เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 14-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching)


ในปี 2553 สถานการณ์ปะการังฟอกขาว ได้แพร่กระจายไปทั่วทั้ง 2 ฝั่งของทะเลไทย มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ สาเหตุสำคัญมีทั้งมาจากธรรมชาติและน้ำมือมนุษย์

แต่ก่อนจะเข้าไปถึงเนื้อหาที่ค่อนข้างเครียด สองสายจะให้ชม VDO Clips ทั้งของไทยและของต่างประเทศ ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆกันก่อน เป็นการอุ่นเครื่อง


เริ่มจาก VDO เผยแพร่ของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อน

ปะการังฟอกขาวคืออะไร?




__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 14-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


สาเหตุของปะการังฟอกขาว



__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 14-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


การแก้ปัญหาการเกิดปะการังฟอกขาว




__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 17-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ได้รับรายงานล่าสุด เกี่ยวกับ ผลกระทบจากการเกิดปะการังฟอกขาวปี 2553
โดย กลุ่มชีววิทยาและนิเวศวิทยาทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน

แต่เนื่องจากไฟล์เป็น pdf ผมจึงแปลงเป็น jpg จะได้โพสต์ให้อ่านได้ทั่วๆกันครับ




__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 17-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default




__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 17-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default




__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 17-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default




__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 17-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default







__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 01-03-2011 เมื่อ 07:03
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 07-02-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


หลายคำถามกับปะการังฟอกขาว (1) .................. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์




เหตุการณ์ปิดจุดดำน้ำในเขตอุทยานอันเนื่องมาจากผลกระทบของปะการังฟอกขาว ทำให้เกิดเสียงฮือฮาในสังคม มีคำถามมากมายเกิดขึ้นเกี่ยวกับท้องทะเลไทย ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอคั่นจังหวะการไปฝรั่งเศสไว้หนึ่งตอน เพื่อบอกเล่าแนวคิดของผมเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้ครับ

ปะการังฟอกขาวเพิ่งเกิดเหรอ ? - หากใครติดตามข่าวสารเกี่ยวกับทะเลไทย อาจจำได้ว่าเราเคยมีข่าวเกี่ยวกับปะการังฟอกขาวเมื่อกลางปี 2553 แต่ถ้านับข้อมูลที่รายงานโดยนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เราทราบเหตุการณ์มาตั้งแต่ต้นปีก่อน และเริ่มพยายามหาทางรวบรวมข้อมูลเรื่อยมา เช่น ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการศึกษาวิจัยใน “โครงการ สำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล” ภายใต้ความสนับสนุนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เรามีโอกาสติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังในกลุ่มจังหวัดเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง

เหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่เกิดมาตั้งแต่ต้นปีถึงกลางปีก่อน จนสถานการณ์ผ่านพ้นไปหมดแล้ว ปัจจุบัน เรากำลังรับมือจากผลของปะการังฟอกขาวที่ทำให้เกิดปะการังตายในหลายพื้นที่ทั่วทะเลไทย มิใช่รับมือกับปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว

แล้วทำไมเพิ่งฮือฮา ? - สำหรับสังคมแล้ว นี่อาจเป็นเรื่องเพิ่งฮืฮฮา แต่สำหรับเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เราติดตามสถานการณ์นี้มาตลอด หากจำกันได้ ผมเขียนเรื่อง “ความตายสีขาว” ใน “ผู้จัดการ” ในเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยบอกรายละเอียดต่างๆไว้แล้วบ้าง กลุ่มนักดำน้ำบางท่านก็ไปเห็นเหตุการณ์จริงและเป็นกระทู้ในเว็บไซต์บางแห่งมาตลอด

ความหมายของ “ฮือฮา” เกิดเมื่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ประสานกับเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดี ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมยังไม่รับทราบปัญหา อีกทั้งฤดูการท่องเที่ยวกำลังเริ่มต้นแล้ว จึงออกมาแถลงข่าวเพื่อรายงานสถานการณ์จริงให้เป็นที่รับทราบ ตามด้วยข้อเสนอแนะในการปิดพื้นที่บางแห่งไม่ให้ท่องเที่ยว จากนั้นกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงเรียกประชุมกลุ่มนักวิชาการและเจ้าหน้าที่อุทยาน เพื่อหาทางออกร่วมกัน ก่อนกลายเป็นการแถลงข่าวในภายหลัง

เมื่อเทียบกับสึนามิแล้วเป็นเช่นไร ? - ภัยพิบัติตามธรรมชาติที่เกิดผลกระทบรุนแรงกับแนวปะการังไทย แยกง่ายๆเป็น 3 แบบ
-อันดับแรกคือพายุ เช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ทำให้ปะการังในเกาะเต่าและหมู่เกาะชุมพรแตกหักเป็นจำนวนมาก
-อันดับที่สองคือสึนามิ ทำให้ปะการังหลายพื้นที่ในทะเลอันดามันเกิดความเสียหาย
-อันดับสุดท้ายคือปะการังฟอกขาวที่เคยเกิดในทะเลไทยอย่างรุนแรงมาแล้วอย่าง น้อย 2 ครั้ง เช่น ปี 2540-41

ปะการังฟอกขาวเกิดผลกระทบต่างจากไต้ฝุ่นหรือสึนามิ ในสองกรณีนั้น ปะการังจะแตกหักจากความรุนแรงของคลื่นและกระแสน้ำ จุดที่ตั้งของแนวปะการังจึงเกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวปะการังในร่องน้ำหรือจุดที่คลื่นพัดผ่านย่อมเกิดผลรุนแรง แนวปะการังที่ไม่โดนคลื่นหรือโดนน้อยย่อมเกิดผลเบากว่า ผิดจากเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเลแบบผิดปรกติ น้ำร้อนไปถึงทุกที่ซึ่งมีแนวปะการัง ทำให้ผลกระทบกระจายกว้างกว่า อย่างไรก็ตาม จุดที่ตั้งของแนวปะการังอาจมีความเกี่ยวข้องอยู่บ้าง เช่น แนวปะการังบริเวณที่มวลน้ำไหลเวียนดี อาจได้รับผลกระทบน้อยกว่า แต่ไม่มากนัก

ชนิดของปะการังยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ปะการังเขากวาง ปะการังพุ่ม ปะการังแผ่นตั้งและแผ่นนอน จะได้รับผลกระทบมากกว่าปะการังก้อน โดยเฉพาะปะการังเขากวางที่ตายเกือบหมด อ่าวหลายแห่งที่มีปะการังเขากวางจำนวนมาก เช่น เกาะตอรินลา หมู่เกาะสุรินทร์ จะได้รับผลกระทบสูง จนเหลือปะการังที่รอดชีวิตไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ผิดจากแนวปะการังที่มีปะการังก้อนเป็นหลัก อาจมีปะการังที่รอดชีวิตมากกว่าครึ่ง

เมื่อเทียบความรุนแรงกับภัยพิบัติต่างๆที่ผ่านมา รวมทั้งเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวในอดีต เราถือว่าครั้งนี้คือเหตุการณ์รุนแรงที่สุด เพราะเราได้รับผลกระทบในแทบทุกเกาะทั้งสองฝั่งทะเล ไม่ใช่เฉพาะแต่ในทะเลอันดามัน แม้แต่การปิดจุดดำน้ำในอุทยานฯ ยังรวมถึงบางแห่งในอ่าวไทย เช่น เกาะพร้าว อุทยานฯหมุ่เกาะชุมพร

ปิดอุทยานหมายความว่าอย่างไร ? - นี่คือข้อความที่ต้องอธิบายให้กระจ่าย การปิดอุทยานแห่งชาติ หมายถึงไม่เปิดให้บริการด้านการท่องเที่ยวนันทนาการ เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แต่การปิดพื้นที่ดำน้ำในอุทยานฯ เป็นอำนาจของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ไม่จำเป็นต้องรออธิบดีออกคำสั่ง

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคือการ “ปิดพื้นที่ดำน้ำ” มิใช่ “ปิดอุทยาน” เราสามารถไปหมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน พีพี ฯลฯ ตามปรกติ แต่เราอาจไม่สามารถดำน้ำในบางพื้นที่ซึ่งถูกปิด ในพื้นที่เหล่านั้นจะไม่มีทุ่นจอดเรือ แต่มีทุ่นสีขาวขึงไว้กั้นแทน อุทยานฯแต่ละแห่งยังประสานกับกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่เพื่อแจ้งให้ทราบ

ปิดแล้วช่วยได้จริงหรือ ? - คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ในอดีตเราเคยปิดจุดดำน้ำแฟนตาซี หมู่เกาะสิมิลัน เพราะผลกระทบจากนักดำน้ำที่มีมากเกินไป หลังจากปิดมาแล้วเกือบสิบปี สภาพปะการังอ่อนและกัลปังหาฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ เช่น อ่าวแม่ยาย หมู่เกาะสุรินทร์ ได้รับผลกระทบจากปะการังฟอกขาวในปี 2538 ปะการังเขากวางตาย มีสาหร่ายเห็ดหูหนูขึ้นคลุมพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร เราจึงปิดพื้นที่นั่นติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน แต่ผลที่เกิดขึ้นไม่ชัดเจน สาหร่ายอาจหายไปบ้าง แต่ก็กลับมาบ้าง หากดูการฟื้นตัวของแนวปะการังเขากวางนับว่าช้ามาก

การ “ปิด” จึงไม่ใช่วิธีการที่ยืนยันว่าจะได้ผล พื้นที่เปิดให้บริการบางแห่งอาจฟื้นตัวเร็วกว่าพื้นที่ปิดให้บริการ เพราะฉะนั้น การปิดพื้นที่จึงต้องกระทำควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามการฟื้นตัวที่เกิดขึ้น รวมถึงหาแนวทางให้เหมาะสมในการจัดการ เพราะสำหรับธรรมชาติแล้ว เวลาเพียงหนึ่งปีหรือสิบปีน้อยนิดยิ่งนัก เมื่อเทียบกับเวลากว่า 8,000 ปีที่แนวปะการังอยู่คู่ประเทศไทย (แนวปะการังหมู่เกาะสุรินทร์เก่าแก่ที่สุด) หรือเวลา 400 ล้านปีที่ปะการังอยู่คู่โลก (ปะการังคือสัตว์โบราณที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก ควบคู่มากับฟองน้ำ)

การปิดครั้งสำคัญเกิดขึ้นในช่วงคลื่นสึนามิ แต่ครั้งนั้นเป็นการปิดทั้งอุทยานเนื่องจากเกิดความเสียหายอย่างหนักบนแผ่นดิน รวมถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว รวมถึงการปิดจุดดำน้ำในแทบทุกพื้นที่ การติดตามผลเห็นการฟื้นตัวของปะการังอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้อาจแตกต่างกัน เพราะผลที่เกิดขึ้นจากคลื่นสึนามิคือปะการังแตกหัก สามารถงอกใหม่ได้รวดเร็ว (ยกเว้นในพื้นที่โดนตะกอนทรายทับที่ไม่สามารถฟื้นคืนได้) แต่ครั้งนี้ปะการังตาย ที่เหลือแม้จะรอดอยู่ แต่อยู่ในสภาพอ่อนแอ การฟื้นตัวจึงแตกต่างกัน ยิ่งถ้าคิดถึงสาหร่ายทะเล

สาหร่ายเกี่ยวข้องอย่างไร ? - แนวปะการังไม่ได้มีเพียงปะการัง แต่ยังมีสาหร่ายหลายชนิดเป็นคู่แข่งสำคัญ สาหร่ายจะพยายามแย่งพื้นที่การลงเกาะ หากเป็นแนวปะการังในสภาพสมบูรณ์ ปะการังจะชนะสาหร่ายในเกือบทุกพื้นที่ แต่หากแนวปะการังผิดปรกติ สภาพการณ์อาจเปลี่ยนไป สาหร่ายจะชนะแนวปะการังและยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ ดังเช่นแนวปะการังหลายแห่งในอ่าวไทยที่เปลี่ยนไปเป็นแนวสาหร่าย กลายเป็นพื้นที่ไร้ประโยชน์ในด้านการดำน้ำ รวมถึงเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีความหลากหลาย ไม่สามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนได้เหมือนแนวปะการัง

ผมตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้ให้ละเอียด เพื่ออธิบายให้พวกเราเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่า เราอาจเผชิญกับเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวอีกในอนาคตไม่ไกล เพราะฉะนั้น คงต้องขอต่อตอนสองในสัปดาห์หน้าครับ




จาก .................. ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 30 มกราคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 07-02-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


หลายคำถามกับปะการังฟอกขาว (2) .................. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์




ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปะการังฟอกขาวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการร่วมประชุมกับนักวิชาการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนการพูดคุยกับสื่อมวลชนและบุคลท่านต่างๆ ผมจึงรวบรวมคำถามและข้อมูลเหล่านั้นมาตอบไว้ในคอลัมน์นี้ เผื่อมีผู้สนใจอยากค้นคว้าอ้างอิงครับ

