#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนล่างและประเทศลาวแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (วันที่ 14 ก.พ. 66) และจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในวันพรุ่งนี้(วันที่ 15 ก.พ. 66) ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4 ? 6 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 ? 4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์เล็กน้อยเนื่องจากมีการระบายอากาศดี เว้นแต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ฝุ่นละอองยังสะสมอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส ณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 14 ? 17 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ในขณะที่ในช่วงวันที่ 16 ? 19 ก.พ. 66 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ในช่วงวันที่ 14 ? 19 ก.พ. 66 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4 ? 6 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 ? 4 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงวันที่ 13 ? 14 ก.พ. 66 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 15 ? 19 ก.พ. 66 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 14 ? 17 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับในช่วงวันที่ 15 ? 19 ก.พ. 66 ชาวเรือบริเวณอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 (51/2566) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 14 ? 17 กุมภาพันธ์ 2566) บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศลาวแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (วันที่ 14 ก.พ. 66) และจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในวันพรุ่งนี้(วันที่ 15 ก.พ. 66) ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป ประกอบกับในช่วงวันที่ 16 ? 17 ก.พ. 66 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4 ? 6 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 ? 4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ โดยจะมีผลกระทบดังนี้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 16 ? 17 กุมภาพันธ์ 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลกเพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย และตาก ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา อนึ่ง ในช่วงวันที่ 15 ? 17 ก.พ. 66 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|