#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก บางแห่งเกิดขึ้น เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 29-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 9 และ 14 - 15 พ.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าปกคลุม ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 พ.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณหัวเกาะสุมาตราจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 10 - 12 พ.ค. 63 และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบน ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 10 - 13 พ.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก รวมทั้งฟ้าผ่าไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในช่วงวันที่ 10 - 12 พ.ค. 63 ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563)" ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 ในช่วงวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2563 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ ในวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2563 ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ในช่วงวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2563 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ซ้ำเติมวิกฤตคราบน้ำมัน! แมงกะพรุนไฟทะลักตายเกยหาดแพรกเมือง จ.นครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช - ชาวบ้านผวากลัวภาวะน้ำทะเลเป็นพิษ หลังแมงกะพรุนไฟจำนวนมากทะลักหาดหัวไทร ตายเกยหาดไม่ทราบสาเหตุ ซ้ำเติมวิกฤตคราบน้ำมัน ที่หลายหน่วยงานเคยเข้าตรวจสอบ แต่ยังไม่มีคำตอบ วันนี้ (9 พ.ค.) ที่หาดแพรกเมือง บ้านฉิมหลา ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ชาวบ้านแจ้งว่าพบตะกอนก้อนน้ำมันจำนวนมากถูกคลื่นซัดมารวมกัน ขณะเดียวกันตลอดแนวหาดบ้านฉิมหลา และใกล้เคียงพบแมงกะพรุนไฟจำนวนมากลอยอยู่บริเวณหน้าหาด นอกจากนั้น ยังมีอีกจำนวนมากที่ตายแล้วถูกคลื่นซัดมาเกยหาดมีลักษณะสีชมพูแดง มีสายยาวสีชมพู ชาวบ้าน ระบุว่า แม้แมงกะพรุนเหล่านี้จะตายไปแล้ว แต่ถ้าไปจับ จะทำเกิดผื่นคันแสบร้อนอย่างรุนแรงทันที โดยตลอดแนวหาดมีแมงกะพรุนไฟตายเกยหาดจำนวนมากโดยไม่มีใครทราบสาเหตุ และเป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้บริเวณแนวหาดย่านนี้มีปรากฏการณ์ก้อนน้ำมัน หรือที่เรียกว่า "ทาร์บอล" เกยหาดจำนวนมาก โดยหลายหน่วยงานได้เข้าเก็บตัวอย่างไปตรวจสอบสอบแต่ไม่มีใครทราบผลว่ามีต้นตอแหล่งที่มาจากที่ใด นส.สุณีย์ เราะหมาน ชาวตำบลหน้าสตน ซึ่งมีอาชีพหาหอยเสียบหน้าพื้นทรายชายหาด บอกว่า ไม่เคยเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อน แมงกะพรุนที่ขึ้นมาตายเกือบทั้งหมดเป็นแมงกะพรุนไฟมีพิษรุนแรง ไม่ทราบว่าเกิดจากเหตุใด น้ำทะเลเป็นพิษหรือไม่ปกติช่วงนี้เป็นฤดูกาลช้อนกุ้งเคยมาทำกะปิของชาวบ้าน แต่ชาวบ้านไม่สามารถลงทะเลไปช้อนกุ้งเคยได้จากที่มีกะพรุนไฟจำนวนมาก ทำให้สูญเสียรายได้ในช่วงฤดูกาลซึ่งแต่ละช่วงนั้นมีโอกาสในการช้อนกุ้งเคยเพียงไม่กี่วันเท่านั้น สำหรับพื้นที่อ่าวหัวไทรตลอดแนวตำบลเกาะเพชร ตำบลหน้าสตน โดยเฉพาะบริเวณหาดแพรกเมือง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวลงเล่นน้ำของผู้ที่มาเที่ยวชม ขณะนี้ไม่มีใครกล้าลงเล่นน้ำทะเลเนื่องจากมีแมงกะพรุนไฟจำนวนมากอยู่บริเวณหน้าหาดและที่ลอยอยู่ริมหาด ส่วนปรากฏการณ์ก้อนน้ำมันขึ้นเกยหาดจำนวนมากเมื่อ 2-3 เดือนก่อน ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการแก้ไขใดๆ ต่อผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม https://mgronline.com/south/detail/9630000048530
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|