#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าว มีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจจะทำเกิดน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน อนึ่ง พายุไซโคลน "อำพัน" ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศบังคลาเทศ พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือค่อนตะวันออกเล็กน้อย และมีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในระยะต่อไป กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 20 - 21 พ.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และประเทศไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมาคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 26 พ.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ยังคงทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง อนึ่ง พายุไซโคลน ?อำพัน? บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบน และบังคลาเทศในคืนนี้ (20 พ.ค. 63) ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20 - 21 พ.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ที่อาจทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุไซโคลน "อำพัน" บริเวณอ่าวเบงกอล (มีผลกระทบถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2563)" ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (21 พ.ค. 63) พายุไซโคลน "อำพัน" ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศบังคลาเทศ พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือค่อนตะวันออกเล็กน้อย และมีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในระยะต่อไป สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ที่อาจจะทำเกิดน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมาทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือเข้าใกล้พายุ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก มีดังนี้ ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และตาก ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ฟันเผยวิวัฒนาการสัตว์เลื้อยคลานทางทะเล Credit : Ryosuke Motani et al. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อิกทิโอซอร์ (Ichthyosaurs) สัตว์เลื้อยคลานทางทะเลสมัยโบราณที่อาศัยในมหาสมุทรเมื่อเกือบ 250 ล้านปีก่อน มีฟันกรวดคล้ายก้อนกรวด ซึ่ง Ichthyosaurs วิวัฒนาการกลายเป็นสัตว์ที่มี รูปร่างเหมือนโลมา เมื่อเร็วๆนี้นักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ฟีลด์ในชิคาโก และนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ในสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาฟันที่โค้งมนผิดปกติของอิกทิโอซอร์ชนิดหนึ่งเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าสัตว์เหล่านี้มีวิวัฒนาการอย่างไรและวิถีชีวิตเป็นอย่างไร การวิจัยเน้นไปที่ Cartorhynchus lenticarpus เป็นสายพันธุ์ย่อยในวงศ์อิกทิโอซอร์ที่เก่าแก่ที่สุดและเล็กที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ พวกมันน่าจะอาศัยอยู่ใกล้กับชายฝั่งและจับสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลังมากินจากก้นทะเล ทีมวิจัยเผยว่ามันมีฟันบางซี่ในกราม เมื่อใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สแกนกะโหลกก็พบฟันรูปร่างผิดปกติคล้ายก้อนกรวดซ่อนอยู่ในจมูกสั้นพร้อมกับร่องรอยการสึกหรอ ฟันลักษณะโค้งมนเหล่านี้อยู่ด้านหลังของขากรรไกรหรือฟันกราม มีแนวโน้มที่จะใช้กับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเปลือกแข็งขนาดเล็ก เช่น หอยทาก หอยสองฝา ทีมวิจัยเผยว่า รูปร่างของฟันที่แตกต่างกันผุดขึ้นมาในกลุ่มต่างๆ ของวงศ์อิกทิโอซอร์ ฟันของมันบอกได้มากมายเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและวิวัฒนาการ ซึ่งการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของ Ichthyosaurs หลายชนิดที่มีฟันแบบต่างๆนี้ ยังชี้ให้เห็นวิธีที่พวกมันเข้ายึดครองมหาสมุทรและมีบทบาทต่อระบบนิเวศที่แตกต่างกัน เพราะ Cartorhynchus lenticarpus นั้นมีข้อมือที่ยืดหยุ่นสำหรับการเคลื่อนไหวบนบก. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1847988
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|