#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนจะมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันลดลง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 28 - 30 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 4 - 8 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 ม.ค. - 2 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3 ? 5 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ในวันที่ 2 ก.พ. 66 ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่งเกิดขึ้น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 ? 30 ม.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้ง และขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ส่วนในช่วงวันที่ 31 ม.ค. - 2 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 19 (40/2566) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 28-30 มกราคม 2566) มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย รวมทั้งประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนห่างฝั่งทะเลอันดามันมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง โดยภาคเหนือ อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและมีลมแรงไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
คลื่นลมแรงซัดหาดชลาทัศน์ เซาะทรายจนตะแกรงเหล็กโผล่ วอนผู้เกี่ยวข้อง ทะเลสงขลาคลื่นลมแรง ชายหาดชลาทัศน์โดนคลื่นกัดเซาะทรายลงทะเล จนทำให้ตะแกรงเหล็กที่ใช้กันคลื่นฝังอยู่บริเวณนี้โผล่มาให้เห็น ด้านชาวบ้านเกรงอันตราย วอนผู้เกี่ยวข้องและเทศบาลฯ แก้ไขด่วน จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (26 ม.ค. 66) สภาพอากาศในพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดสงขลาคลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง คลื่นสูง 2-3 เมตร ส่งผลทำให้คลื่นลมกระหน่ำพัดชายหาดชลาทัศน์อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยคลื่นได้กัดเซาะชายหาดเข้ามาจนถึงแนวทิวสนริมชายหาด และพัดเอาทรายบริเวณชายหาดชลาทัศน์กลับลงทะเลไปตลอดแนวชายหาดชลาทัศน์เป็นบริเวณกว้าง เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายบริเวณชายหาดชลาทัศน์ เนื่องจากในวันนี้ คลื่นลมลดความรุนแรงลง ทำให้ได้เห็นความเสียหายของชายหาดชลาทัศน์อย่างชัดเจน โดยชายหาดชลาทัศน์คลื่นพัดพาทรายกลับลงทะเลไป ทำให้ชายหาดชลาทัศน์กลายเป็นชายหาดที่มีหน้าผาทรายสูงเกือบ 1 เมตร ซึ่งหมายถึงระดับเดิมที่คลื่นพัดพาทรายหายไปจากบริเวณชายหาดตลอดแนวเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดเป็นหน้าผาขึ้นริมชายหาดชลาทัศน์ตลอดแนว ส่งผลทำให้ตะแกรงเหล็กที่ใช้กันคลื่นฝังอยู่บริเวณชายหาดชลาทัศน์โผล่ขึ้นมาเป็นแนวยาวเป็นช่วงๆ ฝังอยู่ในทรายกลางชายหาด เสี่ยงต่อผู้ที่เข้ามานั่งพักผ่อนบริเวณชายหาด และมีรากต้นสนตามแนวชายหาดที่ถูกคลื่นซัดนำทรายออกไป โผล่ออกมาตามแนวชายหาด ส่งผลทำให้การเดินขึ้นลงชายหาดชลาทัศน์ จะต้องใช้ความระมัดระวังจากที่เคยเดินลงชายหาดอย่างสะดวกสบายก็ต้องก้าวลงมาจากหน้าผาที่สูงประมาณเกือบ 1 เมตรและจะต้องคอยระมัดระวังเขื่อนตะแกรงเหล็กที่ฝังตัวอยู่ในทรายและกระจัดกระจายไปทั่วชายหาดเนื่องจากตะแกรงเหล็กที่ฝังทรายเป็นสนิมทั้งหมดและเป็นอันตรายสำหรับบุตรหลานที่มาวิ่งเล่นบริเวณชายหาดหากพลาดพลั้งอาจจะถูกตะแกรงเหล็กตำเท้าได้ จากการเดินสำรวจ ผู้สื่อข่าวพบว่า เขื่อนตะแกรงเหล็กที่โผล่พ้นพื้นทรายชายหาดชลาทัศน์ จะมีกระจายฝังทรายอยู่หลายจุด จึงอยากจะขอเตือนนักท่องเที่ยวและประชาชนชาวจังหวัดสงขลา ที่นิยมมานั่งพักผ่อนโดยเฉพาะในช่วงเย็นที่นำครอบครัวพาบุตรหลานมาวิ่งเล่นบริเวณชายหาดชลาทัศน์ให้ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดและใช้ความระมัดระวังในการเดินเล่นบริเวณชายหาดชลาทัศน์เพื่อความปลอดภัยจากตะแกรงเขื่อนที่ฝังตัวอยู่ในทรายรวมทั้งระวังการเดินลงชายหาดเนื่องจากชายหาดชลาทัศน์ขณะนี้มีความสูงต่างระดับกันเกือบ 1 เมตรในการเดินลงชายหาด เพราะหากไม่ระมัดระวังบุตรหลานอาจ พลัดตกลงมาได้รับบาดเจ็บได้ ชาวบ้านในพื้นที่ฝากถึงนายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรีนครสงขลา ส่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลชายหาดชลาทัศน์ เข้ามาตรวจสอบและแก้ไขบริเวณชายหาดชลาทัศน์เป็นการด่วนด้วย เนื่องจากชายหาดชลาทัศน์บริเวณคนอ่านหนังสือบริเวณนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวและชาวสงขลาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเย็น จะมีนักท่องเที่ยวและชาวสงขลาเดินทางนำครอบครัวมานั่งพักผ่อนบริเวณชายหาดชลาทัศน์แห่งนี้เป็นจำนวนมากทุกวัน. https://www.thairath.co.th/news/local/south/2614403
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
คุมปะการัง "เกาะหลีเป๊ะ" หลังพบนักท่องเที่ยวเดินย่ำตอนน้ำลด กรมอุทยานฯ ห้ามนักท่องเที่ยวล้ำเขตแนวปะการัง อุทยานฯ หมู่เกาะตะรุเตา หลังชาวโซเชียลตั้งคำถามไร้ป้ายประชาสัมพันธ์-เจ้าหน้าที่คอยเตือน หลังน้ำลดปะการังโผล่ นักท่องเที่ยวเดินย่ำ กรณีนักท่องเที่ยวบันทึกภาพปะการังน้ำตื้น บริเวณเกาะหลีเป๊ะ และโพสต์ภาพในลงในกลุ่มเฟซบุ๊ก "ทริปเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ และทะเล อันดามัน powered by Lipe Lovers" พบว่ามีนักท่องเที่ยวเดินย่ำบนปะการัง วันนี้ (27 ม.ค.2566) นายอรรถพล เจริญชันษา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า จากการตรวจสอบ พื้นที่ดังกล่าวอยู่บริเวณโรงแรมไอดีลิค ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา เนื่องจากทางอุทยานฯ ไม่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ดำน้ำตื้น จึงไม่ได้ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ ทุ่นกั้นเขตดำน้ำตื้นไว้ ล่าสุดนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้สั่งการให้กรมอุทยานฯ เร่งดำเนินติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ และติดตั้งทุ่น พร้อมกำชับให้ต้องประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยวให้ดี ถึงกฎระเบียบการเยี่ยมชมธรรมชาติ เพื่อรักษาแนวปะการังนี้เอาไว้ให้สวยงาม มีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ สำหรับกรณีดังกล่าวผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ตั้งคำถามว่า เดี๋ยวนี้ไม่มีป้ายแจ้งเตือนหรือเจ้าหน้าที่บอกห้ามเดินหรือเหยียบปะการังหน้าโซนแถวโรงแรมแห่งหนึ่งบนเกาะตุรุเตา "ตอนเช้าหลังน้ำลดลง พบเห็นนักท่องเที่ยวจีนเดินย่ำบนปะการัง เพราะอาจคิดว่าเป็นหิน จึงต้องตะโกนบอกเขาถึงจะหยุด ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปจะไม่เหลืออะไรไว้ให้ชม" https://www.thaipbs.or.th/news/content/323973
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|