หลายคำถามตอบไปแล้วในสัปดาห์ก่อน แต่หนึ่งคำถามที่ยังไม่ได้ตอบชัดเจน ทั้งที่เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ คือ สถานการณ์ปะการังฟอกขาวส่งผลกระทบขนาดไหน ? ปะการังตายที่ใดบ้าง ? ผมเพิ่งได้ข้อมูลล่าสุดที่สรุปโดยเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นข้อมูลที่ทำการสำรวจในเดือนธันวาคม ไม่ใช่ในช่วงปะการังฟอกขาว แต่เป็นช่วงที่ผลปรากฏชัดเจน ผมจึงจะไม่บอกว่าปะการังฟอกขาวแค่ไหน แต่จะบอกว่าปะการังตายแค่ไหน และปะการังเหลืออยู่เท่าไหร่ เช่น แนวปะการัง A 10% (50%) หมายความว่า แนวปะการัง A เดิมทีเคยมีปะการังปกคลุม 20% ปัจจุบันมีปะการังที่มีชีวิตปกคลุมพื้นที่ 10% ตัวเลขในวงเล็บ 50% คือปะการังที่ตายไปเพราะปะการังฟอกขาว

เน้นย้ำกันอีกครั้งว่านี่คือตัวเลขที่ผ่านการศึกษาและพิจารณาร่วมกันของเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเรียบร้อยแล้ว เป็นวิธีการที่เป็นมาตรฐานเชื่อถือได้ และเป็นข้อมูลล่าสุดเท่าที่เรามี ตัวเลขเหล่านี้สามารถอ้างอิงได้ครับ

หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา เกาะสต็อค 7.4% (78.9%) เกาะสุรินทร์เหนือ หน้าช่องขาด 3.2% (93.6%) อ่าวแม่ยายด้านเหนือ 0.1% (99.9%) อ่าวทรายแดง 8.4% (75.8%) อ่าวไม้งาม 12.5% (75%) เกาะสุรินทร์ใต้ อ่าวเต่า 11% (85%) เกาะปาชุมบา 1.1% (95%) เกาะตอรินลา 4.7% (79.1%)

หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา เกาะสิมิลัน อ่าวประภาคาร 6.2% (89.3%) อ่าวเกือกหน้าหินใบ 11.1% (60.5%) เกาะบางู ด้านใต้ 6.5% (60.8%) เกาะปายู ตะวันออกเฉียงเหนือ 29.5% (25.9%) ปายู ตะวันตก 14.8% (49.5%) เกาะตาชัย ตะวันออก 8.6% (84%)

หมู่เกาะราชา จังหวัดภูเก็ต เกาะราชาใหญ่ ด้านเหนือ 1.4% (96.7%) ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ 20.5% (38.4%) ตะวันออก 17.5% (30.8%)

หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ อ่าวหยงกาเส็ม พีพีดอน 19.4% (51.5%) อ่าวลาน้ำ 12.7% (34.5%) แหลมตง 32.8% (36.6%) อ่าวต้นไทร 3.1% (94.9%) เกาะยูง 6.8% (88.5%) เกาะไผ่ ตะวันออก 22% (67.4%) ตะวันตก 14.9% (59.2%)

จากตัวเลขทั้งหมด จะเห็นว่าขาดไปบางพื้นที่ เช่น หมู่เกาะสิมิลัน มีรายงานจากนักดำน้ำว่าด้านตะวันตกของเกาะบอนก็ตายเยอะ และยังมีอีกหลายพื้นที่ หรือหมู่เกาะตะรุเตาตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ? ข้อมูลที่ผมนำมาลงไว้เป็นข้อมูลล่าสุดในเดือนธันวาคม เครือข่ายนักวิจัยมีปัญญาลงไปทำแค่นี้ เพราะขาดงบประมาณในการสนับสนุน เพราะตอนนั้นกรณีปะการังฟอกขาวยังไม่เป็นข่าวให้ฮือฮา (ถึงตอนนี้เป็นข่าวก็ยังไม่มีตังค์อยู่ดี)

เรามาดูข้อมูลที่มีตัวเลขชัดเจนก่อน จะเห็นได้ทันทีว่า แนวปะการังแต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน แม้แต่แนวปะการังในเกาะเดียวกัน เช่น เกาะราชา บางแห่งก็ตายตั้ง 96% บางแห่งตายแค่ 30% เหตุผลสำคัญคือปะการังแต่ละกลุ่มทนต่อปะการังฟอกขาวไม่เท่ากัน ปะการังเขากวางจะเป็นกลุ่มที่ตายมากสุด ปะการังก้อนและปะการังเห็ดจะตายน้อยสุด แม้จะฟอกขาวแล้วแต่ก็ฟื้นกลับได้เยอะ หากแนวปะการังใดมีปะการังเขากวางเป็นปะการังกลุ่มหลัก ฟอกขาวตูมเดียวย่อมทำให้ตายเป็นเบือ หากแนวใดมีปะการังก้อนเยอะ แม้จะฟอกขาวเยอะ แต่ก็ฟื้นเยอะ เปอร์เซ็นต์ปะการังตายจึงต่ำ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องจัดการกับแนวปะการังแต่ละแห่งแตกต่างกันไป ไม่ใช่เหมารวมปิดดะไปทุกจุด

ข้อมูลยังบอกว่า หมู่เกาะสุรินทร์คือพื้นที่ได้รับผลกระทบมากสุด ตัวเลขปะการังเกิน 75% ในทุกจุดศึกษา ถ้าดูตัวเลขปะการังที่เหลืออยู่ ยิ่งทำให้ใจสั่น ไม่มีที่ไหนมีปะการังเหลือเกิน 10% (เฉพาะจุดศึกษา) แถมหมู่เกาะสุรินทร์ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำตื้นสำคัญสุดของไทย ใครไปก็ล้วนแต่ประกอบกิจกรรมใส่ชูชีพใส่หน้ากากลอยตุ๊บป่องชมปะการัง การอนุรักษ์และการจัดการในอนาคตต้องให้ความสำคัญกับที่นี่เป็นอันดับแรก ระดมสมองและทุ่มทุกอย่างลงไป ผมเขียนได้แค่นี้น้ำตาก็พาลจะไหล เฮ้อ...

ผมดำน้ำที่นั่นเป็นครั้งแรกในพ.ศ.2524 จากนั้นก็ไปทำงานไม่รู้กี่ร้อยวันต่อเนื่องกันเกินยี่สิบปี ภาพดงปะการังเขากวางมหัศจรรย์ที่เกาะตอรินลา เกาะปาชุมบา และอีกหลายเกาะ ยังคงติดตา จึงอยากบอกชัดเจนว่า หากเป็นแนวคิดของผม ผมจะหยุดการพาคนขึ้นไปค้างบนเกาะชั่วคราว (บ้านพักของอุทยานทั้งหมด ผู้ประกอบการไม่เดือดร้อน) เปลี่ยนเป็นการท่องเที่ยวเดย์ทริป แต่ต้องควบคุมอย่างดีตามจุดที่กำหนด ตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งและขยะในพื้นที่หมู่บ้านชาวเล จัดตั้งคณะกรรมการหลายฝ่ายเพื่อช่วยกันดูแลหมู่เกาะสุรินทร์โดยเฉพาะ

มาถึงหมู่เกาะอื่นๆ ปัญหาไม่หนักหนาเท่าหมู่เกาะสุรินทร์ แต่เราก็ยังต้องมีการจัดการบางอย่างที่ต้องทำครับ เช่น การควบคุมถังเก็บน้ำทิ้งในเรือทัวร์ดำน้ำ (ขนาดใหญ่) การร่วมด้วยช่วยกันลดตะกอนและน้ำเสียจากชุมชนและรีสอร์ทบนหมู่เกาะบางแห่ง เช่น เกาะราชา พีพีดอน ฯลฯ

เรื่อยลงมาทางใต้ แม้ไม่มีข้อมูลตัวเลข แต่พอสรุปว่าสถานการณ์ปะการังตายไม่รุนแรงเหมือนทางเหนือ อย่างไรก็ตาม จะวางใจไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่บางแห่งที่เคยเป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่สำคัญ เช่น หาดทรายขาว เกาะราวี ถือเป็นจุดดำน้ำหลักในพื้นที่เลยก็ว่าได้ ในบริเวณนั้นปะการังตายค่อนข้างเยอะ แต่สำคัญกว่านั้นคือสาหร่ายที่ขึ้นมาคลุมแนวปะการังค่อนข้างมาก ควรต้องมีการระดมสมองหาทางร่วมกันเป็นพิเศษ นอกจากนี้ เราอาจช่วยกันตรวจสอบและดูแลบำบัดน้ำจากเกาะหลีเป๊ะที่อยู่นอกเขตอุทยาน ท้องถิ่นและผู้ประกอบการจะมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในกรณีนี้ เราคงยังต้องดูปัญหาเดียวกันในหมู่เกาะบุโหลน

ผมกล่าวถึงแนวปะการังเฉพาะเขตอันดามัน เพราะข้อมูลฝั่งอ่าวไทยยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ อีกทั้งยังพอมีเวลาในเรื่องการปรับตัวของผู้ประกอบการ เนื่องจากฤดูท่องเที่ยวในอ่าวไทยจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม (อ่าวไทยฝั่งตะวันตก) เมื่อไหร่ที่ได้ข้อมูลมา จะรีบอธิบายให้คุณทราบครับ

ท้ายสุดคือสรุปแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการกับสถานการณ์ปะการังฟอกขาว เพื่อเป็นตุ๊กตาให้พิจารณาครับ มิใช่ระดมสมองครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ไม่มีจุดเริ่มต้นสักที



(มีต่อ)

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:18


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger