#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมายังคงมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อน "ลูปิต" บริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน กำลังเคลื่อนตัวสู่เกาะไต้หวันในวันนี้ (7 ส.ค. 64) พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 7 - 12 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวและเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 10 - 12 ส.ค. 64 ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุโซนร้อน ?ลูปิต?บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ คาดว่าจะเคลื่อนตัวไปทางเกาะไต้หวันในช่วงวันที่ 7-8 ส.ค.64 พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุโซนร้อน ลูปิต" ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 07 สิงหาคม 2564 เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (7 ส.ค. 64) พายุโซนร้อน "ลูปิต" มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณชายฝั่งตะวันออกประเทศจีน หรือที่ละติจูด 24.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 119.6 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนไปทางเกาะไต้หวันในวันนี้ (7 ส.ค. 64) พายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
12 ขวบสุดช็อก! ถูกฉลามกัดยับ 20 แผล โชคดีหนีขึ้นฝั่งทัน-ต้องเย็บ 42 เข็ม 12 ขวบสุดช็อก! ? วันที่ 6 ส.ค. มิร์เรอร์ รายงานเหตุระทึกกรณี ฉลาม โจมตีในสหรัฐอเมริกา หลังจากเด็กหญิงวัย 12 ปี ถูกฉลามกัดจนเป็นแผลฉกรรจ์ระหว่างเล่นน้ำอยู่ริมหาดโอเชียนซิตี รัฐแมรีแลนด์ แต่โชคดีที่ไม่โดนสัตว์นักล่าลากลงไปใต้น้ำ และรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา ด.ญ.จอร์แดน พรูชินสกี และครอบครัวกำลังพักผ่อนช่วงวันหยุดอยู่ที่ริมหาดโอเชียนซิตี ต่อมาจอร์แดนลงไปเล่นน้ำที่ความลึกประมาณหัวเข่า และว่ายเล่นไปมาแถวๆ หาด ก่อนรู้สึกเจ็บแปลๆ ที่ขา "ฉันนึกว่าเป็นแมงดาทะเลว่ายกระแทกแถวหน้าแข้ง ฉันไม่ค่อยชอบสัตว์ทะเลเลยรีบวิ่งขึ้นฝั่ง แทบจะทันทีฉันก็พบว่าเลือดไหลเต็มไปหมด และมีแผลทั่วขาของฉัน" จอร์แดนเล่าถึงเหตุการณ์สยอง ด้านนางเมลิสซา พรูชินสกี แม่ของจอร์แดน เปิดเผยว่ารีบวิ่งไปดูลูกสาวหลังขึ้นมาจากทะเลและมีเลือดนองเต็มขา ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ไลฟ์การ์ดเข้ามาช่วยเหลือ ส่วนนักท่องเที่ยวก็โทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินให้ ไม่นานนักหน่วยแพทย์ฉุกเฉินก็รุดมาถึงจุดเกิดเหตุและพาเด็กหญิงไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งหมอแผนกฉุกเฉินวินิจฉัยว่ารอยแผลกว่า 20 แห่งที่ขาของจอร์แดนเป็นรอยกัดของฉลาม โดยเด็กหญิงต้องเย็บแผลมากถึง 42 เข็ม แต่อาการไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6551020
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
ไข่เต่ากระที่เกาะทะลุฟักต่อเนื่อง ประจวบคีรีขันธ์ 6 ส.ค. ? กรมอุทยานแห่งชาติเผย ไข่เต่ากระที่แม่เต่าขึ้นมาวางไข่พื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์อย่างต่อเนื่อง ทยอยฟัก โดยอัตราการรอดสูง เป็นผลดีต่อการเพิ่มประชากรเต่ากระ ซึ่งเป็นสัตว์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรีกล่าวว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ที่ลาดตระเวนการขึ้นวางไข่ของเต่ากระในพื้นที่เกาะทะลุ อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งพบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของแม่เต่ากระอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่พบตัวแม่เต่ากระ ล่าสุดขึ้นวางไข่บริเวณอ่าวเทียน เจ้าหน้าที่จึงทำการขุดหลุมรังไข่ ทำการย้ายรังไปไว้ในที่ซึ่งปลอดภัยจากสัตว์ที่จะเข้ามากินไข่เต่าและน้ำทะเลที่อาจท่วมถึงในช่วงเวลาน้ำทะเลขึ้นสูง โดยนับเป็นรังที่ 20 มีจำนวนไข่สมบูรณ์ทั้งหมด 151 ฟอง วัดร่องรอยของพายได้ 75 เซนติเมตร ขนาดหลุมวางไข่ กว้าง 23 เซนติเมตร ลึก 41 เซนติเมตร นอกจากนี้ ยังบันทึกการฟักของลูกเต่าซึ่งแม่เต่าขึ้นวางไข่ในเดือนมิถุนายน 2 รัง รวม 246 ตัว ระยะเวลาที่ใช้ในการฟักออกเป็นตัวเฉลี่ย 60 วัน อัตรารอดเฉลี่ย 96 % ซึ่งเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเล สยามนำไปอนุบาลไว้ก่อนเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป "เต่ากระ" เป็นสัตว์ทะเลหายาก มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และอยู่ในIUCN Red List : CR คือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ รวมทั้งจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญาไซเตส (CITES) . https://tna.mcot.net/latest-news-753629
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
สรุปสถานการณ์สภาพภูมิอากาศ "เรากำลังมาถึงจุดวิกฤต" น้ำท่วมรุนแรง คลื่นความร้อน พายุไซโคลน ไฟป่า และปรากฎการณ์ Polar Vortex ในครึ่งปีแรกของปี 2564 นอกจากสถานการณ์โรคระบาดที่ย่ำแย่ สภาพอากาศที่รุนแรงสุดขั้วซึ่งเป็นผลจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศก็ทวีความรุนแรงยิ่งกว่าปีก่อนๆที่ผ่านมา สภาพอากาศที่รุนแรงแบบนี้เกิดคำถามว่าแล้วเรากำลังเดินไปสู่จุดไหนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตอนนี้สภาพภูมิอากาศวิกฤตแค่ไหน? ครึ่งปีที่ผ่านมาเราเผชิญกับภัยธรรมชาติจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศแบบไหนบ้าง? โพลาร์ วอร์เท็กซ์ (Polar Vortex) ในปีนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกต้องเผชิญกับโพลาร์ วอร์เท็กซ์ทำให้อากาศหนาวทุบสถิติ อุณหภูมิในกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ลดลงต่ำที่สุดในรอบ 35 ปี โดยสภาพอากาศตลอดทั้งคืนอยู่ที่ -18.6องศาเซลเซียส เป็นตัวเลขต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2529 ในขณะที่จีนก็ต้องเผชิญกับอากาศหนาวเย็นเช่นกัน ซึ่งอุณหภูมิในกรุงปักกิ่งลดลงแตะ -19 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี นอกจากนี้ที่ญี่ปุ่นได้บันทึกสถิติความหนาของชั้นหิมะใหม่ หิมะที่ตกหนักนี้ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตอย่างน้อย 13 ราย และมียานพาหนะกว่า 1,200 คัน ถูกฝังอยู่ใต้หิมะ สิ่งที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นในขั้วโลกเหนือเป็นสาเหตุให้เกิดความหนาวจัดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ส่วนหนึ่งเกิดจากปรากฎการณ์ Polar Vortex เคลื่อนตัวมาทางใต้ อุณหภูมิในกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ลดลงต่ำที่สุดในรอบ 35 ปี โดยสภาพอากาศตลอดทั้งคืนอยู่ที่ -18.6องศาเซลเซียส เป็นตัวเลขต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2529 นอกจากคลื่นความหนาวที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก อย่างเกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ สเปนก็เป็นอีกประเทศที่ต้องเจอกับอากาศหนาวที่สุดรวมทั้งหิมะตกหนักเป็นสถิติใหม่ เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา สเปนได้รับผลกระทบจากพายุหิมะ Filomena เกิดคลื่นความหนาวและหิมะตกหนัก ทั้งนี้คลื่นความหนาวส่งผลกระทบกับเมืองอีกหลายเมืองในสเปนโดยเฉพาะกรุงมาดริดที่อุณหภูมิลดต่ำลงเหลือ -12 องศาเซลเซียส เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1907 คลื่นความร้อนในรัสเซีย แม้ว่าจะเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่า "หนาวมาก" ประเทศหนึ่งของโลก แต่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (2564)รัสเซียกลับต้องเจอคลื่นความร้อน โดยกรุงมอสโกมีอุณหภูมิสูงถึง 31.9 องศาเซลเซียส และพุ่งแตะ 33.6 องศาเซลเซียสในช่วงบ่าย ครั้งล่าสุดที่อุณหภูมิรัสเซียสูงขนาดนี้ต้องย้อนไปปีพ.ศ. 2460 หรือเกือบร้อยปีที่แล้ว ส่วนอุณหภูมิในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กวันที่ 21 มิถุนายน พุ่งแตะ 34.3 องศาเซลเซียส แซงหน้าเมืองทางใต้อย่างเอเธนส์ โรม มาดริด สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องยืนยันข้อสรุปของรายงาน Roshydromet Assesment (ในปี 2559) ที่ว่าอุณหภูมิของรัสเซียจะสูงขึ้นอย่างรุนแรง นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในศตวรรษที่ 21 รัสเซียจะอยู่ในเขตที่อุณหภูมิจะสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก เหตุการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมรุนแรง ครึ่งปีที่ผ่านมา หลายภูมิภาคเจอกับภัยพิบัติฝนตกหนักและน้ำท่วมรุนแรง ตั้งแต่เหตุน้ำท่วมในออสเตรเลีย เบลเยียม เยอรมนี ลักแซมเบิร์ก อินเดีย จีน และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะในเหตุการณ์แต่ละครั้งเราต่างสูญเสียผู้คนไปหลายชีวิต หรือแม้กระทั่งในไทยที่จังหวัดชุมพร ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุฝนตกหนักน้ำท่วมเช่นกัน ผลกระทบจากพายุโซนร้อน เจิมปากา พัดถล่มตำบลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ฝนที่ตกหนักและน้ำป่าไหลหลาก ชุมชนต้องอพยพหนีออกจากพื้นที่ สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน ทรัพย์สินและสวนผลไม้ของชุมชน เหตุการณ์น้ำท่วมหนักในทางตอนใต้ของกาลิมันตัน ? Putra / Greenpeace เราอยู่ในจุดวิกฤต นี่คือภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ จากข้อมูลขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสพหรัฐอเมริกา (US EPA) ระบุถึงผลการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ รายงานว่าเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเช่น คลื่นความร้อน หรือพายุลูกใหญ่ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงกว่าเดิม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนในระยะยาวจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม กลายเป็นภัยต่อชุมชนเช่นอาจทำให้มนุษย์มีโอกาสป่วยและเสียชีวิตมากขึ้น หรือทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจำนวนมาก ในรายงานจากกรีนพีซ เอเชียตะวันออก ได้วิเคราะห์ถึงความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากระดับอุณหภูมิที่สูงขึ้นสุดขั้วและปรากฎการณ์ฝนตกหนักในเขตปริมณฑลรอบกรุงปักกิ่ง ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว-เซินเจิ้น พบว่าเมืองที่มีความหนาแน่นสูงจะมีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสูงขึ้นตาม ขณะที่เขตชานเมืองที่มีชุมชนคนเมืองอาศัยอยู่จะมีระดับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รายงานระบุว่ากรุงปักกิ่งกำลังประสบภาวะอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นเฉียบพลัน โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ระดับ 0.32 องศาเซลเซียสทุกๆ 10 ปี ส่วนเซี่ยงไฮ้เผชิญกับคลื่นความร้อนบ่อยครั้ง ผลลัพธ์จากรายงานแสดงให้เห็นว่าเมืองกวางโจว-เซินเจิ้น เผชิญกับคลื่นความร้อนตั้งแต่ปี 2504 ทั้งหมด 98 ครั้ง โดยตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบันเกิดขึ้น 73 ครั้ง ภาพประชาชนพักผ่อนอยู่ใกล้กับจตุรัสเทียนอันเหมิน ในปี 2548 จีนเผชิญกับคลื่นความร้อนทำให้อุณหภูมิสูงถึง 42 องศาเซลเซียส ? Greenpeace / Natalie Behring รู้จัก 'คำประกาศภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ' คำประกาศภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Bio Science และลงนามโดยนักวิทยาศาสตร์ 11,258 คน จาก 153 ประเทศ คือเสียงเตือนที่ต้องรับฟัง แนวร่วมนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกประกาศพร้อมที่จะทำงานข้างเคียงกับผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลต่างๆ ในการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (just transition)ไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนและเคารพความแตกต่างหลากหลาย คำประกาศภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศนี่เองที่เป็นเหมือนเข็มทิศนำทางให้ภาครัฐ เอกชนและภาคสาธารณะเข้าใจสถานการณ์ความร้ายแรงของวิกฤตและให้ความสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบัน หลายประเทศได้ประกาศให้คำมั่นสัญญาที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อชะลอไม่ให้สภาพภูมิอากาศที่วิกฤตอยู่แล้ว เลวร้ายยิ่งกว่าเดิม อย่างไรก็ดีเรายังไม่เห็นถึงความจริงจังต่อประเด็นนี้มากพอ ไม่ต้องมองไปถึงประเทศที่อยู่ไกลออกไปเพราะเพียงแค่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วเราก็ยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวหรือแรงผลักดันในการแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมเลย การรณรงค์เพื่อสภาพภูมิอากาศของกลุ่มเยาวชนและกลุ่มคนทั่วไปในไทย เกิดขึ้นเมื่อปี 2562 เพื่อเรียกร้องให้รัฐลงมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ? Biel Calderon / Greenpeace ก่อนหน้านี้โลกของเราร้อนขึ้น 1 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัจจุบันโลกของเราก็เผชิญกับเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และทุกอย่างอาจวิกฤตไปกว่านี้หากเราไม่สามารถรักษาอุณหภูมิโลกไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส พายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสัญญาณเตือนที่เด่นชัดถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เรากำลังเผชิญ สิ่งที่น่ากังวลคือเรากำลังจะเจอปัญหาเรื่อง "ความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ" มากขึ้น เราจะเห็นว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรงนี้คือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มชายขอบ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึงทรัพยากรในการเอาตัวรอดจากวิกฤตดังกล่าวได้น้อยกว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงที่เข้าถึงทรัพยากรได้มากกว่า ทั่วโลกกำลังตื่นตัว คนธรรมดาทั่วไปลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง เราย้ำเตือนผู้นำประเทศเกี่ยวกับระยะเวลาในการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งเราเหลือเวลาเพียงแค่ 10 ปีเท่านั้น "ภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ" ไม่ใช่การสร้างความแตกตื่น แต่ทำให้คน "ตื่นรู้" ถึง "วิกฤตทางนิเวศวิทยา" ที่ผู้คนทั้งสังคมต้องเผชิญและหาทางออกร่วมกัน "ภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ" ไม่เพียงเป็นยุทธศาสตร์ที่พิจารณาแนวโน้มอนาคตในระยะยาวและนโยบายแบบทางการ แต่รวมถึง "การลงมือทำเดี๋ยวนี้" ก่อนที่จะสายเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะภัยจากการล่มสลายของระบบสภาพภูมิอากาศ https://www.greenpeace.org/thailand/...mid-year-2021/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|