|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#1
|
||||
|
||||
ม.อ.ค้นพบปลาหมึกสายพันธุ์ใหม่ หวั่นสูญพันธุ์เหตุน้ำทะเลเปลี่ยน
ม.อ.ค้นพบปลาหมึกสายพันธุ์ใหม่ หวั่นสูญพันธุ์เหตุน้ำทะเลเปลี่ยน "ปลาหมึก” จัดเป็นสัตว์ทะเลส่งออกสำคัญรองจากกุ้ง ในแต่ละปีประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์จากปลาหมึกมูลค่า 60,000 ล้านบาทต่อปี รองจากกุ้ง แต่ไม่มีการเพาะเลี้ยงเหมือนกับกุ้ง อาศัยจับจากธรรมชาติ โดยใช้เครื่องมือหลากชนิด ทั้ง โยทะกา ลอบ อวนล้อม อวนลาก และอวนล้อมขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีความรู้ขั้นต้นในการเพาะพันธุ์ปลาหมึกชนิดต่างๆ เช่น ปลาหมึกหอม โดยกรมประมงเคยศึกษาวิจัยเรื่องนี้ไว้ แต่ที่ไม่ได้รับความนิยมเพราะการจับจากธรรมชาติมีความคุ้มทุนกว่า หากเทียบกับกุ้งและปลา ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ดร.จารุวัฒน์ นภีตะภัฏ อาจารย์ประจำสถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ ให้ข้อมูลว่า ปลาหมึกเป็นสัตว์ที่มีระบบประสาท อวัยวะ เทียบเท่ากับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในกลุ่มหอย ขณะที่มีพฤติกรรมคล้ายกับปลา ซึ่งถือเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการที่ดีที่สุดของสัตว์ในกลุ่มที่ไม่มีกระดูก สันหลัง เพราะมีการพัฒนาสติปัญญาเทียบเท่ากับสุนัข ปัจจุบันนักวิจัยทั่วโลกมีการศึกษาวิจัยปลาหมึกไม่มากนัก สำหรับประเทศไทยจากการเก็บข้อมูลพบปลาหมึกอยู่ 80 ชนิด สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย ได้สนใจวงจรชีวิตของปลาหมึกในแต่ละสายพันธุ์ ล่าสุดได้ร่วมกับทีมงานจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการสำรวจศึกษาปลาหมึกในแถบคาบสมุทรไทย ซึ่งจากการลงพื้นที่ทีมงานได้ค้นพบปลาหมึกสายพันธุ์ใหม่ 3 ชนิด ได้แก่ ปลาหมึกลายเสือ (mimic octopus) ที่พบบริเวณเกาะสาก จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นปลาหมึกพันธุ์หายาก และมีความเสี่ยงว่าปลาหมึกสายพันธุ์นี้อาจจะสูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำไทยในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่สำรวจน่านน้ำฝั่งอันดามัน บริเวณจังหวัดภูเก็ต โดยได้ค้นพบปลาหมึกสายพันธุ์ หอยงวงช้างกระดาษใหญ่ (greater Argonaut) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มปลาหมึกสายมีหนวดคู่แรกที่แผ่ออกเป็นแผ่น ซึ่งปลาหมึกสายพันธุ์นี้ จะมีต่อมที่จะหลั่งสารเคมีออกมาสร้างเป็นเปลือกที่เป็นสารพวกแคลเซียมบางๆเรียกว่า secondary shell โดยแผ่นเนื้อดังกล่าวจะทำหน้าที่ห่อหุ้มและพยุงเปลือกไว้ และยังค้นพบ ปลาหมึกสายพันธุ์ผ้าห่ม (blanket octopus) ที่มีลักษณะเด่น ที่มีรูเปิดที่ส่วนบนและส่วนล่างของหัวด้านละ 1 คู่ และมีแผ่นเนื้อบางๆที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างหนวดคู่แรก คู่ที่อยู่กลางด้านบนของหัว และระหว่างหนวดคู่แรกกับคู่ที่สองจะแผ่ออกเป็นแผ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนที่อยู่สองข้างของหนวดคู่แรกทั้งสองเส้นจะยาวถึง 2-3 เท่าของลำตัว ปกติปลาหมึกชนิดนี้อยู่ในอุณหภูมิต่ำ อยู่ไกลจากชายฝั่งออกไป แต่ในช่วงปี ค.ศ. 2007 เกิดปรากฏการณ์คลื่นใต้น้ำ ทำให้ปลาหมึกสามารถขึ้นมาอยู่ใกล้บริเวณชายฝั่งได้ อาจารย์ประจำสถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ทางคณะยังอยู่ระหว่างทำโครงการศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของกลุ่มปลาหมึกกระดองในบริเวณคาบสมุทรไทย โดยศึกษาจากดีเอ็นเอ ซึ่งผลการศึกษาในเบื้องต้นยังไม่สามารถจำแนกความแตกต่างของสายพันธุ์ปลาหมึกของทะเลฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมด้วยการนำข้อมูลจากการศึกษาดีเอ็นเอ และสัณฐานวิทยามาผนวกกันเพื่อหาข้อสรุปต่อไป อย่างไรก็ตาม จากการลงสำรวจวิจัยในครั้งนี้ ยังพบว่า ระบบนิเวศของปลาหมึกในประเทศไทยกำลังประสบปัญหาจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากน้ำเสื่อมสภาพ และปัญหาการรุกพื้นที่การประมงที่ใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ ที่มีการจับสัตว์น้ำเพื่อนำไปบริโภคมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุทำให้ทรัพยากรปลาหมึกลดน้อยลง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งสร้างจิตสำนึกให้กับทุกคนได้ร่วมกันอนุรักษ์เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของปลาหมึกในน่านน้ำไทย. จาก ........... เดลินิวส์ คอลัมน์โลกสีสวย วันที่ 26 กันยายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอแสดงความยินดีกับดร.จารุวัฒน์ นภีตะภัฏ ผู้ค้นพบด้วยค่ะ.... อยากเห็นภาพหมึกพันธุ์ใหม่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 15-06-2014 เมื่อ 19:22 |
#3
|
|||
|
|||
ว้าว ว้าว เกาะสากมี mimic ด้วย เจ๋งไปเล้ย
เจ้าหอยงวงช้างนี่มันหน้าตาใกล้เคียงกับนอติลุสหรือเปล่าน้อ อยากเห็นรูปด้วยเหมือนกันค่ะ |
#4
|
||||
|
||||
เอารูปหอยงวงช้างกระดาษ (Paper nautilus) มาให้ดูค่ะ แต่เสียดายเป็นตัวที่ตายแล้ว เจอที่แพปลาในจังหวัดภูเก็ตค่ะ
หอยงวงช้างกระดาษจะสร้างเปลือกเฉพาะตัวเมียเวลาที่มีไข่ ตัวนี้ก็มีไข่เต็มเลยค่ะ |
#5
|
||||
|
||||
ภาพไข่ชัดๆ ค่ะ
|
#6
|
|||
|
|||
ยินดีกับพี่เจี๊ยบด้วยค่ะ เก่งจัง
|
#7
|
|||
|
|||
น่าตื่นเต้นจังคะ...ขอบคุณคะ
__________________
คิดดี ทำดี ชีวีเป็นสุข |
#8
|
||||
|
||||
ขอบคุณสำหรับภาพหอยงวงช้างกระดาษค่ะน้องจิน....
น่ารัก...แต่น่าสงสารและน่าเสียดาย ที่เธอต้องมาตายทั้งกลมอย่างนี้นะคะ.... ขอความรู้จากน้องจินมาประดับสมองที่เหลือน้อยเข้าไปทุกวันๆหน่อยนะคะ -แหล่งที่อยู่อาศัยของหอยงวงช้างกระดาษในธรรมชาติ จะอยู่ในเขตไหนคะ (น้ำลึก หรือใกล้ผิวน้ำ....ในแนวปะการังหรือนอกเขตปะการัง....น้ำขุ่นหรือน้ำใส ฯลฯ) -หอยงวงช้างกระดาษตัวผู้และตัวเมียที่ไม่มีไข่จะไม่สร้างเปลือกหุ้มตัว เขาและเธอน่าจะอ่อนแอ และถูกทำร้ายได้ง่ายกว่าตอนมีเปลือกไหมคะ และศัตรูตัวร้ายของหอยงวงช้างกระดาษคืออะไรคะ? -หอยงวงช้างกระดาษตัวที่ตายแล้วนี้ ไข่ของเธอยังมีชีวิตอยู่และนำมาเพาะพันธุ์ได้ไหมคะ ว่างๆจากงานที่มีมากมาย กรุณาตอบด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ น้องจิน....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 15-06-2014 เมื่อ 19:24 |
#9
|
|||
|
|||
http://www.manager.co.th/Campus/View...=9530000139774
ไปเจอข่าวที่ลงหน้าตาเจ้าหมึกทั้งสามมาค่ะ เลยเอามาให้ดูกันด้วยค่ะ |
#10
|
||||
|
||||
เรื่องหอยงวงช้างกระดาษมีอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ท่านหนึ่งเคยทำวิจัยค่ะ เดี๋ยวหนูจะลองไปถามให้นะคะ เผื่อได้คำตอบที่น่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ส่วนแม่หอยนั้นรู้เรื่องเพียงงูๆ ปลาๆ ค่ะ ..แหะ แหะ พอจะตอบได้นิดหน่อยเพราะฟังมาจากพี่เจี๊ยบ ดร.จารุวัฒน์ รู้สึกว่าตอนเจ้าหอยงวงช้างไม่มีเปลือกนั้นเขาก็จะดูคล้ายๆ ปลาหมึกชนิดอื่นๆ น่าจะว่ายน้ำได้รวดเร็วพอหลบหลีกศัตรูได้นะคะ ศัตรูก็คงจะพวกเดียวกับศัตรูของปลาหมึกอื่นๆ
สำหรับไข่ของเจ้าตัวที่ตายแล้วนั้น ถูกน้องปุ้ยดองเอาไปฝากอาจารย์ที่คณะประมงไว้เป็นตัวอย่างให้น้องๆ ศึกษาน่ะค่ะ เพราะหลายคนก็คงไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นหอยงวงช้างกระดาษได้ง่ายๆ ดร.จรวย อาจารย์ที่ศึกษาเรื่องหอยงวงช้างกระดาษ เขาได้ทดลองเพาะฟักและอนุบาลลูกหอยงวงช้างโดยนำไปทดลองเลี้ยงที่ศูนย์ประมงชายฝั่งที่ท้ายเหมืองที่น้องยุ้ยทำงานนั่นแหละค่ะ แต่เท่าที่ทราบ เลี้ยงได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้นก็พากันแยกย้ายไปสวรรค์เสียหมด ได้ความอย่างไรจะนำมาเล่าต่อนะคะ |
|
|