#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 2 กันยายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ อนึ่ง พายุระดับ 5 (ไต้ฝุ่น) "ไมสัก" บริเวณทะเลจีนตะวันออก คาดว่าจะเคลื่อนตัวไปยังประเทศเกาหลีในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. 2563 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 2 ก.ย. ? 4 ก.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในช่วงวันที่ 5 - 7 ก.ย. 63 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง พายุระดับ 5 (ไต้ฝุ่น) "ไมสัก" บริเวณทะเลจีนตะวันออกมีการเคลื่อนตัวไปทางคาบสมุทรเกาหลี ในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. 63 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 2 ? 4 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ฮือฮา! พบ "ฉลามวาฬ" ขนาดใหญ่ แหวกว่ายไม่ไกลจากเกาะหลีเป๊ะ เช้านี้ (1 กันยายน 2563) เพจผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้เผยภาพ "ฉลามวาฬขนาดใหญ่" เรียกเสียงฮือฮาให้กับผู้ที่ได้พบเห็น โดยระบุข้อความว่า เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากมาก สำหรับการพบเจอ "ฉลามวาฬขนาดใหญ่" ที่ปรากฎอยู่บริเวณกองหิน ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเกาะหลีเป๊ะ กำลังแหวกว่ายท่ามกลางฝูงปลาจำนวนมาก นี่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลอันดามัน และสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นฟูของระบบนิเวศน์ทางทะเลที่เริ่มจะกลับมาสมบูรณ์อีกครั้งหลังจากการพักเรื่องท่องเที่ยวไปในช่วง COVID-19 ระบาดที่ผ่านมา การดำน้ำในครั้งนี้นับว่าคุ้มค่ามากที่สุดจริงๆ ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวนพี่น้องทุกท่านมาร่วมสัมผัสธรรมชาติแห่งท้องทะเลอันดามันที่น่าหลงใหลและภาพที่หาดูได้ยาก สำหรับ "ฉลามวาฬ" (Whale Shark) เป็นสัตว์สงวนของไทย และมีสถานะ ใกล้สูญพันธุ์ใน IUCN Redlist เป็นปลาที่ขนาดใหญ่ที่สุด ฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปีฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน https://mgronline.com/travel/detail/9630000089514 ********************************************************************************************************************************************************* ดร.ธรณ์ ฟันธง! "แนวปะการัง อ่าวมาหยา ต้องใช้เวลาฟื้นนานนับสิบปี" อ่าวมาหยา สวรรค์อันดามัน ต้องใช้เวลาฟื้นแนวปะการังอีกนับสิบปี เมื่อเร็วๆ นี้ เพจเฟซบุ๊ค Thon Thamrongnawasawat โดย ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีกิจการพิเศษ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง บางเขน ซึ่งเป็นนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางทะเล ไปร่วมประชุมและสำรวจท้องทะเลฝั่งอันดามัน ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ ได้โพสต์อัปเดทถึงการฟื้นฟูแนวปะการังที่อ่าวมาหยา ว่า ถึงตอนนี้ คงพอบอกได้แล้วว่า ปะการังที่อ่าวมาหยาคงไม่ฟื้นคืนเหมือนเดิมใน 2-3 ปี สี่ห้าปี ? ยังไม่อยากให้หวัง เราอาจต้องพูดถึงตัวเลข "นับสิบปี" ไม่ใช่เพราะเจ้าหน้าที่อุทยาน/อาสาสามัคร ไม่ได้ช่วยกัน ในทางตรงข้าม ทุกคนทุ่มเทเต็มที่ มากกว่าที่คาดไว้ด้วยซ้ำ การย้ายปลูกปะการังที่อ่าวมาหยา ถือเป็นโครงการใหญ่สุดของอุทยานในด้านนี้ และต้องปรบมือให้ ปัญหาคืออ่าวมาหยามีเขาหินปูนโอบล้อมรอบด้าน ทางเข้าออกมีนิดเดียว กระแสน้ำวนเวียน ยากที่ตัวอ่อนปะการังจากด้านนอกจะเข้ามา พ่อแม่ปะการังในอ่าวทรุดโทรมหนัก เหลือรอดอยู่เพียงเล็กน้อย แนวปะการังอ่าวมาหยาใช้เวลาก่อร่างสร้างตัวหลายร้อยปี ก่อนจะมาถึงจุดที่เรียกได้ว่า "สวรรค์" เมื่อเรารุกรานสวรรค์ เราย่อมได้รับผล แม้เราจะทราบแล้ว เข้าใจแล้ว ขอโทษทะเลแล้ว แต่การฟื้นคืนสวรรค์ไม่ใช่เรื่องง่าย มันไม่เกี่ยวว่าเราอยากได้เธอกลับมาแค่ไหน มันเกี่ยวว่าทะเลจะยินดีมอบเธอกลับคืนมาเมื่อไหร่ การทำผิดย่อมเกิดบทเรียน เรากำลังเรียนรู้ว่า สวรรค์มีค่ามหาศาล และการฟื้นคืนสวรรค์ยากเย็นแสนเข็ญ เพราะฉะนั้น จงปกปักรักษาสิ่งที่มีอยู่มีอยู่ในวันนี้ อย่าให้คำว่า "ฟื้นฟูได้" มาเป็นภาพลวงตา ฟื้นฟูได้...อาจใช่ แต่ได้เมื่อไหร่ ??? ตะวันกำลังลับลา เจ้าหน้าที่อุทยาน/อาสาสมัครยังคงทำงานต่อไป แสงทองส่องประกายผ่านเข้ามาทางปากอ่าว คล้ายเป็นดังความหวังเรืองรอง หวังที่ต้องทุ่มเทพยายาม ประโยคนี้ขอค้อมหัวคารวะทุกท่านที่กำลังพยายามเพื่ออ่าวมาหยา ผู้ที่กำลังทำ #ภารกิจฟื้นฟูสวรรค์ เข้าใจ รักในสิ่งที่พวกท่านทำ และขอบคุณด้วยความรู้สึกจากส่วนลึกของใจ สวรรค์อันดามันวันวาน ธรรมชาติแห่งนี้หนาแน่นไปด้วยเรือท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว ทำให้สภาพธรรมชาติเสื่อมโทรม ชายหาดทรุดตัว สวรรค์อันดามันวันวาน ธรรมชาติแห่งนี้หนาแน่นไปด้วยเรือท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว ทำให้สภาพธรรมชาติเสื่อมโทรม ชายหาดทรุดตัว ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีมติเมื่อกลางปี 2561 ให้ปิดการท่องเที่ยวอ่าวมาหยากลางทะเลอันดามัน เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ เนื่องจากพบว่า แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งนี้หนาแน่นไปด้วยเรือท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว ทำให้สภาพธรรมชาติเสื่อมโทรม ชายหาดทรุดตัว นอกจากนี้ยังพบสารเคมีบางชนิด เช่น ครีมกันแดดที่นักท่องเที่ยวใช้ทาตัวก่อนลงเล่นน้ำ กลับเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาวจนนำไปสู่การประกาศปิดอ่าวเพื่อฟื้นฟูสภาพของระบบนิเวศ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-30 กันยายน 2561 และต่อมามีการขยายเวลาปิดอ่าวต่อเนื่องมาอีก 1 เดือน กระทั่งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเรียกร้องให้มีการเปิดอ่าวอีกครั้ง ในเดือน พ.ย.ปีเดียวกัน แต่เมื่อ ต.ค.2561 กรมอุทยานฯ กลับมีมติปิดอ่าวมาหยาอย่างไม่มีกำหนดจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุผลเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายหาดในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการฟื้นฟูปะการังที่เสื่อมโทรมอย่างหนัก ช่วงสัปดาห์นี้ อาจารย์ธรณ์ ได้เข้าร่วมแนวทางกำหนดแผนปฏิรูปพื้นที่ทะเล ใน 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ โดยใช้?อ่าวพังงา? เป็นพื้นที่นำร่อง ทว่าอาจารย์ก็ย้ำว่าแผนต่างๆ เมื่อเขียนเสร็จแล้วต้องทำด้วย ไม่งั้นก็ไม่เกิดผล ช่วงนี้ใครทำอะไรได้ควรช่วยกัน ผมจึงมุ่งหน้าไปภูเก็ต/พังงา ผมชอบอ่าวพังงา ไปตั้งแต่เด็ก (ปี 14 คุณพ่อเขียนไว้หลังภาพถ่าย) จากนั่นก็ขึ้นล่องมาตลอด ทราบดีว่าอ่าวพังงาคือหัวใจของอันดามัน มีโอกาสช่วยวางแผนในอ่าวพังงาหลายครั้ง สุดท้ายคือแผนปฏิรูป/ยุทธศาสตร์ ผมขอให้กก.เลือกเป็นพื้นที่นำร่อง และคงอยู่มาจนถึงตอนนี้ แผนต่างๆ ของไทยเมื่อเขียนเสร็จแล้วต้องลงไปทำด้วยครับ ไม่งั้นไม่เกิดหรอก เพื่อนธรณ์ที่ตามมาตลอด คงเคยเห็นโครงการต่างๆ ในอ่าวพังงา เช่น โมเดลขยะทะเล อุทยานชุมชน เกาะละวะ/เกาะเรียนรู้ ฯลฯ แต่ตอนนี้เราเจอโควิด หลายอย่างเปลี่ยนไป ธรรมชาติสดใส แต่ผู้คนเดือดร้อนเพราะไม่มีการท่องเที่ยว สถานการณ์แบบนี้ต้องเริ่มจากช่วยคน ผมเคยส่งถุงยังชีพไปให้คนรอบอ่าวพังงา ในนามทีมเพื่อนธรณ์ รวมกับอุทยานและคนในพื้นที่ ลงมาหนนี้ จะเน้นก๊อกสอง/สาม ก๊อกสองคือช่วยกันแบบซึ่งๆ หน้า โดยชวนภาคเอกชน/เพื่อนๆ ไปสนับสนุนเงินบริจาคให้หลายโรงเรียนรอบอ่าว ใช้ช่วยน้องๆ/สิ่งแวดล้อมให้ต่อเนื่อง ถึงวันกิจกรรมจะเล่าให้ฟังอีกครั้งครับ ก๊อกสามคือไปเพื่อผลักดันต่อตามแผน เพิ่งประชุมกับเหล่าผู้เชี่ยวชาญของหลายหน่วยงานเมื่อวาน (ดูภาพนะจ๊ะ) อ่าวพังงาจะเป็นพื้นที่นำร่อง ทั้ง OHI (ocean health index) ทั้ง Ocean Account เพื่อต่อเนื่องไปสู่ MSP (marine spatial planning) ศัพท์พิลึกเหล่านี้ทั่วโลกเขาใช้กันเพื่อดูแลทะเลยุคใหม่ เมืองไทยก็ต้องวางแผนใช้ให้ทันและจะมีประโยชน์ในการท่องเที่ยว/การประมง ยุคหลังโควิด ยังสอดคล้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล ฯลฯ https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000089617
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวอิศรา
ศาลอุทธรณ์สั่ง 'พีทีทีซีจี' จ่ายชาวประมง 1.5 แสน ชดเชยเหตุน้ำมันรั่วปี 56 ศาลอุทธรณ์ สั่ง 'พีทีทีซีจี' จ่ายชดเชยเพิ่ม เหตุน้ำมันดิบรั่วลงทะเลปี 56 ชาวประมงรับรายละ 1.5 แสนบาทจากเดิมได้ 9 หมื่นบาท ผู้ประกอบการท่องเที่ยวรายละ 1.2 แสนบาทจากเดิมได้ 6 หมื่นบาท ขณะที่ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนเตรียมนำชาวบ้านยื่นฎีกาขอค่าชดเชยเพิ่มขึ้นอีก สืบเนื่องจากเหตุการณ์น้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC รั่วไหลลงทะเลระยอง เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2556 ที่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งและอ่าวทะเลระยอง ต่อมาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ชาวประมงพื้นบ้านและผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยว ในพื้นที่อ่าวระยองกว่า 400 ราย ให้ทนายความมูลนิธิข้อมลูชุมชน ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เพื่อเรียกค่าชดเชยในการประกอบอาชีพและร้องขอให้ตั้งกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ต่อบริษัทดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัท จ่ายค่าเสียหายชดเชยชาวประมง 3 เดือนรวม 90,000 บาท และผู้ประกอบการท่องเที่ยว 3 เดือน รวม 60,000 บาท และศาลยกคำฟ้องในเรื่องของการตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ (อ่านประกอบ : ศาลระยองสั่ง 'พีทีทีซีจี' จ่ายค่าเสียหายชาวบ้านสูญเสียอาชีพจากน้ำมันรั่วเมื่อ 5 ปีก่อน ) สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 1 ก.ย. นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน เปิดเผยว่า ศาลจังหวัดระยองอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้ โดยคำร้องให้เรียกค่าชดเชยเพิ่มเติมจากเดิมเนื่องจากผลกระทบในกรณีดังกล่าวเกิดความสูญเสียในการดำรงและประกอบอาชีพ ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้เพิ่มค่าเสียหายเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้บริษัทชดเชยชาวประมง 150,000 บาท จากเดิม 90,000 บาท และผู้ประกอบการท่องเที่ยว 120,000 บาท จากเดิม 60,000 บาท ส่วนกรณีที่ชาวบ้านร้องขอให้มีการตั้งกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ กรณีน้ำมันรั่วไหลในทะเล จ.ระยอง ศาลตัดสินว่า ไม่มีกฎหมายรองรับในการตั้งกองทุนนี้ขึ้นมา ถึงแม้จะตั้งกองทุนไม่ได้แต่ศาลให้ความเห็นว่า การที่ศาลแพ่งกรุงเทพฯในคดีเดิมพิพากษาให้โจทก์และจำเลยตกลงกัน ปรึกษานักวิชาการถึงแนวทางการฟื้นฟูและได้ฟื้นฟูอ่าวเสม็ดและอ่าวพร้าว ศาลได้พิพากษาไปตามนั้น เปิดโอกาสให้โจทก์ฟ้องศาลขอฟื้นฟูทะเลทั้งอ่าวระยองได้ในขั้นตอนต่อไป นางสาวส.รัตนมณี กล่าวว่า นอกจากคำตัดสินแล้ว มีประเด็นที่น่าสนใจว่า ศาลให้ความเห็นเกี่ยวกับการตั้งหน่วยงานรัฐตรวจสอบกรณีดังกล่าวกรอบระยะเวลา 3 ปี ต้องสอดคล้องกับการความเสียหายที่ชาวประมงและผู้ประกอบการต้องได้รับ ไม่ใช่ยึดตามกรอบเวลาที่ศาลชั้นต้นพิจารณาชดเชยรายได้เพียง 3 เดือน ตามที่หน่วยงานราชการประกาศว่าทะเลฟื้นฟูได้ภายใน 3 เดือน และศาลให้ความเห็นแย้งว่ากรณีที่บริษัทอ้างว่าน้ำมันรั่วทั้งหมด 50,000 ลิตร แต่ดูองค์ประกอบในการที่บริษัทใช้สารเคมีกำจัดคราบน้ำมันอย่างน้อย 37,500 ลิตร ตามหลักวิชาการต้องใช้ปริมาณสารกำจัดต่อน้ำมันรั่ว 1/10 เท่ากับว่าในอัตรานี้น้ำมันรั่วลงทะเลทั้งหมดอย่างต่ำ 300,000 ลิตร หรือถ้าใช้สารเคมีในอัตราส่วนที่มากเกินกำหนด ศาลให้ความเห็นว่าทรัพยากรธรรมชาติบางส่วนจะถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิง ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ศาลยังให้ความเห็นเกี่ยวกับ การทำหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ ที่เรียกค่าเสียหายในการฟื้นฟูกรณีน้ำมันรั่ว 7 ล้านบาท แต่ไม่เรียกค่าเสียหายในการฟื้นฟูทะเลและสิ่งแวดล้อม ถือว่าทำไม่ถูกต้อง เพราะว่าทรัพยากรสูญเสียไปแล้ว แต่ภาครัฐไม่ดำเนินการเรียกค่าเสียหายจากบริษัทเลย "ขั้นตอนต่อไปกลุ่มชาวประมงและผู้ประกอบการท่องเที่ยวจะมีการยื่นฎีกาเกี่ยวกับการขอค่าเสียหายชดเชยเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเรามองว่าจากเดิมที่ศาลตัดสินชดเชยในกรอบระยะเวลาเพียง 3 เดือน น้อยเกินไป ถ้าเทียบกับบรรทัดฐานที่ภาครัฐตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ 3 ปี เท่ากับว่าความเสียหายในเรื่องนี้ต้องได้รับการชดเชยมากในกรอบเวลาที่มากกว่านี้ และคำพิพากษาของศาลในเรื่องอื่นจะนำไปต่อยอดเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมต่อไป" นางสาวส.รัตนมณี กล่าว https://www.isranews.org/article/isr...91652-ptt.html
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
เปิดบัญชี "สัตว์ป่าคุ้มครอง" ชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ เฟซบุ๊ก สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Bureau, Thailand นำกฎกระทรวง กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ พ.ศ.2546 มาให้ดูกันชัดๆ อีกครั้ง หลังมีคนสอบถามเป็นจำนวนมากว่า หากต้องการเลี้ยงสัตว์ป่าบางชนิดจะสามารถทำได้หรือไม่ โดยกฎกระทรวงดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2546 โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี 2546 ช่างไม้สุดครีเอททำบาร์ถั่ว 7 ชนิด ไว้ในสวน ให้กระรอกมาเลือกกินได้ตามใจชอบ โดยยกเลิก กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และให้สัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ซึ่งแบ่งเป็น สัตว์ป่าจําพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 8 ชนิด เช่น กวางป่า ลิงกัง ชะมดเช็ด ฯลฯ สัตว์ป่าจำพวกนก 42 ชนิด เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกขุนทอง นกยูง นกเอี้ยงสาริกา หรือ นกเอี้ยงสาลิกา ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าหลังเทา ฯลฯ สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงคลาน 6 ชนิด เช่น งูเหลือม งูหลาม จระเข้น้ำเค็ม จระเข้น้ำจืด ฯลฯ สัตว์จำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก คือ กบทูต หรือ เขียดแลว สัตว์จำพวกปลา 2 ชนิด คือ ปลาตะพัด หรือ ปลาอโรวาน่า และ ปลาเสือตอ ปลาเสือ หรือ ปลาลาด อย่างไรก็ตาม สัตว์ป่าคุ้มครอง ที่นอกเหนือจากบัญชีที่ได้รับอนุญาตนี้ หากมีไว้ในครอบครอง จะมีความผิดตามกฎหมาย ระวางโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 5แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/132428
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|