#1
|
||||
|
||||
กิจกรรมสิ่งเล็กๆที่เรียกว่า “รักษ์” ภาค ปล่อยกรรไกรไว้ตัดอวน
กิจกรรมสิ่งเล็กๆที่เรียกว่า “รักษ์” ภาค ปล่อยกรรไกรไว้ตัดอวน
ความเป็นมา จุดกำเนิดของโครงการสิ่งเล็กๆที่เรียกว่า “รักษ์” นี้เกิดขึ้นจากการพูดคุยกันในห้องสนทนาระหว่างพี่น้องชาว sos ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ซึ่งทุกคนสามารถร่วมไม้ร่วมมือช่วยกันทำได้ด้วยวิธีการง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการไปทำกิจกรรมดำน้ำเพื่อที่นักดำน้ำจะได้มีโอกาสร่วมลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง ผมถูกจุดประกายความคิดของกิจกรรม “ปล่อยกรรไกรไว้ตัดอวนนี้” จากการที่ได้อ่านรายงานกิจกรรมเก็บขยะตัดอวนปล่อยสัตว์น้ำที่อันดามันใต้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เห็นภาพของปลาการ์ตูนที่ถูกปล่อยโดย sos รุ่นก่อนๆได้มีชีวิตอยู่ และเจริญเติบโต ได้ทำหน้าที่ของพวกมันอย่างที่เราทุกคนตั้งใจเอาไว้ ทำให้คิดต่อไปถึงกิจกรรมอะไรซักอย่างที่คิดทำกันอย่างง่ายๆ แต่เราทำแล้ว มันน่าจะเป็นประโยชน์และยั่งยืนเหมือนกับปลาการ์ตูนเหล่านี้ เลยคิดไปถึงกิจกรรมตัดอวนของพวกเรา .. โดยเปรียบเทียบกับการปล่อยสัตว์น้ำ มาเป็นการปล่อยกรรไกรไว้บนเรือบ้าง สมาชิกคนไหน ลืมกรรไกร หรือกรรไกรหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก็จะได้หยิบใช้ นักดำน้ำคนอื่นๆที่มาใช้บริการของเรือแล้วพบเห็นอวน แต่ไม่มีอุปกรณ์ ก็จะได้ใช้กรรไกรเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป กรรไกรเหล่านี้ ก็จะได้ทำหน้าที่ของมันได้อย่างมีคุณค่าและเต็มประสิทธิภาพ ตามแนวความคิด ที่ว่า “ง่ายและทำได้” วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มีกรรไกรส่วนรวมประจำเรือที่สมาชิก sos (ที่ลืมเอากรรไกรมา หรือทำกรรไกรหาย) หรือนักดำน้ำที่มาใช้บริการของเรือ ได้ใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมอนุรักษ์แก่ท้องทะเลไทย 2. เพื่อรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของการอนุรักษ์แพร่หลายไปในหมู่นักดำน้ำและอาจเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำกิจกรรมลักษณะเดียวกันของเรืออื่นๆต่อไป ขั้นตอนการดำเนินการ 1. จัดหาราวแขวนกรรไกรขนาดกระทัดรัดที่แขวนกรรไกรได้ประมาณ 4-5 อัน 2. จัดหากรรไกรพร้อมซอง 4-5 ชุด 3. หาจุดติดตั้งราวแขวนกรรไกรบนเรือ โดยอาจเริ่มต้นเป็นโครงการนำร่องที่เรือโชคศุลี 4. นำสติ๊กเกอร์ sos ไปติด พร้อมทั้งทำข้อแนะนำการใช้เล็กๆแปะไว้ข้างๆ อาทิ .. กรรไกรเหล่านี้เป็นกรรไกรเพื่อการอนุรักษ์ ใช้เพื่อกิจกรรมอนุรักษ์เท่านั้น, กรรไกรนี้เป็นของกลุ่ม sos มีความมุ่งหมายไว้ใช้เพื่อส่วนรวม ใช้แล้วโปรดทำความสะอาดและเก็บกลับคืนที่เดิม, ไม่แนะนำให้ใช้กรรไกรตัดอวนเหล่านี้โดยนักดำน้ำมือใหม่ที่ยังไม่มีทักษะการดำน้ำเพียงพออันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับแนวปะการังได้ เป็นต้น 5. ทำล็อคบุ๊คเล็กๆสำหรับผู้มาใช้กรรไกรเหล่านี้เป็นข้อมูลเพื่อประเมินและติดตามผล 6. ทำการประเมินติดตามผล และหากโครงการได้รับการตอบรับที่ดี อาจทำเพิ่มและขอความร่วมมือไปติดตั้งไว้ในเรือดำน้ำอื่นๆต่อไป ในส่วนของผลที่คาดว่าจะได้รับของกิจกรรมดังกล่าวนี้ ผมยังไม่ได้ระบุลงไปใ้ห้ชัดเจน อยากจะได้ฟังความเห็นจากพวกเราก่อนครับว่าเป็นได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ทั้งนี้ผมขอให้พี่ๆน้องๆสมาชิกช่วยกันเสนอแนะความเห็นวิพากษ์วิจารณ์กันได้เต็มที่เลยนะครับ ดีหรือไม่ดี ควรทำหรือไม่ควรทำ ผมเสนอเป็นความคิดตั้งต้น คุยกันไปคุยกันมา อาจต่อยอดเป็นความคิดใหม่ๆต่อไปได้อีก ..
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#2
|
||||
|
||||
แค่ชื่อกิจกรรมก็ได้ใจแล้ว...."ปล่อยกรรไกรไว้ตัดอวน" ขอบคุณน้องปี๊บมากๆค่ะ...ที่มาช่วยกันคิดกิจกรรม เพื่อให้คนอื่นที่ไม่ใช่ชาว sos ได้คิดที่จะทำอะไรเพื่อทะเลเพิ่มขึ้นบ้าง (แม้โดยส่วนตัว คิดว่านักดำน้ำที่ไปดำน้ำเที่ยว และ/หรือถ่ายภาพกันส่วนใหญ่นั้น น่าจะมีความคิดที่จะช่วยน้อยมากก็ตาม) ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้นะคะ... 1. กิจกรรมนี้คงต้องเริ่มที่เรือโชคศุลีที่เราคุ้นเคยและเข้าใจเราดีกันไปก่อนสักพักนะคะ ถ้าได้ผลค่อยขยายไปยังเรือลำอื่นอย่างน้องปี๊บว่าค่ะ (อาจจะไม่ใช่เรือ Live Aboard แต่อาจจะเป็น Day Trip Boat แถวพัทยา หรือ ภูเก็ต ที่เขาอยากจะร่วมงานกับเราด้วยก็ได้ค่ะ) 2. นอกจากกรรไกรและซองใส่แล้ว คิดว่า เราน่าจะเตรียมอุปกรณ์เก็บขยะ/ตัดอวนไว้ให้ครบชุด คือ ถุงตาข่าย ถุงก๊อบแก๊บ และถุงดำ รวมทั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดกรรไกรไว้บนเรือด้วย 3. นอกจากจะบอกถึงวัตถุประสงค์และข้อแนะนำเบื้องต้นแล้ว ถ้าเราทำแผ่นโปสเตอร์เล็กๆ ทำเป็นภาพการ์ตูนน่ารักๆ บอกถึงวิธีการเก็บขยะและตัดอวนอย่างถูกวิธี ไว้ด้วย (โดยขอผู้จัดการเรือ อย่าน้องสมชาย ช่วยอธิบายเพิ่มเติม หรือคอยเป็นพี่เลียงให้) 4. งบประมาณในการทำกิจกรรม ใช้จากเงินกองกลางของ sos ได้ (ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ทริปอันดามันใต้ มาเบิกเงินไปด้วยนะคะ) 5. ที่อยากทำมากคือ เริ่มแก้ที่ต้นเหตุ...คือการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยว และเรือประมง ไม่ให้ทิ้งขยะลงทะเล และไม่ทำประมงในแนวปะการัง แต่ดูจะเป็นเรื่องใหญ่มาก ฉะนั้น เราอาจจะเริ่มจากการแจกถังขยะและถุงขยะ ให้กับเรือท่องเที่ยวก่อน และถ้าเขาให้เวลาก็น่าจะไปพูดคุยกับเขา และขอให้เขาช่วยควยคุมดูแลไม่ให้นักท่องเที่ยวทิ้งขยะลงทะเล แต่ทิ้งลงในถัง/ถุงขยะที่เราให้ไป ส่วนเรือประมง...คงต้องหาทางไปคุยกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ให้ช่วยดูแลควบคุมการทำประมงในแนวปะการังหรือทำประมงผิดกฎหมายต่อไป (ขณะนี้ มีเจ้าหน้าที่จากรมประมงที่เป็นกรรมการศึกษาแนวปะการังในเขตอุทยานฯ ที่พอจะคุยด้วยได้คนหนึ่งแล้วค่ะ)
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 26-04-2011 เมื่อ 16:32 |
#3
|
|||
|
|||
เค้าว่าที่แขวนวันต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งต่อคนใช้และกรรไกรด้วยป่ะคะ
เพราะสภาพบนเรือคืออาจจะมีน้ำนอง/ลื่นได้ หากที่แขวนเป็นขอเกี่ยวควรอยู่สูงกว่าระดับที่คนจะล้มไปโดน รวมทั้งการไหวโยกของเรือ อาจทำให้กรรไกรหล่นหาย/เสียหายได้ ควรเป็นที่แขวนแบบมีที่ปิดไม่ให้หล่น (นึกภาพที่รัดสายไฟของ 3m แบบเปิด-ปิดได้) หรือควรเปลี่ยนเป็นกล่องเก็บ ที่อาจมีสเปรย์โซแน็ก และกระดาษทรายสำหรับทำความสะอาดกรรไกรด้วยป่าคะ แต่คิดอีกแง่ คนที่ไม่ได้ดำตรงนั้นประจำ ยกตัวอย่างเช่นดำน้ำทริปอันดามันเหนือ/ใต้ ปกติวันนึงจะไม่ค่อยลงซ้ำจุด ดังนั้นหากลงครั้งแรก ไปเจออวน ขึ้นมาจะเอากรรไกรบนเรือไปตัดในไดฟ์ถัดไป แต่ก็เปลี่ยนจุดลงซะแร้ว อย่างนี้กรรไกรก็จะไม่ได้รับการใช้งานซักที ยกเว้นว่าเรือจะวกกลับมาซ้ำในจุดเดิมสิคะ |
#4
|
|||
|
|||
มาเพราะหม่องไปเรียกคะ...อิอิ
กังวลเรื่อง... 1.เรือเขาจะรับภาระการดูแลกรรไกร ล๊อคบุ๊ค อื่นๆอีกมากมายที่เราจะไปฝากไว้.... ได้ไหม เราคาดหวังแค่ไหน 2.เรื่องความปลอดภัยบนนเรือ หากอยู่ในที่ไม่เหมาะสม แบบที่กุ๊กว่า 3.การลงตัดอวนไม่ใช่ทุกคนอยากตัดก็ตัดได้ ความปลอดภัยในการใช้กรรไกรที่มีต่อเพื่อนนักดำน้ำตนเองและสัตว์ใต้น้ำ หากขาดการแนะนำมันก็น่ากังวลอยู่ ส่วนคนที่ชำนาญหรือเป็นนักอนุรักษ์อยู่แล้วคงมีอุปกรณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งในเช็คลิสต์ เว้นแต่มีการหลงลืมอันนี้คงไม่น่าห่วง ที่นึกออกตอนนี้มีแค่นี้คะ ไว้นึกได้มากกว่านี้จะมาใหม่หากน้องต้องการ อยากรณรงค์ประมาณร้องเรียนหรืออะไรก็ยังคิดไม่ออกเรื่อยๆ บ่อยๆ ไปที่ผู้ดูแลให้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่...ให้ทำงานให้เข้มแข็งสักหน่อยน่าจะดี หม่อง...สู้ๆ
__________________
คิดดี ทำดี ชีวีเป็นสุข |
#5
|
||||
|
||||
เห็นด้วยหมดเลย แต่ก็อย่างว่าล่ะคะ
1. หากมีการให้ความรู้ หรืออบรมก่อน ก็ไม่น่าจะมีปัญหา 2, และบุคคลที่ควรใช้ก็น่าจะต้องเป็นระดับ adv หรือ open ที่มีประสบการณ์พอควร 3. คนที่จะให้ยืมก็ต้องพิจารณาก่อน 4. เห็นว่า เอาติดตัวไว้ตลอดไดร์ และตลอดทริป จะมีประโยชน์ที่สุด อย่างเพิ่งกังวลเรื่องผลเลยค่ะ เริ่มก่อนดีกว่า อาจจะได้ผลดีกว่านะคะ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#6
|
||||
|
||||
เอาไปคุยระดมความคิดกันบนเรือทริปโลซินด้วยดีมั๊ยครับ จะได้ฟังความคิดที่หลากหลาย
|
#7
|
|||
|
|||
เรื่องความปลอดภัยบนเรือผมว่าไม่น่าเป็นปัญหาเท่าไหร แต่การใช้งานกรรไกรอย่างถูกต้องใต้น้ำนี่ผมว่าเป็นเรื่องที่ควรระวังมากๆ เพราะว่าเราไม่สามารถไปดูแลในส่วนนั้นได้อย่างทั่วถึง อาจส่งผลให้การตัดเพื่ออนุรักษ์ กลายเป็นการเรือเบิดอวนและทำลายก็ได้ครับ ตรงนี้เราอาจจะต้องให้ผู้ดูแลเรือ เช่น พี่สมชายกรณีเรือโชคศุลี ช่วยดูแลให้อีกทางหนึ่งแต่ก็อาจจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ดูแลเรือ ซึ่งในเรือลำอื่นๆอาจจะไม่ได้รับความร่วมมือก็ได้
|
|
|