เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 06-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ด้านรับมรสุมของประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมายังคงมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน

อนึ่ง พายุโซนร้อน "ลูปิต" บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางเกาะไต้หวันในช่วงวันที่ 6-7 ส.ค. 64 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 5 ? 6 ส.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 7 ? 11 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุโซนร้อน "ลูปิต" ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนตัวไปทางเกาะไต้หวันในช่วงวันที่ 6-7 ส.ค.64 โดยไม่มีผลกระทบโดยตรงลักษณะอากาศของประเทศไทย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 5 ? 6 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 ส.ค. 64









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 06-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


วิธีใหม่ตรวจจับผลกระทบ เมื่อระดับน้ำทะเลเพิ่ม



แหล่งน้ำที่ต่างกันจะมีระดับของไอโซโทปกำมะถันต่างกัน เกิดขึ้นภายในสภาพแวดล้อมที่มีกระบวนการ เช่น น้ำทะเลรุกเข้าสู่ระบบน้ำจืดและเกิดออกซิเดชันของดินกรดกำมะถัน ดังนั้น การวิเคราะห์อัตราส่วนไอโซโทปของกำมะถัน จะทำให้รับรู้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอดิเลด ในออสเตรเลีย เผยว่า ไอโซโทปกำมะถันสามารถบอกอะไรได้มากมายเกี่ยวกับวัฏจักรโลกทั้งในปัจจุบันและในอดีต ทีมจึงพัฒนาวิธีใหม่โดยใช้เครื่องวิเคราะห์หาปริมาณธาตุต่างๆ พร้อมกันหลายชนิด (Inductively coupled plasma-ICP) คู่กับแมสส์ สเปกโตรเมทรี (Mass spectrometry-MS) ที่เป็นเทคนิควิเคราะห์ผลการวัดสัดส่วนมวลต่อประจุ ทำให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นในการวิเคราะห์ไอโซโทปกำมะถัน โดยเชื่อว่าจะนำมาใช้ช่วยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะมหาสมุทร แม่น้ำ และทะเลสาบน้ำจืดได้ในอนาคต

เทคนิคใหม่นี้ช่วยให้ทีมวิจัยแก้ปัญหาการรบกวนทางแสงโดยการรวมกำมะถันกับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ออกซิเจน เพื่อเพิ่มอัตราส่วนมวลต่อประจุ และเพื่อลดความเสี่ยงของการรบกวนทางแสง ซึ่งจะวัดไอโซโทปกำมะถันได้อย่างแม่นยำโดยไม่จำเป็นต้องใช้การทำตัวอย่างให้บริสุทธิ์ที่มีความซับซ้อนและใช้เวลานาน อีกทั้งวิธีการที่คิดค้นขึ้นใหม่นี้ยังมีราคาถูกกว่าวิธีการแบบเดิมที่เคยใช้.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2157951

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 06-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


เคลียร์ชัด! "ดร.ธรณ์" ตอบทุกประเด็นกรณี กรมอุทยานฯ ห้ามนำ-ใช้ ครีมกันแดด



"ดร.ธรณ์" เผยเหตุผลกรณีกรมอุทยานฯ ห้ามนำ/ใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อปะการัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thon Thamrongnawasawat" ระบุว่า ในกรณีประกาศของอุทยานฯ ห้ามนำ/ใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อปะการัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีรายละเอียดที่อยากบอกเพื่อนธรณ์ดังนี้ครับ มีการศึกษาทั่วโลกพบว่า สารเคมีบางชนิดในครีมกันแดด ส่งผลต่อปะการัง เช่น ทำให้ปะการังฟอกขาวง่ายขึ้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ ฯลฯ

นอกจากนี้ NOAA ซึ่งเป็นองค์กรหลักทางทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา ยังระบุถึงผลกระทบที่มีต่อสัตว์น้ำอื่นๆ ปัจจุบัน มีการแบนครีมกันแดดที่มีสารเป็นอันตรายในหลายสถานที่ เช่น ฮาวาย ปาเลา bonaire ฯลฯ (ตามลิงค์ท้ายบทความ) ในเมืองไทย เริ่มมีการพูดถึงเรื่องนี้มาหลายปี และเริ่มมีมาตรการในบางพื้นที่ เช่น สิมิลัน (ในช่วงใกล้เคียงเกิดโควิด)

