#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ อ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 ? 19 ก.ค. 67 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ อ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 ? 23 ก.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 18 ? 19 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ฉบับที่ 12 (137/2567) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 18?19 กรกฎาคม 2567) ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ อ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดระนอง และพังงา สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 18-19 ก.ค. 67
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
อ.ธรณ์ เผยอุณหภูมิน้ำทะเลกลับสู่ภาวะปกติ สิ้นสุดปะการังฟอกขาว อ.ธรณ์ เผยสิ้นสุดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว หลังอุณหภูมิน้ำทะเลกลับสู่ภาวะปกติ แนะต่อจากนี้คือการประเมินความเสียหายและวางแผนรับมือ วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 มีรายงานว่า ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลและอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ผ่านแฟนเพจ Thon Thamrongnawasawat โดยระบุว่า อุณหภูมิน้ำทะเลกลับสู่ภาวะปรกติ สิ้นสุดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ต่อจากนี้คือการประเมินความเสียหายและวางแผนรับมือสำหรับคราวหน้า หากเพื่อนธรณ์ดูกราฟอุณหภูมิน้ำทะเลทั้ง 2 ฝั่ง จะเห็นว่าตอนนี้ลดต่ำลงมาเท่ากับปี 23 และอยู่ต่ำกว่าเส้นวิกฤตปะการังฟอกขาว หมายถึงเราผ่านทะเลเดือดมาแล้ว ปะการังที่ฟอกขาวอยู่ตอนนี้ อีกไม่นานคงจะฟื้น แต่ย่อมมีปะการังตายจากการฟอกขาว จะเยอะจะน้อย ต้องรอการประเมินอีกครั้ง แต่ละที่ไม่เท่ากัน เมื่อประเมินเสร็จ เราจะรู้ว่าตรงไหนหนักสุด การอนุรักษ์ฟื้นฟูแต่ละพื้นที่ควรเป็นอย่างไร นั่นเป็นอีกงานหนัก แต่จำเป็นมาก เพราะเราจะได้รู้ว่าการตายกับการฟอกขาวสัมพันธ์กันไหม? จุดที่ฟอกขาวเยอะคือตายเยอะหรือเปล่า อาจมีปัจจัยอื่นๆ มาทำให้ฟอกเยอะแต่ตายน้อย หรือฟอกน้อยแต่ % ตายสูง ฯลฯ ยังรวมถึงความทนทานของปะการัง (resilience) สัมพันธ์กับการฟอกขาวหรืออัตรารอด/ตายหรือไม่ เพราะเรื่องนั้นจะเกี่ยวโดยตรงกับแผนอนุรักษ์ในอนาคต อีกอย่างที่ต้องตามดูคือความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศหลังจากนี้ แนวปะการังจะโทรมลงไหม จะมีอะไรเข้ามาแทน การฟื้นคืนของปะการังจะใช้เวลากี่เดือนกี่ปี ฯลฯ ทั้งหมดที่เล่ามาจะเห็นเลยว่า เรามีงานยักษ์รออยู่ ปัญหาคือเราจะมีเงินทำไหม? เพราะตอนนี้อะไรก็เดือดร้อนไปหมด ก็คงได้แต่บอกว่า ต้องพยายามให้ดีที่สุด เพราะทุกเรื่องที่ทำในวันนี้ หมายถึงความอยู่รอดของปะการังในวันหน้า เพราะทะเลเดือดจะกลับมาพร้อมกับเอลนีโญอีกครั้ง ในอนาคตอันใกล้ ตราบใดที่โลกยังร้อนขึ้นเช่นนี้ครับ ข้อมูลน้ำ - กรมทะเล https://www.thairath.co.th/futureper...XPWDa-YNLQxloA
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ฟิลิปปินส์ประกาศยกระดับเตือนภัยปรากฏการณ์ลานีญา ทางการฟิลิปปินส์ประกาศยกระดับการเตือนภัยจากปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญสภาพอากาศแบบพาความร้อนพายุหมุนเขตร้อนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักกว่าปกติในบางพื้นที่ของประเทศ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 หน่วยงานสภาพอากาศของฟิลิปปินส์ยกระดับการเตือนภัยจากปรากฏการณ์ลานีญา (La Nina) โดยระบุว่า ร้อยละ 70 ของปรากฏการณ์นี้จะเริ่มต้นในเดือนสิงหาคม และมีแนวโน้มลากยาวจนถึงไตรมาสแรก หรือช่วงระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม ของปี 2568 โดยระบุว่า ผลการเฝ้าติดตามสภาพอากาศพบอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางและตะวันออกแถบเส้นศูนย์สูตรลดลงกว่าเดิม ทำให้ฟิลิปปินส์เสี่ยงสูงที่จะเผชิญสภาพอากาศแบบพาความร้อนและพายุหมุนเขตร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีฝนตกหนักกว่าปกติในบางพื้นที่ของประเทศ หน่วยงานสภาพอากาศของฟิลิปปินส์ยังเตือนถึงผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นหลายระดับในพื้นที่เสี่ยงภัย ทั้งน้ำท่วมและดินถล่ม พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง และดำเนินมาตรการเฝ้าระวังผลกระทบของหน่วยงานรัฐทั้งหมดและสาธารณชน. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2800948
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
ข่าวดี! 'อ.ธรณ์' เผยทะเลกลับสู่สภาพปกติ สิ้นสุดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว อ.ธรณ์ แจ้งข่าวดี ทะเลกลับสู่สภาพปกติ สิ้นสุดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เตรียมรับมือทะเลเดือดเอลนีโญครั้งหน้า จากสถานการณ์ทะเลไทยวิกฤต พบ 'ปะการังฟอกขาว' เกือบ 100% ผลพวงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะเวลาอันยาวนานและต่อเนื่อง จนนักวิชาการ และสังคมรู้สึกเป็นห่วงทะเลไทยตามที่เสนอข่าวไปนั้น ล่าสุด เกี่ยวกับเรื่องนี้ "ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์" นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกมาประกาศข่าวดี ผ่านแฟนเพจ "Thon Thamrongnawasawat" ว่า ? "อุณหภูมิน้ำทะเลกลับสู่ภาวะปรกติ สิ้นสุดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ต่อจากนี้คือการประเมินความเสียหายและวางแผนรับมือสำหรับคราวหน้า หากเพื่อนธรณ์ดูกราฟอุณหภูมิน้ำทะเลทั้ง 2 ฝั่ง จะเห็นว่าตอนนี้ลดต่ำลงมาเท่ากับปี 23 และอยู่ต่ำกว่าเส้นวิกฤตปะการังฟอกขาว หมายถึงเราผ่านทะเลเดือดมาแล้ว ปะการังที่ฟอกขาวอยู่ตอนนี้ อีกไม่นานคงจะฟื้น แต่ย่อมมีปะการังตายจากการฟอกขาว จะเยอะจะน้อย ต้องรอการประเมินอีกครั้ง แต่ละที่ไม่เท่ากันเมื่อประเมินเสร็จ เราจะรู้ว่าตรงไหนหนักสุด การอนุรักษ์ฟื้นฟูแต่ละพื้นที่ควรเป็นอย่างไร นั่นเป็นอีกงานหนัก แต่จำเป็นมสก เพราะเราจะได้รู้ว่าการตายกับการฟอกขาวสัมพันธ์กันไหม ? จุดที่ฟอกขาวเยอะคือตายเยอะหรือเปล่า อาจมีปัจจัยอื่นๆ มาทำให้ฟอกเยอะแต่ตายน้อย หรือฟอกน้อยแต่ % ตายสูง ฯลฯ ยังรวมถึงความทนทานของปะการัง (resilience) สัมพันธ์กับการฟอกขาวหรืออัตรารอด/ตายหรือไม่ เพราะเรื่องนั้นจะเกี่ยวโดยตรงกับแผนอนุรักษ์ในอนาคต อีกอย่างที่ต้องตามดูคือความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศหลังจากนี้ แนวปะการังจะโทรมลงไหม จะมีอะไรเข้ามาแทน การฟื้นคืนของปะการังจะใช้เวลากี่เดือนกี่ปี ฯลฯ ทั้งหมดที่เล่ามา จะเห็นเลยว่า เรามีงานยักษ์รออยู่ ปัญหาคือเราจะมีเงินทำไหม ? เพราะตอนนี้อะไรก็เดือดร้อนไปหมด ก็คงได้แต่บอกว่า ต้องพยายามให้ดีที่สุด เพราะทุกเรื่องที่ทำในวันนี้ หมายถึงความอยู่รอดของปะการังในวันหน้า เพราะทะเลเดือดจะกลับมาพร้อมกับเอลนีโญอีกครั้ง ในอนาคตอันใกล้ ตราบใดที่โลกยังร้อนขึ้นเช่นนี้ครับ" https://www.khaosod.co.th/special-st...s_777777838614
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
4 แนวโน้ม-คาดการณ์ "วิกฤต-ความผันผวน" สภาพภูมิอากาศไทยปลายปี .......... โดย กองบรรณาธิการ GREENNEWS "ร้อนกว่าปกติถึง ต.ค. ? ลานีญามาช้า เริ่ม ก.ย. ? ฝนทิ้งช่วง ส.ค. ? ฝนหนัก ก.ย.-พ.ย. เกือบทุกภาค" รศ. วิษณุ อรรถวานิช นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผย อัพเดทน้ำท่วมน้ำแล้ง วันนี้ (17 ก.ค. 67) 1. ร้อนกว่าปกติถึง ต.ค. "ช่วง ม.ค. ? มิ.ย. 67 ร้อนเดือดทุบสถิติโลกใหม่ในรอบ 175 ปี และจะร้อนกว่าปกติถึง ต.ค. 67 ขณะที่ลานีญาจะเกิดขึ้นช้ากว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนที่ผ่านมา น่าจะเริ่ม ก.ย. 67 และเดือน ส.ค. 67 ระวังฝนขาดช่วงในภาคเหนือฝั่งตะวันตก ตะวันตก ตะวันออก กลาง และอีสานตอนล่าง นอกจากนั้น ทุกภูมิภาคต้องระวังฝนมากและน้ำท่วมช่วง ก.ย.-ต.ค. 67 และภาคใต้ระวังฝนมากและน้ำท่วมช่วง ต.ค.-ธ.ค. 67 องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) รายงานล่าสุดว่า อุณหภูมิช่วง ม.ค. ? มิ.ย. 67 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 175 ปี เมื่อกับช่วงเวลาเดียวกัน โดยอุณหภูมิภาคพื้นดิน (Land Temperature) สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.91 องศาเซลเซียส นอกจากนั้น ทะเลก็เดือดขึ้น โดยอุณหภูมิในมหาสมุทร (Ocean Temperature) ช่วง ม.ค. ? มิ.ย. 67 สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.01 องศาเซลเซียส" 2. ลานีญามาช้า เริ่ม ก.ย. "NOAA รายงานว่าเราได้เข้าสู่เฟสกลาง (Neutral Phase) หรือภาวะปกติเต็มตัวตั้งแต่เดือน มิ.ย. 67 และคาดว่าจะต่อเนื่องไปถึง ส.ค. 67 (ภาพซ้ายแท่งสีเทา) โดยปรากฎการณ์ลานีญาจะเกิดขึ้นช้ากว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนที่ผ่านมา โดยลานีญาน่าจะเริ่มเดือน ก.ย. 67 (ภาพซ้ายแท่งสีน้ำเงิน) และคาดว่าจะเพิ่มกำลังถึงจุดสูงสุดช่วง พ.ย. 67 ? ม.ค. 68 โดยกำลังลานีญามีโอกาสอยู่ในระดับอ่อน?ปานกลางมากที่สุด ขณะที่กำลังลานีญาระดับรุนแรงมีโอกาสเกิดราว 19% ลดลงจากเดิมที่ 27%" 3. ฝนทิ้งช่วง ส.ค. "ภาพที่ 3 บ่งชี้ว่า เดือน ส.ค. 67 ค่าเฉลี่ยผลพยากรณ์ของสำนักอุตุนิยมวิทยา 13 สำนักทั่วโลกบ่งชี้ว่าปริมาณฝนอาจต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติในเดือน ส.ค. 67 ซึ่งผลพยากรณ์ต่างไปจากเดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องระวังฝนขาดช่วงในพื้นที่แถบสีส้มซึ่งได้แก่ ภาคเหนือฝั่งตะวันตก ตะวันตก ตะวันออก กลาง และอีสานตอนล่าง ขณะที่ภาคใต้คาดว่าจะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ และเดือน ก.ย. 67 ปริมาณฝนจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติทั่วประเทศ ซึ่งต้องระวังน้ำท่วมให้มากในเดือนนี้ในภูมิภาคต่างๆ (ยกเว้นภาคใต้) เนื่องจากเป็นเดือนที่มีปริมาณสูงที่สุดในรอบปี" 4. ฝนหนัก ก.ย.-พ.ย. เกือบทุกภาค "ภาพที่ 4 บ่งชี้ว่า เดือน ก.ย. 67 ต.ค. 67 ปริมาณฝนจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยเกือบทั่วประเทศต่อเนื่องจากเดือน ก.ย. 67 ยกเว้นภาคเหนือตอนบนที่ปริมาณฝนจะมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ยปกติ โดยภาคใต้ต้องระวังฝนที่จะมากและระวังน้ำท่วม เนื่องจากเป็นเดือนที่ภาคใต้จะมีปริมาณฝนมากในรอบปี และเดือน พ.ย. 67 ปริมาณฝนมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ยปกติในเกือบทุกภูมิภาคยกเว้นภาคใต้ที่จะยังคงมีปริมาณฝนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ (พื้นที่สีเขียว) และยังคงต้องระวังน้ำท่วมเพราะยังเป็นเดือนที่ปริมาณฝนสูงในรอบปี โดยภาคใต้ตอนล่างต้องระวังปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ตอนบน ภาพที่ 5 บ่งชี้ว่า เดือน ธ.ค. 67 ทุกภูมิภาคปริมาณฝนมีแนวโน้มเข้าสู่ค่าเฉลี่ยปกติ ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง (พื้นที่สีเขียวอ่อน) ที่อาจจะยังคงมีปริมาณฝนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยปกติและยังคงต้องระวังน้ำท่วมต่อเนื่องจากเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่เดือน ม.ค. 68 รูปแบบฝนคล้ายกับเดือน ธ.ค. 67 ปริมาณฝนจะกลับสู่ภาวะปกติในทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่างที่คาดว่าจะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย" ภาพที่ 6 IRI มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา พยากรณ์ว่าตั้งแต่ ส.ค. 67 เป็นต้นไป ปริมาณฝนจะเริ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติตั้งแต่ ก.ย. 67 และต้องเริ่มระวังฝนที่จะมากตั้งแต่ ก.ย.-พ.ย. 67 ในเกือบทุกภูมิภาค (ยกเว้นภาคใต้) และช่วง ต.ค.-ธ.ค. 67 ปริมาณฝนจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติทุกภูมิภาค ปริมาณฝนคาดว่าจะมามากกว่าเดิมที่เคยพยากรณ์ไว้ ภาคใต้ต้องระวังให้มาก รวมถึงภาคอีสาน (พื้นที่สีฟ้าและสีน้ำเงิน) ต้องระวังน้ำท่วมให้มากเช่นกัน" เตือนรับมือ "เตรียมกับมือกับฝนที่อาจจะขาดช่วงในเดือน ส.ค. 67 และปริมาณฝนที่จะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติตั้งแต่ ก.ย.-ธ.ค. 67 เตรียมทางระบายน้ำให้ดีเพื่อป้องกันน้ำท่วม ระวังขยะอุดตันทางระบายน้ำ ต้องเร่งขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ และต้องหาทางเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในฤดูแล้งปีหน้ากันด้วยนะครับ อย่าปล่อยให้ไหลลงทะเลไปจนหมด ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สูงต้องระวังดินถล่มกันด้วยนะครับ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต้องระวังข้าวล้มช่วงใกล้ฤดูเก็บเกี่ยว สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนต้องระวังผลทุเรียนเน่าเสียและลมแรง นอกจากนั้น การทำทวายนอกฤดูยากขึ้น สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราการกรีดยางอาจทำได้ยากขึ้น และต้องระวังหัวเน่าในมันสำปะหลัง ฝนที่มากอาจทำให้เลี้ยงสัตว์แฉะและสภาพแวดล้อมไม่สะอาดซึ่งเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายโรคในสัตว์ สำหรับการทำประมง ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำจืดไหลลงทะเลส่งผลต่อความเค็มและสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ #ClimateChange #Flood #Drought #NewNormal" รศ. วิษณุ เปิดเผย https://greennews.agency/?p=38423
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|