#1
|
||||
|
||||
Bryde's Whale Watching @ Bangtaboon
Bryde's Whale Watching @ Bangtaboon
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 23-07-2022 เมื่อ 09:46 |
#2
|
||||
|
||||
สวัสดีคะพี่น้อย ทีมของตึก confirm แล้วนะคะ ว่าจะออกสำรวจวันที่ 6-10 มิ.ย. คะ พี่น้อยและพี่จ๋อม อย่าลืมมาตามนัดนะคะ แล้วเจอกันคะ ตึกคะ สองสายได้รับการเชิญชวนข้างต้น จาก น้องตึก...ดร.กาญจนา อดุลยานุโกศล นักวิชาการประมง ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยทรัพยากรประมงชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร (ที่พวกเราชาว SOS รู้จักกันดีในนาม "แม่หมูน้ำ" สมาชิก SOS รุ่นแรกๆ) ให้ไปเฝ้าติดตามวาฬแกลบหรือบรูด้า (Bryde's Whale) ฝูงหนึ่ง ที่เข้ามาหากิน อยู่ในบริเวณท้องทะเลนอกชายฝั่ง จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี โดยร่วมไปกับทีมนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทีมงานของน้องตึกอีกหลายท่าน ที่จะออกทำการสำรวจในระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2554 สองสายตอบรับคำเชิญของน้องตึกด้วยความยินดี...แต่ด้วยภาระกิจที่มีมากมาย เราจึงขอน้องตึกเดินทางไปร่วมสำรวจวาฬบรูดร้าด้วยเพียงวันอังคารที่ 7 มิถุนายน นี้ เพียงวันเดียวเท่านั้น เช้าวันนัด...เราก็ออกจากกรุงทพฯแต่เช้า หลังจากแวะซื้ออาหารและขนมนมเนย ที่ปั๊มน้ำมันแถวแสมดำ เราก็รีบตรงดิ่งไปที่ท่าเรือบ้านบางตะบูนที่ได้นัดหมายไว้กับน้องหนึ่ง ผู้ช่วยน้องตึกซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการสำรวจครั้งนี้ โดยใช้เส้นทางถนนเลี่ยงเมืองของรพช. เส้นทาง คลองโคน-บางตะบูน-บ้านแหลม
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 12-07-2012 เมื่อ 19:51 |
#3
|
||||
|
||||
รถตู้เก่าๆของเราวิ่งออกจากถนนพระราม 2 เลี้ยวซ้ายตรงปั๊มน้ำมัน ปตท.บ้านบางโคน เข้าสู่ถนนสองเลนเล็กๆที่คดเคี้ยวลัดเลาะไปตามป่าชายเลน บ่อกุ้ง นาเกลือ และบ้านเรือนผู้คนที่อยู่กันห่างๆ ไม่นานนัก...เราก็ถึงสะพานข้ามลำน้ำบางตะบูน น้องหนึ่งบอกเราว่าไม่ต้องข้ามสะพาน แต่ให้เราเลี้ยวลงถนนก่อนถึงสะพาน แล้วก็จะถึงบ้าน "ไต๋จำรูญ" เจ้าของและกัปตันเรือที่เราจะใช้ออกไปสำรวจวาฬบรูด้า แต่ถนนแยกนั้นมองแทบไม่ออกว่าเป็นถนน คุณสายน้ำจึงขับรถผ่านขึ้นสะพานไป และกว่าจะรู้ตัวว่าหลง รถก็ถึงกลางสะพานซะแล้ว คุณสายน้ำต้องแล่นไปหาที่กลับรถที่ปลายสะพานอีกข้างหนึ่ง แล้วย้อนกลับข้ามสะพานแล้วเลี้ยวเข้าบ้านไต๋จำรูญที่อยู่ติดลำน้ำข้างสะพานนั่นเอง
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 03-08-2011 เมื่อ 19:04 |
#4
|
||||
|
||||
ที่บ้านไต๋จำรูญ....น้องตึกและคณะคอยเราอยู่แล้ว หลังจากทักทายและทำความรู้จักกันด้วยความยินดี ก็ถึงเวลาขนของลงเรือเล็กๆ สีส้มสะอาดเอี่ยม ของไต๋จำรูญ ที่จอดเทียบท่ารออยู่แล้ว เรือเริ่มแล่นออกจากท่าสู่อ่าวบางตะบูน ท่ามกลางบรรยากาศที่สดใส แสงแดดแผดจ้า ลมรำเพยมาเอื่อยๆ ลำน้ำบางตะบูนที่สีเหมือนชาเย็น มีริ้วคลื่นเล็กๆวิ่งไล่กันอยู่ข้างๆลำเรือ ข้างร่องน้ำทั้งสองด้าน ปักเสาแสดงอาณาเขตของผู้ได้รับอนุญาตจากกรมประมง ให้ทำมาหากิน ด้วยการเลี้ยงหอยแมงภู่ หอยแครง เลี้ยงปลา หรือทำโพงพางจับปลา.... บ้านพักกลางทะเล หรือ "กระเตง" ปลูกอยู่ในเขตรั้วเหล่านั้น ตลอดเส้นทางที่เราผ่านไป...เห็นแล้วก็อยากจะขึ้นไปนอนเล่นสงบๆสักคืนสองคืน...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 04-11-2013 เมื่อ 22:38 |
#5
|
||||
|
||||
ตำบลบางตะบูน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สำหรับชื่อของตำบลบางตะบูน ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าได้ชื่อนี้ มาได้อย่างไร แต่สันนิษฐานว่าน่าจะตั้งชื่อตามไม้ชายเลนชนิดหนึ่ง คือ "ต้นตะบูน" ซึ่งมีอยู่ในบริเวณที่ตั้งของตำบล ชาวบ้านจึงใช้ชื่อต้นไม้ชนิดนี้ เป็นชื่อของตำบลเรื่อยมาว่า "ตำบลบางตะบูน" ซึ่งในอดีตขึ้นอยู่กับอำเภอเขาย้อย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2481 จึงได้มาขึ้นตรงกับอำเภอบ้านแหลม และผู้ดูแลปกครองตำบลแห่งนี้ มีนามว่า ท่านขุนตะบูน บางตะบูนอยู่ห่างจากอำเภอเมืองเพชรบุรีไปทางทิศเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3176 หรือสายเพชรบุรี-บางตะบูนฝั่งตะวันตก โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านแหลม ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบางครก ขอบคุณข้อมูลจาก....http://th.wikipedia.org ชาวบ้านและชาวเมืองออกเรือมาเย่อปลากันสนุกสนาน โพงพางจับปลา...ภูมิปัญญาชาวบ้าน สมาชิกที่ร่วมลงเรือไต๋จำรูญ คือ น้องตึก น้องหนึ่ง น้องสุรชัย น้องตอง น้องตู่ น้องเต่า และสองสาย ก็นั่งกันเรียบร้อย ชมนกชมไม้สองฝั่งน้ำกันอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 12-07-2012 เมื่อ 20:00 |
#6
|
||||
|
||||
ออกเรือไปได้สักพัก...น้องตึกก็หยิบแฟ้มประวัติของวาฬบรูด้าแต่ละตัวที่ได้พบในอ่าวไทย เขตจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ เพชรบุรี มาอธิบายให้ฟัง ว่าวาฬแต่ละตัวชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร มีการพบกี่ครั้ง วันเวลาเท่าไร พฤติกรรมแต่ละครั้งที่ได้เห็นเป็นอย่างไร หากยังไม่ทราบว่าวาฬเป็นเพศอะไร...ก็จะเรียกว่า "เจ้า" ไว้ก่อน เช่น เจ้าบันเทิง เจ้าจ๊ะเอ๋ เจ้ายิ้มหวาน ฯลฯ แต่ถ้าเห็นว่ามากับลูก ก็จะเรียกว่า "แม่" เช่น "แม่ข้าวเหนียว" และ ลูกชื่อ "เจ้าส้มตำ" ซึ่งเพิ่งได้เห็นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม นี้ ขณะพาท่านอธิบดีกรมทรัพยกรทางทะเลและชายฝั่ง มาชมและท่านก็ตั้งชื่อให้ เป็นต้น สายชลฟังไปยิ้มไป และได้แต่หวังจะได้เห็นทั้ง "เจ้า" และ "แม่" ทั้งหลาย ที่ได้เห็นภาพและทราบประวัติมาจากน้องตึก.... เพี้ยง....ขอให้ได้เห็นวาฬหลายๆตัวด้วยเถิด.....เจ้าประคุ๊ณ....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 04-11-2013 เมื่อ 22:44 |
#7
|
||||
|
||||
เรือเริ่มแล่นพ้นปากแม่น้ำบางตะบูน เข้าสู่ทะเลอ่าวไทย....เสาไม้ โพงพาง และกระเตง เริ่มหายไปจากสายตา ริ้วน้ำเริ่มเปลี่ยนเป็นคลื่นน้อยๆ กระแทกเข้าใส่เรือเบาๆ แต่ก็เล่นเอาน้ำกระเด็นเป็นฝอยเล็กๆเข้ามาในเรือ ให้เราต้องรีบเก็บกล้องเข้ากระเป๋า น้องตึกบอกว่า...เมื่อวานได้เห็นวาฬบรูด้าตัวแรกแถวๆริมรั้วไม้เลี้ยงหอยด้านนอกสุดนี่เอง ว่าแล้วน้องตึกก็ออกไปนั่งที่หัวเรือ สอดส่ายสายตาไปในทะเลที่วาฬโผล่มาให้เห็นเมื่อวานนี้
__________________
Saaychol |
#8
|
||||
|
||||
สายชลนั่งมองน้องตึกที่นั่งอยู่หัวเรือ แล้วก็ได้แต่นึกชื่นชม ในความน่ารักและความเก่งของดอกเตอร์สาวจาก มหาวิทยาลัยริวกิว ประเทศญี่ปุ่น ผู้ชำนาญการด้านสัตว์ทะเลหายาก ทั้งพะยูน โลมา และ วาฬ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551...น้องตึก ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกอยู่ที่ญี่ปุ่น ได้ส่งเรื่อง "การพบวาฬกลุ่มบรูด้า (Bryde’s whale) ในน่านน้ำไทย" และ "การล่าหัวกะโหลกวาฬบรูด้า ตอนที่ 1 และ 2" มาให้คุณสายน้ำนำลงใน "ห้องสรรพชีวิตในท้องทะเล" ของ SOS ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีมาก มีผู้เข้าคลิ๊กอ่านมากมาย นับเป็นคุณูปการที่เป็นประโยขน์ต่อผู้อ่านมาก ในเรื่องเกี่ยวกับวาฬบรูด้า ที่น้องตึกได้เขียนขึ้นนั้น ทำให้เราได้ทราบว่า... "วาฬบรูด้าเป็นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์บาลีนน็อบเทอริดี (Balaenopteridae) เป็นวาฬไม่มีฟันขนาดกลาง โดยมีซี่กรองที่เรียกว่าบาลีน (baleen plate) สำหรับกรองอาหารจำพวกลูกปลา หรือกุ้ง วาฬบรูด้าพบแพร่กระจายทั่วโลกในน่านน้ำเขตอบอุ่น เขตกึ่งร้อนและเขตร้อน เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการศึกษาการแพร่กระจายประชากรของวาฬกลุ่มบรูด้านี้ ได้พบว่ามีความแตกต่างกันในด้านของพันธุกรรมและสัณฐานวิทยาของรูปร่างภายนอกและลักษณะของหัวกะโหลก ปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ วาฬอิดิไน (Balaenoptera edeni) ซึ่งเป็นชนิดที่เรารู้จักกันดีอยู่ก่อนแล้ว, วาฬบรูดิไอ (Balaenoptera brydei) และวาฬโอมูไล (Balaenoptera omurai) อิดิไน มีขนาดยาวลำตัวสูงสุด 13.7 เมตร อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียและตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนบรูดิไอ มีขนาดใหญ่กว่ามีความยาวสูงสุด 14.6 เมตร พบแพร่กระจายทั่วโลก โอมูไล B. omurai มีขนาดเล็กที่สุดมีขนาดความยาวสูงสุด 12 เมตร (ในเรื่องของความยาวนี้ เอกสารแต่ละเล่มอาจให้ข้อมูลแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ก็จะอยู่ในระหว่างประมาณ 11-15 เมตร) ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย วาฬกลุ่มนี้มีน้ำหนักตัวสูงสุด 20-25 ตัน ตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี ลูกแรกเกิดมีความยาวประมาณ 4 เมตร แม่หมูน้ำยังไม่มีรูปของ วาฬบรูดิไอ แต่โดยทั่วไปส่วนหัวจะมีสันตรงกลางเพียงสันเดียวเช่นเดียวกันกับวาฬโอมูไล วาฬบรูด้าในประเทศไทย เคยถูกแยกไว้เพียงชนิดเดียว คือ อิดีไน (B. edeni) แต่พวกเรานักวิจัยต่างก็มีข้อสงสัยตลอดเวลาว่าลักษณะของซี่โครงคู่แรกนั้นแตกต่างกันเป็น 2 แบบ คือ หัวเป็น 2 แฉก หรือเรียกว่า bifurcate rib ซึ่งนับว่าโชคดีมากที่ซี่โครงคู่แรกที่อยู่ชิดกับกระดูกคอและส่วนหัวที่แม้ว่าตัวอย่างจะเน่าหรือขาดหายไปบางท่อน แต่กระดูกซี่โครงคู่แรกนี้มักจะยังติดอยู่กับซากเสมอๆ ทำให้เราระบุได้ง่ายในเบื้องต้นว่าเป็นวาฬชนิดอิดิไน และอีกส่วนที่เราตั้งข้อสังเกตคือจำนวนสันที่หัว เราจึงคาดว่ามันอาจเป็นข้อแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นได้ในสัตว์ชนิดเดียวกัน แต่ในส่วนของหัวกะโหลกนั้น เรายังไม่มีความรู้ละเอียด และยังไม่ได้มีการศึกษาเรื่อง DNA ในวาฬกลุ่มนี้ในเมืองไทย" "เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 นักวิจัยชาวญี่ปุ่น คือ Dr.Tadasu K. Yamada จาก National Museum of Science and Nature ได้นำทีมงานเข้ามาศึกษาวิจัยชนิดของวาฬบรูด้า จากลักษณะของหัวกะโหลกโครงกระดูกในประเทศไทย และ DNA ร่วมกับสถาบันฯ ภูเก็ต (ที่เราต้องออกตามล่าหัวกะโหลก ในเรื่องตอนที่ 1 และ 2) Dr.Yamada และ ทีมงานได้ทำการศึกษาวิจัยวาฬกลุ่มบรูด้าในประเทศต่างๆ มาหลายปีแล้ว เช่น จีน ไต้หวัน พม่า อินเดีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อาฟริกาใต้ และไทย การสำรวจหัวกะโหลกวาฬบรูด้าในไทย พบว่าตัวอย่างทั้งหมดประมาณ 50 กว่าตัวที่เก็บไว้ตามสถานที่ราชการและวัด สามารถแยกออกเป็น 2 ชนิด โดยที่วาฬอิดิไน (B. edeni) และวาฬโอมูไล (B. omurai) พบได้ทั้งสองฝั่งทะเลของไทยคือฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย น่าสังเกตว่าตัวอย่างหัวกะโหลกในอ่าวไทยตอนบนจาก จ.นครศรีธรรมราชขึ้นไป และชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ตัวอย่างเกือบ 100% เป็นชนิด อิดิไน" อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่.... http://www.saveoursea.net/boardapr20...p?topic=1350.0 http://www.saveoursea.net/boardapr20...p?topic=1295.0 http://www.saveoursea.net/boardapr20...p?topic=1333.0 หมายเหตุ: จากข้อมูลล่าสุดทราบจากน้องตึกว่า ในปี 2539 นักวิจัยชาวญี่ปุ่นได้แยกวาฬ โอมูไล หรือ โอมูร่า (B. omurai) ออกจากกลุ่มวาฬบรูด้า หลังจากได้ศึกษาทางสภาพสรีรวิทยา สภาพโครงกระดูก และพันธุกรรม (DNA) อย่างละเอียดแล้ว อ่านข้อมูลได้จาก http://www.dmcr.go.th/dmcr2009/News/data/241.html
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 18-07-2011 เมื่อ 04:15 |
#9
|
||||
|
||||
โดยสรุป...วาฬบรูด้าที่เราจะได้เห็นที่นี่ จะเป็นพันธุ์ อิดีไน (B. edeni) ทั้งหมด... เมื่อรู้จักลักษณะและชนิดของวาฬบรูด้าที่เราจะได้เห็นแล้ว...สองสายก็ตั้งหน้าสอดส่ายสายตามองหาวาฬบรูด้า ตามน้องตึกและทีมงานไปด้วย เราเริ่มสังเกตเห็นน้ำทะเลที่ปากอ่าวบางตะบูนใสกว่าในแม่น้ำที่เราแล่นเรือผ่านมา แต่เริ่มมีแพลงก์ตอนลอยฟ่อง น้ำทะเลจึงออกสีเขียวๆเหมือนมรกต ใต้ผิวน้ำมีแมงกะพรุนตัวใหญ่ขนาดหัวคน ไหลไปตามกระแสน้ำมากมาย ปลากะตักตัวขนาดนิ้วก้อยเป็นร้อยเป็นพัน กระโดดขึ้นมาเหนือน้ำอยู่หยอยๆ มีไม่น้อยที่กระโดดขึ้นมาบนเรือของไต๋จำรูญ ดีดถูกแขนขาของเรา แล้วก็ไปนอนแอ้งแม้งอยู่กับพื้นเรือ นัยว่าปลากะตักที่กระโดดขึ้นมาบนเรือนั้น กว่าเราจะกลับไปถึงบ้านไต๋จำรูญ เราจะได้ปลากะตักแดดเดียว ไว้กินกับข้าวต้มได้เต็มจานทีเดียว ปลากะตักที่มีอยู่มากมายที่นี่นี่เอง ที่เป็นตัวดึงดูดให้วาฬบรูด้า ว่ายเข้ามาหากินในน่านน้ำแถบนี้ตลอดทั้งปี
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-01-2021 เมื่อ 17:07 |
#10
|
||||
|
||||
น้องตึกหรือน้องแม่หมูน้ำของเรา บอกสายชลว่า วิธีที่่จะสังเกตว่าวาฬบรูด้าหากินอยู่ตรงไหน ให้สังเกตนกนางนวลสีขาว ที่เมื่อไรรวมฝูงวนเวียนอยู่ตรงบริเวณใด เราก็จะเห็นวาฬหากินอยู่บริเวณนั้น ทั้งนี้เพราะนกนางนวลขี้โกง ชอบพุ่งลงไปจิกปลากระตักจากปากของวาฬมากิน ขณะที่วาฬใช้ปากแทงหรือช้อนปลาหากินตามวิสัย.... ที่นี้ก็สนุกค่ะ...เพราะสายชลนั่งมองฟ้าหานก สลับกับมองน้ำหาวาฬ คุณสายน้ำก็คงจะทำอย่างนี้เหมือนกัน ในไม่ช้าก็ควักยาดมออกมาจ่อจมูก เพราะมึนทั้งเรือโยกและมองขึ้นๆลงๆจนเมา.... เวลา 11 โมงเศษ....เรือแล่นผ่านดอนหอยหลอด ไปได้เล็กน้อย ก็มีเสียงจากน้องๆทีมสำรวจว่า "นู่นนน....วาฬขึ้นแล้ว...." สายชลกระโดดผลึงไปยืนอยู่หัวเรือ พยายามจ้องมองไปยังจุดที่น้องชี้มือให้ดู อู้ฮู้ววว...ไกลออกไปจนเกือบถึง วัดกระซ้าขาว ที่ตั้งอยู่เมืองสมุทรสาครนู่นนนน....เห็นฝูงนกบินโฉบไปมา แต่ไม่เห็นวาฬเลยค่ะ...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 12-07-2012 เมื่อ 20:10 |
|
|