#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 8 กันยายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ย. 63 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาว เข้าสู่หย่อมควากดาอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ฮือฮา! ประมงนราฯ อวดภาพปลาทูน่าตัวโต ระบุอ่าวไทยตอนล่างยังสมบูรณ์ ชาวเน็ตฮือฮา เหตุกลุ่มชาวประมงจังหวัดนราธิวาส โพสต์อวดภาพการจับปลาทูน่าได้ และปลาในภาพมีขนาดใหญ่โต โดยเชื่อว่าทะเลอ่าวไทยตอนล่างนั้น ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก และวอนให้คนไทยให้ความสำคัญดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลด้วย เมื่อวันที่ 7 ก.ย. เฟซบุ๊ก "สุไลมาน ดาราโอะ" ได้เผยแพร่ภาพชาวน่าตื่นตาตื่นใจ ที่กลุ่มชาวประมงนราธิวาส ได้จับปลาทูน่า ได้มากมายจากทะเลอ่าวไทย และเชื่อว่าอ่าวไทยตอนล่างนั้นยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ โดยผู้โพสต์ระบุเนื้อหาว่า "ปลาทูน่า จากทะเลนราธิวาสความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวไทยตอนล่าง นราธิวาส" ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวมีชาวเน็ตให้ความสนใจ และแสดงความคิดเห็นสอบถามถึงชนิดของปลาทูน่าในภาพที่มีขนาดใหญ่โตมาก และเห็นด้วยกับความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวไทยตอนล่างโดยโพสต์มียอดกดไลก์กว่า 300 ครั้ง และแชร์ไปกว่า 50 ครั้งด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ปลาทูน่า จัดเป็นปลาทะเล มีจำนวนหลายชนิด นิยมนำมารับประทานสด ทำอาหารกระป๋อง และนำมาประกอบอาหาร แต่การจับโดยส่วนใหญ่จะส่งโรงงานแปรรูปเป็นอาหารกระป๋อง และปลาทูน่าที่จับได้ในประเทศไทยจะเป็นทูน่าขนาดเล็ก ได้แก่ ปลาโอแถบ และปลาโอดำ ส่วนปลาทูน่าขนาดใหญ่ต้องออกจับนอกน่านน้ำทะเลสากล หรือนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะปลาทูน่าครีบเหลือง และปลาทูน่าครีบยาวที่นิยมนำมาทำเป็นทูน่ากระป๋อง มีวิธีการจับเป็น 2 แบบ คือ การจับโดยอวน และการใช้เบ็ดราว https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000091696 ********************************************************************************************************************************************************* "กรมเจ้าท่า" ยอมย้ายจุดทิ้งวัสดุจากการขุดลอกร่องน้ำ หลังชาวบ้านโวยหญ้าทะเลแหล่งอาหารพะยูนตายเพียบ ตรัง - เจ้าหน้าที่หลายฝ่ายร่วมกับชาวประมงพื้นบ้านลงพื้นที่ตรวจสอบจุดทิ้งวัสดุจากโครงการขุดลอกร่องน้ำกันตังของกรมเจ้าท่า หลังชาวบ้านตั้งข้อสังเกตพบหญ้าทะเลในแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน-อาหารของพะยูนตายเป็นบริเวณกว้าง เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป วันนี้ (7 ก.ย.) เจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาน้ำ กลุ่มแผนงานพัฒนาทางน้ำ กรมเจ้าท่า ตัวแทนบริษัท แสงเจริญมารีนเซอร์วิส จำกัด ผู้รับเหมาขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำกันตัง และตัวแทนชาวประมงพื้นบ้าน พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันตรวจสอบจุดทิ้งวัสดุ ทั้งดิน ทราย และตะกอนดิน ที่ได้จากการขุดลอกร่องน้ำกันตัง พื้นที่ระหว่างเกาะเหลาเหลียงกับเกาะลิบง หลังชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่า กระแสคลื่นลมพัดพาตะกอนดินในบริเวณดังกล่าวเข้าไปทับถมหญ้าทะเลในอ่าวทุ่งจีน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนและอาหารของพะยูน ในช่วงตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงปี 2563 ส่งผลให้หญ้าทะเลในอ่าวทุ่งจีนตายเป็นบริเวณกว้าง ในการตรวจสอบครั้งนี้ ผู้รับเหมาได้สาธิตการทำงานจริงในการทิ้งตะกอนดินเพื่อประเมินทิศทางการไหลของน้ำและกระแสคลื่นลมทะเล และยืนยันว่า จุดทิ้งตะกอนดินจากการขุดลอกร่องน้ำกันตังดังกล่าวนี้เป็นจุดทิ้งเดิมที่ดำเนินการตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ไม่เคยพบปัญหากระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าว โดยจุดทิ้งนี้อยู่ห่างจากเกาะลิบงประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากเกาะเหลาเหลียงประมาณ 3.28 กิโลเมตร แต่ละวันจะนำตะกอนดินมาทิ้งประมาณวันละ 6-7 เที่ยวๆ ละ 3,000 คิว รัศมีครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3.5 กิโลเมตร จากนั้น คณะได้เดินทางไปตรวจสอบสภาพพื้นที่จริงบริเวณอ่าวทุ่งจีน พบว่า มองเห็นเรือบรรทุกตะกอนดินที่จอดทิ้งตะกอนดินอยู่ห่างออกไปประมาณ 5 กิโลเมตรได้อย่างชัดเจน และอยู่ในทิศทางตรงกับบริเวณอ่าวทุ่งจีน แหล่งหญ้าทะเลสำคัญ โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง และส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่ 7 ได้ใช้โดรนบินสำรวจ เพื่อเก็บข้อมูลพื้นที่ความเสียหายเพื่อนำไปศึกษาและใช้ในการวางแผนร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูต่อไป ขณะที่ชาวประมงพื้นบ้านที่หากินอยู่บริเวณเกาะลิบง ได้ให้ข้อมูลว่า ในห้วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สภาพอากาศทางทะเลมีความแปรปรวนผิดปกติ ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นช่วงที่คลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรง ก็จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านสลับไปมาด้วย จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ตะกอนดินดังกล่าวถูกกระแสน้ำที่เปลี่ยนแปลงพัดไปเข้าพื้นที่จนยากต่อการคำนวณและควบคุม ดังนั้น ชาวบ้านจึงได้ร้องขอให้ทางกรมเจ้าท่า ย้ายจุดทิ้งตะกอนดินจากบริเวณดังกล่าวออกไปทิ้งยังระหว่างเกาะตะเกียงกับเกาะกระดาน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นจุดที่ปลอดภัยกับแหล่งหญ้าทะเล หรือนำตะกอนดินไปทิ้งบนฝั่ง โดยเจ้าหน้าที่ก็พร้อมที่จะดำเนินการย้ายจุดทิ้งในปีงบประมาณ 2564 สำหรับโครงการปีนี้ก็ใกล้จะแล้วเสร็จและหมดสัญญาภายในเดือน ก.ย.นี้ ด้านนายสมบัติ ยวนยี่ ผู้ควบคุมงานโครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำกันตัง กรมเจ้าท่า กล่าวว่า ทางกรมจะนำข้อเสนอของคณะตรวจสอบในครั้งนี้ไปเสนอต่ออธิบดีกรมเจ้าท่า เพื่อย้ายจุดทิ้งตะกอนดินไปในพื้นที่ที่ชาวบ้านต้องการ แต่ต้องทำการศึกษาอย่างละเอียด แต่สำหรับจุดทิ้งดังกล่าวนี้เป็นจุดทิ้งเดิมที่กรมเจ้าท่าใช้พื้นที่มาโดยตลอดหลายสิบปีที่มีการขุดลอก และมีการติดตามตรวจสอบผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดแต่ไม่เคยพบปัญหา อย่างไรก็ตาม ก็พร้อมดำเนินการตามความต้องการของชาวบ้าน และจะร่วมกับชุมชนในการช่วยฟื้นฟูหญ้าทะเลต่อไป https://mgronline.com/south/detail/9630000091597
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
กรมประมง เปิดพื้นที่เจรจาประมงพื้นบ้าน 14 ข้อเรียกร้อง นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ทั้ง 14 ข้อ โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้ข้อคิดเห็น ผลการประชุมปรากฏว่า ได้ข้อยุติเป็นที่พอใจของชาวประมงพื้นบ้าน อาทิ ข้อเรียกร้องซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ การแก้กฎหมายตามข้อเสนอของสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาคประมงและแรงงานในภาคประมง การขอทราบสถิติการทำการประมงนั้น กรมประมงไม่ได้ขัดข้องและได้ส่งข้อมูลจากการบันทึกการทำการประมง ตั้งแต่ปี 2559 ? 2562 ให้แก่สมาคมสมาพันธ์ฯ ตามที่ร้องขอแล้วหลังเสร็จสิ้นการประชุม การออกใบรับรองมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน การขอให้กรมประมงพิจารณาออกใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านนั้น กรมประมงรับข้อเสนอและจะเร่งรัดการออกใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 โดยกรมประมงจะหารือร่วมกับสมาคมสมาพันธ์ฯ และผู้แทนสมาคมประมงพื้นบ้าน ใน 23 จังหวัดชายทะเล เพื่อพิจารณาชนิดและขนาดของเครื่องมือทำการประมงพื้นบ้านที่ต้องขออนุญาตภายหลังจากที่กรมเจ้าท่าดำเนินการจดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้านแล้วเสร็จในช่วงกลางเดือนกันยายนนี้ อธิบดีกรมประมง กล่าวอีกว่า ได้สั่งการให้ประมงจังหวัด ประมงอำเภอ รวมถึงเจ้าหน้าที่ในสังกัด เร่งชี้แจงทำความเข้าใจในสิ่งที่ภาครัฐได้ดำเนินการและการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ชาวประมงในแต่ละพื้นที่ได้รับทราบรายละเอียดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการสร้างการรับรู้ผลการดำเนินการของรัฐ ตามประเด็นข้อเรียกร้องดังกล่าวได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น นอกจากนี้ ในวันที่ 8 กันยายน 2563 กรมประมงยังได้เชิญทางสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและสมาคมประมงทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล ซึ่งได้มีการยื่นข้อเรียกร้องมาก่อนหน้านี้ มาหารือถึงแนวทางออกของการแก้ไขปัญหาประมงร่วมกันอีกด้วย http://thainews.prd.go.th/th/news/de...00907205932573
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
เปิดปม : เปิดแผนคลองไทย 9A ความพยายามที่จะขุดคลองไทยแนว 9 เอ เชื่อมระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทย เกิดขึ้นท่ามกลางความหวังว่าโครงการที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์ในระดับโลกนี้จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย แต่ยังมีความกังวลว่า คลองไทยอาจนำมาซึงปัญหาความมั่นคงได้เช่นกัน การขุดคลองเชื่อมระหว่างทะเลอันดามันและอ่าวไทยเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยได้รับรู้รับฟังมานาน ล่าสุดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการขุดคลองไทยบนเส้นทาง 9 เอ ขึ้นอีกครั้ง มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาขุดคลองไทยและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าว เส้นทางของคลองไทย 9 เอ จะผ่านจังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรังและกระบี่ มีระยะทาง 135 กิโลเมตร คาดว่า จะช่วยย่นระยะทางการเดินเรือได้ 1,200 - 3,500 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคลองไทยขึ้นบริเวณปากคลองไทย คาดว่าใช้งบประมาณในการดำเนินการ 2 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียงว่า คลองไทยจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับงินที่ลงทุนหรือไม่ รศ.