เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 04-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 4 กันยายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 4 - 6 ก.ย. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 ก.ย. 64 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 7 - 9 ก.ย. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 04-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ต้องเร่งจัดการ! วิกฤตสภาพภูมิอากาศ เพราะคือโอกาสมูลค่ากว่า 12.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



รายงานฉบับใหม่จาก Deloitte Economics Institute ชี้ให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องตื่นตัวในการรับมือกับสภาพอากาศที่วิกฤตขึ้นเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการสูญเสียศักยภาพทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 28 ล้านล้านดอลลาร์ในอีก 50 ปีข้างหน้า

รายงาน Southeast Asia?s
turning point: How climate action can drive our economic future ยังเผยวิธีที่จะทำให้ภูมิภาคแห่งนี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นถึง 12.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน โดยการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก และตระหนักถึงศักยภาพในการ "ลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์" ให้กับโลกใบนี้

"ประเด็นนี้ถือเป็นวาระเร่งด่วนสำหรับประเทศต่างๆ และภาครัฐ ต้องหาวิธีในการรับมือตลอดช่วงระยะสิบปีต่อจากนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายเกินเยียวยาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าธุรกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวกลับไม่ได้เดินไปบนเส้นทางแห่งความยั่งยืนนี้อย่างสอดคล้อง เนื่องจากมีสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจที่ต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น ในการที่จะเริ่มการเปลี่ยนแปลงได้นับตั้งแต่ตอนนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องคว้าโอกาสเล็กน้อยที่มีนี้ เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการดำเนินการและจัดการปัญหาด้านสภาพอากาศ โดยหยุดให้ความสำคัญแค่ในเรื่องของต้นทุน แล้วหันมาพิจารณาประเด็นของการเติบโตและความสำเร็จทางเศรษฐกิจแทน" ฟิลลิปส์ เหยิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำดีลอยท์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

หากทุกประเทศยังคงนิ่งเฉยในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้แล้ว อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจสูงขึ้นถึง 3 องศาเซลเซียสเป็นอย่างน้อยภายในปลายศตวรรษนี้ ซึ่งจะทำให้ผู้คนใช้ชีวิตและทำงานหาเลี้ยงชีพได้ลำบากขึ้น เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรลดลง โครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหาย รวมถึงความท้าทายอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกนับไม่ถ้วน

เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในภูมิภาคนี้ จะเทียบเท่ากับการที่เราได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในทุก ๆ 9 เดือน ต่อจากนี้ไปจนถึงปี 2613

ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยของดีลอยท์ยังแสดงให้เห็นว่า หากรัฐบาล ธุรกิจ และชุมชนต่าง ๆ เดินหน้ารับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็วและเด็ดขาดภายในทศวรรษหน้าแล้ว เราจะสามารถจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไว้ได้ที่ประมาณ 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2593 ซึ่งถือเป็นกรณีหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่นของโลก ในขณะเดียวกัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังสามารถบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ ๆ รวมถึงการเตรียมโซลูชันทางการเงินไว้ให้แก่โลก ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในภายภาคหน้า

"เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถยืนหยัดเพื่อให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 12.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลา 50 ปีได้ หากพิจารณาถึงแค่ปี 2613 เพียงปีเดียวแล้ว เรื่องนี้จะหมายความว่า เราจะได้ประโยชน์เท่ากับ 80% ของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน" มาร์คัส เงิน หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของดีลอยท์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว "โลกจำเป็นต้องเปลี่ยนสู่เส้นทางใหม่ที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรร่วมแรงร่วมใจเพื่อทำให้สถานการณ์โดยรวมในภูมิภาคของเราดีขึ้น เพื่อที่จะเติบโตต่อไปได้ในอนาคต"

"มันไม่ใช่เรื่องของปาฏิหาริย์ โลกของเรามีโซลูชันที่จะมาช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนี้บ้างอยู่แล้ว องค์กรชั้นนำระดับโลกได้เข้ามามีบทบาทอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และให้บริการทางเทคโนโลยีที่ช่วยจัดการกับความเสี่ยงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศให้กับภูมิภาคนี้และทั่วโลก"

อีวอน จาง หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนของดีลอยท์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริม "เราจำเป็นต้องร่วมมือกันในการกำหนดเส้นทางที่เป็นไปได้ เพื่อโลกแห่งอนาคตที่มีการปล่อยมลภาวะต่ำ โดยใช้ประโยชน์จากความช่างคิดของมนุษย์ในห่วงโซ่อุปทาน การผลิตที่มีความยืดหยุ่น และการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อสอดรับต่อความต้องการของโลก"

รายงานของดีลอยท์ได้แบ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกเป็นสี่ระยะสำคัญ โดยเริ่มต้นด้วยการที่ประเทศและธุรกิจต่าง ๆ ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ในการที่จะรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเสียตั้งแต่ตอนนี้ และพัฒนาหรือขยายกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องให้มีความครอบคลุม การตัดสินใจดังกล่าวจะช่วยให้เศรษฐกิจต่าง ๆ สามารถเริ่มลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงปี 2573

ตั้งแต่ปี 2573 ถึงปี 2583 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโลกจะต้องเดินเคียงคู่กันไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ถือเป็นการทำงานร่วมกันในการลดการปล่อยคาร์บอนโดยแก้ปัญหาในแง่ของวิธีการผลิตและการใช้พลังงาน

ตั้งแต่ปี 2583 ถึงปี 2593 จะเป็นช่วงเวลาสิบปีแห่งการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิของโลกจะไม่พุ่งสูงขึ้นถึง 3 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้น ภายในปี 2593 กระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนที่รับนำมาใช้โดยอุตสาหกรรมมลพิษสูงน่าจะเกือบสมบูรณ์แล้ว ต้นทุนของวิธีการต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเริ่มลดลง และเราจะเริ่มเห็นถึงผลกำไรทางเศรษฐกิจสุทธิในวงกว้าง

หลังปี 2593 เป็นต้นไป เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลและนำไปสู่ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกือบเป็นศูนย์แม้จะยังคงเดินหน้าทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป และภายในสิ้นศตวรรษนี้ อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นก็จะถูกจำกัดไว้แค่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000087194
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 04-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


ระทึก "งูทะเล" ว่ายเลื้อยเข้าหาอย่างไว ขณะพายเรือกลางสมุทร



โบรดี มอสส์ ยูทูบเบอร์ชาวออสเตรเลีย ผู้ชื่นชอบการพายเรือ ตกปลา และแคมปิ้งกลางทะเล ได้อีกประสบการณ์ใหม่เมื่อไม่นานมานี้ ขณะเจอกับงูทะเล ความยาวประมาณ 2 เมตร มันขึ้นมาจากพื้นทะเล ว่ายเลื้อยติดตาม และตรงเข้ามาเรื่อย ๆ ขณะที่เขาอยู่บนเรือยืนพาย (paddleboard) ถึงขั้นพาดหัวกับกาบเรือครู่หนึ่ง ก่อนว่ายออกไปอย่างรวดเร็วเหมือนตอนขามา นับเป็นนาทีที่น่าตื่นเต้นและน่ากลัวในเวลาเดียวกัน

มอสส์บันทึกนาทีเหล่านี้ และโพสต์คลิปบนสื่อสังคมออนไลน์ กลายเป็นไวรัล โดยเฉพาะบน TikTok ยอดวิวกว่า 26 ล้าน พร้อมอธิบายว่า ปกติแล้ว งูทะเลจะหนีคนมากกว่าเข้าหา แต่ช่วงเวลานี้ของทุกปี มันจะกระตือรือล้น งุ่นง่านทางเพศ และดุร้ายมากกว่าปกติ ขณะหาคู่ผสมพันธุ์

ชาวเน็ตที่ดูคลิปคนหนึ่ง เขียนว่า ?ชาวออสเตรเลียไม่ใช่มนุษย์จริง ๆ? เป็นการแซวชาวออสเตรเลีย ที่ช่างคุ้นชินกับบรรดาสัตว์อันตรายนานาชนิดเหลือเกิน อีกคนระบุว่า "เป็นเหตุผลลำดับที่ 13 ที่จะไม่ไปออสเตรเลีย"

งูทะเล หรืองูปะการัง เป็นอสรพิษที่อาศัยในน้ำอุ่น ชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกตะวันตก อยู่ใต้น้ำเกือบตลอดเวลา ขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อหายใจ และส่วนใหญ่เป็นงูที่มีพิษร้ายแรง




https://www.komchadluek.net/news/481882

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 04-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์


มลพิษทางอากาศร้ายกว่าสงคราม ทำอายุเฉลี่ยชาวอินเดียลดฮวบ 9 ปี


Photo by XAVIER GALIANA / AFP

5 ประเทศที่อายุคาดเฉลี่ยของประชากรลดลงมากที่สุดในโลกล้วนมาจากเอเชีย
CNN รายงานว่ามลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คนบนโลกไปหลายพันล้านคนแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นภัยคุกคามที่ลดทอนอายุคาดเฉลี่ยของมนุษย์มากกว่าการสูบบุหรี่ เอชไอวี/เอดส์ หรือการเกิดสงครามเสียอีก

ตามดัชนีคุณภาพชีวิตอากาศ (AQLI) ซึ่งตีพิมพ์ในรายงานประจำปีของสถาบันนโยบายพลังงานแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก (EPIC) ในสรัฐเผยว่าอินเดียเป็นประเทศที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูงสุดของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งมีผู้คนประมาณ 480 ล้านคนสูดมลพิษในระดับที่มากกว่าที่อื่นๆ ในโลกถึง 10 เท่า

หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจทำให้ชาวอินเดียกว่าร้อยละ 40 ของประเทศมีอายุขัยเฉลี่ยลดลงมากกว่า 9 ปี รวมถึงผู้คนในกรุงนิวเดลี ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน


เอเชียกำลังแย่

รายงานระบุว่า 5 ประเทศที่อายุคาดเฉลี่ยของประชากรลดลงมากที่สุดในโลกล้วนเป็นประเทศในแถบเอเชียทั้งหมด ซึ่งได้แก่ อินเดีย ลดลงกว่า 9 ปี รองลงมาคือบังคลาเทศ ลดลง 5.4 ปี ตามมาด้วยปากีสถาน ลดลง 3.9 ปี และสิงคโปร์ ลดลง 3.8 ปี

แม้ว่าในหลายพื้นที่จะมีอากาศที่สะอาดขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งลดการเดินทางและการทำงานของโรงงานจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันบางพื้นที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศในระดับสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการเกิดไฟป่า ซึ่งรุนแรงขึ้นด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง

บ่งชี้ว่าปัญหามลพิษทางอากาศเกี่ยวข้องกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย ซึ่งทั้งสองมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ยานพาหนะ และแหล่งอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน

รายงานดังกล่าวยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกดำเนินนโยบายอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรเทาวิกฤตดังกล่าว


https://www.posttoday.com/world/662276
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 04-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


หมึกยักษ์ตัวเมียขว้างปาสิ่งของ ป้องกันตนเองจากตัวผู้ที่จ้องเข้ามาลวนลาม



ดูเหมือนว่าหมึกยักษ์จะเป็นสัตว์เจ้าอารมณ์และตอบโต้อย่างดุเดือดหากถูกท้าทาย นอกจากหมึกยักษ์อันธพาลจะชอบออกหมัดไล่ต่อยปลาที่เกลียดขี้หน้าแล้ว งานวิจัยล่าสุดจากออสเตรเลียยังพบว่า หมึกยักษ์ตัวเมียมักจะขว้างปาสิ่งของใส่ตัวผู้ที่จ้องคุกคามทางเพศ เพื่อขับไล่ไม่ให้เข้ามาผสมพันธุ์กับพวกเธอได้

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ นำโดยดร. ปีเตอร์ ก็อดฟรีย์-สมิต เผยผลการติดตามศึกษาพฤติกรรมของหมึกยักษ์ในบริเวณอ่าวเจอร์วิส (Jervis Bay) ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งมีประชากรหมึกยักษ์อาศัยอยู่อย่างหนาแน่นที่พื้นทรายก้นทะเล จนได้ชื่อว่าเป็น Octopolis หรือ "มหานครหมึกยักษ์" เลยทีเดียว

มีการตั้งกล้องบันทึกภาพใต้น้ำ และวิเคราะห์พฤติกรรมของหมึกยักษ์ในบริเวณนี้มาตั้งแต่ปี 2015 ทำให้พบว่าการขว้างปาสิ่งของต่าง ๆ ของพวกมัน ไม่ได้ทำไปเพื่อขุดรูทำรังหรือทำความสะอาดที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่มีการเล็งเป้าหมายเพื่อขว้างใส่สัตว์ชนิดอื่นเหมือนเป็นการโจมตีทำร้ายด้วย

ส่วนการขว้างปาสิ่งของใส่หมึกยักษ์ด้วยกันซึ่งเกิดขึ้นน้อยมากนั้น ทีมผู้วิจัยพบว่ามักเป็นกรณีที่หมึกยักษ์ตัวเมียขว้างสิ่งของจำพวกเปลือกหอยและสาหร่ายใส่ตัวผู้ที่เธอไม่ชอบ เพื่อขับไล่ไม่ให้มีโอกาสเข้ามาผสมพันธุ์ด้วย โดยอาวุธที่มีความแม่นยำและหมึกยักษ์ตัวเมียชอบใช้ขว้างมากที่สุดได้แก่ทรายแป้ง (slit)



ดร. ก็อดฟรีย์-สมิต อธิบายว่า การขว้างวัตถุของหมึกยักษ์นั้นแตกต่างจากการใช้แขนของมนุษย์ โดยหมึกยักษ์จะใช้หนวดจับยึดสิ่งของที่ต้องการขว้างเอาไว้ที่ใต้ลำตัว แล้วจึงปรับองศาของท่อพ่นน้ำ (siphon) ให้ตรงกับทิศทางที่ต้องการ แล้วพ่นน้ำออกไปอย่างแรงจนสามารถขับดันวัตถุให้กระเด็นออกไปไกลได้หลายช่วงตัว

อย่างไรก็ตาม มีครั้งหนึ่งที่ทีมผู้วิจัยสามารถบันทึกภาพหมึกยักษ์ขว้างเปลือกหอย โดยใช้การเคลื่อนไหวของหนวดข้างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับที่คนเราใช้แขนขว้างจานร่อนฟริสบีไม่มีผิด

ดร. ก็อดฟรีย์-สมิตและคณะ ระบุในบทความที่เผยแพร่ทางคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ bioRxiv.org ว่า หลักฐานล่าสุดบวกกับข้อมูลที่รวบรวมมาหลายปี พิสูจน์ว่าหมึกยักษ์มีพฤติกรรมขว้างปาสิ่งของแบบเล็งเป้าหมายเพื่อโจมตีสัตว์อื่นและเพื่อป้องกันตัวได้เหมือนกัน โดยท่าทางที่ใช้ในการขว้างปาแบบเล็งเป้าหมาย จะแตกต่างจากการขว้างสิ่งของเพื่อขุดรูและทำความสะอาดที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน

"ภาพวิดีโอที่เราบันทึกได้ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2016 แสดงให้เห็นว่าหมึกยักษ์ตัวเมียขว้างทรายได้แม่นยำมาก โดยเหวี่ยงไปถูกตัวผู้อย่างจังถึง 5 ใน 10 ครั้ง บางครั้งตัวผู้พยายามหมอบหรือเบี่ยงตัวหลบ แต่ก็ทำได้สำเร็จเพียงไม่กี่ครั้ง" ดร. ก็อดฟรีย์-สมิต กล่าว

"เรายังไม่พบว่าหมึกยักษ์ที่ถูกขว้างของใส่จะตอบโต้เลยสักครั้ง แต่เคยมีกรณีที่พบหมึกยักษ์ขว้างของใส่พื้นที่ว่างเปล่าเหมือนเป็นการระบายอารมณ์ขุ่นเคือง เช่นหมึกยักษ์ตัวผู้ตัวหนึ่งขว้างเปลือกหอยไปรอบ ๆ และเปลี่ยนสีผิวไปมา หลังเพิ่งถูกตัวเมียปฏิเสธไม่ให้ผสมพันธุ์ด้วย"


https://www.bbc.com/thai/international-58436570

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:02


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger