#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคเหนือ และภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 มิ.ย. ? 1 ก.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับในช่วงวันที่ 26 มิ.ย. ? 1 ก.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยห่างฝั่ง ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 26 ? 27 มิ.ย. 66 ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
"แม่เต่ากระ" ขึ้นวางไข่รังที่ 9 จำนวน 179 ฟอง บริเวณอ่าวมุก "เกาะทะลุ" ข่าวดี "แม่เต่ากระ" ขึ้นวางไข่รังที่ 9 ของปีนี้ จำนวน 179 ฟอง บริเวณอ่าวมุก "เกาะทะลุ" ด้านเจ้าหน้าที่ทำการเคลื่อนย้ายรังไปยังบ่ออนุบาล เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางธรรมชาติ เฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม-Ao Siam National Park โพสต์ข้อความโดยระบุว่า วันที่ 25 มิ.ย. 2566 เวลา 08.00 น. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม ร่วมกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม เดินลาดตระเวนบนพื้นที่เกาะทะลุ อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ทราบแม่เต่ากระ ขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวมุกของเกาะทะลุ จำนวน 1 รัง เป็นรังที่ 9 ของปี พ.ศ. 2566 ซึ่งอยู่นอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ห่างจากน้ำทะเล 14 เมตร 2. ขนาดของหลุมกว้าง 19 เซนติเมตร ลึก 36 เซนติเมตร 3. จำนวนไข่ที่พบทั้งหมด 179 ฟอง เจ้าหน้าที่จึงทำการเคลื่อนย้ายรังไปยังบ่ออนุบาลของมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางธรรมชาติ โดยมีมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยามเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้ จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง. https://www.thairath.co.th/news/local/2704600
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
น้ำทะเลเป็นสีน้ำตาล ส่งกลิ่นเหม็น เตือน นทท.งดเล่นน้ำ ชาวบ้านร้องน้ำทะเลเป็นสีน้ำตาล ส่งกลิ่นเหม็น ทำให้เกิดอาการแสบตาแสบจมูก แจ้งเตือน นักท่องเที่ยวงดเล่นน้ำ ไร้หน่วยงานเข้าตรวจสอบติดหยุดราชการ 25 มิ.ย.66 นางสาวเตือนจิตร์ ทรัพย์นา ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลนาจอมเทียน หมู่ 8 อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา ช่วงเวลา 15.00 น. ตัวเองได้รับแจ้งจากชาวบ้าน ว่า น้ำทะเลบริเวณชายหาด ภายในซอย นาจอมเทียน 52 ระยะ 1 กิโลเมตร พบว่าน้ำทะเลมีสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็นมาก โดยลักษณะของน้ำทะเลจะเป็นฟองด้วย นอกจากนั้นปลาบริเวณชายฝั่งตายเป็นจำนวนมากด้วย ซึ่งไม่ทราบเกิดจากสาเหตุใด และชาวบ้านบางรายมีการแสบตา แสบจมูก จากการตรวจสอบในเบื้องต้นเส้นทางการไหลของลำคลองน้ำที่ไหลลงมาปกติ ดังนั้นเป็นการเกิดขึ้นจากในทะเลอย่างแน่นอน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ริมทะเล เพราะหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อย ๆ พวกเราคงจะใช้ชีวิตกันลำบาก เบื้องต้นผู้ประกอบการโรงแรมที่อยู่ในรัศมีที่น้ำทะเลเป็นสีน้ำตาลและส่งกลิ่มเหม็นได้แจ้งให้ลูกค้าและนักท่องเที่ยวงดเล่นน้ำทะเลและผักผ่อนบริเวณชายหาด เพื่อรอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังได้แจ้งให้กลุ่มเรือประมงขนาดเล็กงดประกอบกิจการชั่วคราว อย่างไรก็ตามอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งลงพื้นที่ตรวจสอบโดยมีบุคลบอกว่าต้องรอเพราะติดเสาร์อาทิตย์. https://www.naewna.com/likesara/739633
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
ทำความรู้จัก 'หญ้าทะเล' พืชเก่าแก่ ฮีโร่ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล 'หญ้าทะเล' เป็นพืชที่มีความสำคัญกับระบบนิเวศทางทะเล ทั้งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเล อย่าง เต่าทะเลหรือพะยูน และยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ อีกทั้งช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำที่พัดเข้าฝั่งและช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำและป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รู้ไหมว่า หญ้าทะเล เป็นพืชที่วิวัฒนาการจากการเป็นพืชบกลงไปอยู่ในทะเลอย่างสมบูรณ์ หญ้าทะเลจมน้ำเกือบตลอดเวลา จะโผล่พ้นน้ำในเวลาที่น้ำลงเท่านั้น และขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำทะเลในบริเวณนั้นๆ หญ้าทะเลจะชอบอยู่ในบริเวณที่ที่มีแสงแดดส่องถึงเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง คลื่นลมค่อนข้างสงบ ความเค็มของน้ำค่อนข้างคงที่ และความลึกของน้ำไม่เกิน 30 เมตร หญ้าทะเลมีลักษณะโครงสร้างภายนอกคล้ายคลึงกับหญ้าที่เจริญอยู่บนบกซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. ราก เป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหารและแร่ราตุจากในดิน ทั้งยังช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดินทำให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง 2. เหง้า เป็นส่วนของลำต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้นผิวดิน 3. ใบ เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร มีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของหญ้าทะเล มีทั้งชนิดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นแบนและชนิดที่เป็นท่อกลม ใบของหญ้าทะเลถูกนำมาใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิดของหญ้าทะเล ในประเทศไทยมีหญ้าทั้งหมด 13 ชนิด ประกอบด้วย กลุ่มที่มีใบแบน หรือ ใบกลมยาว ได้แก่ หญ้าคาทะเล, หญ้าต้นหอมทะเล, หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้ากุยช่ายเข็ม, หญ้าตะกานน้ำเค็ม, หญ้าชะเงาใบมน, หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย และหญ้าชะเงาเต่า และกลุ่มที่มีใบแบนสั้นรูปรี ได้แก่ หญ้าเงา หรือหญ้าใบมะกรูด หรือหญ้าอำพัน, หญ้าเงาใบเล็ก, หญ้าเงาใบใหญ่, หญ้าเงาใส และหญ้าเงาแคระ อุปสรรคสำคัญในการเติบโตของหญ้าทะเลคือ ตะกอน ซึ่งเกิดจากฤดูกาลและกิจกรรมตามชายฝั่งของมนุษย์ ปัจจุบันหญ้าทะเลถูกให้ความสนใจและช่วยกันดูแลมากขึ้น ซึ่งการที่เราจะฟื้นฟูหญ้าทะเลในพื้นที่นั้นๆ ให้มีการเจริญเติบโตได้ดี ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยต่อไปนี้ -สถานที่ในการฟื้นฟูหญ้าทะเล ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นอ่าวหลบลม เพราะเมื่อหญ้าลงดินจะฟื้นตัวได้ และจะค่อยๆ แผ่ขยายตัวออกไปเอง เช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ หากไม่ยึดดินบวกกับคลื่นลมแรง หญ้าก็จะหลุดลอยไปได้ เพราะฉะนั้นการเลือกพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญในการปลูกหญ้าทะเล -ชนิดของหญ้าทะเลกับพื้นที่ที่ปลูก เราควรดูว่าหญ้าทะเลเดิมในพื้นที่นั้นเป็นหญ้าชนิดไหนที่สามารถเติบโตได้ อย่างเช่น โซนจังหวัดระยองเป็นหญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าทะเลอีกชนิดที่น่าสนใจในการปลูกคือ หญ้าคาทะเล ซึ่งมีลักษณะใบใหญ่ปลูกง่าย และค่อนข้างมีอัตรารอดที่ ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเลนนิดหน่อย อย่าง อ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี และที่อ่าวธรรมชาติ จ.ตราด ขอขอบคุณที่มา : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตะวันออก https://www.nationtv.tv/gogreen/378920756
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|