#1
|
|||
|
|||
นำ EM ball ไปโยนทะเล..กันไหมคร๊าบ
เห็นว่า ไปชุมพรกันบ่อยๆ ซึ่งวิทยากรที่เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ EM เป็นครู อยู่ที่ชุมพร
จึงน่าจะชวนไปลองดูงานกันที่ อ.สวี จ.ชุมพร จะได้เพิ่มกิจกรรมใหม่ๆกันด้วยครับ เมื่อวันอังคาร ไปปาลูก EM ball ลงแม่น้ำเจ้าพระยา เห็นวิทยากรก็มาด้วย แต่คนเยอะจัด เลยไม่ได้ทำความรู้จัก เพื่อขอฟามรู้เลย T_T แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 09-03-2012 เมื่อ 13:57 |
#2
|
||||
|
||||
ไปสิครับ น้องนุ .... ว่างเมื่อไร ไปกัน เมื่อคราวที่ไปงานโลกทะเลชุมพร ก็เห็นมีขนเจ้า EM Ball มาแจกกันเป็นกองพะเนินเทินทึก ให้ผู้มาร่วมงานนำไปโยนลงที่ชายฝั่งทะเล แต่ก็เห็นมีคนถือโอกาสขนขึ้นรถกระบะกลับบ้านไปก็มีครับ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
มันคืออะไร ?????
ที่โรงงานก็มีค่ะ แต่ว่าเราใช้น้ำ em เพื่อช่วยในการขจัดสิ่งปฎิกูลบ่อเกรอะ ช่วยในการย่อย และ ลดการส่งกลิ่น และก็ใช้ล้างห้องน้ำ แทนน้ำยาล้างห้องน้ำ ทำให้ลดกลิ่นในห้องน้ำได้ดีทีเดียว อยากไปดูและขอแชร์ความรู้ด้วยค่ะ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Super_Srinuanray : 13-06-2011 เมื่อ 21:35 |
#4
|
||||
|
||||
ตอนไปร่วมงานโลกทะเลชุมพร เมื่อเดือนมีนาคม 2011 ที่ผ่านมา ^__^ ได้รู้จัก EM ball เป็นครั้งแรกค่ะ (จากความกรุณาของพี่น้อยพี่จ๋อม) รู้สึกชอบค่ะ ไปเมื่อไร ขอไปร่วมด้วยช่วยกัน ถ้าไม่ติดอะไรนะคะ
__________________
: : ★ เงือกสีส้มจี๊ด : : ★ \( ̄︶ ̄)> ❤ Wish I could be .. Part Of That World ( From OST. ♪ SONG ♬ "The Little Mermaid" ) |
#5
|
|||
|
|||
ตอนนี้มีประเด็นที่ต้องขอไปหาความรู้ก่อนครับ เพราะสงสัยว่าเจ้าจุลินทรีย์ใน EM ball มันอยู่ในน้ำทะเล ได้ด้วยหรือเปล่า กลัวโยนลงไป ตายเรียบ...
(ถามน้องขิง น้องไผ่ ที่คณะประมง น้องๆ ก็ยังสงสัยเหมือนกันเลย ว่าน้ำมีค่า ph ต่างกัน จะรอดไหมหว่า ผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะครับ |
#6
|
||||
|
||||
ช่วยน้องนุหาข้อมูลเรื่อง EM Ball ให้นะคะ
EM คืออะไร EM ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganisms ซึ่งมีความหมายว่า กลุ่มจุลินทรีย์ ที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว สีน้ำตาล กลิ่นหวานอมเปรี้ยว คุณสมบัติบางประการและการเก็บรักษา EM เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องเก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ประมาณ 20 – 45 องศาเซลเซียส หากไม่ได้เปิดใช้เก็บไว้ได้นาน 1 ปี EM ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพัก การนำไปใช้หากเปิดใช้แล้วให้รีบปิด เก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ผู้ค้นพบและพัฒนา EM ค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานสถาบัน EM เทคโนโลยีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเมโอ โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งได้ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2525 ได้พบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในธรรมชาติ และได้คัดสรรเอาเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มดีที่มีประโยชน์มาเลี้ยงรวมด้วยเทคนิคพิเศษ จุลินทรีย์ใน EM คำว่า จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิต EM (จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก ยีสต์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) ผลิตจากจุลินทรีย์ธรรมชาติ ไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรค ไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ และไม่ใช่การตัดต่อยีนส์ (GMOs) ซึ่งเป็นโทษต่อมนุษย์ สัตว์และพืช EM ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ปลอดภัย ซึ่งใช้กันมาก่อนในสมัยโบราณจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม จุลินทรีย์ใน EM มี 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ 1. จุลินทรีย์ผลิตกรดแลกติก เป็นจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในพวกแบคทีเรีย ที่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นกรดแลคติกได้ โดยผ่านกระบวนการหมัก ซึ่งกรดแลกติกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคบางชนิด และจุลินทรีย์อื่น ๆ ได้ เนื่องจากมี pH ที่ต่ำ เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่ามีการนำเอาจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก ไปใช้ในการหมักอาหารหลายชนิด เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต และสามารถเก็บไว้ได้นาน ตั้งแต่ หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ค้นพบจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกในปี พ.ศ.2400 ทำให้รู้ถึงประโยชน์ของมันที่เกี่ยวกับสุขภาพและการมีอายุยืนยาว เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีงานวิจัยที่พบว่า นอกจากมันจะอยู่ที่ลำไส้เล็กของคนแล้ว มันยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทาน มีคุณสมบัติในการต่อต้านการสูญเสียโปรตีนในเลือด ต่อต้านการกลายพันธ์ โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำ และการมีความดันโลหิตต่ำ 2. ยีสต์ เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวตั้งต้นในการหมัก ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ ที่ใช้ในการหมักเบียร์หรือแอลกอฮอล์ และใช้ในการทำขนมปัง ยีสต์ค้นพบโดยพ่อค้าชาวดัทช์ ชื่อ แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค (ในปี พ.ศ.2175 -2266) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรกในโลกเรื่องจุลินทรีย์ ยีสต์ถูกจำแนกเป็นสัตว์เซลเดียว ซึ่ง แตกต่างจากเชื้อรา เพราะมันจะอยู่เป็นเซลเดียวไปตลอดชีวิต ในโลกของจุลินทรีย์จะมีกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ยีสต์จะมีอยู่มากในสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ตามผิวของผลไม้ ใน EM ยีสต์ผลิตจะสารชีวพันธ์ต่าง ๆ หรือสารที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโน และแป้ง 3. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง โฟโต้ทรอปฟิคแบคทีเรีย (เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) เป็นแบคทีเรียโบราณที่เกิดมาก่อนการเกิดดาวเคราะห์โลกที่มีออกซิเจนหนาแน่นอย่างเช่นในปัจจุบัน จากชื่อของมันบ่งบอกให้รู้ว่ามันใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีอยู่ตามนาข้าว ทะเลสาบ และทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ ในทางปฏิบัติจะพบจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพนี้ตามทุ่งนาเพราะมันย่อยสลายอินทรียวัตถุได้ดี ทั้งในการบำบัดน้ำเสียมีงานวิจัยที่รายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของจุลินทรีย์นี้ ส่วนที่ใช้ในการเกษตร การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป ภายใต้สภาพที่มีการผลิตไฮโดรเจนมันสามารถย่อยสลายสารต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงร่วมอยู่ในระบบย่อยต่าง ๆ และเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรไนโตรเจนและวัฏจักรคาร์บอน เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรต่าง ๆ มันจึงทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ใน EM ได้ ดังนั้นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจึงเป็นจุลินทรีย์ที่สำคัญใน EM วิธีทำ EM ball (ดังโงะ) เพื่อการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำที่มีโคลนตะกอน หรือน้ำไหล หรือน้ำลึก ให้ได้ผลดีกว่าการใช้ EM ขยาย หรือจะใช้ทั้ง EM ball และ EM ขยาย ร่วมกันก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น ส่วนผสม ส่วนที่ 1 รำละเอียด 1 ส่วน แกลบป่น หรือ รำหยาบ 1 ส่วน ดินทราย 1 ส่วน * ใช้ โบกาฉิ (หมายถึง วิธีการนำอินทรียวัตถุมาหมักกับ EM แบบไร้อากาศ โดยใช้วัสดุได้หลากหลายตามจุดประสงค์ที่ต้องการนำไปใช้งาน เช่น ใช้ทำปุ๋ย ใช้ผสมอาหารสัตว์ ใช้หมักเศษอาหาร ฯลฯ) แทนส่วนที่ 1 หรือใช้โคลนตะกอน แทนดินทรายได้ ส่วนที่ 2 EM 10 ช้อนแกง กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง น้ำสะอาด 10 ลิตร * ใช้ EM ขยาย หรือ EM หมักน้ำซาวข้าว หรือ EM5 ผสมร่วมกันหรือใช้แทน EM กับกากน้ำตาลได้ วิธีทำ ผสมส่วนที่ 1 แล้วรดด้วยส่วนที่ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน วัดความชื้นพอเหมาะ ปั้นเป็นก้อนกลม หรือดัดแปลงได้ตามต้องการ นำไปวางไว้ในที่ร่มจนแห้งสนิท แล้วนำไปใช้ การนำ EM ball ไปใช้ประโยชน์ เจ้าลูกบอลนี้เหมาะสำหรับใช้ในการปรับสภาพแหล่งน้ำที่เน่าเสีย ทั้ง ห้วย หนอง คลอง บึง หรือแม้แต่แม่น้ำ หรือทะเล ก็ได้ทั้งนั้น โยนใส่ลงไปเป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น ขึ้นอยู่กับขนาดของแหล่งน้ำ เคยมีโครงการเครือข่ายมหานที ที่ทิ้ง EM Ball ตั้งสี่หมื่นสี่พันลูกลงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อปรับสภาพแม่น้ำในจังหวัดชุมพร จนปัจจุบันสภาพดีขึ้น กุ้งหอยปูปลาก็กลับมา ชาวประมงก็ทำมาหากินได้มากขึ้น ขอบคุณข้อมูลจาก.... http://www.emro-asia.com/about-em/ho...e-em-ball.html http://www.vcharkarn.com/varticle/41595 อ่านวิธีทำ แบบไทยๆได้ที่.... http://www.oknation.net/blog/sabaija.../11/15/entry-1
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 01-11-2011 เมื่อ 16:09 |
#7
|
||||
|
||||
ตอนนี้ไม่ต้องนำ EM Ball ไปโยนทะเลแล้วค่ะ....นำไปโยนแถวที่น้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใหล้เคียงดีกว่า..
__________________
Saaychol |
#8
|
||||
|
||||
มีการถกเถียงกันเรื่อง EM Ball จะช่วยแก้ปัญหาน้ำเน่าเหม็น ที่เกิดจากน้ำท่วมใหญ่ ได้หรือไม่ ลองไปอ่านในนี้นะคะ แล้วลองสรุปว่า คำตอบที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร... http://www.pantip.com/cafe/wahkor/to...X11282487.html
__________________
Saaychol |
#9
|
||||
|
||||
น่าสนใจดีค่ะ...
__________________
Saaychol |
#10
|
||||
|
||||
__________________
Saaychol |
|
|