สถาพร เขียววิมล อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ วุฒิสภา ให้ข้อมูลไว้ในรายงานการศึกษาโครงการขุดคลองไทย พ.ศ. 2547 ระบุว่า เส้นทางเดินเรือระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทยมี 3 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางผ่านช่องแคบมะละกา ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา เส้นทางผ่านช่องแคบซุนดา ระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตรา เส้นทางผ่านช่องแคมลอมบ็อค ระหว่างเกาะบาหลีกับเกาะลอมบ็อค นอกจากนี้ รศ.สถาพร เขียววิมล ยังให้ความเห็นว่า คลองไทยจะช่วยย่นระยะทางการเดินทางระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามันได้ 1,200 - 3,500 กิโลเมตร ซึ่งหากคำนวณจากความเร็วมาตรฐานสากลที่กำหนดให้เรือเดินสมุทรแล่นผ่านช่องแคบได้ไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คลองไทยจะช่วยย่นระยะเวลาได้ 2 ? 7 วัน "เรือแต่ละลำมีค่าใช้จ่ายมาก อย่างเรือขนาด 2 หมื่นตู้คอนเทนเนอร์ ผมเข้าใจว่าไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาทต่อวัน เพราะฉะนั้นเขามาใช้คลองไทยแล้วประหยัด ที่เราได้ประโยชน์มาก ๆ ก็คือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเอาตู้คอนเทนเนอร์จากทั่วประเทศไทยไปส่งที่สิงคโปร์เพื่อไปส่งต่อประเทศอื่น" ขณะที่ รศ.รุธิร์ พนมยงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาเคยทำงานวิจัยโดยใช้แบบจำลองทำนายสถานการณ์หลังจากขุดคลองไทยพบว่า ประเทศที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดหากคลองไทยเกิดขึ้น คือ ประเทศจีนและเกาหลีใต้ โดยจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงในระยะเวลา 15-20 ปี ส่วนประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่จะได้รับผลประโยชน์ไม่มากเพราะเป็นเพียงประเทศทางผ่านเท่านั้น ส่วนเรื่องของเวลาในการเดินเรือ รศ.รุธิร์ พนมยงค์ วิเคราะห์ว่าคลองไทยจะช่วยย่นระยะเวลาได้ไม่ถึง 2 วันเพราะระหว่างที่เรือแล่นผ่านคลองไทยจะไม่สามารถแล่นด้วยความเร็ว นอกจากนี้ยังต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้เวลาในการรอ ทำให้เมื่อเทียบกับต้นทุนที่เรือแต่ละลำต้องจ่ายค่าผ่านคลองแล้ว การเดินเรือผ่านคลองไทยอาจมีต้นทุนที่สูงกว่าการใช้เส้นทางเดิม (มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
เปิดปม : เปิดแผนคลองไทย 9A .............. ต่อ "คำถามแรกคือความคุ้มค่าของการประหยัดได้ 2-3 วัน ซึ่งในหลักด้านโลจิสติกส์ เรามักพูดตลอดว่าต้องดูต้นทุนรวม การที่เราประหยัดได้ 2-3 วัน มันลดค่าใช้จ่ายได้จริงหรือไม่ ประเด็นที่สองคือการเข้าไปในคลองก็ต้องรอคิว แล้วก็จะมีลักษณะที่เป็นขั้นบันได ไม่ใช่อยู่ดี ๆ อยากจะเข้าก็เข้า เพราะฉะนั้นอาจประหยัดได้แค่ครึ่งวันหรือ 1 วันเท่านั้น" ความมั่นคงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง พล.ร.ต.