#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยยังคงมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อน "แลง" (LAN) ปกคลุมบริเวณตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวโปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 - 18 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ร่องมรสุมกำลังอ่อนยังคงพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 ? 21 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สัตว์เลื้อยคลานทางทะเลจากยุคแรกที่กรองอาหารกิน ปัจจุบันมีหลักฐานเป็นซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลเพียงเล็กน้อยที่บ่งชี้ว่า สัตว์เลื้อยคลานทางทะเลโบราณจากมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) เมื่อราว 252-66 ล้านปีก่อน มีอวัยวะสำหรับกรองอาหารขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในน้ำ เช่น พวกแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ จนกระทั่งนักบรรพชีวินวิทยาแห่งศูนย์สำรวจทางธรณีวิทยาอู่ฮันของจีน เผยผลศึกษาซากฟอสซิลสัตว์ชนิดหนึ่งที่ขุดพบในมณฑลหูเป่ย ของจีน บ่งบอกว่ามันมีการกรองอาหารขนาดเล็กที่ ลอยอยู่ในน้ำแบบที่วาฬสีน้ำเงินและวาฬบาลีนทำ ซึ่งวาฬพวกนี้มีแผ่นบาลีนที่ประกอบด้วยเคราตินอยู่ในปากของพวกมัน ใช้กรองอาหาร เช่น ตัวเคยที่มีลักษณะคล้ายกุ้งออกจากน้ำทะเล ซากฟอสซิลนี้เป็นสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลชื่อ Hupehsuchus nanchangensis อาศัยอยู่เมื่อ 248 ล้านปีก่อน ในยุคไทรแอสสิก มีความแตกต่างจากวาฬสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน โดย Hupehsuchus nanchangensis มีขนาดยาวราว 1 เมตร จมูกยาวและแคบ ไม่มีฟันในปาก แขนขาทั้งด้านหน้าและด้านหลังใช้พายน้ำบังคับทิศทางได้ มีหางกว้างที่พลิกจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเพื่อขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ที่น่าสนใจคือ จมูกประกอบด้วยกระดูกที่ยาว มีกรามล่างที่แคบหลวม เชื่อมต่อกับส่วนที่เหลือของกะโหลกศีรษะเพื่อให้อ้าปากได้กว้าง เอาไว้กลืนกินเหยื่อขนาดเล็กอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ในปริมาณมากๆ นักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า Hupehsuchus nanchangensis มีร่องและรอยบากตามขอบขากรรไกร แสดงให้เห็นว่ามีเนื้อเยื่ออ่อนที่อาจทำหน้าที่คล้ายบาลีน และ Hupehsuchus nanchangensis อาจเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ใช้การกรองกิน รวมถึงเป็นสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลยุคบุกเบิกที่กรองกินอาหาร. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2717226
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
เอาจริง! ดีเดย์ บังคับใช้มาตรการรื้อเครื่องมือ ประมงผิดกฎหมาย กระบี่ - จ.กระบี่ เอาจริง! ดีเดย์บังคับใช้มาตรการรื้อถอน ทำลายเครื่องมือทำการประมงพื้นบ้านที่ผิดกฎหมาย ในพื้นที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ พบมีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นตัวทำลายสัตว์ทะเล วันนี้ ( 15 ส.ค.66) ที่ท่าเทียบเรือบ้านบ้านทุ่งครก หมู่ที่ 11 ต.คลองพน อ.คลองท่อม จ.กระบี่ นายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธาน ปล่อยแถวกำลังเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จาก 9 หน่วยงาน จำนวน 60 นาย พร้อมเรือตรวจการ จำนวน 10 ลำ ออกบังคับใช้มาตรการเข้มข้นในการป้องกันและปราบปรามการทำการประมงผิดกฎหมายท่ามกลางกระแสคลื่นและลมแรง ทั่วทั้งจังหวัดรวม 290 ลูก แยกเป็นพื้นที่อำเภอคลองท่อม 200 ลูก อำเภอเมืองกระบี่ 30 ลูก และอำเภออ่าวลึก จำนวน 60 ลูก นายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า บริเวณแนวชายฝั่ง ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ มีระบบนิเวศตามธรรมชาติ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ และ เป็นแหล่งอาศัยแพร่ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำที่สำคัญ แต่มีชาวประมงได้พัฒนาและดัดแปลงเครื่องมือ ให้มีประสิทธิภาพ ในการจับสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเครื่องมือบางชนิดเป็นอันตรายต่อพะยูน และ เต่าทะเล มีเครื่องมือบางชนิดมีลักษณะยึดครองพื้นที่ทำการประมงในทะเล ทำให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือทำการประมงพื้นบ้านประเภทอื่น หากปล่อยให้มีการทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมงและวิธีการทำการประมงดังกล่าวต่อไป จะเกิดการทำลายระบบนิเวศของท้องทะเลและส่งผลกระทบต่อต่อทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างรุนแรง รวมทั้งเกิดความขัดแย้งของชาวประมงในพื้นที่ ด้านนายเจริญไชย ศรีสุวรรณ์ ประมงจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า การปล่อยแถว เปิดปฏิบัติการ การบูรณาการร่วมคณะทำงานรื้อถอนเครื่องมือประมงผิดกฎหมายในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ในครั้งนี้เป็นไปตามตามคำสั่งจังหวัดกระบี่ โดยก่อนหน้านี้ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่ามีการทำประมงด้วยเครื่องมือผิดกฎหมาย (โป๊ะ) เพิ่มมากขึ้น ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านได้รับความเดือดร้อน มีพื้นที่การทำประมงน้อยลง ประกอบกับมีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน พื้นที่ทะเลอันดามัน ทำให้สัตว์น้ำเศรษฐกิจ วัยอ่อน (ลูกปลาทู) เข้ามาติดในเครื่องมือโป๊ะ เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรสัตว์น้ำวัยอ่อน และเพื่อเป็นการคุ้มครองสัตว์น้ำวัยอ่อนให้เจริญเติบโต มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ จึงได้เปิดปฏิบัติการปล่อยแถวบูรณาการร่วมคณะทำงานรื้อถอนเครื่องมือประมงผิดกฎหมายในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ขึ้นในวันนี้ https://mgronline.com/south/detail/9660000073446 ****************************************************************************************************** ปิดอ่าวมาหยาช่วงมรสุม 2 เดือน เพื่อให้ทรัพยากรฟื้นตัว กระบี่ - อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ประกาศปิดอ่าวมาหยา และ อ่าวโละซามะ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2566 เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นตัว รวมทั้งความปลอดภัยในการท่องเที่ยว เนื่องจากเข้าสู่ฤดูมรสุม นางรักชนก แพน้อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ เผยว่า เนื่องจากช่วงเดือน ส.ค.ไปจนถึงเดือน ก.ย.ของทุกปี จะเป็นช่วงที่ลมมรสุมพัดเข้ามาปกคลุมพื้นที่ประเทศไทย ส่งผลให้ทะเลมีคลื่นแรง และมีลมพายุพัดเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการท่องเที่ยวทางทะเล โดยแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญของ จ.กระบี่ คือ "อ่าวมาหยา" บนเกาะพีพีเล จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวกันจำนวนมากในแต่ละวัน จากสภาวะคลื่นลมแรงทำให้เรือที่เข้ามาส่งนักท่องเที่ยวบริเวณด้านหลังอ่าวมาหยา คือ อ่าวโละซามะ ไม่สามารถเข้ามาเทียบท่า และเกรงจะเกิดอันตรายต่อนักท่องเที่ยวได้ ประกอบกับตลอดปีที่ผ่านมา อ่าวมาหยา ต้องเป็นพื้นที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้สภาพธรรมชาติบนอ่าวอาจได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว จึงมีความจำเป็นต้องให้เวลาธรรมชาติได้พักและฟื้นตัวเอง ทางอุทยานฯ จึงกำหนดให้มีการปิดอ่าวมาหยาเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ไปจนถึง 30 ก.ย.นี้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัวกลับมาสวยงามอีกครั้ง https://mgronline.com/south/detail/9660000073083
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก
แผนแก้แพลงก์ตอนบลูม "ทะเลสีเขียว" ถ้าไม่ทำ หายนะทางทะเลมาแน่ แพลงก์ตอนบลูม ทำให้ "ทะเลสีเขียว" เกิดขึ้นถี่ ไม่ใช่แค่สัญญาณเตือนโลกร้อน แต่เพราะน้ำมือมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล แนะวิธีรับมือระยะสั้น ก่อนนักท่องเที่ยวหาย ระบบนิเวศทางทะเลหายนะ ระยะหลังๆ "แพลงก์ตอนบลูม" หรือขี้ปลาวาฬ ทำให้น้ำ "ทะเลสีเขียว" เกิดถี่ขึ้น ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน เกิด "ทะเลสีเขียว" ถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกที่ศรีราชา เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2566 ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่เกาะล้าน และล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่หาดบางแสน ทั้ง 3 จุดอยู่ในพื้นที่ทะเล จ.ชลบุรี ที่มีอุตสาหกรรมล้อมรอบ คำถามคือ เกิดอะไรขึ้น ทำไม "ทะเลสีเขียว" เกิดขึ้นถี่ขนาดนี้ มันคือ สัญญาณเตือนอะไรหรือไม่? วันนี้ "คมชัดลึก" จะพาคล้ายข้อสงสัยนี้กับ "ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์" ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล "ดร.ธรณ์" อธิบายว่า "ทะเลสีเขียว" เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกิดได้ 2 สาเหตุ สาเหตุแรก คือพฤติกรรมมนุษย์บำบัดน้ำเสียไม่ได้ประสิทธิภาพก่อนปล่อยลงทะเล และอีกสาเหตุคือ "โลกร้อน" ซึ่งมีงานวิจัยค้นพบว่า ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น แพลงก์ตอนพืชเพิ่มขึ้นเร็วผิดปกติ แม้ "ทะเลสีเขียว" ไม่เป็นอันตรายหากมนุษย์สัมผัสโดน อาหารทะเลสามารถทานได้ปกติ แต่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ทั้งสัตว์ทะเลตาย การหากินของชาวประมงโดยเฉพาะกลุ่มพื้นบ้านและการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง รวมถึงการท่องเที่ยว ""ทะเลสีเขียว" ตอนนี้ไม่อันตราย เพราะยังตรวจไม่พบสารพิษ ไทยเรายังโชคดีที่หลังๆ มาตรวจไม่พบแพลงก์ตอนที่มีพิษ แต่เคยมีมาแล้วตอนน้ำมาก ถามว่า มีโอกาสเจอไหม มีแน่นอน แต่สิ่งที่กระทบแน่ๆ คือ ระบบนิเวศ เพราะแพลงก์ตอนเยอะ ทำให้อากาศในน้ำลดลง สัตว์หายใจไม่ได้ก็ตาย อาหารทะเลกินได้ปกติ ถ้ามีเหลือให้จับ" "ดร.ธรณ์" อธิบาย รายงานว่า "แพลงก์ตอนบลูม" ไม่ใช่แค่เรื่องน้ำทะเลเปลี่ยนสี บางชนิดสร้างสารชีวพิษ แพลงก์ตอนกลุ่มสร้างสารชีวพิษ โดย "กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" (ทส.) ให้ข้อมูลไว้ว่า ปัจจุบันมีรายงานชนิดของแพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุของน้ำเปลี่ยนสีกว่า 300 ชนิด เกือบ 1 ใน 4 สามารถสร้างสารชีวพิษได้ กลุ่มที่สร้างสารชีวพิษ สะสมในสัตว์ทะเลและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ หรือเป็นสาเหตุให้ปลาตาย สารชีวพิษที่พบว่าสร้างโดยแพลงก์ตอนพืช มี 5 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. พิษอัมพาต ออกฤทธิ์ต่อปลายประสาท ระบบกล้ามเนื้อ และระบบทางเดินหายใจ 2. พิษท้องร่วง มีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร 3. พิษที่ทำให้ความจำเสื่อม ออกฤทธิ์รบกวนการ-ส่งสัญญาณในสมอง อาจส่งผลให้สูญเสียความทรงจำ 4. พิษต่อระบบประสาทรับความรู้สึก ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท 5. พิษซิกัวเทอร่า ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทและระบบทางเดินอาหาร "ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล" บอกต่อว่า ความจริงเขาเคยเสนอแผนแก้ปัญหา "ทะเลสีเขียว" ระยะสั้นถึง รองนายกรัฐมนตรี "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ด้วยการติดตั้ง "สถานีวัดสมุทรศาสตร์" (สถานีวิเคราะห์ทะเล) เพิ่มอีก 2 จุด ที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา และแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี ให้เป็น 3 จุด สามเหลี่ยมเชื่อมหาสถานีเดิมที่ อ.ศรีราชา แต่ยังไม่มีท่าทีอนุมัติใดๆ "ในระยะยาวแก้โลกร้อนได้ แก้ที่พฤติกรรม ซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าจะไปบอกให้ผู้ประกอบการบำบัดน้ำเสียให้ได้ประสิทธิภาพ 100% ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะใช้เงินเยอะ แต่ถ้าหน่วยงานรัฐสนับสนุนอีก 10 ปีน้ำทิ้งอาจดีขึ้น อันนั้นว่ากันในระยะยาว แต่ระยะสั้นแก้ไม่ให้ "ทะเลสีเขียว" ใกล้เข้าฝั่งแบบนี้ "สถานีวัดสมุทรศาสตร์" ช่วยได้ เครื่องหนึ่งใช้งบราวๆ 100 ล้านบาท แต่ช่วยระบบนิเวศ การท่องเที่ยว ชาวประมงพื้นบ้าน ถ้าน้ำเขียวๆ แบบนี้ จีน เกาหลีก็หาย อนาคตแนวโน้ม "ทะเลสีเขียว" จะเพิ่มขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อยๆ" "ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล" กล่าวในที่สุด https://www.komchadluek.net/quality-...ronment/556075
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|