เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 27-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 26 ? 27 มิ.ย. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยด้านตะวันตก และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. ? 2 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 27-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'เชื้อเพลิงฟอสซิล' ถูกใช้เพิ่มขึ้นดัน 'ก๊าซคาร์บอน' พุ่ง โลกร้อนกว่าเดิม
.......... โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล


KEY POINTS

- ปี 2023 มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้น 2.1% ส่งผลให้มีปริมาณก๊าซคาร์บอนทะลุ 40,000 ล้านเมตริกตันเป็นครั้งแรก โดยการบริโภคน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1.5%

- ขณะเดียวกันมีการใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ยังมีไม่มากพอที่จะตอบสนองความต้องการพลังงานทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น

- ประเทศกำลังพัฒนาที่ยังต้องพึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลดลง




ปี 2023 โลกบริโภคน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซในปริมาณมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ ?ก๊าซเรือนกระจก? ที่ทำให้โลกร้อนมีปริมาณพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุด ทำลายความหวังของนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศที่พยายามรักษาไม่ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

รายงานล่าสุดของสถาบันพลังงาน (EI) องค์กรวิชาชีพวิศวกร และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน พบว่า ในปี 2023 มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้น 2.1% ส่งผลให้มีปริมาณก๊าซคาร์บอนทะลุ 40,000 ล้านเมตริกตันเป็นครั้งแรก สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ไม่ได้พยายามหยุดใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลเลย แม้ว่าผลกระทบของวิกฤติสภาพภูมิอากาศจะรุนแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตมากขึ้นก็ตาม

"คลื่นความร้อน" ที่รุนแรงกว่าที่สุดในรอบหลายทศวรรษพัดถล่มมาแล้วทั่วโลก เริ่มตั้งแต่เดือเม.ย.ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และแอฟริกา และในตอนนี้กำลังแผ่ขยายพื้นที่ส่วนใหญ่ของสหรัฐ และยุโรป ทำให้เกิดไฟป่า พายุ และน้ำท่วมร้ายแรงในหลายพื้นที่

ในขณะเดียวกัน รายงานพบว่าในปี 2023 มีการใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ความต้องการพลังงานทั่วโลกก็เติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน จนจำเป็นต้องใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเข้ามาเติมเต็ม

จูเลียต ดาเวนพอร์ต ประธานสถาบันพลังงานกล่าวว่า "ปีที่ผ่านมาเป็นอีกปีที่โลกต้องการพลังงานมากที่สุด พลังงานเป็นศูนย์กลางของความก้าวหน้าของมนุษย์ และตอนนี้มันกลายเป็นศูนย์กลางในการเอาชีวิตรอดของเราด้วย"


ประเทศกำลังพัฒนาบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้น

ในปี 2023 การบริโภคน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1.5% โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก รายงานระบุว่าเมื่อปีที่แล้ว โลกทำลายสถิติการบริโภคน้ำมันมากกว่า 100 ล้านบาร์เรลต่อวันเป็นครั้งแรก โดยสหรัฐยังคงเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุด มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 8%

หากเทียบสัดส่วนการใช้พลังงานโดยรวม พบว่า พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก โดยในปี 2023 ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสูงถึง 81.5% ลดลงเพียง 0.5% จากปี 2022 ซึ่งการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของอินเดียเพิ่มขึ้น 8% ในปี 2022 และเป็นครั้งแรกที่อินเดียใช้ถ่านหินมากกว่าจำนวนที่ทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือรวมกัน

ขณะที่ประเทศจีนมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มสูงขึ้นเพิ่มขึ้น 6% เป็นผลมาจากการสิ้นสุดมาตรการล็อกดาวน์ช่วงโควิด-19 ทำให้ธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆ กลับมาฟื้นตัว อย่างไรก็ตามสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยรวมของประเทศกำลังลดลง เพราะจีนยังคงเพิ่มการลงทุนในการผลิตพลังงานหมุนเวียนจำนวนมหาศาลอย่างต่อเนื่อง

นิค เวย์ธ ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันพลังงานกล่าวเสริมว่าการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานกำลังเกิดขึ้นช้าเกินไปในหลายภูมิภาค

"ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เราสังเกตเห็นสัญญาณของความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลถึงจุดสูงสุดแล้ว ตรงกันข้ามกับประเทศกำลังพัฒนาที่ยังต้องพึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น" เวย์ธ กล่าว


ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลดลง

การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มที่จะถึงจุดสูงสุด และเริ่มลดลง ในสหรัฐมีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลดลงเหลือ 80% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด ขณะที่ในยุโรปมีการใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิลคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 70% และถือเป็นครั้งแรกที่มีตัวเลขลดลงในระดับนี้นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นเพราะความต้องการที่ลดลง และการหันไปใช้พลังงานหมุนเวียน

นับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนในปี 2022 ทำให้ยุโรปเลิกพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย ตามรายงานพบว่าในปี 2023 ความต้องการก๊าซของยุโรปโดยรวมลดลง 7% หลังจากลดลง 13% ในปี 2022 ก่อนหน้า

รายงานระบุว่าการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียน (ไม่รวมไฟฟ้าพลังน้ำ) เพิ่มขึ้น 13% เป็นผลมาจากคนเริ่มหันมาใช้พลังงานลม และแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น แต่พลังงานหมุนเวียนก็ยังมีไม่มากพอที่จะตอบสนองความต้องการพลังงานทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น 2% ในปี 2023

"ในปีที่ผ่านมาพลังงานหมุนเวียนมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นปีที่มีการผลิตพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ความต้องการพลังงานทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงมีบทบาทสำคัญ แทบไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย"
-ไซมอน วาร์ลีย์ รองประธานและหัวหน้าฝ่ายพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติของบริษัท KPMG ผู้ร่วมเขียนรายงานกล่าว

ขณะที่ เดฟ โจนส์ ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลเชิงลึกระดับโลกของกลุ่มนักคิดด้านสภาพอากาศ Ember กล่าวว่า นี่เป็นสัญญาณเตือนให้รัฐบาลตื่นตัว "โลกยังคงหิวกระหายพลังงานเช่นเคย พลังงานหมุนเวียนจำเป็นต้องถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้นให้มากกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล พร้อมจับตาดูการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองให้น้อยลง" เขากล่าวกับ CNN

เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส จากก่อนยุคอุตสาหกรรม ตามข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 โลกจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในสิ้นทศวรรษนี้


ที่มา: CNN, Financial Times, Reuters, The Guardian


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1133122
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 27-06-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


เตือน ! แมงกะพรุนหัวขวดโผล่ทะเลภูเก็ตโดนพิษเจ็บ 3 คน



เตือน " แมงกะพรุนหัวขวด" พิษร้ายถึงตายถ้าสัมผัส พบโผล่ทะเลภูเก็ตบริเวณอ่าวหลา อ่าวทือ เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต มีคนเรือและนักดำน้ำโดนพิษบาดเจ็บ 3 คน
วันนี้ (26 มิ.ย.2567) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) แจ้งเตือนจ้งพบแมงกะพรุนหัวขวด (Physalia sp.) บริเวณอ่าวหลา อ่าวทือ เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต ขอให้นักท่องเที่ยว และผู้ทำกิจกรรมทางทะเลในบริเวณดังกล่าวระมัดระวัง

เนื่องจากแมงกะพรุนหัวขวด เป็นแมงกระพรุนพิษร้ายแรง ให้ระวังการสัมผัส หากโดนแมงกะพรุนดังกล่าวเข้าไปจะทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน อาจส่งผลต่อระบบผิวหนัง ระบบประสาทหัวใจและอาจเสียชีวิตได้

กรณีหากโดนสัมผัสควรใช้วัสดุแข็งเขี่ยหนวดออกจากร่างกาย ห้ามใช้มือสัมผัสโดยตรง และห้ามนวดหรือทายาใด ๆ ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณที่สัมผัสอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 30 วินาที และห้ามใช้น้ำจืดในการล้างแผลโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้พิษกระจายเร็วขึ้น และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ล่าสุดรับแจ้งจากบริษัท ซีฟาร์เรอร์ ไดเวอร์ ภูเก็ต จำกัด พบเจ้าหน้าที่เรือ 1 คนได้รับบาดเจ็บ หายใจติดขัด ปัจจุบันนำส่งถึงโรงพยาบาล อาการปลอดภัยแล้ว รวมทั้งนักดำน้ำ 2 คน โดยขณะนี้มีการติดตั้งป้ายเตือนภัยบริเวณชายหาดที่พบแมงกระพรุนหัวขวดแล้ว

ขณะที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดทำแอปพลิเคชัน Marine Warning Application on Mobile ระบบเตือนภัยท่องเที่ยวทางทะเล (Marine Tourism Warning System) เป็นระบบแจ้งเตือนภัยนักท่องเที่ยวหรือประชาชนในพื้นที่ใกล้จุดเกิดเหตุ ในการเฝ้าระวังและรวบรวมสถิติการเกิดปรากฏการณ์ภัยทางทะเล เช่น น้ำทะเลเปลี่ยนสี คลื่นย้อนกลับ ปัญหาคราบน้ำมัน จุดที่พบแมงกะพรุนพิษ และการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบ Web Application และ Mobile Application

โดยมีเมนูการใช้งาน ประกอบด้วย แสดงจุดเตือนภัยตามพิกัดที่เกิดเหตุในรัศมีที่กำหนด ระบบแจ้งเตือนบนมือถือ (Notification) พร้อมให้ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับภัยพิบัติทางทะเลและชายฝั่ง


https://www.thaipbs.or.th/news/content/341402

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:27


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger