เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 15-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศจีนตอนใต้แล้ว และจะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกฉียงเหนือในวันนี้ (วันที่ 15 ม.ค. 66) และภาคอื่น ๆ ในวันถัดไป ทำให้ภาคตะวันออกฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในวันที่ 15 - 20 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนัก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 -3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 15 ? 20 ม.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 4 (14/2566)

ในช่วงวันที่ 15-19 ม.ค. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 15-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ฝรั่งเศสพบปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล นับพันตัวตายเกลื่อนชายหาดทางตต.



ปลานับพันตัวตายเกลื่อนชายหาด 2 แห่งในฝรั่งเศส ทำให้ทางการเร่งตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าเกิดจากสาเหตุธรรมชาติ ขณะที่บางคนเชื่อว่าเป็นเพราะมลพิษทางน้ำทำให้ปลาตาย

เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2566 ชาวบ้านในฝรั่งเศสพบปลานับพันตัว มีทั้งปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล ตายกระจัดกระจายอยู่เต็มชายหาด ในเมืองดูอาร์เนเนซ และเมืองฟีนิสแตร์ ในแคว้นเบรอตาญ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส โดยทางการระบุว่า ตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ และกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ พร้อมเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นว่า ห้ามไปเก็บซากปลาเหล่านี้มาบริโภค เพราะอาจเกิดอันตรายได้.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2602578

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 15-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


ลูกเต่ามะเฟืองฟักออกจากหลุม รังแรกของฤดูกาล

ลูกเต่ามะเฟืองฟักออกจากหลุม เป็นรังแรกของฤดูกาล พร้อมปล่อยกลับสู่ทะเล 64 ตัว หลังจากที่แม่เต่ามะเฟืองได้ขึ้นมาวางไข่ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา นับเป็นข่าวดีต้อนรับวันเด็ก



นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า วันนี้ (14 มกราคม 2566) เวลา 02.00 น. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟืองหาดบางขวัญ จ.พังงา สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (พังงา) และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน แจ้งให้ทราบถึงสถานการณ์เฝ้าระวังหลุมฟักไข่เต่ามะเฟือง หลังตรวจพบการยุบตัวของปากหลุมของรังที่ 1 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 จนกระทั่งผ่านไปอย่างยาวนานไม่พบลูกเต่าขึ้นมาจากหลุมฟักแต่อย่างใด ทีมสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงตัดสินใจเปิดปากหลุมเพื่อให้ลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักตัวคลานออกมา พอขุดลงไปกลับพบรากไม้ที่มีขนาดใหญ่และเป็นรากฝอยเป็นจำนวนมาก จึงเร่งดำเนินการขุดรังเต่ามะเฟืองเพื่อช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักออกจากไข่ขึ้นมาจากหลุม เนื่องจากเกรงว่าหากปล่อยไปนานมากกว่านี้ลูกเต่ามะเฟืองจะตายได้

จากนั้นได้ช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองในหลุมที่ยังแข็งแรงและนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติจำนวน 64 ตัว รวมถึงช่วยลูกเต่ามะเฟืองที่อ่อนแอรอการพักฟื้นในตู้ ICU Box เพื่อกระตุ้นการฟัก จำนวน 4 ตัว อีกทั้งยังพบไข่เต่ามะเฟืองที่ไม่พัฒนาจำนวน 37 ฟอง และลูกเต่ามะเฟืองตายแรกคลอดจำนวน 1 ตัว รวมทั้งหมดแม่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่จำนวน 106 ฟอง ทั้งนี้สำหรับรังไข่เต่ามะเฟืองรังถัดไป กรมทะเลชายฝั่งได้วางแผนนำเต่ามะเฟืองที่ได้จากการฟักตามธรรมชาติ นำมาเลี้ยงอนุบาลให้แข็งแรงในระยะเวลา 1 ปี หรือกระดองเต่ามีขนาดมากกว่า 30 เซนติเมตร ก่อนที่จะปล่อยกลับไปสู่ทะเล เพื่อให้ลูกเต่ามะเฟืองนั้นมีโอกาสในการอยู่รอดและเติบโตจนสามารถสืบพันธุ์และวางไข่ได้ตามธรรมชาติต่อไป