ครั้งนี้ ประกาศห้ามทั่วทุกอุทยาน หากถามถึงความจำเป็น ผมอธิบายไปแล้วว่า มีการศึกษามานาน มีการรับรองถึงผลกระทบโดย NOAA ที่คนเชื่อถือ และมีการแบนในหลายแห่ง

สำหรับคำถามว่า ทำไมไม่ห้ามตั้งแต่ผู้ผลิต ? คงต้องตอบว่าอุทยานไม่มีอำนาจ ซึ่งก็เป็นในลักษณะเดียวกับหลายประเทศที่ห้ามเฉพาะพื้นที่ เช่น อเมริกา แต่ในอนาคต เมื่อโลกมีเทรนด์มาแนวนี้ ผู้ผลิตย่อมต้องหาทางออก และผลิตของที่ไม่รบกวนมากขึ้น


คำถามสำคัญอีกเรื่องคือเจ้าหน้าที่จะดูแลอย่างไร ?

คำตอบชัดๆ ต้องฟังจากอุทยาน แต่เมื่อมีการประกาศห้าม คงต้องเริ่มหาทางปรับตัว ข้อเสนอแนะคือกรมอุทยานควรช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ตรวจสอบและระบุยี่ห้อหรือติดป้ายให้คนทราบทั่วกันว่า ยี่ห้อไหนอย่างไรที่โอเค หากทำเช่นนี้ได้ โดยส่วนกลางประสานหน่วยงานอื่น/จัดจ้างตรวจสอบ จากนั้นส่งข้อมูลให้ทราบทั่วถึงกันทุกอุทยาน เพื่อแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้ปฏิบัติตามกม.ได้ ในช่วงนี้คงมีนักท่องเที่ยวน้อยมาก รีบทำกันตอนนี้ยังพอมีเวลา ทราบดีว่าครีมบางชนิดมีปัญหา อุทยานต้องรีบมาดูแล และถ้าช่วยกันอีกนิด จะทำให้ระเบียบทำได้ง่ายขึ้น ทุกคนปฏิบัติได้ ทะเล คนเที่ยวทะเล คนดูแลทะเล จะมีความสุขครับ

รายละเอียดผลกระทบ
https://oceanservice.noaa.gov/news/s...en-corals.html
รายละเอียดที่ห้ามใช้
https://www.cntraveler.com/.../these-destinations-are...
ภาพประกาศ - ReReef (มีครีมแบบเซฟขาย)
รายละเอียดประกาศ (iGreen)

กรมอุทยานฯ ออกประกาศห้ามใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมี 4 ประเภท เพราะเป็นอันตรายต่อปะการัง ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงนามโดยนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานฯ เรื่อง ห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ

ทั้งนี้ ระบุเหตุผลว่า ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติทางทะเลจำนวนมาก รวมทั้งมีการนำและใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ โดยจากข้อมูลวิชาการพบว่า สารเคมีหลายชนิดที่พบในครีมกันแดดมีส่วนทำให้ปะการังเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสารเคมีเหล่านั้นทำลายตัวอ่อนปะการัง ขัดขวางระบบสืบพันธุ์และทำให้ปะการังฟอกขาว

กรมอุทยานฯ พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อปะการังและระบบนิเวศ ในอุทยาน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ประกอบข้อ 6 ของระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2563 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงออกประกาศ ดังนี้

1.ห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3), Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate), 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

2.ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2564"


https://mgronline.com/travel/detail/9640000076785

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 06-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


"ปะการัง-ครีมกันแดด" ก้าวแรก...รักษ์โลก



วันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในกรณีการห้ามนำและใช้ครีมกันแดดมีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการระบุว่า สารเคมีบางชนิดมีส่วนผสมเป็นพิษต่อแนวปะการัง

สารต้องห้ามในครีมกันแดด ที่ระบุในราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ได้แก่

1. Oxybenzone หรือ Benzophenon-3
2. Octinoxate หรือ Ethylhexyl
3. 4-Methylbenzylid Camphor
4. Butylparaben


ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่ใช่ที่แรกที่ตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยชาติแรกผู้ริเริ่มขึ้นมาคือ "ปาเลา" ประเทศหมู่เกาะในทวีปโอเชียเนีย ที่ออกประกาศห้ามใช้ครีมกันแดดมีสารอันตรายไปเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 63 เช่นเดียวกับหมู่เกาะแคริเบียน หมู่เกาะเวอร์จิน และมลรัฐฮาวาย ก็ออกประกาศห้ามใช้ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา


ผลกระทบจากครีมกันแดด เรื่องเล็กน้อยที่ถูกมองข้าม

เดิมผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ก็สร้างความเสียหายร้ายแรงแก่ปะการังมากอยู่แล้ว ไม่นับรวมถึงอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นทำให้ธรรมชาติของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป แต่จากงานวิจัยชิ้นใหม่ต่างออกมายืนยันว่า "ครีมกันแดด" ก็เป็นอีกส่วนสำคัญ เพราะมีสารเคมีที่สร้างผลกระทบต่อปะการังอยู่ด้วย

ผลกระทบที่เกิดจากสารกันแดดมีตั้งแต่ การทำลายสาหร่าย Zooxanthalle สาหร่ายขนาดเล็กที่มีหน้าที่ในการผลิตอาหารให้ปะการัง สร้างความเสียหายในระดับ DNA แก่ปะการังที่โตเต็มที่ ขัดขวางระบบสืบพันธุ์ ทำให้เซลล์ตัวอ่อนของปะการังพิการ จนเกิดการฟอกขาวและตายไปในที่สุด

มีการคาดการณ์ว่า ปริมาณสารอันตรายในครีมกันแดดที่ถูกชะล้างลงสู่ท้องทะเลมีมากกว่า 14,000 ตัน ทั้งจากช่วงเวลาที่เราลงเล่นน้ำและตอนอาบน้ำชำระล้างร่างกาย เป็นไปได้ว่าแนวปะการังกว่า 10% ทั่วโลกถูกปกคลุมและได้รับผลกระทบจากสารเคมีเหล่านี้ งานวิจัยยังระบุอีกว่าปริมาณแค่ ?62 ส่วนต่อล้านล้าน? ก็เป็นพิษต่อปะการังแล้ว แต่จากการตรวจสอบในหมู่เกาะฮาวาย พบความเข้มข้นของสารเคมีถึง 800-19,000 ส่วน ส่วนหมู่เกาะเวอร์จินยิ่งแล้วใหญ่กับปริมาณถึง 250,000 ส่วน

อีกทั้งที่ผ่านมาก็มีเหตุการณ์ส่งผลกระทบต่อปะการังมาหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 1998 ปะการังทั่วโลกตายพร้อมกันถึง 16% แต่ในบ้านเราจะเห็นชัดที่สุดในปี 2010 ที่หมู่เกาะสุรินทร์ในจังหวัดพังงา กับปรากฏการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่ทำให้ปะการังตายไปกว่า 90% เป็นผลกระทบอันชัดเจนจนนักสิ่งแวดล้อมและคนในประเทศต้องหันกลับมาสนใจ


เลือกซื้อให้ดี ช่วยปะการัง ช่วยโลก

การห้ามใช้สารเคมีกลุ่มนี้อาจทำให้การเลือกซื้อครีมกันแดดทำได้ยากและวุ่นวายขึ้น แต่จะไม่ให้ใช้กันเลยคงไม่ได้ ยิ่งกับแดดแรงๆแบบในบ้านเรา อย่างไรก็ตามมีวิธีการเลือกซื้อครีมกันแดดเพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้

- เลือกใช้ครีมกันแดดที่ระบุว่า "reef-safe" , "Ocean Friendly" , หรือมีตราสัญลักษณ์ "Protect Land & Sea" แต่ควรตรวจสอบส่วนผสมข้างขวดเพิ่มเติมตอนเลือกซื้อ

- เลือกใช้ครีมกันแดดแบบกันน้ำ จะช่วยลดการชะล้างลงสู่ทะเลได้ในช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

- เลือกใช้ครีมกันแดดที่สามารถย่อยสลายได้เองโดยธรรมชาติเพื่อลดผลกระทบตกค้าง

- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนที่ช่วยในการกันแดดได้ อาทิ น้ำมันมะพร้าว
เลือกใช้ครีมกันแดดในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินความจำเป็น และอาจใช้เสื้อผ้า/อุปกรณ์อื่นช่วยบังแดดเพิ่มเติม

- หลีกเลี่ยงการใช้ครีมกันแดดแบบพ่น เพราะมีโอกาสจะฟุ้งบนพื้นทรายและถูกพัดพาลงไปในทะเล


ขั้นตอนทั้งหมดเป็นแค่จุดเริ่มต้น ถึงช่วยลดผลกระทบลงได้มาก แต่ประกาศฉบับนี้ป้องกันแค่เฉพาะพื้นที่อุทยานฯแต่ไม่ได้ห้ามใช้งานทั้งประเทศ สารอันตรายต่อปะการังเองก็ไม่ได้มีเพียง 4 ตัวในรายชื่อ อีกหลายชนิดก็ส่งผลกระทบต่อปะการังไม่แพ้กัน เช่น

- Para-aminobenzoic acid (PABA)
- Triclosan (TCS)
- Phthalates
- Formaldehyde
- Cyclomethicone (ซิลิโคน)
- สารกันแดดในรูปแบบไมโครพลาสติก และเม็ดบีดทุกชนิด

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของสารในครีมกันแดดที่มีผลเสียต่อปะการัง ดังนั้นประกาศของกรมอุทยานฯในครั้งนี้จึงเป็นแค่ก้าวแรกแห่งการเปลี่ยนแปลง อาจยังไม่พอจะช่วยฟื้นฟูปะการังที่เสียหาย แต่ก็น่าจะช่วยให้ผู้คนหันมาใส่ใจเพิ่มขึ้น แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี


https://www.nationtv.tv/blogs/lifestyle/378831865

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 06-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ขยะพลาสติกล้นโลก: เมื่อไหร่รัฐและผู้ผลิตจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา? ................ โดย อัญชลิตา ไชยสุวรรณ

ชุลี หวังศิริเลิศ ผู้ที่ลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งมานานหลายปี และเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มแคมเปญ "ไม่ขอรับ" แคมเปญที่เกิดขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้บริโภคปฏิเสธพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจากร้านค้า แต่เราไม่สามารถหยุดมลพิษพลาสติกได้จากการหยุดรับพลาสติกจากผู้ประกอบการรายย่อยเท่านั้น เพราะปัญหาพลาสติกมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผู้ผลิตในระบบอุตสาหกรรมและภาครัฐ ที่ภาคประชาชนอยากให้ทั้งสองภาคส่วนนี้เข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดมลพิษพลาสติกด้วยเช่นกัน ชุลีมีความเห็นที่น่าสนใจถึงการจัดการมลพิษพลาสติกในระดับโครงสร้างด้วยเช่นกัน


"ระบบโดยรวมของประเทศไทยทำให้คนไม่จำเป็นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"

เรามองว่าระบบการจัดการขยะโดยรวมของประเทศไทย ทำให้ผู้คนไม่จำเป็นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ได้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าเรากินน้ำ แล้วเราสามารถทิ้งแก้วน้ำหรือขวดน้ำลงคลอง ลงบนถนนหรือลงที่ไหนก็ตาม มันก็ยังไม่ค่อยมีใครโดนปรับอย่างจริงจัง และคนทิ้งก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย ในขณะเดียวกันเราซื้อสินค้าจากบริษัทที่ผลิตสินค้าพลาสติกซึ่งพวกเขาผลิตออกมาจำนวนมาก แต่ผู้ผลิตเองก็ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ในทางกลับกัน ถ้าใครสนใจปัญหาขยะพลาสติกและเริ่มลงมือแยกขยะ เพื่อนำไปจัดการต่อ พวกเขากลับต้องเสียค่าส่งขยะเอง หรือค่าจัดการอื่น ๆ เองหมด มันเลยกลายเป็นว่า คนที่ลงมือแยกขยะ ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ส่วนคนที่ทิ้งขยะ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย


"แยกขยะอาหารออกจากทุกสิ่ง จะทำให้จัดการง่ายขึ้น"

เราคิดว่าการมีส่วนร่วมในการลดขยะพลาสติกอย่างง่ายที่สุดที่สามารถทำได้ คือ การแยกอาหารออกมาจากทุกสิ่ง เพราะถ้าเราไม่แยกออกมา อาหารเหลือเหล่านี้จะปนอยู่กับขยะอื่น ๆ และเมื่ออาหารเกิดการเน่าเสียก็จะทำให้ทุกอย่างที่ตอนแรกอาจจะยังสามารถนำไปรีไซเคิลได้ก็กลายเป็นขยะไปหมด บางครั้งต้องใช้เวลานานในการแยกขยะอาหารที่เน่ากับไม่เน่าออกจากกัน ทำให้ต้นทุนการแยกขยะเหล่านี้สูงขึ้น แต่ถ้าเราแยกขยะอาหารออกจากขยะประเภทอื่น ๆ การจัดการขยะก็จะเป็นไปได้ง่ายขึ้น ไม่มีการเน่าเสีย เป็นการรักษาคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นนำกลับไปรีไซเคิลหรือนำกลับไปใช้ซ้ำ ซึ่งก็จะทำให้ขยะพลาสติกลดน้อยลงด้วย


Plastic Brand Audit in Chiang Mai, Thailand. ? Wason Wanichakorn / Greenpeace


"ระบบที่เอื้อให้ผู้คนทำอย่างปกติ โดยที่ไม่ต้องอินก็ได้"

ตอนไปเรียนที่สวีเดน เราเห็นว่าในละแวกที่อยู่อาศัยจะมีการแยกขยะอย่างละเอียด เช่น ช่องอาหารขยะ ช่องโลหะ ช่องพลาสติก ช่องขวด และคนในบ้านก็จะมีการแยกขยะอย่างจริงจังมาก แต่ในที่สาธารณะก็ไม่ได้มีแยกเยอะขนาดนั้น แต่พอเทียบกับปริมาณขยะที่แยกจากในบ้านที่มีเยอะกว่า การจัดการขยะของสวีเดนก็เลยง่ายกว่ามาก

Mindset ของคนสวีเดนส่วนใหญ่มองว่า การแยกขยะเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนต้องรับผิดชอบ จะไม่เกี่ยวกับความดีหรือไม่ดีเลย คนส่วนใหญ่ก็จะมองว่า วัสดุมาแบบไหนก็ควรกลับไปจบแบบนั้นในรูปแบบเดิม การลดใช้ การใช้ซ้ำเป็นความคิดที่มาพร้อมกันอยู่แล้ว อย่างขวดพลาสติก ระบบก็เอื้อให้เอาไปคืนแล้วได้เงินค่ามัดจำขวดกลับมา หรือเคยซื้อน้ำในตลาดก็จะได้แก้วกระเบื้องแบบดี ๆ มา ถ้าเราอยากได้เราก็เก็บไว้ แต่ถ้าไม่อยากได้ก็เอาไปคืน เราก็จะได้เงินค่ามัดจำกลับมาและผู้คนก็เห็นค่าของวัสดุด้วย ภาคการศึกษาเองก็ให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน มีการวัดเป็นค่า KPI ว่ามหาวิทยาลัยมีงานวิจัยเกี่ยวกับความยั่งยืนกี่ชิ้น ดังนั้นเราจะเห็นว่าระบบของสวีเดนทำให้การจัดการขยะและการแยกขยะกลายเป็นเรื่องปกติของผู้คน เป็นระบบที่เอื้อให้ทุกคนทั้งประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชนลงมือทำกันอย่างปกติ โดยที่ทุกคนไม่ต้องอินก็ได้


"คนที่มองเห็นภาพใหญ่ที่สุด คือ ภาครัฐ"

การรักษาสิ่งแวดล้อมตอนนี้ดูจะเป็นความรับผิดชอบของคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มองเห็นผลกระทบของขยะพลาสติก หรือไม่ก็ของคนที่ต้องอยู่รอบกองขยะ ก็จะเห็นผลกระทบเหล่านี้ได้ชัด แต่จริง ๆ แล้วคนที่เห็นภาพรวมได้ใหญ่ที่สุดก็คือ ภาครัฐบาล ซึ่งประชาชนเองมีการจ่ายภาษีให้กับภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐควรนำภาษีตรงนี้มาจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพ และนำมาเป็นแรงจูงใจให้ทั้งภาคประชาชนและภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมร่วมกัน อย่างภาคเอกชน การใช้ภาษีเป็นแรงจูงใจเพื่อให้บริษัทต่าง ๆ มีการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บริษัทไหนที่มีการใช้วัสดุที่เอาไปรีไซเคิลได้ยาก จำเป็นต้องมีการจัดการขยะแบบเผาหรือฝังกลบ ซึ่งต้องใช้ต้นทุนที่มีราคาสูงมากกว่า ภาครัฐก็ควรต้องเก็บภาษีมากขึ้น ในขณะที่บริษัทไหนผลิตสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำไปรีไซเคิลและใช้ซ้ำได้ก็ควรได้รับการลดภาษีเพื่อช่วยให้เกิดการจัดการขยะอย่างเท่าเทียม เราต้องเกลี่ยภาษีให้เหมาะสมเพื่อเป็นเหมือนการลงโทษคนที่เลือกใช้วัสดุที่จัดการยาก/ย่อยสลายยาก แล้วให้รางวัลคนที่ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การที่ภาครัฐนำแรงจูงใจด้านภาษีเข้ามาจะช่วยให้เกิดการจัดการขยะและส่งเสริมกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนมากขึ้น และเกิดการรับผิดชอบร่วมกันทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค


Plastic Brand Audit in Bang Kra Chao (Thailand). ? Greenpeace / Chanklang Kanthong


"นโยบายการจัดการขยะมีต้นทุนที่จะต้องมีใครรับผิดชอบ"

การจัดการขยะมีต้นทุนที่จะต้องมีใครรับผิดชอบ แต่ถ้าปลายทางเป็นผู้รับผิดชอบอยู่คนเดียว ก็เหมือนโดนทำโทษ แล้วคนจำนวนอีกมากมายที่ไหนจะอยากทำ เพราะถ้าทิ้งปน ๆ ไปให้เทศบาลทำก็จะง่ายกว่ากันเยอะ ในขณะที่บริษัทกลับได้กำไรจากการขายผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะที่รีไซเคิลไม่ได้

อย่างเช่น บริษัทขายอาหารสำเร็จรูปที่ใช้ Packaging ที่มีส่วนผสมของพลาสติกเยอะ ๆ แถมยังเคลือบอลูมิเนียมและเลอะอาหารได้อีก ดังนั้นควรต้องช่วยกันรับผิดชอบมากขึ้น ตอนที่บริษัทนั้นทำแคมเปญส่งขยะบรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลไม่ได้ไปจัดการต่อ ก็รู้สึกว่าเป็น CSR ที่ดี เพราะมีการรับผิดชอบสินค้าของตนไปถึงปลายทางด้วยต้นทุนที่อาจจะไม่ได้สูงมากเพราะมีรถวิ่งมารับอยู่แล้ว บริษัทก็ได้ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และมีคนรู้จักบริการนี้อีกด้วย แต่ตอนหลัง ก็ไม่ฟรีแล้วคนที่เก็บรวมรวมขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ไว้เพื่อจะส่งจัดการต่อก็ต้องเดือดร้อนไปส่งไปรษณีย์เอง ก็ต้องเสียเงินมากขึ้นเพราะต้องหากล่องมาใส่ รวมทั้งค่าส่งอีก ที่บ้านของเราก็เริ่มไม่อยากแยกเก็บไว้แล้ว ทำให้การโน้มน้าวให้คนจัดการขยะก็เป็นเรื่องที่ยากขึ้น

จริง ๆ แล้วต้นทุนค่าขนส่งควรจะเฉลี่ยกันหรือมีส่วนลดก็ได้ และผู้บริโภคก็ต้องรับผิดชอบส่วนหนึ่งด้วยเพราะถือว่าสนับสนุนผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการที่บริษัทผลิตสินค้าที่เป็นขยะพลาสติกออกมามากขึ้น เช่น บริษัทที่ผลิตสินค้าประเภทอาหาร บริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค (Fast Moving Consumer Goods-FMCG) ทั้งหลายควรมีส่วนช่วยเรื่องเงินสนับสนุนด้านการจัดการขยะมากขึ้น เพราะบริษัทเหล่านี้ได้กำไรจากการซื้อสินค้าของผู้บริโภคโดยที่ไม่ต้องรับผิดชอบกับค่าจัดการบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงปลายทาง

ดังนั้น ส่วนตัวมองว่า เราจะหวังให้คนทั้งประเทศรักโลกไม่ได้ ถ้าระบบยังทำโทษคนรักโลก และยังส่งเสริมให้คนที่ได้ประโยชน์จากการสร้างขยะไม่ต้องรับผิดชอบอะไร


"ถ้าเราช่วยกัน จะเป็นไปได้"

เรารู้สึกว่าคนมีหลายกลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มคนที่อินและจริงจังในเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก คนเหล่านี้จะมีการลงมือแก้ปัญหาที่ยาก ละเอียดและเลือกใช้วิธีที่ดีที่สุดต่อสิ่งแวดล้อมอย่างการเลือกใช้ refill เพราะเป็นการลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เห็นชัดที่สุดและสามารถใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำได้อย่างทันทีโดยไม่ต้องส่งไปที่โรงขยะและเอาไปรีไซเคิลก่อน บางคนเลือกที่จะไม่สั่ง Food Delivery เลยเพราะรู้สึกว่าการทำอาหารเองมีประโยชน์มากกว่า บางคนยังต้องการความสะดวกสบายจากการสั่งอาหารแต่ก็ยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ก็เลือกที่จะขอพลาสติกให้น้อยที่สุด ในขณะที่คนอีกกลุ่ม คือ กลุ่มคนจำนวนมากที่ยังรู้สึกห่างไกลกับประเด็นสิ่งแวดล้อม คนกลุ่มนี้จะเน้นไปทางความสะดวกสบาย ความหลากหลายของสินค้า ความถูก ทำให้พวกเขาเน้นการเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะกับความต้องการของตัวเอง ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ยากและละเอียดก็จะไม่เหมาะกับคนกลุ่มนี้ เราเลยรู้สึกว่าถ้าคนกลุ่มนี้อยากมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม แต่พฤติกรรมของตัวเองก็เปลี่ยนแปลงได้ยาก

การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ การช่วยกันจ่ายเงินบางส่วนให้คนกลางหรือคนอื่นเข้ามารับผิดชอบแทน ในขณะเดียวกัน คนที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเองก็ต้องทำความเข้าใจกับแนวคิด Life Cycle Assessment (LCA) เป็นการวิเคราะห์และประเมินการใช้ทรัพยากร ของเสียที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การสกัด กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การนำมาใช้ใหม่หรือการแปรรูป ไปจนถึงการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน ดังนั้น กลุ่มธุรกิจต้องปรับปรุงสินค้าของตนเองให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด แต่ถ้าการจัดการในขั้นตอนสุดท้ายของสินค้าเป็นเรื่องที่ยากก็ควรจะช่วยจ่ายเงินบางส่วนให้คนกลางเข้ามารับมือในการจัดการตรงนี้แทน นั่นหมายความว่า หากผู้ผลิตไม่สามารถจัดการขยะอันเกิดจากผลิตภัณฑ์ของตนได้ ก็ต้องร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมผ่านการจ่ายภาษีสินค้าบางอย่างและภาครัฐต้องเป็นตัวกลางในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ถ้าเราช่วยกัน ก็จะเป็นไปได้


"จัดสรรอย่างเท่าเทียม เพื่อสร้างความยั่งยืนร่วมกัน"

เราว่าความยั่งยืนคืออะไรก็ตามที่สามารถไปต่อหรือทำได้อย่างต่อเนื่อง อย่างตอนนี้ถ้าภาคธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ สุดท้ายแล้วสิ่งที่บริษัทเหล่านี้ผลิตขึ้นมาก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก็ส่งผลกระทบต่อผู้คนตามลำดับ ถ้ายังไม่มีแผนในการจัดการขยะอย่างจริงจัง สุดท้ายปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ก็จะวนกลับมาทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสุขภาพของผู้คน ซึ่งเรามองว่านี่แหละเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืน เพราะสุดท้ายทรัพยากรก็จะเหลือน้อยลงและหมดไป ดังนั้นการสร้างความยั่งยืนที่ดีคือ ทุกคนต้องร่วมมือกันทำอะไรสักอย่าง โดยเรามองว่าภาครัฐยังคงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ที่ผ่านมาเราเห็นว่าภาครัฐมีความพยายามแก้ไขแล้วแต่อาจจะยังไม่มีระบบหรือช่องทางที่จริงจังให้ทุกฝ่ายได้ลงมือทำจริง ๆ อย่างที่บอกว่าในประเทศมีคนหลายกลุ่ม ธุรกิจหลายแบบ ซึ่งภาครัฐควรจะเป็นตัวกลางที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในการมาช่วยเกลี่ยหรือจัดสรรเพื่อให้เกิดข้อตกลงต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม เราไม่อยากให้เกิดการมองในมุมมองที่แตกต่างกันเกินไป สิ่งที่สำคัญคือการมีภาครัฐเป็นตัวกลางในการจัดสรรให้เกิดมุมมองหรือประโยชน์อย่างเท่าเทียม และถ้าสามารถทำได้จะเป็นการสนับสนุนให้ทุกฝ่ายยอมร่วมมือกันและท้ายที่สุดก็จะเกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม


https://www.greenpeace.org/thailand/...ows-the-world/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:10


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger