#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตราย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือมีแนวโน้มการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันลดลงเนื่องจากมีฝนในระยะนี้ ส่วนภาคอื่นๆ มีการสะสมฝุ่นละอองเล็กน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 ? 17 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ในช่วงวันที่ 16 ? 19 ก.พ. 66 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นบริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2 ? 4 องศาเซลเซียส สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 22 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 16 ? 17 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 16 ? 17 ก.พ. 66
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
หุ่นยนต์อัตโนมัติช่วยนักวิจัย สำรวจมหาสมุทร มหาสมุทรครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 70% ของพื้นผิวโลก ความลึกของมหาสมุทรคือดินแดนอันใหญ่โตโอฬารซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสิ่งมีชีวิต และเพื่อทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมทางทะเลขนาดมหึมา นักวิทยาศาสตร์จึงต้องการเครื่องมือวิจัยที่สามารถเดินทางได้กว้างไกล เรือวิจัยจึงเป็นยานพาหนะสำคัญสำหรับการสำรวจมหาสมุทร แต่การจะออกทะเลด้วยเรือวิจัยนั้น สถาบันวิจัยต้องลงทุนทรัพยากรมากมาย หุ่นยนต์อัตโนมัติจึงมีความสำคัญต่ออนาคตของวิทยาศาสตร์และการสำรวจมหาสมุทร ล่าสุด วิศวกรของสถาบันวิจัยพิพิธภัณฑ์ สัตว์น้ำมอนเทอเรย์ เบย์ (MBARI) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เผย ได้พัฒนาหุ่นยนต์วิทยาศาสตร์ทางทะเลที่ทำงานโดยอัตโนมัติไม่ขึ้นอยู่กับเรือ หุ่นยนต์ออกแบบเป็นยานพาหนะไร้คนขับระยะไกล (LRAUV-long-range autono mous vehicle) มีความว่องไว เดินทางผ่านน้ำโดยปราศจากการควบคุมโดยตรงจากชายฝั่ง โดยติดตั้งไว้ที่ชายหาด ท่าเรือ และเรือขนาดเล็กได้ สามารถปฏิบัติภารกิจที่ซับซ้อนด้วยตัวมันเองเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน LRAUV มีความยาวราว 2 เมตร หนัก 110 กิโลกรัม (242.5 ปอนด์) ทำงานรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของสิ่งแวดล้อม หุ่นยนต์ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่จึงเป็นเครื่องมือที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ ตอนนี้สถาบัน MBARI มีฝูง LRAUV อยู่ 8 ลำ แต่ละตัวมีน้ำหนักบรรทุกที่ไม่ซ้ำกันสำหรับการสุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์จุลินทรีย์ เสียง หรือสร้างภาพ. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2630703
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ฝรั่งเศสรื้ออพาร์ตเมนต์ริมหาด เหตุน้ำทะเลกัดเซาะ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในเมืองซูลัก-โซร์-แมร์ ของฝรั่งเศส ดำเนินการรื้อถอนบล็อกอพาร์ตเมนต์บนแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ก่อนที่มันจะพังถล่มลงมา เนื่องจากน้ำทะเลกัดเซาะเข้าใกล้พื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากเมืองซูลัก-โซร์-แมร์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ว่า เมืองซูลัก-โซร์-แมร์ ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเร็วที่สุดในฝรั่งเศส โดยพื้นที่ชายหาดต่างๆ หายไปในอัตราประมาณ 2.5 เมตรต่อปี ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา และเมื่อปี 2553 มหาสมุทรซัดเข้าหาเนินทรายซึ่งเป็นที่ตั้งของ "เลอ ซิกนัล" ตึกสูง 4 ชั้นที่ใช้รองรับนักท่องเที่ยวที่มายังเมืองแห่งนี้ ในปี 2557 รัฐบาลท้องถิ่นตัดสินใจย้ายผู้อยู่อาศัยในอาคาร และเริ่มกระบวนการเวนคืนที่ยาวนาน รวมถึงการกำจัดแร่ใยหิน ก่อนที่จะเริ่มการรื้อถอนเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ชาวเมืองคนหนึ่ง กล่าวว่า การรื้อถอนอาคารหลังนี้ชี้ให้เห็นถึงคำสำคัญในยุคปัจจุบัน นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และผลกระทบของมันที่มีต่อระดับน้ำทะเล "สถานการณ์ของเลอ ซิกนัล ส่วนใหญ่เป็นเชิงสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ในแง่ของการกัดเซาะชายฝั่งของฝรั่งเศส" นายอาดรีแย็ง พริวัต เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานป้องกันชายฝั่งของฝรั่งเศส กล่าวว่า ภัยคุกคามดังกล่าวเห็นได้อย่างชัดเจน พริวัต ระบุว่า ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้ปัจจัยอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดการกัดเซาะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และทำให้แนวชายฝั่งเสี่ยงต่อพายุมากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งอาคารทรงกล่องยังเป็นตัวอย่างของการที่นักวางผังเมืองไม่ค่อยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า แนวชายฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ พริวัต กล่าวเสริมว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพายุที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะปล่อยให้ผู้คนอาศัยอยู่ในเลอ ซิกนัล โดยไม่มีมาตรการป้องกันชายฝั่งที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อแนวชายฝั่งใกล้เคียงด้วย ดังนั้นแล้ว ขั้นตอนการเวนคืนที่ยาวนาน และความพยายามในการจัดหาเงินทุน สำหรับการรื้อถอนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นการซ้อมที่จำเป็นต่อสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต https://www.dailynews.co.th/news/2004710/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ย้าย 33 ตำแหน่ง "กรมอุทยานฯ" คืนความชอบธรรม ยกแผงฝั่งอันดามัน "อรรถพล เจริญชันษา" เซ็นแต่งตั้ง 33 ตำแหน่ง ทั้งหัวหน้าอุทยานฯ ทางทะเล และให้บางรายกลับต้นสังกัดเดิม ปฎิบัติราชการที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ส่วนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ส่งหัวหน้าหญิงคุม ทั้งอุทยานฯ เขาพระวิหาร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม วันนี้ (16 ก.พ.2566) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงนามในคำสั่งกรมอุทยานฯ ให้ข้าราชการกลับไปปฏิบัติราชการสังกัดเดิม และให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการ จำนวน 33 คน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายล็อตที่ 3 หลังจากนายอรรถพล เข้ามาทำงาน และรับเรื่องร้องเรียนการโยกย้ายไม่เป็นธรรม ซึ่งก่อนหน้านี้มีการแต่งตั้งโยกย้ายทั้งกลุ่มที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และกลุ่มที่มีรายชื่อบนซองสินบนมาแล้ว 45 ตำแหน่ง ล่าสุดวันนี้ (16 ก.พ.) มีการลงนามแต่งตั้งเพิ่มขึ้น 33 คน โดยเป็นทั้งกลุ่มที่ได้รับการเยียวยา เพิ่มประสิทธิภาพ และปรับย้ายเพื่อความเหมาะสม คำสั่งที่ 802 เรื่องให้ข้าราชการกลับไปปฏิบัติราชการสังกัดเดิม ให้นายสุธน เวียงดาว เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 ปฎิบัติราชการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก และ จ.เลย กลับไปปฎิบัติราชการที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 ซึ่งเป็นต้นสังกัดเดิม คำสั่งที่ 803 เรื่องให้ข้าราชการกลับไปปฏิบัติราชการสังกัดเดิม ให้นายกมนทรรศน์ แก้วศรีขาว เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ส่วนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 ปฎิบัติราชการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ทำหน้าที่หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร ด้านทิศเหนือ (ตอนบน) จ.ประจวบคีรีขันธ์ กลับไปปฎิบัติราชการที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 ซึ่งเป็นต้นสังกัดเดิม คำสั่งที่ 804 เรื่องให้ข้าราชการกลับไปปฏิบัติราชการสังกัดเดิม ให้นายภาสกร มีศิริ เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 ปฎิบัติราชการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 ทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำคลองสอง จ.นครราชสีมา และทำหน้าที่หัวหน้าโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริป่าวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา อีกหน้าที่หนึ่ง กลับไปปฎิบัติราชการที่ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 ซึ่งเป็นต้นสังกัดเดิม หัวหน้าหญิงแกร่งคุมป่าชายแดนอีสาน คำสั่งที่ 805 เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ในการปฎิบัติราชการ 19 คน มีดังนี้ น.ส.ศิริพักตร์ สนสมบัติ นักวิชาการปฏิบัติการกลุ่มงานวิชาการ สบอ.9 เป็นหัวหน้าด่านตรวจสัตว์ป่าช่องจอม จ.สุรินทร์ นายกิติศักดิ์ สมศรี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.3 (เพชรบุรี) เป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จ ในกรมกรมหลวงด้านทิศเหนือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายณัฐพันธ์ ศรียา เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญการ ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.4 (สุราษฎร์ธานี) เป็นผอ.ส่วนประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า นายวิทูร เดชประมวลพล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.6 เป็นผอ.ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.5 (นครศรีธรรมราช) นายกัณฑ์พงษ์ ดวงสินกุลศักดิ์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.6 เป็นหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำคลองสอง จ.นครราชสีมา และเป็นหัวหน้าโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ ป่าวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา นายรัฐนันท์ ศิรินทร์จิรเดช เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญการ ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สบอ.2 ปฏิบัติราชการสบอ.7 (นครราชสีมา) นายณัฐยศ ชัยชนะทรัพย์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ส่วนฟื้นฟูและพื้นที่อนุรักษ์ สบอ.10 เป็นผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.8 (ขอนแก่น) นายศุภมิตร จารุธัญลักษณ์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร เป็นผอ.ส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร นายบดินทร์ เมธมุทา เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.10 ทำหน้าที่ หน.โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ภูขัด-ภูเมี่ยง-ภูสอยดาว จ.เลย น.ส.กาญจนา คำแก้ว นักวิชาการชำนาญการ ส่วนจัดการต้นน้ำ สบอ.9 ปฏิบัติราชการสบอ.9 (อุบลราชธานี) นายนาวิน ละคร นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.9 หัวหน้าสถานีไฟป่าพื้นที่ห้วยบางทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.มุกดาหาร นายวีระชัย กำลังงาม เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.9 หัวหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ จ.มุกดาหาร นางจิตร อาจสัญจร นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.9 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ นางวาสนา ไหมพรหม นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สอบ.9 เป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จ.อุบลราชธานี นางสุพัตรา พูนกระโทก นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี นายธงชัย นาราษฎร์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ ภูเก้า-ภูพานคำ จ.ขอนแก่น จ.หนองบัวลำภู และ จ.อุดรธานี นายสมชาย หนูคง เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาฯงาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 ไปปฏิบัติราชการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 นายเอกชัย เพ็ชรัตน์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 ปฏิบัติราชการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูผายล จ.สกลนคร จ.นครพนม จ.มุกดาหาร นายลำยอง ศรีเสวก นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนจัดการทรัพยากรในอุทยานแห่งชาติ สำนักอุทยานแห่งชาติ ไปปฏิบัติราชการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ ภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก และ จ.เลย คำสั่งที่ 806 เรื่องให้ข้าราชการกลับไปปฏิบัติราชการสังกัดเดิม ให้นายเริงณรงค์ นิ่มนวล เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ส่วนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 ไปปฏิบัติราชการที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 ซึ่งเป็นต้นสังกัดเดิม คำสั่งที่ 807 เรื่องให้ข้าราชการกลับไปปฏิบัติราชการสังกัดเดิม ให้นายพริษฐ์ นราสฤษฏ์กุง เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 ปฏิบัติราชการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ หาดเจ้าไหม กลับไปปฏิบัติราชการที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 ซึ่งเป็นต้นสังกัดเดิม คำสั่งที่ 808 เรื่องการให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการ โดยมีรายละเอียดว่า กรมอุทยานฯ พิจารณาแล้ว เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการ จำนวน 9 คน ดังนี้ นายณัฐวัฒน์ นุ้ยศรีราม นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ อ่างพังงา จ.พังงา นางรักชนก แพน้อย นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ นายศรายุทธ ปาโส นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ให้ทำหน้าที่อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา นายศิริวัฒน์ สืบสาย นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 5 ให้ทำหน้าที่หัวหน้าที่อุทยานฯ ธารโบกขรณี จ.กระบี่ นายณรงค์ คงเอียด นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 5 ให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ หาดเจ้าไหม จ.ตรัง นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ ศรีพังงา จ.พังงา นายเนรมิต สงแสง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ หมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ นายฑีฆาวุฒิ ศรีบุรินทร์ เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ปฏิบัติราชการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นายวีระศักดิ์ ศรีสัจจัง เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ส่วนอุทยานฯ เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ให้ปฏิบัติราชการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ น้ำตกทรายขาว จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.สงขลา https://www.thaipbs.or.th/news/content/324664
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
"ปิด 8 อุทยานจัดการฝุ่นเหนือ-สั่งบูรณาการใต้ ทสจ.-เพิ่มแถลงข่าว" คพ.แถลง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเปิดแถลงข่าว "ยกระดับ" การจัดการปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ภาคเหนือ ด้วย 3 มาตรการ ?ยกระดับการทำงานให้เข้มข้นกว่าที่ผ่านมา- เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในพื้นที่ป่า-เน้นบูรณาการภายใต้ ทสจ.? สั่ง "เพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ-จัดการแถลงข่าวเป็นประจำต่อเนื่อง-จะเข้มงวดติดตามและประเมินสถานการณ์ภายใน 3 วัน" แถลงยกระดับ "ปีนี้สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ภาคเหนือ PM2.5 มีความรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเริ่มเกินค่ามาตรฐานตั้งแต่เดือนมกราคม ? ปัจจุบัน (16 กุมภาพันธ์) พบค่าสูงสุดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แม่ฮ่องสอน ตามลำดับ คุณภาพอากาศอยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และจากรายงานข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA พบสัดส่วนจุดความร้อนสะสมพื้นที่ป่าร้อยละ 77 พื้นที่เกษตร ร้อยละ 18 และพื้นที่เมือง ร้อยละ 5 นายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา) ห่วงใยสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งกำลังประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จากการเผาในที่โล่ง จึงมีข้อสั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยกระดับการแก้ปัญหาในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่ง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เรียกประชุม 17 จังหวัด และหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ เพื่อยกระดับการแก้ไขสถานการณ์หมอกควันไฟป่าภาคเหนือ กำชับทุกหน่วยงานดำเนินการ" ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) แถลงข่าว "การยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่น PM2.5 พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ" วันนี้ (16 ก.พ. 2566) 3 มาตรการ "ยกระดับ" " ประกอบด้วย 1. ยกระดับการทำงานให้เข้มข้นกว่าที่ผ่านมา ให้กระทำด้วยความชัดเจน กระชับ ฉับไว ต้องทำให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็วที่สุด เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชน 2. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในพื้นที่ป่าซึ่งอยู่ในกำกับดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) และกรมป่าไม้ (ปม.) ให้ใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีอยู่พิจารณาปิดการเข้าพื้นที่ที่กำลังเป็นปัญหาและพื้นที่ที่มีความเสี่ยง โดยต้องหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนดำเนินการ และประกาศให้พี่น้องประชาชนทราบ ไม่ให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ ทั้งนี้ อส. ได้ดำเนินการปิดอุทยานฯ 8 แห่ง (ยกเว้นส่วนให้บริการ) ดังนี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย อุทยานแห่งชาติผาแดง อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท อุทยานแห่งชาติออบหลวง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อุทยานแห่งชาติศรีน่าน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น 3. ให้ทุกหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. โดยเฉพาะ ทสจ. ประสานงาน บูรณาการ และให้การสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดอย่างเต็มที่" อธิบดี คพ. แถลง เพิ่มแถลงข่าว-ดับไฟให้เร็วสุด-จะตรวจทุก 3 วัน "ให้เพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับพี่น้องประชาชน จัดการแถลงข่าวเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ช่วงสถานการณ์วิกฤตให้แถลงข่าวทุกวัน โดยเฉพาะการให้คำแนะนำในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ มีการให้บริการห้องปลอดฝุ่นกับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ ปลัด ทส. ยังได้กำชับให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า ภาคเหนือ) ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประสานงานกับทุกหน่วยงาน ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพิ่มความถี่ในการลาดตระเวน เฝ้าระวัง และดับไฟโดยเร็วที่สุด ให้ดำเนินการอย่างเต็มกำลังเพื่อคลี่คลายสถานการณ์โดยเร็วที่สุด และจะเข้มงวดติดตามและประเมินสถานการณ์ภายใน 3 วัน โดยประชาชนสามารถติดตามคุณภาพอากาศได้ทางเว็บไซต์ Air4Thai.com และแอปพลิเคชัน Air4Thai" ปิ่นสักก์ กล่าว https://greennews.agency/?p=33184
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|