#1
|
||||
|
||||
ทำความรู้จักชื่อ "พายุ"
ทำความรู้จักชื่อ "พายุ" ความหมาย ชาติไหน(ผู้)ตั้ง เล่นเอาช่วงนี้หลายจังหวัดทางตอนเหนือ และอีสาน ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครอ่วมไปตามๆกัน เมื่ออิทธิพลของพายุนกเตน ที่ซัดเข้าถล่มหลายๆประเทศ เริ่มจากฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว รวมถึงไทย ให้ต้องช้ำระกำหนักกับฝนที่ตกไม่หยุด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสร้างความเดือดร้อนอย่างมากถึงมากที่สุดให้กับบ้านเรือนประชาชน รวมถึงพื้นที่ทำการเกษตร สาธารณูปโภค และถนนหนทางได้รับความเสียหาย ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ตั้งแต่เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จวบเข้าต้นสิงหาคม หลายคนคงสงสัย กับความแปลกของเจ้าพายุโซนร้อนที่ชื่อ นกเตน นี้ ว่ามันมีที่มาอย่างไร เกี่ยวอะไรกับนกหรือไม่ แล้วเกณฑ์ในการตั้งชื่อเอามาจากไหน ?? และทำไมพายุบางลูกถึงมีระดับรุนแรง ขณะที่บางลูกถึงแผ่วเบา ฯลฯ ทุกอย่างล้วนมาที่มาเกี่ยวกันอย่างไร ? เกณฑ์การตั้งชื่อพายุ การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ตามหลักการ เดิมพายุเฮอร์ริเคนที่เกิดในแถบทะเลแคริบเบียนนั้นจะตั้งชื่อนักบุญเป็นภาษาสเปน แต่ต่อมาราวปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ก็มีนักพยากรณ์อากาศชาวออสเตรเลียชื่อ คลีเมนต์ แรกกี (Clement Wragge) เกิดความคิดในการตั้งชื่อพายุโดยใช้ชื่อคนทั่วไป โดยมี 2 แบบ แบบที่ 1 ใช้ชื่อสตรี ซึ่งเข้าใจว่าต้องการให้ฟังดูอ่อนโยน ส่วนแบบที่ 2 ใช้ชื่อนักการเมือง เพื่อเปรียบเปรยว่านักการเมืองคนนั้นนำความหายนะมาให้เช่นเดียวกับพายุหมุน เมื่อถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดานักอุตุนิยมวิทยาในกองทัพอเมริกันซึ่งชอบใจวิธีตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนตามชื่อสตรี ด้วยความคิดถึงก็นำชื่อของคู่รักหรือภรรยาของตนมาใช้เป็นชื่อพายุ แต่ภายหลังก็มีนักสิทธิสตรีในสหรัฐฯออกมาประท้วงว่าการตั้งชื่อพายุทำให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงโหดร้าย ภายหลังจึงมีการตั้งชื่อผู้ชายด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ โดยแต่ละประเทศ (หรือดินแดน) ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนมาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ กำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม สำหรับชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ เรียงตามชื่อประเทศของลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง "คณะกรรมการพิจารณารายชื่อและความหมายของชื่อ" ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุในภาษาไทยที่ที่ประชุมของ "ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม" (Joint Typhoon Warning Center (JTWC) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบ และขนุน (มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ทำความรู้จักชื่อ "พายุ" ความหมาย ชาติไหน(ผู้)ตั้ง .......... (ต่อ) กฎน่ารู้ สำหรับชื่อพายุลูกใดที่มีความรุนแรงมากจนสร้างความเสียหายในบริเวณกว้างจะถูกยกเลิกไป และตั้งชื่อใหม่ ข้อตกลง พายุลูกถัดไปจะมีชื่อตามลำดับที่ตั้งไว้ เช่น พายุลูกปัจจุบันคือ นกเตน ลูกต่อไปก็จะชื่อ หมุ่ยฟ้า, เมอร์บุก, ... ไล่ไปตามลำดับ หากชื่อในชุดที่ 1 หมดก็ให้เริ่มที่ชื่อแรกในชุดที่ 2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดชื่อสุดท้ายในชุดที่ 5 จากนั้นนำชื่อพายุในชุดที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 กลับมาใช้ซ้ำอีก เมื่อ "นกเตน" ชื่อพายุจากประเทศลาว อ่อนกำลังลง เราคงต้องจับตา "หมุ่ยฟ้า" ซึ่งตั้งจาก "มาเก๊า" ที่เขาว่า อาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยให้เผชิญฝนตกอีก(แล้ว)ก็คงได้แต่ภาวนา ให้อิทธิพล ลมฟ้า ลมฝน เพลาๆ ความรุนแรง เพื่อให้พี่น้องชาวไทยในหลายๆจังหวัดไม่ต้องเดือดร้อน เคราะห์ซ้ำ กรรมซัด กับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นๆ อย่างที่เป็นสักทีเถิด... จาก ....................... มติชน วันที่ 3 สิงหาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
รู้ไว้ใช่ว่า....ใส่บ่าแบกหาม ขอบคุณมากค่ะ...คุณสายน้ำ
__________________
Saaychol |
#4
|
||||
|
||||
พายุ "นกเต็น" ชื่อลาวแผลงฤทธิ์ไปแล้ว อีกไม่นานก็ถึงคิวพายุชื่อไทย "กุหลาบ" จากสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนไปทั่วโลก ประเทศไทยก็ไม่พ้นไปจากอากาศวิปริตในปีนี้เช่นกัน ปัญหาอุทกภัยจากฝนตกหนักในไทยมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคมแทบทุกปี แต่ปี พ.ศ.2554 นี้ฝนฟ้าได้จัดหนักกว่าทุกปีมาเร็วกว่าทุกปี ทำให้ภาคเหนือและภาคอีสาน รวมถึงภาคกลาง ประสบปัญหาอุทกภัยอย่างไม่คาดคิดมาก่อน อย่างเช่นฤทธิ์เดชของพายุ ”นกเต็น” ที่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ดังที่ได้รับทราบจากข่าวคราวในเวลานี้ รวมทั้งได้สร้างความเสียหายให้แก่อีกหลายประเทศในเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ เกาหลี เป็นต้น เมื่อพายุ “นกเต็น” ได้ผ่านพ้นไป ก็มีพายุอีกลูกที่ชื่อว่า “หมุ่ยฟ้า” ที่กำลังอาละวาดแผลงฤทธิ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกในชณะนี้ ซึ่งคาดกันว่าพายุลูกนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเหมือนอย่างพายุ “นกเต็น” แต่ประเทศไทยก็จะต้องเจอพายุในปี พ.ศ.2554 นี้อีกประมาณ 19-20 ลูกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมิใช่พายุทั้งหมดจะพัดถล่มประเทศไทย จากการคาดการณ์จะมีพายุเพียง 2-3 ลูกเท่านั้นที่จะส่งผลกระทบถึงประเทศไทยที่ยังไม่มีใครทราบล่วงหน้าได้ว่าจะรุนแรงมากน้อยขนาดไหน สำหรับพายุที่พัดเข้าประเทศไทยนั้น จะเรียกว่าพายุไต้ฝุ่น (Typhoon) ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแหซิฟิก พายุไต้ฝุ่นนี้ไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปีก็ว่าได้ พายุใต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก หลายๆคนอาจจะสงสัยชื่อพายุตามแถบภูมิภาคของโลกที่ต่างกันนั้น ที่เรียกว่าเฮอร์ริเคนบ้าง ไซโคลนบ้าง มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งความจริงนั้นก็คือพายุหมุนเขตร้อนชนิดเดียวกัน แต่ที่มีชื่อเรียกต่างกันนั้นก็เป็นไปตามถิ่นที่เกิดของพายุเท่านั้น โดยมีชื่อเรียกกลางๆ คือ “พายุหมุนเขตร้อน” (Tropical cyclone) ขอจำแนกถิ่นที่กำเนิดพายุหมุนเขตร้อนที่มีการเรียกชื่อต่างกันดังนี้ - ถ้าเกิดขึ้นในชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเรียกว่า เฮอร์ริแคน (Hurricane) - ถ้าเกิดขึ้นในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า ไซโคลน (Cyclone) - ถ้าเกิดขึ้นแถบนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี่-วิลลี่ (Willy-willy) - ถ้าเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon) - แต่ถ้าเกิดขึ้นในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio) ใครที่ได้ติดตามชื่อของพายุมานานนม คงพอจะทราบว่าเมื่อก่อนนี้ชื่อของพายุนั้น มักจะเป็นชื่อฝรั่งเป็นส่วนใหญ่ และบางครั้งก็เป็นชื่อที่อ่านแล้วก็รู้ว่าเป็นชื่อของสตรี ซึ่งวัตถุประสงค์คงต้องการให้ฟังดูแล้วอ่อนโยน จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ได้มีการจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ โดยแต่ละประเทศ ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งหมด 140 ชื่อ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ ได้แก่ กัมพูชา จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม สำหรับชื่อพายุที่ประเทศต่างๆส่งชื่อมาให้นั้นจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ เรียงตามชื่อประเทศตามลำดับของตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง สำหรับประเทศไทยนั้น ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง "คณะกรรมการพิจารณารายชื่อและความหมายของชื่อ" ขึ้นเพื่อเสนอชื่อพายุในภาษาไทย จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบ และขนุน พายุ “นกเตน” (Nok-ten) ได้รับรู้กันแล้วจากทางสื่อต่างๆว่า เป็นชื่อพายุที่ประเทศลาวเป็นผู้ตั้งชื่อไว้เป็นชื่อพายุอยู่ในอันดับ 6 ซึ่ง “นกเตน” ก็คือ นกกระเต็นที่คนไทยเรียกกันนั่นเอง ส่วนพายุ “หมุ่ยฟ้า” (Muifa) เป็นชื่อพายุในอันดับ 7 ที่แผลงฤทธิ์อยู่ในเวลานี้ เป็นชื่อที่ทาง “มาเก๊า” เป็นผู้ตั้งชื่อมีความหมายว่า “ดอกบ๊วย” ส่วนชื่อพายุลูกถัดไปที่เป็นชื่ออันดับ 8 ถึงคิวชื่อของประเทศมาเลเซีย ตั้งชื่อไว้ว่า “เมอร์บุก” (Merbok) ซึ่งเป็นชื่อของนกชนิดหนึ่ง ชื่อพายุที่ประเทศไทยได้ตั้งไว้ใช้ชื่อว่า “กุหลาบ” อยู่ในอันดับที่ 11 คาดว่าอีกไม่นานเกินรอพายุ”กุหลาบ” คงจะได้ก่อตัวขึ้นมาในมหาสมุทรแปซิฟิก และประชาชนคนไทยจะต้องเฝ้าติดตามดูว่า “พายุกุหลาบ” ที่มีชื่อไทยจะพัดถล่มทำความเสียหายให้แก่ประเทศไทยหรือไม่ หรือพัดถล่มเข้าประเทศอื่นแทน. จาก ...................... เดลินิวส์ วันที่ 4 สิงหาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|