยจากศูนย์อนุรักษ์โลมาในอังกฤษก็เห็นด้วยว่าน่าจะเป็นซากของวาฬขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม เขามองว่าอีกความเป็นไปได้คือ อาจเป็นซากของพะยูน ซึ่งมักมาหากินในทุ่งหญ้าทะเลซึ่งอยู่ในเขตมหาสมุทรน้ำตื้นของปาปัวนิวกินี คาดว่ามันน่าจะตายมาแล้วหลายสัปดาห์ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญที่เห็นแย้งว่า ซากสัตว์สีขาวนี้ไม่น่าจะเป็นวาฬหรือพะยูน แต่น่าจะเป็นปลานักล่าอย่างฉลาม แกวิน เนย์เลอร์ นักชีววิทยาทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดาซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับปลาฉลามเป็นพิเศษ คิดว่าซากนี้อาจเป็นซากที่เหลืออยู่ของฉลามขนาดใหญ่ แม้ว่ามันจะดูประหลาดมากที่ส่วนผิวหนังของสัตว์ตัวนี้เน่าเปื่อยและหลุดออกไปเกือบหมดทั้งตัว? ทว่า เกรกอรี สโคมัล ซึ่งเป็นนักชีววิทยาทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน และเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องฉลามเช่นกัน กลับมองว่า ซากร่างนี้ไม่น่าจะเป็นปลาฉลาม แม้ว่าในตอนแรกเขาก็คิดว่ามันน่าจะเป็นฉลามตัวใหญ่ แต่เมื่อพิจารณาไปนาน ๆ เขากลับมองว่ามันน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลมากกว่า เขาชี้ว่าในรูปที่ถ่ายให้เห็นส่วนที่น่าจะเป็นกระดูกสันหลังของสัตว์ตัวนี้ ดูแล้วเหมือนกระดูกสันหลังของวาฬมากกว่าฉลาม นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนที่ดูคล้ายกับหลอดลมห้อยอยู่ตรงบริเวณใกล้ส่วนที่น่าจะเป็นหัวที่หายไปของมัน ซึ่งหากเป็นหลอดลมจริง ก็แสดงว่าซากนี้ไม่ใช่ปลาฉลาม แต่ที่แน่นอนยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดคือไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนไหนมองว่านี่คือซากของ 'เงือก' ในตำนานเลย ที่มา : livescience.com. https://www.dailynews.co.th/news/2824217/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 21-10-2023 เมื่อ 03:02 |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ภาวะโลกร้อน ทำลาย 'ใบไม้เปลี่ยนสี' เกิดช้าลง-สีเปลี่ยน .......... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล ปรากฏการณ์ ?ใบไม้เปลี่ยนสี? ในญี่ปุ่นและสหรัฐ เป็นแหล่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปชมความสวยงาม แต่ความงามนี้กำลังจะหายไป เพราะภาวะโลกร้อน อุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้อากาศแปรปรวน ช่วงเดือนก.ย.- ต.ค. เป็นช่วงเวลาเปลี่ยนเข้าฤดูใบไม้ร่วง โดยปรกติแล้วจะเป็นช่วงเวลาที่เกิด "ใบไม้เปลี่ยนสี" ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐ แคนาดา เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปชมความสวยงามของแนวป่าไม้ที่ผลัดจากสีเขียวกลายเป็นสีแดงปนส้มสวยสะดุดตา แต่ดูเหมือนว่าในช่วงระยะหลังมาสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น ทำให้ใบไม้ร่วงก่อนที่เปลี่ยนสี การเปลี่ยนสีของใบไม้ เป็นกลไกทางธรรมชาติ เกิดช่วงก่อนเข้าฤดูหนาวที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน และมีอุณหภูมิลดต่ำลง ทำให้ใบหยุดกระบวนการสร้างอาหาร คลอโรฟิลล์ค่อยๆ สลายตัว สีเขียวของใบไม้จึงเริ่มจางลง ส่งผลให้รงควัตถุสีอื่นๆ ในใบไม้ เช่น สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง ที่ถูกบดบังจากสีเขียวในสภาวะปรกติ ปรากฏชัดเจนมากยิ่งขึ้น และหลังจากนั้นจะค่อยๆ ผลัดใบทิ้ง ใบไม้เปลี่ยนสี มาช้าทั่วโลก เนื่องด้วยในปีนี้อุณหภูมิของโลกพุ่งสูงขึ้นตนกลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้กรุงโตเกียวมีวันที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส ถึง 88 วัน ส่วนในเมืองนาโกยาเจออุณหภูมิสูงทะลุ 40 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่มีการบันทึกไว้ ดูเหมือนว่าอุณหภูมิยังคงสูงอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นสภาพอากาศแปรปรวนผิดฤดูกาลไปหมด ส่งผลให้ปรากฏการณ์ใบไม้เปลี่ยนสี หรือ "โคโย" (Koyo) จะอาจจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีแทน และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ใบไม้เปลี่ยนสีจะไม่สดใสเหมือนเดิม กลายเป็นเพียงใบไม้แห้งคาอยู่บนกิ่งไม้เท่านั้น ดร.โยชิฮิโระ ทาจิบานะ ศาสตราจารย์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศของมหาวิทยาลัยมิเอะ กล่าวว่า ในอนาคตญี่ปุ่นจะมีเพียงฤดูร้อนที่ยาวนาน และฤดูหนาวในช่วงสั้น ไม่มีฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูใบไม้ร่วงเลยก็ได้ แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องปรกติ แต่มันจะกลายเป็นสภาพอากาศ "ปรกติ" ของญี่ปุ่นในอนาคต ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้น และขั้วโลกเหนือยังคงอุ่นขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในสหรัฐ และแคนาดาก็ประสบปัญหาใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วงหรือ "Fall Foliage" มาช้ากว่าปรกติด้วยเช่นกัน ต้นไม้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสีเขียว แม้ว่ามันควรจะเป็นสีอื่นๆ แล้วก็ตาม ต้นไม้ปรับตัวไม่ทัน การศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2021 ของนักวิจัยในสหรัฐพบว่า ใบเมเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีแดงช้าลงร่วมเดือน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการเกิดหยาดน้ำฟ้า การแพร่ระบาดของแมลงและโรคระบาด ซึ่งทำให้คาดเดาช่วงเวลาของใบไม้เปลี่ยนสีได้ยากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นนานขึ้น ทำให้ฤดูใบไม้ผลิมาเร็วกว่าปกติ ต้นไม้จึงมีช่วงการเจริญเติบโตที่ยาวนานขึ้น แต่กลับมีระยะพักตัวในฤดูใบไม้ร่วงที่สั้นลง ผลที่ตามมาคือ ต้นไม้อาจไม่มีโอกาสดูดซับน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตที่ยังคงอยู่ในใบสีเขียว ก่อนที่น้ำค้างแข็งในฤดูหนาวครั้งแรกจะหมดลง ซึ่งอาจทำให้ต้นไม่มีอาหารเพียงพอจนถึงฤดูใบไม้ผลิถัดไป "ต้นไม้อาจไม่เคยชินกับสภาพแวดล้อมใหม่ และใบไม้อาจร่วงหล่นก่อนที่พวกมันจะดึงสารอาหารออกไปจนหมด เปรียบเหมือนกับเราถูกแช่แข็งโดยไม่ทันตั้งตัว" ฮาวเวิร์ด นอยเฟลด์ นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยรัฐแอปพาเลเชียน เตือนภัยแล้งที่รุนแรง สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้ต้นไม้เกิดความเครียด หากแห้งแล้งมาก ใบไม้จะกลายเป็นสีน้ำตาลเพราะขาดน้ำ และร่วงหล่นตั้งแต่เดือนส.ค. เช่นเดียวกับสภาพอากาศสุดขั้ว เช่น การเกิดพายุสามารถทำให้ใบไม้ร่วงลงจากต้นไม้หมดทั้งต้น การศึกษาในปี 2003 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Tree Physiology นั้นระบุว่า "ความเครียดที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม" อาจเร่งการเสื่อมโทรมของใบไม้ได้ ความแห้งแล้งที่รุนแรงจะส่งผลกระทบต่อต้นไม้ หนึ่งในนั้นคือ การเกิดสภาวะที่เรียกว่า "ใบไม้แห้งเกรียม" เป็นช่วงเวลาที่ใบไม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเร็วเกินไป ใบไม้เปลี่ยนสีตั้งแต่เนิ่น ๆ และร่วงหล่นลงบนพื้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฤดูกาลชมใบไม้สั้นลง และความสวยงามลดน้อยลง เมื่อต้นไม้ไม่แข็งแรงพอ ก็จะดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ได้ลดลง ขณะเดียวกันเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ยิ่งทำให้สภาวะเรือนกระจกรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอนาคตสีของใบไม้เปลี่ยนสีอาจจะเปลี่ยนไปด้วย เนื่องจากมีต้นไม้จำนวนหนึ่งที่ตายลง เพราะไม่สามารถปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศได้ โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่า สีของต้นไม้ที่มีสีแดงจะอยู่บนเทือกเขาทางตอนเหนือ ส่วนทางใต้จะเป็นสีเหลืองทอง นอกจากวิกฤติทางธรรมชาติแล้ว ช่วงเวลาใบไม้เปลี่ยนสีที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้การท่องเที่ยวสะดุดด้วยเช่นกัน เพราะการท่องเที่ยวในฤดูใบไม้ร่วงสามารถทำเงินได้หลายพันล้านดอลลาร์มาเข้าสู่ประเทศ โดยเฉพาะในปีนี้ที่พึ่งฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นักท่องเที่ยวต้องการไปเยี่ยมชมความสวยงามของธรรมชาติ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาวะโลกร้อนที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำลายการเกิดใบไม้เปลี่ยนสี และสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ทาจิบานะหวังให้คนตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม "แม้ว่าเราจะไม่สามารถหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสมบูรณ์ และเราไม่สามารถหวังให้น้ำแข็งขั้วโลกกลับมาเป็นเหมือนเดิมในเร็ววัน แต่เราทุกคนก็ยังจำเป็นต้องเปลี่ยนความตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพราะเราจะต้องอยู่กับสภาพอากาศที่เลวร้ายยิ่งกว่าที่เราเผชิญในปีนี้" ที่มา: Financial Times, Japan Today, National Geographic, VOA Thai https://www.bangkokbiznews.com/environment/1094819
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
วาฬไรต์ เสี่ยงสูญพันธุ์ เนื่องจากเรือละเมิดกฎควบคุมความเร็วที่แอตแลนติก ปัจจุบันนี้ ประชากรของวาฬไรต์เหลืออยู่ราว 340 ตัว ซึ่งสาเหตุที่วาฬสายพันธุ์นี้ เหลือน้อยลงเรื่อย ๆ ทุกปี ก็เพราะชนเข้ากับเรือจนได้รับบาดเจ็บ หรือไม่ก็เสียชีวิต สถานภาพของ 'วาฬไรต์' ที่อาศัยอยู่แถบมหาสมุทรแอตแลนติก กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง เป็นที่ทราบกันดีว่า วาฬไรต์ (Right Whale) ถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากภัยคุกคามจากเรือเดินสมุทร และล่าสุด The Guardian รายงานว่า สถานภาพของ 'วาฬไรต์' ที่อาศัยอยู่แถบมหาสมุทรแอตแลนติก กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงจากการที่ เรือหลาย ๆ ลำที่แล่นผ่านโซนแล่นช้า (Slow zone) ละเมิดกฎควบคุมความเร็ว ปัจจุบันนี้ ประชากรของวาฬไรต์เหลืออยู่ราว 340 ตัว ซึ่งสาเหตุที่วาฬสายพันธุ์นี้ เหลือน้อยลงเรื่อย ๆ ทุกปี ก็เพราะชนเข้ากับเรือจนได้รับบาดเจ็บ หรือไม่ก็เสียชีวิต นั่นก็เพราะ วาฬชนิดนี้มักว่ายอยู่บริเวณผิวน้ำ และด้วยร่างกายที่มีสีเข้มของพวกมันที่กลืนไปกับผิวน้ำ ทำให้คนผู้บังคับเรือยากที่จะสังเกตเห็นวาฬได้ แล้วเรือที่แล่นอยู่บริเวณดังกล่าวมีกฎอะไรควบคุมหรือไม่ เพื่อลดการสูญเสียของประชากรวาฬไรต์ ชวนย้อนดูกฎความเร็วที่ออกโดย องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (the national oceanic and atmospheric administration หรือ NOAA) ที่ออกเมื่อปี 2551 ข้อบังคับมีอยู่ว่า เรือทุกลำที่มีความยาว 65 ฟุตขึ้นไป ต้องแล่นเรือที่ความเร็ว 10 น็อต หรือราว ๆ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในโซนเฉพาะ หรือโซนพื้นที่มีการจัดการตามฤดูกาลในแถบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ โดยจุดประสงค์ของข้อบังคับนี้ก็เพื่อช่วยปกป้องอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับวาฬนั่นเอง อย่างไรก็ตาม กฎดังกล่าวก็ยังไม่สามารถควบคุมอะไรได้มากพอ เพราะการละเมิดกฎเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ นับตั้งแต่เรือบรรทุกสินค้าไล่ไปจนถึงเรือยอร์ชสุดหรูหรา ก็ล้วนถูกบันทึกว่าแล่นเรือด้วยความเร็วเกินกว่าที่ NOAA กำหนดถึง 3 เท่า สถิติที่ได้รับการบันทึกไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 ถึงเดือนกรกฎาคม 2022 เกี่ยวกับประเด็นการแล่นเรือในบริเวณโซนแล่นช้าตามบริเวณชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐพบว่า ในบรรดาเรือที่แล่นผ่านโซนแล่นช้า เรือบรรทุกสินค้าคือผู้ที่ละเมิดกฎดังกล่าวมากที่สุด คิดเป็นครึ่งหนึ่งของเรือเร่งทั้งหมด "เรือที่แล่นเร็วสามารถฆ่าวาฬไรต์ในแอตแลนติกเหนือได้" กิ๊บ โบรแกน ผอ. การรณรงค์หาเสียงของโอเชียนากล่าว "โซนแล่นช้า ที่มีการบังคับใช้อย่างดี คือวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการปกป้องวาฬจากภัยคุกคามบนน่านน้ำ" กิ๊บ โบรแกน เปรียบเทียบให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นว่า ?โซนแล่นช้า? ในทะเล สามารถเปรียบได้กับ ป้ายลดความเร็วบริเวณโรงเรียน ที่มีไว้เพื่อปกป้องเด็ก ๆ จากอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่ครั้นมีกฎที่ควบคุมแล้ว เหล่าวาฬก็ไม่วายได้รับผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ โดยปกติแล้ว วาฬจะตกลูกและอาศัยอยู่ที่บริเวณน่านน้ำฟลอริดา จอร์เจีย และเซาท์แคโรไลนา ฉะนั้น การชนเข้ากับเรือ อาจทำให้วาฬได้รับบาดเจ็บจากแรงกระแทกจากเรือ หรือถูกเกี่ยวเข้ากับอุปกรณ์ดักปลาต่าง ๆ ที่มนุษย์วางเอาไว้ ร้ายแรงกว่านั้น วาฬอาจถูกถูกใบพัดเรือเฉือนที่บริเวณลำตัว จนทำให้เสียชีวิตได้ "หากผู้นำสหรัฐฯ และแคนาดา สามารถเพิ่มมาตรการสำหรับการคุ้มครองวาฬไรท์ในแถบแอตแลนติกเหนือจากภัยคุกคามได้ บางทีวาฬไรต์อาจจะยังไม่ถึงคราวที่ต้องสูญพันธุ์" เราคงได้เห็นแล้วว่า การจำกัดความเร็วการแล่นเรือบนน่านน้ำที่ 10 น็อต สามารถช่วยลดสาเหตุที่อาจนำไปสู่ การบาดเจ็บหรือการเสียชีวิตของวาฬได้ อีกทั้งยังช่วยให้ คนบนเรือสามารถสังเกตได้ง่ายขึ้น ว่าขณะนี้มีวาฬว่ายอยู่บริเวณเรือ จะได้มีการระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ขอขอบคุณที่มา: https://www.theguardian.com/environm...e_iOSApp_Other https://www.nationtv.tv/gogreen/378933809
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|