สำหรับการฟักไข่ของลูกเต่ามะเฟืองรังดังกล่าว นับเป็นรังแรกของฤดูกาล ที่แม่เต่ามะเฟืองได้ขึ้นมาวางไข่ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา และเป็นข่าวดีที่ตรงกับวันเด็กแห่งชาติ สร้างความยินดีแก่บรรดานักอนุรักษ์และพี่น้องประชาชนที่เฝ้ารอคอยการฟักไข่ของลูกเต่ามะเฟือง พร้อมให้ข้อมูล สร้างองค์ความรู้ พร้อมกับประชาสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชมในพื้นที่ และจัดเวรเฝ้าระวังในช่วงดึกต่อเนื่องเช้ามืดโดยร่วมกับชุมชนเดินเต่า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้แก่แม่เต่ามะเฟืองที่อาจจะขึ้นมาวางไข่อีกครั้ง

เต่ามะเฟืองเป็นสัตว์ที่จะขึ้นวางไข่ เมื่อสภาพแวดล้อมดีและพื้นที่ปลอดภัย เมื่อลูกเต่าฟักออกจากไข่จะมีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์และสามารถรอดปลอดภัย เมื่อสัตว์ทะเลไว้ใจหมู่บ้านเรา จังหวัดเรา หรือประเทศของเรา พวกเรายิ่งต้องดูแลทรัพยากรทางทะเลของเราให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม


https://www.mcot.net/view/OG1PZGan

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 15-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


แช่แข็งตัวอ่อนปะการัง ความหวังคืนชีพ "Great Barrier Reef"



นักวิทย์ประสบความสำเร็จในการแช่แข็งตัวอ่อนจากปะการังที่ใหญ่สุดในโลก "Great Barrier Reef" ด้วยอุณหภูมิ -196 องศา ความหวังอนุรักษ์ธรรมชาติให้อยู่รอดไปถึงอนาคต

"ปะการัง" คือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีความเปราะบางต่ออุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากปะการังนั้นได้รับสารอาหารส่วนใหญ่มาจาก "สาหร่ายซูแซนเทลลี" (Zooxanthellae) สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สามารถสังเคราะห์แสงได้คล้ายกับพืช ซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการังอีกทีหนึ่ง ได้พากันอพยพออกไปจากปะการังเมื่อน้ำทะเลเริ่มอุ่นขึ้นกว่าปกติ

การจากไปของสาหร่ายซูแซนเทลลีนี้ จึงส่งผลให้ปะการังกลายเป็นสีขาว ขาดแคลนแหล่งอาหาร และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดต่อได้ง่าย ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะแนวปะการัง "เกรต แบร์ริเออร์ รีฟ" (Great Barrier Reef) ในชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแนวปะการังนี้เป็นที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้เกิดการฟอกขาวมาแล้วถึง 6 ครั้งด้วยกัน

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะอยู่เฉย และปล่อยให้แนวปะการังสุดล้ำค่านี้หายไป เนื่องจากแนวปะการังเป็นปราการที่ช่วยลดผลกระทบของคลื่นลมทะเลที่รุนแรงต่อชายฝั่งได้ แถมยังเป็นสถานที่ที่สัตว์น้ำสายพันธุ์ต่าง ๆ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงดูตัวอ่อนอีกด้วย

แต่ถึงกระนั้น เราก็ไม่อาจหยุดยั้งวิกฤตภาวะโลกร้อนได้โดยเร็ววันอยู่ดี ทำให้สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งออสเตรเลีย (Australian Institute of Marine Sciences) ได้พยายามหาหนทางสำรองที่จะรักษาปะการังให้อยู่รอดปลอดภัยไปยังอนาคตได้ นั่นก็คือการแช่แข็งตัวอ่อนของปะการังไว้ เผื่อว่าสักวันหนึ่งอุณหภูมิของโลกจะกลับมาอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมอีกครั้ง

โดยกระบวนการแช่แข็งปะการังที่มีชื่อเรียกว่า "ไครโอเมช" (cryomesh) จะเก็บตัวอ่อนของปะการังไว้ในอุณหภูมิติดลบ 196 องศาเซลเซียส ซึ่งได้รับการทดสอบมาก่อนหน้านี้แล้ว จากการเก็บรักษาแนวปะการังที่รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา โดยตัวอ่อนของสายพันธุ์ปะการังที่อยู่อาศัยในเกรตแบร์ริเออร์รีฟนั้น มักมีขนาดเฉลี่ยใหญ่กว่าที่รัฐฮาวายเป็นอย่างมากจึงทำให้ยากต่อการเก็บรักษา ในท้ายที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็ประสบความสำเร็จในการแช่แข็งตัวอ่อนปะการังเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา


https://www.thaipbs.or.th/news/content/323381

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:37


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger