#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 2 มีนาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีพายุ ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้แล้ว ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 2 - 4 มี.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคอีสาน ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้นทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 มี.ค. 64 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 2 - 4 มี.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
ทีมชาวประมงออสซี่ ลาก "ฉลามเสือ" ขึ้นเรือเล็ก สู้ฟัด 45 นาที น้ำหนัก 400 กก. ทีมชาวประมงออสซี่ ? วันที่ 1 มี.ค. เดลีเมล รายงานว่า ทีมชาวประมงออสเตรเลียที่จับ ปลาฉลามเสือ ที่มีขนาดมหึมา ขึ้นเรือเล็กนอกชายฝั่งนครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ และนำขึ้นท่าเรือใกล้เคียงเพื่อชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าตัวเลขมากถึง 394 กิโลกรัม พอล บาร์นนิง กัปตันเรือ และลูกเรือดาร์กเฮ้าส์ เผยภาพถ่ายของชาวประมงคนหนึ่งจับครีบฉลามซึ่งห้อยออกมาจากท้ายเรือ หลังต้องใช้เวลาสู้ฟัด 45 นาที เพื่อลากฉลามขึ้นมาบนเรือที่ค่อนข้างคับแคบ ทั้งนี้ ปลาฉลามเสือมีตัวเต็มวัยยาวมากสุดถึง 7.62 เมตร น้ำหนักมากกว่า 800 กิโลกรัม มักเคลื่อนตัวไปตามชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียในช่วงเดือนที่อากาศอบอุ่น เพื่อตามอาหารที่เคลื่อนตัวไปตามกระแสน้ำ แม้จะยังไม่ใช่สัตว์ "ใกล้สูญพันธุ์" แต่ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ "ใกล้ถูกคุกคาม" ภารกิจดังกล่าวเป็นของส่วนหนึ่ง นักกีฬาตกปลา (game fishers) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูกาลที่ดีที่สุดในรอบ 30 ปี และทางการท้องถิ่นอนุญาตให้ นักตกปลาเพื่อนันทนาการ (recreational fisher) จับปลาฉลามเสือวันละ 1 ตัว อย่างไรก็ตาม นักกีฬาตกปลาไม่ค่อยอวดการจับปลาทางออนไลน์เนื่องจากถูกวิจารณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6051098
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
คมนาคมเดินหน้า 'แลนด์บริดจ์' สร้างท่าเรือ-ทางคู่-มอเตอร์เวย์หนุนจีดีพีใต้โตแสนล้าน 1 มี.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) ว่าปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกผ่านช่องแคบมะละกา (สิงคโปร์) ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่อ้อมและมีระยะไกล การจราจรทางน้ำคับคั่ง มีความหนาแน่นของปริมาณเรือสูงถึง 100,000 ลำ/ปี และคาดว่าในปี 2567 การรองรับปริมาณเรือของช่องแคบมะละกาจะเต็มศักยภาพ อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าปี 93 ปริมาณเรือที่ผ่านจะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าหรือ 400,000 ลำ/ปี จึงให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาโครงการดังกล่าววงเงิน 68 ล้านบาท ระยะเวลา 30 เดือน เริ่ม 2 มี.ค.64-1 ก.ย.66 สำหรับโครงการดังกล่าว กระทรวงคมนาคมจะบูรณาการรูปแบบการขนส่งเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือระนองแห่งใหม่ และท่าเรือชุมพร โดยออกแบบให้เป็นท่าเรือที่ทันสมัย (Smart Port) ควบคุมการบริหารจัดการด้วยระบบออโตเมชั่น รวมทั้งการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) และรถไฟทางคู่ ตลอดจนวางระบบการขนส่งทางท่อ โดยทำการก่อสร้างไปพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องตามแผนบูรณาการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมต่อแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ (MR-MAP) ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของภาคประชาชน เบื้องต้นวงเงินลงทุนทั้งโครงการ ประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นรูปแบบให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนกับภาครัฐ (PPP) นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า เมื่อผลการศึกษาแล้วจะเสนอรูปแบบการลงทุนโครงการนี้รวมกันเป็นแพ็คเก็จ ทั้งการสร้างท่าเรือ สร้างรถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพื่อดำเนินการก่อสร้างพร้อมกัน คาดว่า ใช้เวลาสร้าง 3 ปี ซึ่งรูปแบบหาเอกชนลงทุนคาดว่าจะเป็นการประกวดราคานานาชาติ (International Bidding) เบื้องต้นสัดส่วนในการลงทุนสำหรับรัฐบาลกำหนดให้ต่างชาติเข้ามาลงลงทุน 30% ขณะที่กระทรวงคมนาคมกำหนดให้ต่างชาติลงทุน 50% ซึ่งคาดว่าผู้ที่มาลงทุนจะเป็นเอกชนรายกลุ่มที่รวมตัวกันเป็นรายเดียว อย่างไรก็ตาม หลังจากศึกษาแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย รัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางประชาสัมพันธ์โครงการในต่างประเทศ (Road Show) เพื่อดึงนักลงทุนจากต่างประเทศมาร่วมลงทุน ทั้งนี้ ในเบื้องต้นมีในโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ในส่วนของพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ ที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอนนั้น บริษัทที่ปรึกษาจะศึกษาความเหมาะสม พร้อมทั้งประสานกับพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ทั้งนี้ ในเบื้องต้นมีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมหลายแห่ง ขณะที่ระบบการขนส่งทางท่อนั้น จะทำการศึกษาไว้ให้ แต่เอกชนที่จะมาลงทุนกระทรวงพลังงานต้องเป็นผู้ดำเนินต่อไป ซึ่งจะแยกโครงการต่างหาก อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าเพิ่มในเรื่องผลิตภัณฑ์มวลรวมรายภาคและจังหวัด (Gross Provincial Products : GPP) ในส่วนของภาคใต้ปัจจุบันอยู่ที่ 2% หรือ 24,000 ล้านบาท ให้เป็น 10% หรือ 120,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปีหลังจากโครงการแล้วเสร็จหรือในปี 79 ลดระยะเวลาการขนส่งทางเรือลงได้ถึง 2 วัน ช่วยเปลี่ยนโฉมการเดินทางทางน้ำในเรื่องโลจิสติกส์ทางน้ำของโลก สามารถดำเนินโครงการเชื่อมต่อรถไฟรางคู่ขนส่งสินค้าไปยังหลุ่มทางภาคเหนือ เพื่อ เชื่อมไป สปป.ลาว จีน และรัฐเซียได้ ขณะที่ภาคใต้เชื่อมไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ รวมทั้งภาคตะวันออกเชื่อมไปยังกัมพูชา และเวียดนามด้วย ตลอดจนช่วยยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาค เปิดเส้นทางเดินเรือแห่งใหม่ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยสร้างโอกาส สร้างงานและรายได้เพิ่มขึ้น https://www.thaipost.net/main/detail/94661
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|