จตุพร ศุขเฉลิม อนุกรรมการที่ปรึกษาและจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สภาความมั่นคงแห่งชาติ วิเคราะห์ว่า การขุดคลองไทยจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเคลื่อนกำลังพลไปสู่ภูมิภาคอื่น และ อาจเป็นปัจจัยชักจูงให้ประเทศมหาอำนาจพยายามเข้ามามีอิทธิพลเหนือคลองไทยเพื่อควบคุมเส้นทางยุทธศาสตร์แห่งนี้ โดยยกตัวอย่าง สถานการณ์ที่ประเทศจิบูติซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างทะเลแดงกับคลองสุเอซ ซึ่งเป็นภูมิศาสตร์ที่เรือทุกลำที่ใช้คลองสุเอซต้องเดินทางผ่าน ปัจจุบันประเทศขนาดเล็ก ที่มีเนื้อที่ประมาณ 23,000 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 9 แสนคน อย่างประเทศจิบูติ กลายเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือจากประเทศมหาอำนาจทั้งญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอเมริกา และล่าสุดปี 2560 ประเทศจีนก็เลือกประเทศจิบูติเป็นที่ตั้งของฐานทัพต่างแดนแห่งแรกเช่นกัน จึงมีการคาดการณ์ว่าหากในอนาคตคลองไทยซึ่งช่วยย่นระยะทางในการเดินทางผ่านคาบสมุทรอินโดจีนไปสู่ภูมิภาคอื่น อาจกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ต่างชาติต้องการเข้ามามีอิทธิพลเพื่อกุมความได้เปรียบในทางยุทธศาสตร์ "เวลามีปัญหาทางตะวันออกกลาง อิหร่านประกาศเสมอว่าจะปิดอ่าวเปอร์เซีย เพราะมันเป็นจุดยุทธศาสตร์ เพราะฉะนั้นจะปฏิเสธไม่ได้ว่าคลองไทยไม่เป็นจุดยุทธศาสตร์ อย่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาว จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อส่งกำลังไปที่พม่าและอินเดีย ดูประเทศที่อยู่ปากคลองสุเอซอย่างประเทศจิบูติ ซึ่งเรือผ่านแน่ ๆ ตอนนี้เต็มไปด้วยกองกำลังต่างชาติ เราจะยอมเป็นอย่างนั้นไหม" แต่ในมุมของผู้สนับสนุนโครงการคลองไทย รศ.สุเมต สุวรรณพรหม รองประธานมูลนิธิร่วมพัฒนาภาคใต้ กลับมองว่าการที่ต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้เกิดคลองไทย เป็นเพราะทุกฝ่ายเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ที่นานาชาติจะได้รับร่วมกัน "เรื่องมหาอำนาจจะมาแย่งชิงกันไม่ต้องพูด มันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าการลงทุนมันคล้าย ๆ อีอีซี ทุกชาติต้องมาเข้าร่วม จะมีบริษัทของทุกประเทศเป็นผลประโยชน์มันร่วมกัน แล้วใครจะทะเลาะกับใคร" เดือนมกราคม 2563 สภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาขุดคลองไทย และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากฝ่ายค้านและรัฐบาลจำนวน 49 คน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้ ฝ่ายสนับสนุนคลองไทยนำโดยสมาคมคลองไทยเพื่อการศึกษาและพัฒนา ออกมาเรียกร้องให้มีการศึกษาวิจัยเชิงลึกถึงความเป็นไปได้ในการขุดคลองไทยแนว 9 เอ โดยระบุว่า ที่ผ่านมาแม้มีการศึกษามาแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ละเอียดเพียงพอเพื่อประกอบการพิจารณาว่าการขุดคลองไทยสามารถทำได้หรือไม่ แต่ข้อเรียกร้องนี้ก็มีอีกส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าการศึกษาโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ อาจต้องใช้เงินทุนนับพันล้านบาทเพื่อให้ได้ผลออกมาอย่างครบถ้วนทุกมิติ ซึ่งอาจไม่เหมาะกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน https://news.thaipbs.or.th/content/296224
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|