#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 26 เมษายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น เว้นแต่ภาคเหนือการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 25 - 26 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 27 ? 28 เม.ย. และ 1 พ.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 ? 30 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมทะเลจีนใต้ ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพ และระวังโรคลมแดดเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 25 ? 26 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองสำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย และขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ****************************************************************************************************** พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 9 (119/2566) (มีผลกระทบถึงวันที่ 26 เมษายน 2566) ในวันที่ 26 เมษายน 2566 ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจาก พายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น จังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 26 เมษายน 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ ขอนแก่น มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
อุตุนิยมวิทยาโลกเตือน ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มเร็วขึ้นกว่า 2 เท่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ดับเบิลยูเอ็มโอ) ทบวงการชำนัญพิเศษด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ ระบุว่า ระดับน้ำทะเลทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นด้วยความเร็วมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับการวัดในช่วงปี 2536-2545 และสร้างสถิติใหม่เมื่อปีที่แล้ว พร้อมกับเตือนว่า แนวโน้มดังกล่าวจะคงอยู่ต่อไปอีกนับพันปี เครดิตภาพ : REUTERS สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 25 เม.ย. ว่า ดับเบิลยูเอ็มโอ ระบุในรายงานสำคัญเกี่ยวกับความเสียหายของการเปลี่ยนแปลงสภาพาอากาศ ว่า ธารน้ำแข็งซึ่งละลายอย่างรวดเร็ว และระดับความร้อนในมหาสมุทรที่สูงเป็นประวัติการณ์ มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 4.62 มิลลิเมตรต่อปี ระหว่างปี 2556-2565 ซึ่งตัวเลขข้างต้นเพิ่มเร็วกว่าระดับที่บันทึกไว้ในช่วงปี 2536-2545 ประมาณ 2 เท่า "พวกเราแพ้เกมการละลายของธารน้ำแข็ง และเกมการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล นั่นหมายความว่ามันเป็นข่าวร้าย" นายเพตเตอรี ทาลาส เลขาธิการดับเบิลยูเอ็มโอ กล่าวเพิ่มเติมในการแถลงข่าวว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากในปัจจุบัน จะทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีก "หลายพันปี" นอกจากนี้ รายงานประจำปีฉบับดังกล่าวเผยให้เห็นว่า น้ำแข็งทะเลในทวีปแอนตาร์กติกา ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อเดือน มิ.ย. และเดือน ก.ค. ปีที่แล้ว อีกทั้งมหาสมุทรยังร้อนสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน โดยพื้นผิวมหาสมุทรราว 58% ประสบกับคลื่นความร้อนทางทะเล ทาลาส ระบุเสริมว่า รูปแบบสภาพอากาศที่รุนแรงเช่นนี้ จะมีอยู่ต่อไปในช่วงทศวรรษที่ 2060 ไม่ว่าจะมีการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยมลพิษด้วยวิธีไหนก็ตาม กระนั้น เขากล่าวว่ามันยังมีโอกาสในการพลิกฟื้นสถานการณ์ให้กลับมาดีขึ้นในภายหลัง "ข่าวดีคือ เราจะสามารถค่อยๆ ลดแนวโน้มด้านลบนี้ และบรรลุการจำกัดอุณหภูมิของโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม" ทาลาส กล่าวถึงแผนสภาพอากาศที่มีความทะเยอทะยานมากขึ้น จากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 แห่ง หรือ จี7 ซึ่งจะช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมายอุณหภูมิ ตามข้อตกลงปารีส ฉบับปี 2558. https://www.dailynews.co.th/news/2257293/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
แพลงก์ตอนติดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ พบกระจายอยู่เต็มมหาสมุทรทั่วโลก โคพีพอด (Copepod) คือแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดมีเปลือกแข็ง พบได้ทั้งในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็มทั่วโลก ..... ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติค้นพบเชื้อไวรัสชนิดใหม่จำพวกหนึ่งที่มนุษย์ไม่เคยพบเห็นมาก่อน โดยปัจจุบันมีรายงานการติดเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ในแพลงก์ตอนจำนวนมากตามมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำทะเลระดับตื้นที่มีแสงแดดส่องถึง ไวรัสกลุ่มที่เพิ่งถูกค้นพบดังกล่าว ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "ไมรัสไวรัส" (Mirusviruses) ซึ่งมาจากคำศัพท์ภาษาละตินที่แปลว่า "แปลกประหลาด" สาเหตุที่ทำให้มันถูกขนานนามเช่นนั้น เป็นเพราะผลการตรวจสอบดีเอ็นเอพบว่า มันเป็นลูกผสมระหว่างเชื้อไวรัสสองตระกูลที่มีพันธุกรรมห่างไกลกันมากแบบสุดขั้ว ผลตรวจดีเอ็นเอจากเปลือกหุ้มสารพันธุกรรมของไมรัสไวรัสพบว่า มันเป็นญาติกับเชื้อไวรัสจำพวก Duplodnaviria ที่ก่อโรคเริมในคนและสัตว์ แต่ผลการตรวจดีเอ็นเอจากยีนที่พบในส่วนอื่น ๆ กลับชี้ว่า มันเป็นญาติของไวรัสยักษ์ตระกูลหนึ่งที่เรียกว่า Varidnaviria ดร. ทอม เดลมอนต์ หนึ่งในสมาชิกของทีมผู้ค้นพบไวรัสชนิดใหม่ จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (CNRS) บอกว่าไมรัสไวรัสนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตแบบไคเมรา (chimera) หมายถึงมีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดมาผสมปนเปกันอยู่ในร่างเดียว รายงานการค้นพบนี้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 19 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยระบุว่าทีมนักวิทยาศาสตร์สามารถค้นพบไมรัสไวรัสได้ หลังตรวจสอบน้ำทะเลที่เก็บมาจากมหาสมุทรทั่วโลก 35,000 ตัวอย่าง ทำให้พบข้อมูลพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วในทะเลหลากหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุกรรมแปลกประหลาดของไมรัสไวรัส ที่มีดีเอ็นเอแบบสองสายเหมือนกับสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการที่แพลงก์ตอนติดเชื้อไมรัสไวรัสนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอย่างคาดไม่ถึง เนื่องจากไวรัสประหลาดนี้ทำหน้าที่ควบคุมจำนวนประชากร โดยคอยทำลายเซลล์แพลงก์ตอนที่มีเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้ในแต่ละวันมีการปลดปล่อยและหมุนเวียนคาร์บอน รวมทั้งแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมหาสมุทร เพื่อหล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต่อไป ดร. เดลมอนต์ยังบอกว่า การค้นพบนี้ช่วยชี้ถึงที่มาของไวรัสโรคเริมในทางวิวัฒนาการ โดยการที่พบว่ามันเป็นญาติกับไวรัสที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton) ติดเชื้อได้ อาจให้คำอธิบายต่อเรื่องที่สงสัยกันมานานว่า เหตุใดเชื้อโรคเริมจึงติดต่อเฉพาะในคนและสัตว์เท่านั้น https://www.bbc.com/thai/articles/c2j1kyp5dmeo
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|