เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 28-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "เซาลา" (SAOLA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกหรือด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 1 ก.ย.นี้ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 27 ? 28 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย สูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 29 ส.ค. ? 2 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "เซาลา?" (SAOLA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกหรือด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. ? 1 ก.ย. นี้ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 29 ส.ค. ? 2 ก.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง



******************************************************************************************************



ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 3 (228/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม - 3 กันยายน 2566)


ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 29 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดจันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต



วันที่ 30 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต



วันที่ 31 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง



วันที่ 1 - 3 กันยายน 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่


สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 28-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ญี่ปุ่นปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีสู่ทะเล แม้บำบัดแล้ว จะปลอดภัยแค่ไหน? .......... Thairath Plus Nature Matter




Summary

- ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่ประสบภัยสึนามิลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาแม้ว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนและเกาหลีจะต่อต้านก็ตาม เพราะอาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาหารทะเล

- สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ให้ข้อมูลว่า น้ำที่ปนเปื้อนจะได้รับการบำบัดผ่านระบบการบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Liquid Processing System: ALPS) ที่ตรวจสอบแล้วปลอดภัยตามมาตรฐานของ IAEA

- แผนปล่อยน้ำนี้ดำเนินมาหลายปีแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ออกมาเตือนในปี 2019 ว่า พื้นที่สำหรับเก็บวัสดุกำลังจะหมด ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปล่อยน้ำในรูปแบบที่ผ่านการบำบัดและเจือจางสูง

- สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีการศึกษาและแนะให้ญี่ปุ่นเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ให้มีคนกลางตรวจสอบ และทำงานร่วมกับประเทศผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย



เป็นกระแสไปทั่วโลกกับประเด็นที่ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ในวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา แม้ว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนและเกาหลีจะต่อต้านก็ตาม เพราะอาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาหารทะเล

โดยจีนได้ห้ามการนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมด เพื่อตอบโต้กับที่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้ว ทำให้เกิดความบาดหมางและตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนเคยวิพากษ์วิจารณ์แผนดังกล่าวว่าไม่ปลอดภัยมาแล้ว

ส่วนเกาหลีใต้แม้รัฐบาลจะไม่มีปัญหากับเรื่องนี้ แต่ยังคงมีกระแสต่อต้านจากภาคประชาชน โดยมีกลุ่มคนนำเข้าไปถือป้ายที่สถานทูตญี่ปุ่นในประเทศเกาหลีใต้ เพื่อต่อต้านการปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้ว และถูกจับกุมไป 16 คน

อีกทั้งฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นฝ่ายค้านมองว่า การปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีอาจเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์

ส่วนในญี่ปุ่น สหภาพแรงงานชาวประมง มองว่าอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวประมง

แม้ญี่ปุ่นจะประกาศแผนการปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วนี้ออกมาตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว และทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองอย่างรุนแรงกับจีนและเกาหลีใต้ แต่กัมมันตภาพรังสีในน้ำยังคงเป็นเรื่องที่ส่วนใหญ่มองว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมาก แม้จะมีการบำบัดแล้วก็ตาม


น้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วปลอดภัยจริงไหม?

สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ให้ข้อมูลว่า น้ำที่ปนเปื้อนจะได้รับการบำบัดผ่านกระบวนการกรองที่เรียกว่า ระบบการบำบัดน้ำเสียขั้นสูง (Advanced Liquid Processing System: ALPS) เพื่อกำจัดกัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่ก่อนนำไปจัดเก็บ โดย ALPS คือระบบสูบน้ำและกรอง ซึ่งใช้ชุดปฏิกิริยาเคมีเพื่อกำจัดนิวไคลด์กัมมันตรังสี 62 ชนิดออกจากน้ำที่ปนเปื้อน

อย่างไรก็ตาม ALPS ไม่สามารถกำจัดทริเทียมออกจากน้ำที่ปนเปื้อนได้ ซึ่งทริเทียมเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีบีต้า มีความเสี่ยงต่ำแต่เป็นอันตรายเมื่อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปากหรือแผลเมื่อรับปริมาณมาก ซึ่งจากการตรวจสอบความปลอดภัยของ IAEA ได้ข้อสรุปว่า แผนการของญี่ปุ่นในการปล่อยน้ำบำบัดที่เก็บไว้ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิลงสู่ทะเลนั้นสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของ IAEA

ราฟาเอล มาเรียโน กรอสซี (Rafael Mariano Grossi) อธิบดี IAEA ได้ส่งรายงานอย่างเป็นทางการต่อ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น โดยระบุว่าการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดจะมีผลกระทบทางรังสีวิทยาต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย

ทั้งนี้ รายงานนี้เป็นผลงานจากการทำงานเกือบ 2 ปีโดยคณะทำงานเฉพาะกิจของ IAEA ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากภายในหน่วยงาน ซึ่งได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลจาก 11 ประเทศ โดยทบทวนแผนของญี่ปุ่นต่อมาตรฐานความปลอดภัยของ IAEA ซึ่งทำหน้าที่เป็นข้อมูลอ้างอิงระดับโลกในการปกป้องผู้คนและสิ่งแวดล้อม และมีส่วนทำให้ความปลอดภัยระดับสูงทั่วโลก

"IAEA จะยังคงให้ความโปร่งใสแก่ประชาคมระหว่างประเทศ ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดสามารถพึ่งพาข้อเท็จจริงและวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว เพื่อแจ้งความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ตลอดกระบวนการ" มาเรียโน กรอสซี กล่าว

มาเรียโน กรอสซี กล่าวว่า IAEA จะดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยต่อไปในระหว่างขั้นตอนการปล่อยน้ำและลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีการตรวจสอบออนไลน์แบบสดบนเว็บไซต์

"สิ่งนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า มาตรฐานความปลอดภัยระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องจะยังคงถูกนำมาใช้ตลอดกระบวนการที่ยาวนานหลายทศวรรษที่กำหนดโดยรัฐบาลญี่ปุ่นและ Tokyo Electric Power Company (TEPCO)" มาเรียโน กรอสซี กล่าว


ทำไมญี่ปุ่นจำเป็นต้องปล่อยน้ำเสียออกมา

หลังจากแผ่นดินไหวและสึนามิที่ทำลายล้างของญี่ปุ่นในปี 2011 ส่งผลให้น้ำภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตภาพรังสีสูง ตั้งแต่นั้นมาน้ำใหม่จะถูกสูบเข้าไปเพื่อทำให้เศษเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์เย็นลง ในขณะที่น้ำใต้ดินและน้ำฝนรั่วไหลเข้าไป ทำให้เกิดน้ำเสียที่มีกัมมันตรังสีมากขึ้น

ทั้งนี้ แผนปล่อยน้ำนี้ดำเนินมาหลายปีแล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกมาเตือนในปี 2019 ว่า พื้นที่สำหรับเก็บวัสดุกำลังจะหมด ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปล่อยน้ำในรูปแบบที่ผ่านการบำบัดและเจือจางสูง

อย่างไรก็ตาม บริษัท TEPCO คาดว่า จะปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วประมาณ 200 หรือ 210 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมเป็นต้นไป และมีแผนที่จะปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดอย่างต่อเนื่องจำนวน 456 ลูกบาศก์เมตรในระยะเวลา 24 ชั่วโมง และรวมทั้งหมด 7,800 ลูกบาศก์เมตรในระยะเวลา 17 วัน ซึ่งการดำเนินการจะถูกระงับทันที และจะดำเนินการตรวจสอบหากตรวจพบความผิดปกติใดๆ ในอุปกรณ์ระบายหรือระดับการเจือจางของน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด


ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไรบ้าง

ในขณะที่บางประเทศสนับสนุนญี่ปุ่น เช่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวันที่เห็นพ้องกันว่า ปริมาณทริเทียมควรมีผลกระทบน้อยที่สุด แม้จีนและหมู่เกาะแปซิฟิกต่างคัดค้าน โดยการปล่อยก๊าซดังกล่าวอาจส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ และอาจคุกคามสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางทะเล

กรมศุลกากรของจีนจึงประกาศว่า จะหยุดนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งหมดที่มาจากญี่ปุ่น เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในความปลอดภัยของอาหารที่เกิดจากการปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนนิวเคลียร์ฟูกูชิมะของญี่ปุ่น และเพื่อปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคชาวจีน ซึ่งหมายความว่าการห้ามดังกล่าวอาจจำกัดผลิตภัณฑ์จากมหาสมุทรอื่นๆ นอกเหนือจากอาหารทะเล เช่น เกลือทะเลและสาหร่ายทะเล

นอกจากนี้ ยังเกิดการวิจารณ์อย่างหนักจากประเทศจีนว่าเป็น ?การกระทำที่เห็นแก่ตัวและขาดความรับผิดชอบ? เช่นเดียวกับในฮ่องกงที่ต่อต้านเช่นกัน

"การกระทำของญี่ปุ่นในการปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนนั้นขาดความรับผิดชอบ ผิดกฎหมาย และผิดศีลธรรม ไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ว่า เศษนิวเคลียร์และวัสดุต่างๆ ปลอดภัย พวกมันไม่ปลอดภัยโดยสิ้นเชิง" จาเคย์ ชุม (Jacay Shum) นักเคลื่อนไหววัย 73 ปี กล่าว

ด้านกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือก็เรียกร้องให้ระงับการปล่อยน้ำทันที โดยเรียกว่าเป็น 'อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ'

ส่วนในญี่ปุ่น มีผู้ประท้วงรวมตัวหน้าสำนักงานใหญ่ของ TEPCO ในโตเกียว โดยถือป้ายที่มีข้อความว่า ?อย่าโยนน้ำที่ปนเปื้อนลงทะเล!?

"ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะยังไม่สิ้นสุด คราวนี้น้ำจะถูกปล่อยออกมาเพียงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น จากนี้ไปเราจะต่อสู้ต่อไปอีกนานเพื่อหยุดการปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนในระยะยาว" จุน อิซึกะ วัย 71 ปี ผู้ประท้วงกล่าว


ทางออกเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติของประเทศไทย มีการศึกษาและมีข้อเสนอแนะทางออกของกรณีนี้เพื่อลดความกังวลและผลกระทบของรังสีต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลว่า

1. ให้ญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา รายงานผลการวัดกัมมันตภาพรังสีอย่างสม่ำเสมอและทันเวลา (ก่อนและหลังการระบายน้ำ) รวมถึงระดับทริเทียม (H-3 มีค่าครึ่งชีวิต 12.32 ปี) และสารกัมมันตภาพรังสีอื่นๆ

2. เปิดโอกาสให้ประเทศที่สาม เข้าร่วมในคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อประเมินขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อความโปร่งใสของญี่ปุ่น และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในประเทศเหล่านั้นและองค์กรระหว่างประเทศ

3. คณะทำงานด้านเทคนิคจะเป็นการดำเนินการร่วมกันภายใต้กรอบพหุภาคี ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีน เกาหลีใต้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากประเทศที่สามและ IAEA เป็นผู้ประสานงาน เพื่อดำเนินการประเมินความปลอดภัยอย่างเป็นธรรมในการปฏิบัติการดังกล่าว และเพื่อให้มั่นใจว่า การดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสากล ซึ่งการดำเนินการตามข้อเสนอข้างต้นจำเป็นต้องได้รับงบประมาณสนับสนุนการร่วมภารกิจจากรัฐบาลของประเทศสมาชิกและจาก IAEA

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นในตอนนี้ยังเป็นที่จับตาว่าจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร และอาจต้องใช้สิ่งที่มากกว่าผลทางวิทยาศาสตร์ในสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องได้รับผลกระทบ


https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/103644

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 28-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


กลไกระดับนโยบายเดิมๆ ไล่ไม่ทันวิกฤตโลกร้อน-ทะเลเดือด ................ โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์


ปะการังที่ฟอกขาวซ้ำซ้อนจนตายเกือบหมดเมื่อ 3 เดือนก่อน

ใกล้มีรัฐบาลใหม่แล้ว จึงถือโอกาสนำประเด็นเร่งด่วน "โลกร้อน/ทะเลเดือด" มาเล่าให้เพื่อนธรณ์ฟัง เผื่อจะมีประโยชน์ต่อการทำงานครับ

เอลนีโญกำลังเร่งความแรง เริ่มเห็นอุณหภูมิน้ำสูงผิดปรกติ และจะแรงขึ้นอีก การทำงานนับแต่นี้ต่อไปอีก 6-12 เดือนจึงสำคัญมาก

กรมโลกร้อน เพิ่งตั้งใหม่ คงต้องเร่งมือเป็นหน่วยประสานงานเพื่อระดมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และอัปเดตต่อเนื่อง

กรมทะเล กรมอุทยาน คงต้องติดตามอุณหภูมิน้ำทะเลพื้นที่ต่างๆ และสำรวจตรวจเช็คระบบนิเวศ โดยเฉพาะปะการัง/หญ้าทะเล ยังรวมถึงปรากฏการณ์ผิดปรกติ เช่น น้ำเปลี่ยนสี (น้ำเขียว)

อีกเรื่องที่ควรทำควบคู่กันคือติดตามและประเมินการทำมาหากินของพี่น้องประชาชนที่เกี่ยวข้องกับทะเล วิเคราะห์ประเมินผลกระทบ

ทั้งหมดนั้นคือกรอบทำงานคร่าวๆ จุดอ่อนของเราคือ เก็บข้อมูลแต่ไม่ค่อยได้วิเคราะห์

เรามีข้อมูลเป็นจุดๆ แต่มองภาพรวมไม่ออก หรืออัปเดทไม่ทัน สื่อสารกับผู้คนลำบาก/ไม่เข้าใจ

ในอดีตเราเคยเจอปัญหาแบบนี้ เช่น ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ หนนั้นเราใช้กลไกการทำงานแบบคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกิจ พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์

การประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดตั้งคณะเฉพาะกิจเพื่อเป็นที่ปรึกษากระทรวง/กรมต่างๆ ในเรื่องโลกร้อน/เอลนีโญ/ทะเล จะทำให้เราวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ในภาพรวมและเสนอแนวทางที่ทันต่อเหตุการณ์

นั่นเป็นข้อเสนอของผมที่คิดว่าทำได้ง่ายและเร็วที่สุด

เพราะกลไกเดิมที่มีเป็นระดับนโยบาย ใช้เพื่อออกกฏหมาย/ระเบียบ/ประกาศพื้นที่ ฯลฯ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์เร่งด่วนที่กำลังเกิดขึ้น

นอกจากแก้ไขเยียวยาหนนี้ เรายังจำเป็นต้องเรียนรู้ผลกระทบจากเอลนีโญ+โลกร้อนให้มากที่สุด

เพราะหนหน้าจะแรงกว่านี้ โลกยังไม่มีวี่แววว่าจะหยุดร้อน (เอลนีโญเกิดทุก 5-7 ปี)

ยังรวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อนำไปใช้ระดับนโยบาย นำไปพูดคุยในการประชุมระหว่างประเทศ COP ฯลฯ เพราะเทรนด์ตอนนี้กำลังคุยเรื่อง loss & damage ตามแนวทางของ UN

การไปพูดเพียงว่าไทยจะช่วยลดโลกร้อน เรากำลังใช้แนวทางโลว์คาร์บอน อาจไม่เพียงพอสำหรับสถานการณ์ตอนนี้

เรื่องผลกระทบ L&D ต้องการข้อมูลเยอะ วิเคราะห์เยอะ การระดมผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จะทำให้เรามีฐานข้อมูลที่ดี นำไปคุยกับประเทศอื่นๆ ได้ ต่อรองได้

ผมพูดเรื่องทะเลอย่างเดียว แต่ยังมีระบบนิเวศป่า/ไฟป่า/ฝุ่นควัน ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเอลนีโญ+โลกร้อนในครั้งนี้ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ/การทำมาหากิน

เศรษฐกิจจะกระตุ้นแค่ไหน หากธรรมชาติไม่เป็นใจ หากน้ำเขียวทุกสัปดาห์ ไฟป่าดินถล่มเกิดได้ตลอด มันก็ใช้ชีวิตลำบาก
เหตุการณ์ในต่างประเทศคงพอบอกเราได้ ตอนนี้เราอาศัยคำว่าโชคดีเท่านั้น และไม่เชื่อว่าโชคดีจะอยู่ได้ตลอดไป

แต่การลุกขึ้นมาเรียนรู้ รับมือ และปรับตัว จะอยู่ได้ตลอดไป

ฝากความหวังไว้กับท่านรัฐมนตรีที่เป็นใครหนอ ? ไม่ว่าเป็นท่านใด จุดพลิกผันธรรมชาติสิ่งแวดล้อมไทย อยู่ในจังหวะนี้ครับ


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9660000077107
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 28-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


เรือตรวจการณ์ไล่ล่าจับกุมเรือเวียดนามแอบลักลอบทำประมงในน่านน้ำไทย

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต. 114 ของทัพเรือภาค2 ออกไล่ล่าติดตามจับกุมเรือประมงเวียดนาม ที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทย 1 ลำพร้อมลูกเรือ 5 คน ขณะรวมกลุ่มกันลักลอบเข้ามาทำการประมง15ลำ และแยกย้ายกันหลบหนีไปคนละทาง



27 ส.ค. 2566 ? เมื่อวานนี้ (26ส.ค.66) ทัพเรือภาคที่ 2 และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค2หรือ ศรชล.ภาค 2 โดยพลเรือโท จรัสเกียรติ ไชยพันธุ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 / ผู้อำนวยการศรชล.ภาค 2
ส่งเรือตรวจการใกล้ฝั่ง ต.114 ออกไล่ล่าจับกุมเรือประมงเวียดนามที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทย ในระยะ 51 ไมล์ จากปากร่องน้ำสงขลา

โดยขณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพบกลุ่มเรือประมงเวียดนาม รุกล้ำเข้ามาทำการประมงบริเวณทางตอนใต้ของเกาะกระ ประมาณ 15 ลำ

เมื่อเรือทั้งหมดเห็นเรือของเจ้าหน้าที่ทหารเรือก็พยายามขับเรือหลบหนี หนีไปคนละทิศคนละทางเพื่อกลับเข้าน่านน้ำของเวียดนาม

แต่เรือต.114 ก็สามารถไล่ล่าติดตามจับกุมได้ 1 ลำ เป็นเรือประมงคราดปลิงทะเล มีผู้ควบคุมพร้อมลูกเรือ รวมจำนวน 5 คน และควบคุมเรือและลูกเรือกลับเข้าฝั่ง เพื่อที่ ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 เมื่อเวลา 21.00 น.ที่ผ่านมา โดยมี พลเรือตรี พิจิตต ศรีรุ่งเรือง รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 เดินทางไปติดตามการจับกุม

และหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสอบสวนได้นำลูกเรือทั้ง 5 คน ส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองสงขลา ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

สำหรับการจับกุมเรือประมงเวียดนามในพื้นที่รับผิดชอบของ ทัพเรือภาคที่ 2 ในปีงบประมาณ 2566 สามารถจับกุมครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3


https://www.thaipost.net/criminality-news/437932/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:32


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger