#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ 31 ตุลาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็น โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย สำหรับร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ส่งผลทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนบางแห่งในระยะนี้ อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น (พายุระดับ 5) "โคนี" บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ จะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้ตอนกลางในวันที่ 2 พ.ย. 2563 และมีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าอ่าวตังเกี๋ย และใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 4 - 5 พ.ย. 2563 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝน ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลงเล็กน้อย ประกอบหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเมียนมาและอ่าวเบงกอลตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศเย็นกับมีลมแรง ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น (พายุระดับ 5) "โคนี" บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ จะเคลื่อนสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางในวันที่ 2 พ.ย. 2563 และมีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 2563 ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย และขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
วิจัย'ออสเตรเลีย'เตือน?ภัยแล้งครั้งใหญ่? เหตุอากาศโลกเปลี่ยนแปลง 30 ตุลาคม 2563 สำนักข่าวซินหัวรายงานคณะนักวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลียกล่าวเตือนประชาคมโลกเตรียมรับมือกับภัยแล้งครั้งใหญ่ยิ่งกว่าในอดีต ซึ่งอาจกินระยะเวลานานถึง 2 ทศวรรษหรือนานกว่านั้น หลังจากอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงต่อเนื่องพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรง วันศุกร์ (30 ต.ค.) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (UQ) ของออสเตรเลียเผยแพร่รายงานฉบับใหม่ ซึ่งอ้างอิงบันทึกทางธรณีวิทยาจากยุคอีเมียน (Eemian Period) หรือราว 129,000-116,000 ปีก่อน เพื่อสร้างแบบจำลองสภาพแวดล้อมที่โลกอาจต้องเผชิญในช่วง 20-50 ปีข้างหน้านี้ "ยุคอีเมียนเป็นยุคล่าสุดของประวัติศาสตร์โลกที่มีภูมิอากาศใกล้เคียงหรืออาจอบอุ่นกว่าปัจจุบันเล็กน้อย" เฮมิช แมกโกแวน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฯ กล่าว เมื่อพิจารณาสภาพภูมิอากาศในยุคดังกล่าวผ่านขั้นตอนทางภูมิอากาศบรรพกาลวิทยา (paleoclimatology) คณะนักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นว่าโลกอาจจะเผชิญภาวะขาดน้ำรุนแรงยิ่งขึ้น มีหิมะปกคลุมช่วงฤดูหนาวน้อยลง รวมถึงเกิดไฟป่าและการกัดเซาะจากลมบ่อยครั้งขึ้นในช่วง 20-50 ปีข้างหน้า คณะนักวิทยาศาสตร์ย้อนดูสภาพแวดล้อมโลกในอดีตด้วยการศึกษาตัวอย่างผงแคลเซียมคาร์บอเนตขนาดเล็กของหินงอกภายในถ้ำ ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถระบุช่วงที่มีฝนตกน้อยอย่างมีนัยสำคัญในยุคอีเมียน "ความอบอุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นเป็นการตอบสนองต่อแรงโคจรของโลก ซึ่งเป็นผลกระทบต่อภูมิอากาศอันมีสาเหตุมาจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ต่อองศาการเอียงของแกนโลกและเส้นวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก" แมกโกแวนอธิบาย "ในยุคใหม่ โลกอบอุ่นขึ้นเนื่องจากมีก๊าซเรือนกระจกในปริมาณหนาแน่น แต่ยุคอีเมียนยังคงเป็นตัวเปรียบเทียบที่ดีสำหรับการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศโลกในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้" ภัยแล้งครั้งใหญ่ในอดีตเกี่ยวพันกับการที่คนหมู่มากต้องอพยพออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และคาดว่าส่งผลต่อการสูญสิ้นของอารยธรรมหลักก่อนยุคอุตสาหกรรมหลายแห่งทั่วทวีปอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "การค้นพบครั้งนี้น่าตื่นตระหนกมาก เช่นเดียวกับการค้นพบครั้งอื่นๆ ที่บรรดานักวิทยาศาสตร์สภาพภูมิอากาศออกมาเผยแพร่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา" "เราหวังว่างานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นข้อมูลเชิงลึกชุดใหม่ที่ทำให้เราตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคตและภยันตรายที่อาจตามมา เช่น ภัยแล้งและไฟป่า" https://www.naewna.com/inter/528750
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|