#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตรา ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 22 - 26 พ.ค. 67 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา และมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดการเดินเรือ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีฝนตกหลายพื้นที่ และการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 ? 19 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 22 - 23 พ.ค. 67 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 18 ? 19 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ส่วนช่วงวันที่ 20 ? 23 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 1 (93/2567) ในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 22 - 26 พ.ค. 67 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา และมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 21 - 26 พ.ค. 67 โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดการเดินเรือ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากทางกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ไขปริศนาสื่อสารของวาฬสเปิร์มที่น่าทึ่ง วาฬหลายสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรโลก มีการใช้เสียงในแบบต่างๆ เพื่อสื่อสารอย่างวาฬสเปิร์มหรือวาฬหัวทุย เป็นพวกวาฬมีฟัน ขนาดตัวใหญ่โตและยาวได้ถึง 18 เมตร มันมีสมองใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ทุกชนิด ดำน้ำได้ลึก กินปลาหมึกยักษ์และเหยื่ออื่นๆ และสื่อสารด้วยเสียงคลิกดังๆ ที่เรียกว่าโคดา (coda) ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญสาขาหุ่นยนต์และแมชีน เลิร์นนิง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ (เอ็มไอที) ในสหรัฐอเมริกา เผยการวิเคราะห์ใหม่เกี่ยวกับการเปล่งเสียงของวาฬสเปิร์มในทางตะวันออกของทะเลแคริบเบียน โดยระบุว่า วาฬสเปิร์มเป็นสัตว์สังคม มีระบบการสื่อสารที่ซับซ้อน โครงสร้างการสื่อสารประกอบด้วยโฟเนติก อัลฟาเบต (phonetic alphabet) หรือ ?สัทอักษร? เป็นระบบตัวอักษรที่จะช่วยให้รู้วิธีการออกเสียงของเสียงต่างๆ หลังจากทีมใช้การวิเคราะห์ทางสถิติแบบดั้งเดิมและปัญญาประดิษฐ์ ในการตรวจสอบเสียงร้องของวาฬประมาณ 60 ตัว บันทึกไว้โดยโครงการวาฬสเปิร์มโดมินิกา (Dominica Sperm Whale Project) เป็นโครงการวิจัยในเครือของมหาวิทยาลัยคาร์ลตันในแคนาดา ที่ได้รวบรวมชุดข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับวาฬสายพันธุ์นี้ นักวิจัยคิดว่า มีแนวโน้มว่าพวกวาฬจะใช้รหัสโคดาเพื่อประสานงานกันเป็นครอบครัว จัดการดูแลวาฬเด็ก หาอาหาร ป้องกันตัว และยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงของจำนวน และจังหวะของเปล่งเสียงคลิก ทำให้เกิดโคดาประเภทต่างๆ ซึ่งวาฬยังได้เปลี่ยนระยะเวลาของโคดา และบางครั้งก็เพิ่มการคลิกเพิ่มในช่วงท้ายแบบเดียวกับพวกคำต่อท้ายในภาษามนุษย์. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2786156
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
น่าห่วง! มหาสมุทรร้อน ทำปะการังฟอกขาวขยายตัวรวดเร็วทั่วโลก องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (โนอา) เตือนว่า ปะการังฟอกขาวกำลังขยายตัวไปในแนวปะการังอื่น ทั่วโลก เนื่องจากอุณหภูมิของมหาสมุทรสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เครดิตภาพ : AFP สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ว่า นักวิทยาศาสตร์จากโนอา เตือนเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ ที่ทางการสหรัฐเตือนเมื่อปีที่แล้ว กำลังขยายตัว และแพร่หลายลึกลงไปในแนวปะการังทั่วโลก โนอาระบุว่า อุณหภูมิของมหาสมุทรซึ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้มีการรายงานการเกิดปะการังฟอกขาวแล้วใน 62 ประเทศ ตั้งแต่เมื่อเดือน ก.พ. 2566 เป็นต้นมา และเพิ่มขึ้นถึง 9 แห่ง ตั้งแต่มีการแจ้งเตือนไปเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา "จำนวนและผลกระทบของปะการังฟอกขาวรุนแรงมากขึ้น" ดร.เดเร็ก แมนเซลโล ผู้ประสานงานโครงการคอรัลรีฟวอทช์ ของโนอา ระบุ "มันจะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ" หลังจากที่โนอาออกคำเตือนเมื่อวันที่ 15 เม.ย. มีปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นเพิ่มในอินเดีย, ศรีลังกา และหมู่เกาะชากอส ดินแดนในมหาสมุทรอินเดีย ผลกระทบจากการฟอกขาวของปะการังนั้นกว้างขวาง และไม่จำกัดเพียงแค่ผลกระทบต่อมหาสมุทร แต่ยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์, ความมั่นคงทางอาหาร และเศรษฐกิจในท้องถิ่นด้วย นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ ถือเป็นครั้งที่ 4 ของโลก ขณะที่อีก 3 ครั้งเกิดขึ้นระหว่างปี 2541 ถึงปี 2560 โนอาระบุเพิ่มเติมว่า ร้อยละ 60.5 ของแนวปะการังทั่วโลก กำลังเผชิญกับความร้อนระดับสารฟอกขาว ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และผลจากปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2557 ถึงปี 2560 ยังคงสถิติส่งผลกระทบสะสมอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน ดร.แมนเซลโล เตือนว่าปะการังฟอกขาวอาจเกิดขึ้นอีกในแนวปะการังทั่วเอเชีย, นอกเม็กซิโก, เบลีซ, แคริบเบียน และฟลอริดา เนื่องจากมหาสมุทรยังมีอุณหภูมิที่ร้อนต่อไปในช่วงฤดูร้อนนี้ มากไปกว่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อ ?เกรทแบร์ริเออร์รีฟ? แนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย และปะการังในประเทศไทย นางคาริน กลีสัน หัวหน้าแผนกติดตามผลประจำศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จากโนอา กล่าวว่า มีโอกาสถึงร้อยละ 61 ที่ปี 2567 จะสิ้นสุดลงในฐานะปีที่ร้อนที่สุดในประวัติการณ์ และมีโอกาสร้อยละ 100 ในการเป็น 1 ใน 5 ปีที่ร้อนที่สุด หลังเมื่อเดือน เม.ย. มหาสมุทรของโลกมีอุณหภูมิร้อนสุดเท่าที่เคยมีมา และทำลายสถิติในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมา "การสะสมความเครียดจากความร้อนเกิดขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และรุนแรงที่สุดในมหาสมุทรแอตแลนติก" ดร.แมนเซลโล ระบุเพิ่มเติม โดยการทำความเข้าใจ กับผลกระทบของการฟอกขาวในปะการังอาจต้องใช้เวลา อาทิ ในทะเลแคริบเบียน ปะการังสามารถอยู่รอดจากความร้อนได้ทันที "แต่พวกมันจะตายภายหลังจากการระบาดของโรค หรือการรวมตัวของนักล่าปะการัง" ปี 2566 ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติการณ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และรูปแบบสภาพอากาศเอลนีโญที่ผสมผสานกัน อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ ลานีญาที่จะช่วยให้อุณหภูมิเย็นลง จะมีผลระหว่างตอนนี้ไปจนถึงฤดูใบไม้ร่วง "ความหวังของผมคือการเริ่มเห็นว่า เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่แนวปะการังที่ได้รับผลกระทบ เริ่มมีจำนวนลดลง" ดร.แมนเซลโล กล่าวทิ้งท้าย. https://www.dailynews.co.th/news/3443461/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation
ปะการังกว่า 60% ของทั้งโลกอาจเกิดฟอกขาวใน 1 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ เตือนว่า ปะการังมากกว่า 60% ของทั้งหมดทั่วโลกอาจเผชิญกับปรากฏการณ์ฟอกขาวในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางอุณหภูมิในมหาสมุทรอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ โนอา (NOAA) เปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคมว่า มีบันทึกการเกิดปะการังฟอกขาว ใน 62 ประเทศและดินแดนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เพิ่มขึ้น 9 แห่งจากรายงานเมื่อเดือนเมษายน โดยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีทั้งขนาดและผลกระทบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พื้นที่เกิดปะการังฟอกขาวแห่งใหม่ที่เพิ่มขึ้นหลังรายงานฉบับเมื่อวันที่ 15 เมษายน คือ อินเดีย ศรีลังกา และเกาะชากอสในมหาสมุทรอินเดีย นอกจากนี้รายงานฉบับใหม่ ระบุด้วยว่า ปะการังราว 60.5% ของทั้งหมดทั่วโลก เผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดในระดับที่สามารถส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โนอา ระบุว่า ปะการังในมหาสมุทรแอตแลนติกได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในมหาสมุทร โดยปะการังมากถึง 99.7% ในมหาสมุทรแห่งนี้เผชิญสภาพความร้อนในระดับที่เกิดฟอกขาวได้ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา และคาดว่า จะเกิดการฟอกขาวของปะการังเพิ่มขึ้นอีกทั่วเอเชีย นอกชายฝั่งเม็กซิโก เบลิซ ทะเลแคริบเบียน และรัฐฟลอดาของสหรัฐฯ ปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งปรากฏการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่ครั้งที่ 4 โดยมีปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญ และคาดว่า จำนวนปะการังฟอกขาวจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่า จะสร้างความเสียหายมากกว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2541, 2553 และช่วงปี 2557-2560 ในเดือนที่แล้วมหาสมุทรทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงที่สุดของเดือนเมษายนเท่าที่เคยบันทึกสถิติไว้ และเป็นการทำลายสถิติทุกเดือนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 โนอา ประเมินด้วยว่า ในปี 2567 มีโอกาสมากถึง 61% ที่จะกลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดของโลก และมีโอกาส 100% จะติด 5 อันดับปีที่ร้อนที่สุด https://www.nationtv.tv/foreign/378944041
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|