#1
|
||||
|
||||
เผยเต่าภูเก็ต-พังงาขึ้นวางไข่น้อยแนวโน้มสูญพันธุ์สูง
เผยเต่าภูเก็ต-พังงาขึ้นวางไข่น้อยแนวโน้มสูญพันธุ์สูง ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เต่าทะเลแนวโน้มสูญพันธ์ พบแหล่งวางไข่ในธรรมชาติในพังงา-ภูเก็ต ที่ไม่ใช่พื้นที่อนุรักษ์พบขึ้นวางไข่ปีละประมาณ 10 รังเท่านั้น ขณะที่เครื่องมือทำการประมงทำเต่าทะเลตาย-พิการจำนวนมาก นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมง ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต กรมทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงสถานการณ์การเต่าทะเลในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันว่า ตอนนี้สถานการณ์เต่าทะเลอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงซึ่งในแต่ละปีพบว่ามีเต่าทะเลชนิดต่างๆ ที่ขึ้นมาเกยตื้นเนื่องจากอาการป่วย และได้รับบาดเจ็บประมาณ 100 ตัว ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่ได้บรรจุไว้ในรายงานเนื่องจากบางครั้งทางชาวบ้านที่พบซากเต่าที่ตายแล้วหรือเน่าก็ไม่ได้แจ้งข้อมูลเข้ามายังศูนย์ฯ แต่ตัวเลขที่ได้รับการยืนยันนั้นมีเฉลี่ยปีละประมาณ 30 ตัว ขณะที่การวางไข่ของเต่าทะเลนั้นพบว่ามีแนวโน้มการขึ้นมาวางไข่ในแหล่งธรรมชาติซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา นั้นมีน้อยมากเหลือปีละไม่ถึง 10 รัง ซึ่งลดลงกว่าช่วงก่อนหน้านี้เป็น 10 เท่า และมีแนวโน้มการขึ้นมาวางไข่ของเต่าลดลงเรื่อยๆ และเชื่อว่าอีกไม่นานเต่าทะเลจะต้องสูญพันธ์แน่นอน สำหรับสาเหตุที่ทำให้สถานการณ์เต่าทะเลมีแนมโน้มลดลงอย่างน่าเป็นห่วงนั้นเริ่มมาตั้งแต่ประมาณ 50-60 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เต่าทะเลมีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ทำให้ช่วงนั้นมีการเก็บไข่เต่าไปรับประทานกันเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นก็เริ่มมีเรื่องของทำประมงซึ่งเป็นอีกตัวหนึ่งที่ทำลายเต่าทะเลอย่างร้ายแรงโดยเฉพาะเครื่องมือการทำประมง จนถึงปัจจุบันเรื่องของการพัฒนาบริเวณชายฝั่งต่างๆซึ่งเป็นแหล่งที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ทำให้ไปรบกวนการวางไข่ของเต่าทะเลส่งผลให้จำนวนเต่าทะเลมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ นายก้องเกียรติยังได้กล่าวต่อไปว่า สำหรับปัญหาเรื่องเศษอวนในทะเลกับเต่านั้นเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะเศษอวนที่ลอยอยู่ในทะเลหรือติดอยู่กับแนวปะการังมักจะมีปลาซึ่งเป็นอาหารของเต่าทะเลติดอยู่ เมื่อเต่าทะเลซึ่งว่ายน้ำอยู่พบเห็นก็จะว่ายเข้าไปหาเพื่อกินอาหารดังกล่าวทำให้ติดอวนซึ่งบางตัวตายติดอยู่ในอวน บางตัวพยายามหนีออกจากอวนจนบางครั้งถูกอวนบาดจนขาขาด แขนขาด ส่งผลให้เต่าเหล่านี้ถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่งและขึ้นมาเกยตื้นในที่สุด ซึ่งถ้าไม่ตายก็มักจะกลายเป็นเต่าพิการตลอดชีวิต ซึ่งปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากต้องดูแลเต่าพิการจำนวนมาก นายก้องเกียรติยังได้กล่าวต่อไปว่า สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาเต่าทะเลถูกทำร้ายนั้น ในส่วนของการอนุรักษ์ก็มี โดยขณะนี้พื้นที่ที่มีการอนุรักษ์อย่างเข้มข้น เช่น ที่บริเวณเกาะสิมิลันนั้นพบว่าการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลยังคงมีอยู่เฉลี่ยปีละประมาณ 100 กว่ารัง แต่การอนุรักษ์จะต้องทำอย่างจริงจัง ส่วนพื้นที่อื่นๆที่เคยเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล ไม่ว่าจะเป็นภูเก็ต พังงา สตูล มีแนวโน้มอย่างลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ส่วนเรื่องของการอนุรักษ์เต่าทะเลนั้นต้องทำกันทั้งภูมิภาค ไม่ใช่ทำเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เพราะเต่าที่ได้มีการศึกษาติดตามดูชีวิตเต่าทะเลที่มีการติดชิพพบว่าเต่าเหล่านี้เขาจะหากินไปไกลถึงประเทศอื่นด้วยถ้ามีความร่วมมือกันทุกประเทศก็น่าจะแก้ไขปัญหาเต่าทะเลสูญพันธุ์ได้ จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 1 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
เต่าทะเลเสี่ยงสูญพันธุ์สูง ขึ้นวางไข่ลดลงถึง 10 เท่า ภูเก็ต 1 ก.ย.- นักวิชาการประมงภูเก็ต ห่วงประชากรเต่าทะเลฝั่งอันดามันสูญพันธุ์ หลังพบปัญหาป่วย-บาดเจ็บขึ้นเกยตื้นแต่ละปีสูง ขณะที่การวางไข่ลดลงมากถึง 10 เท่า ย้ำการอนุรักษ์ต้องทำร่วมทั้งภูมิภาค นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมง ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า สถานการณ์เต่าทะเลในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน ยังน่าเป็นห่วง เพราะแต่ละปีพบเต่าทะเลขึ้นมาเกยตื้นจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บประมาณ 100 ตัว ขณะที่การขึ้นมาวางไข่ในพื้นที่พังงา-ภูเก็ต มีน้อยมาก เหลือปีละไม่ถึง 10 รัง ลดลงกว่าก่อนหน้านี้ถึง 10 เท่า และยังมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เกรงว่าอีกไม่นานเต่าทะเลจะสูญพันธุ์ไป ส่วนสาเหตุทำให้เต่าทะเลลดลงนั้น หลายปีที่ผ่านมา มีความนิยมเก็บไข่เต่าไปรับประทาน รวมถึงปัญหาเครื่องมือทำประมง และการพัฒนาชายฝั่งไปรบกวนแหล่งวางไข่ของเต่า โดยเฉพาะเครื่องมือทำประมงน่าเป็นห่วงมาก เพราะปัจจุบัน มีเศษอวนลอยอยู่ในทะเล หรือติดอยู่กับแนวปะการัง เมื่อเต่าทะเลว่ายเข้าไปเพื่อกินอาหาร บางตัวติดตายคาอวน หรือบาดเจ็บถูกอวนบาดขาขาด ส่งผลให้เต่าถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่งและขึ้นมาเกยตื้น หากไม่ตายก็พิการ นายก้องเกียรติ กล่าวว่า การป้องกันและแก้ปัญหาเต่าทะเลถูกทำร้ายนั้น ขณะนี้พื้นที่การอนุรักษ์อย่างเข้มข้น อาทิ บริเวณเกาะสิมิลัน พบว่าเต่าขึ้นมาวางไข่เฉลี่ยปีละกว่า 100 รัง แต่การอนุรักษ์จะต้องทำอย่างจริงจังทั้งภูมิภาค ไม่ใช่ทำเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เพราะจากการศึกษาติดตามชีวิตเต่าทะเลที่ฝังไมโครชิพ พบว่าเต่าเหล่านี้จะหากินไปไกลถึงประเทศอื่นด้วย หากแต่ละประเทศมีความร่วมมือกันน่าจะแก้ปัญหาเต่าทะเลสูญพันธุ์ได้ดี จาก : สำนักข่าว อสมท. วันที่ 1 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
|||
|
|||
เหลือขึ้นมาวางแค่ 10% เองเหรอคะ??????
|
|
|