#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ ทั้งนี้เนื่องจาก ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "ไลออนร็อก" แล้ว คาดว่าเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 10-11 ตุลาคม 2564 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 7-8 ต.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 9-13 ต.ค. 64 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรง ตลอดช่วง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อนึ่ง ในช่วงวันที่ 7 ? 8 ต.ค. 64 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ย คาดว่า ในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. 64 จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดจากฝั่ง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เมฆเทียมอาจช่วยรักษาแนวปะการังดังของโลก เพื่อชะลอความเร็วของอุณหภูมิเพิ่มสูงและน้ำอุ่นขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการฟอกสีของปะการัง โดยเฉพาะแนวปะการังที่โด่งดังอย่างเกรต แบร์ริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) ในออสเตรเลีย ทำให้นักวิทยาศาสตร์มองหาวิธีที่จะปกป้องสมบัติของสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ก็มีโครงการที่ชื่อ คลาวด์ ไบรเทนนิง (Cloud Brightening) ผุดขึ้นมา โดยจะใช้กลจักรชนิดใบพัดหมุนให้พ่นอนุภาคจิ๋วของทะเลขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อทำให้เมฆที่มีอยู่หนาขึ้น ช่วยลดแสงแดดในระบบนิเวศแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น ครอสส์ ในออสเตรเลีย อธิบายว่า การพ่นละอองน้ำทะเลขึ้นไปบนท้องฟ้านั้น เมื่อหยดน้ำระเหยกลายเป็นผลึกเกลือขนาดเล็กๆลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ก็จะทำให้ไอน้ำควบแน่นรอบตัวพวกมันและก่อตัวเป็นเมฆ หากทำสิ่งนี้เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ จนถึง 2 เดือน ในขณะที่ปะการังกำลังประสบกับคลื่นความร้อนจากทะเลและกำลังเกิดการฟอกขาว ก็จะเริ่มลดอุณหภูมิของน้ำเหนือแนวปะการังได้จริง โครงการนี้มีการทดลองใช้ครั้งที่ 2 ในเดือน มี.ค. ตรงกับปลายฤดูร้อนของซีกโลกใต้ เป็นช่วงที่แนวปะการังนอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียร้อนที่สุด ซึ่งปะการังมีความเสี่ยงที่จะฟอกขาวมากที่สุด ทั้งนี้ ประโยชน์ของการทำคลาวด์ ไบรเทนนิง จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป นักวิทยาศาสตร์จึงหวังว่าจะมีมาตรการอื่นๆมาชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพ https://www.thairath.co.th/news/foreign/2212544
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก
พบ "พะยูน" เพศเมียตาย ผ่าพิสูจน์ หาสาเหตุการตายว่าเป็นเพราะะอะไร ผ่าพิสูจน์ซากพะยูน ดูข้างใน พบว่าส่วนของทางเดินอาหารได้ดันขึ้นมาทะลักเข้าไปในช่องอก และพบรอยฉีกขาดของกระบังลม กรณี หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง ได้รับแจ้งจาก ชาวบ้าน พื้นที่บ้านทุ่งหญ้าคา หมู่ 5 บ้านหลังเขา ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง พบพะยูนตายอยู่บริเวณหาดทุ่งหญ้าคา ซึ่งเป็นพะยูน เพศเมีย อายุประมาณ 2-4 ปี ความยาว 140 เซนติเมตร รอบลำตัว 110 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม มีผิวหนังถลอก มีเพรียงทะเลเกาะตามลำตัว และบาดแผลบริเวณใต้ครีบจำนวน 2 จุด วันนี้ ( 7 ต.ค.64) ที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนล่าง นายสันติ นิลวัตน์ ผอ.ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง พร้อมด้วย สพ.ญ.ปิยรัตน์ คุ้มรักษา สัตวแพทย์ประจำศูนย์ฯ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกันผ่าซากพะยูน เพื่อหาสาเหตุการตายที่แท้จริงของพะยูน สำหรับผลการชันสูตร สพ.ญ.ปิยรัตน์ เปิดเผยว่า สาเหตุหลักที่ทำให้พะยูนตาย เกิดจากอาการป่วยตามธรรมชาติ จากลักษณะภายนอกที่พบตัวเพรียงทะเลเกาะตามลำตัวจำนวนมาก บ่งบอกว่าพะยูนได้ลอยนิ่งอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเกิดจากอาการป่วยมาระยะเวลาหนึ่งแล้วเช่นกัน ไม่สามารถว่ายน้ำได้ตามปกติ เมื่อเปิดชันสูตรดูข้างใน พบว่าส่วนของทางเดินอาหารได้ดันขึ้นมาทะลักเข้าไปในช่องอก และพบรอยฉีกขาดของกระบังลม ส่วนภายนอกมีเพียงรอยเคี้ยวจากพะยูนในฝูงเล็กน้อย https://www.komchadluek.net/news/487196
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|