#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนยอดดอยและยอดภูยังคงมีอากาศหนาว สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย0 ในช่วงวันที่ 17 ? 20 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 22 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 21 ? 22 พ.ย. ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
กรุงเทพรับมือฝุ่นพิษพุ่ง กรมควบคุมมลพิษชง 12 มาตรการแก้ปัญหา กทม.พร้อมประชุมรับมือปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ หลังค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งกระทบสุขภาพหลายพื้นที่ ขณะที่กรมควบคุมมลพิษ เห็นชอบ 12 มาตรการเฉพาะกิจการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ พร้อมตั้งโฆษก ศกพ. ประสาน "จิสด้า" ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมพยากรณ์ฝุ่นล่วงหน้า 3 วัน แจ้งเตือนประชาชน เริ่ม 1 ธ.ค.นี้ ด้าน "วราวุธ ศิลปอาชา" ลงพื้นที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน รับมือไฟป่าหมอกควันภาคเหนือ ที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบสารมลพิษทางอากาศฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินมาตรฐาน (ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ณ เวลา 12.00 น. มี 5 พื้นที่ ได้แก่ บริเวณริมถนน กาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กทม. 52 มคก./ลบ.ม. ริมถนนคลองทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กทม. 55 มคก./ลบ.ม. ริมถนนมาเจริญ เพชรเกษม 8 เขตหนองแขม กทม. 52 มคก./ลบ.ม. ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 52 มคก./ลบ.ม.และ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 60 มคก./ลบ.ม.ขณะที่ภาพรวมทั้งประเทศอยู่ในระดับดีมากถึงดี ด้านนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะประธาน ศกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบในการทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? และเห็นชอบกำหนด 12 มาตรการเฉพาะกิจการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 พร้อมทั้งเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งต่อมาได้มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ เพื่อเป็นศูนย์ในการบูรณาการประสานงานรวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนในรูปแบบ One Voice One Team และกำลังจะนำเสนอที่ประชุม ครม.เพื่อรับทราบ นอกจากนี้ ได้แต่งตั้ง นายศิวัช พงษ์เพียจันทร์ เป็นโฆษก ศกพ. และ น.ส.ศิวพร รังสิยานนท์ เป็นรองโฆษก ศกพ. ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแถลงข่าวชี้แจงการดำเนินงาน และรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแจ้งเตือนประชาชนในการรับมือและเตรียมความพร้อมในการป้องกันผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ที่ฝุ่นละอองมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน อธิบดี คพ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส.จะเดินทางไป จ.เชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน ระหว่างวันที่ 19-21 พ.ย.นี้ เพื่อตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานในพื้นที่ในการรับมือสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ ปี 2564 โดยจะมีการเก็บขนและใช้ประโยชน์เศษวัสดุในป่า ถึงวันที่ 30 พ.ย.นี้ รวมทั้งการบริหารจัดการเชื้อเพลิงใน 17 จังหวัดภาคเหนือและขอความร่วมมือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสาร- สนเทศ (จิสด้า) เพื่อประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรายงานปริมาณฝุ่นละอองเชิงพื้นที่ เริ่มใช้ 1 ธ.ค.นี้ พยากรณ์ฝุ่นล่วงหน้า 3 วัน เพื่อแจ้งเตือนประชาชน ในส่วนของ กทม.หลังพบมลพิษทางอากาศเพิ่มสูงขึ้น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ในวันที่ 17 พ.ย.จะมีการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 และจะมีผู้มีจิตศรัทธานำแผ่นกรองอากาศ 38,000 ตร.ม. มามอบให้ เพื่อนำไปใช้ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ กทม. พร้อมทั้งกำชับให้ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ตามที่เคยประชุมไปก่อนหน้านี้ ขณะที่ นายประพาส เหลืองศิรินภา รอง ผอ. สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สจส.ได้ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อลดปัญหามลพิษอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ) จำนวน 61 สถานี ซึ่งจะเปิดให้บริการทุกสถานีได้ประมาณเดือนธันวาคม 2563 ขณะเดียวกัน ส่งเสริมการเดินเรือในคลอง เช่น คลองภาษีเจริญ และคลองผดุงกรุงเกษม โดยในคลองผดุงกรุงเกษมมีเรือไฟฟ้าให้บริการ ซึ่งจะช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ตลอดจนร่วมมือกับภาคีเครือข่ายรณรงค์ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ส่งเสริมการใช้จักรยานในการเดินทางเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชน https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1977856
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ไม่รู้ หรือท้าทายกฎ! นำหมาขึ้นอุทยานฯ เขาใหญ่ แถมปล่อยให้เดินเล่นอย่างสบายใจ เมื่อวานนี้ (16 พ.ย.63) เพจเฟซบุ๊ค Chinapoj Chinapan ได้โพสต์ภาพถ่ายสุนัขเลี้ยง บริเวณริมอ่างเก็บน้ำสายศร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เหตุเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมชี้เป้าให้ทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯ จับจริงปรับจริงกับกลุ่มที่ฝ่าฝืนระเบียบ จากโพสต์ระบุว่า เมื่อเวลา 17.30 น.วันที่ 15 พย.2563 ริมอ่างเก็บน้ำสายศร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ การนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในอุทยานแล้วปล่อยให้เดินฉี่เดินอึไปทั่วอย่างนี้ นอกจากผิดกฏของอุทยานแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าด้วยนะครับ ดูจากกล้องวงจรปิดตรงที่จอดรถน่าจะหาตัวผู้กระทำผิดได้ไม่ยากครับ ก่อนหน้านี้ (เมื่อ 7 ก.ค.2563) ก็เคยเกิดเหตุในทำนองนี้ ตอนนั้นอุทยานแห่งชาติ กลับมาเปิดใหม่ได้เพียง 5 วัน เนื่องจากปิดไปเพราะการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทั้งที่อุทยานฯ เขาใหญ่ ติดป้ายข้อห้ามไว้ชัดเจน ซึ่งส่วนมากประชาชนทราบดีว่า ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเขาใหญ่ แต่ก็ยังมีคนแอบเอาขึ้นกัน อย่างรายนั้นเอาลงมาเดินจูงเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จุดยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวมักจะนำ่สัตว์เลี้ยงไปถ่ายรูปและเดินเล่น อยู่แถวอ่างเก็บน้ำสายศร ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ต้นมะม่วง เพราะบริเวณนี้มีชายป่า และพื้นที่ให้สุนัขเดินเล่นได้ ซึ่งนอกจากจะมีสุนัขแล้ว ในช่วงวันหยุดยาว มักพบพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ฝ่าฝืนแนวทางการปฎิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ เช่น การลงไปถ่ายรูปในโป่ง แถวพื้นที่โป่งทุ่งกวาง และโป่งชมรมเพื่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะโป่ง เป็นพื้นที่มีสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง และสัตว์อื่นๆ จะลงมากินเกลือแร่ในโป่ง หากมีคนเข้าไปจะทำให้มีกลิ่นคน แปลกปลอมเข้าไปจนสัตว์ป่าไม่กล้าเข้ามาใช้พื้นที่ จากเหตุนำสัตว์เลี้ยงเข้าอุทยานฯ ว่าที่ พ.ต.นรินทร์ ปิ่นสกุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เตือนว่ามีความผิดข้อหาฝ่าฝืนนำสัตว์เข้าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ถือว่าจงใจแอบลักลอบพาสัตว์เลี้ยงเข้าพื้นที่ ทั้งที่มีการเตือนอยู่แล้ว ทั้งนี้หากนักท่องเที่ยวที่รู้ตัวเองว่าอยู่ในภาพที่ปรากฎในสื่อสังคมออนไลน์ ขอให้มารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนด้วย สำหรับโทษของการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 21 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 47 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท การละเมิดของนักท่องเที่ยว แม้บางคนจะอ้างว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่สัตวแพทย์ ระบุว่าการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นไปอุทยาน เช่น หากไปถ่ายมูลไว้ และมีสัตว์ป่ามากิน อาจเสี่ยงจะติดโรคจากสัตว์เลี้ยง และทำให้สัตว์ป่ามีสุขภาพอ่อนแอ โดยเฉพาะสุนัขและแมว มักเจอบ่อยครั้ง ถือเป็นเรื่องอันตรายมากต่อการนำโรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยงไปสู่สัตว์ป่าในกลุ่มสายพันธุ์ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสัตว์ป่าหลายชนิดที่ใกล้เคียงกับหมาแมวเลี้ยง เช่น หมาจิ้งจอก หมาใน กลุ่มแมวดาว เสือโคร่ง เสือลายเมฆ จึงสุ่มเสี่ยงมาก เพราะในตัวสุนัข และแมวจะมีโรคพยาธิในทางเดินอาหาร และปรสิตนอก เช่น เห็บ หมัด และพยาธิในเม็ดเลือดที่นำโดยตัวเห็บ ปัจจุบันกรมอุทยานฯ แก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการต้องมีการตั้งกรงรับฝากหน้าด่าน เพราะในแต่ละเดือนมีการพบนักท่องเที่ยวลักลอบนำสัตว์ไปด้วยไม่ต่ำกว่า 5-6 ครั้ง ส่วนใหญ่บอกว่าจากการรุ้เท่าไม่ถึงการณ์ และบางคนรู้แต่ยังฝ่าฝืน และสำนักอุทยานแห่งชาติมีมาตรการในการตรวจยานพาหนะ เช่น เปิดกระจกทุกบาน เจ้าหน้าที่ใช้การดมกลิ่นของสุนัข สังเกตขนสัตว์ตามเบาะรถ หรือถามตรงๆ ว่ามีการนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เผยแพร่ข้อห้าม ดังนี้ ?ห้ามให้อาหารสัตว์ ?ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าในเขตอุทยาน ?ห้ามเก็บพันธุ์ไม้/ดอกไม้ ?ห้ามขีดเขียนในอุทยานแห่งชาติ ?ห้ามล่าสัตว์ป่า ?ห้ามก่อกองไฟ ?ห้ามนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าภายในอุทยานแห่งชาติ ?ห้ามส่งเสียงดัง ?ห้ามนำสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ต่างถิ่นเข้า ?ห้ามพกพาอาวุธเข้าอุทยานแห่งชาติ ?ห้ามเดินออกนอกเส้นทาง ?ห้ามทิ้งขยะ ?ไม่นำสารเคมีอันตรายเข้าป่า ?ไม่ขับรถเร็วเกินที่กำหนด https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000118512
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
วางทุ่นชุดใหม่ทะเลอันดามันตรวจวัดคลื่นสึนามิ ภูเก็ต 16 พ.ย.- รองอธิบดี ปภ. ลงภูเก็ตปล่อยเรือวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิทะเลอันดามัน แทนชุดเดิมที่ครบวงรอบ 2 ปี บำรุงรักษา กำหนดแล้วเสร็จ 29 พ.ย.นี้ ชี้เป็นอุปกรณ์เตือนภัยมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว หลังเกิดคลื่นยักษ์ถล่ม 26 ธ.ค.47 ชายฝั่ง 6 จังหวัด หลายชีวิตดับสูญ วันนี้ (16 พ.ย.) นายเชษฐา โมลิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นประธานพิธีปล่อยเรือวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียชุดใหม่ทดแทนทุ่นเดิมที่ครบวงรอบการบำรุงรักษา โดยมีว่าที่ร้อยตรีวิกรม จากที่รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมในพิธี ณ ท่าเทียบเรือน้ำลึก ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายเชษฐา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลในมหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจนเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ทำลายบ้านเรือนและสถานที่ท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและ 6 จังหวัดฝั่งอันดามันของประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบ มีทั้งประเทศไทย อินโดนีเซีย ศรีลังกา และอินเดีย และจากเหตุการณ์ดังกล่าว ประเทศไทยได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในการแจ้งเตือนภัยสึนามิ ร่วมกับองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา และได้รับมอบทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ จากหน่วยงานดังกล่าว เมื่อเดือนธันวาคม 2549 โดยประกอบด้วย ทุ่นลอยพร้อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชุดอุปกรณ์วัดความดันใต้ท้องทะเล ซึ่งมีการติดตั้งห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกประมาณ 965 กิโลเมตร ต่อมารัฐบาลไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิเพิ่มเติมเป็นจุดที่ 2 ในทะเลอันดามัน เมื่อเดือนมกราคม 2560 ห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 290 กิโลเมตร ซึ่งระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิทั้ง 2 จุด มีการบำรุงรักษาตามมาตรฐานผู้ผลิตอย่างต่อเนื่องในทุก 2 ปี เพื่อให้ตรวจวัดคลื่นสึนามิ ให้มีความพร้อมใช้งานและมีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลา นายเชษฐา กล่าวว่า การวางทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิชุดใหม่นี้ มีกำหนดเดินทางออกจากฝั่งในวันนี้ และจะใช้เวลาดำเนินการเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งจะแล้วเสร็จในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวทางทะเล ดังนั้น ความปลอดภัยและระบบเตือนภัยจะเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง รัฐบาลโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบวิเคราะห์ คาดการณ์คลื่นสึนามิ และระบบแจ้งเตือนภัยของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จึงถือว่าการวางระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิ ในทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย เป็นกลไกในการเตือนภัยสึนามิล่วงหน้า เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนกกับข่าวลือ และรับข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนจากหน่วยงานภาครัฐ จะได้เตรียมความพร้อมในการอพยพทันท่วงที สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน. https://tna.mcot.net/tna-584619
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|