เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 09-12-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 9 ธันวาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกในระดับบนได้พัดพาความหนาวเย็นจากประเทศเมียนมาเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว และบริเวณยอดดอยในภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ส่วนบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าว ดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย0

ในช่วงวันที่ 9 - 10 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกในระดับบนจากประเทศเมียนมาพัดปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 9 - 10 ธ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 09-12-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ


8 ปี Wreck Dive "เรือช้าง" แหล่งดำน้ำลึก ตราด-ปรับตัวรับโควิด



"เกาะช้าง" จังหวัดตราด ที่มาของรายได้ท่องเที่ยวจังหวัดตราด เฉียด ๆ 50% ปีละเกือบ 10,000 ล้านบาท รายได้หลักมาจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศถึง 80% แต่สภาวะโควิด-19 รายได้เหลือประมาณ 20% การท่องเที่ยวทางทะเลกิจกรรมดำน้ำตื้นแบบสน็อกเกิลลิ่ง (snorkelling) ส่วนใหญ่จะเป็นที่ชื่นชอบนักท่องเที่ยวไทย มีเกาะต่าง ๆ ที่มีปะการังสวยงาม 4-5 แห่ง

ส่วนการดำน้ำลึกแบบสกูบา (scuba) ที่ลูกค้าหลักเป็นชาวต่างประเทศ เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมาโครงการวาง "เรือช้าง" : Wreck Dive สร้างเป็นแหล่งดำน้ำลึกขนาดใหญ่ บริเวณเกาะช้าง จ.ตราด แต่ละปีจะมีนักดำน้ำจากต่างประเทศมาดำน้ำเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการประมาณว่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละประมาณ 50 ล้านบาท แต่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผล กระทบต่อรายได้อย่างหนัก


8 ปีผลสำเร็จแหล่งดำน้ำลึก

น.ท.สมบัติ บุญเกิดพานิช หรือ เสธ.บัติ อดีตนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จ.ตราด ผู้ปั้นโปรเจ็กต์นี้ได้สะท้อนปัญหาธุรกิจดำน้ำลึกท่ามกลางโควิด-19 พร้อมเล่าประวัติย้อนรอยเรือหลวงช้าง (His Thai Majesty?s Ship : HTMS Chang) ที่นำมาวางใต้ท้องทะเลบริเวณเกาะช้าง จ.ตราด เพื่อสร้างเป็นบ้านปลาขนาดใหญ่ว่า ขณะที่เป็นนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดตราด จากวิกฤตปะการังฟอกขาว ปี 2553 บริเวณเกาะต่าง ๆ และเกาะช้างที่เป็นแหล่งดำน้ำปะการังได้ถูกทำลาย ทำให้แหล่งท่องเที่ยวในทะเลไม่มีจุดสนใจ

ด้วยเป็นคนท้องถิ่นมีประสบการณ์ดำน้ำ เห็นว่าบริเวณเกาะช้าง จ.ตราด น่าจะมีแหล่งดำน้ำลึกแบบสกูบาเพิ่มขึ้น และอาชีพของชาวประมงพื้นบ้านจะมีแหล่งหาปลาเพื่อเพิ่มรายได้ ด้วยเหตุผล 2-3 ข้อ จึงคิดทำโปเจ็กต์บ้านปลาขนาดใหญ่ โดยขอกองทัพเรือ นำเรือช้างซึ่งเป็นเรือรบหลวงขนาดใหญ่ที่ปลดระวาง นำมาวางในท้องทะเลตราด องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. สนับสนุนงบประมาณให้ 5.5 ล้านบาท ภายใต้วงเงินที่จำกัดมาก ๆ

นายกิตติ โกสินสกุล นายกสมาคมประมงจังหวัดตราดขณะนั้น ช่วยดำเนินการร่วมกับสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จ.ตราด วางเรือช้าง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ครบ 8 ปีเห็นความสำเร็จ เร็คไดฟ์ (Wreck Dive) HTMS Chang เป็นบ้านปลาขนาดใหญ่ และเป็นแหล่งดำน้ำลึกที่ได้รับความนิยมจากนักดำน้ำลึกทั้งต่างประเทศและไทย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดตราด

"น.ท.สมบัติกล่าวว่า ปีแรกนักดำน้ำได้เริ่มเข้ามา พร้อม ๆ กับปลาเล็ก ปลาใหญ่ รวมทั้งฉลามวาฬปลาที่นักดำน้ำใฝ่ฝัน กิจกรรมน้ำดำลึกได้เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ๆ มาหยุดชะงักในช่วงโควิด-19 เพราะลูกค้าดำน้ำลึกเป็นชาวต่างประเทศ 60-70%"


Wreck Dive เรือช้างสร้างเศรษฐกิจ

Wreck Dive เรือช้างสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจท่องเที่ยวอย่างเชื่อมโยงและอาชีพประมงพื้นบ้าน นอกจากบริษัททำธุรกิจดำน้ำลึก 3-4 บริษัท รวมทั้งฟรีแลนซ์

จุดที่วางเรือเป็นแหล่งขยายพันธุ์ปลาสร้างอาชีพให้ชาวประมงและมีปลาใหญ่อย่างฉลามวาฬมาให้เห็น

โครงสร้างของเรือมีขนาดใหญ่ความยาว 100 เมตร สามารถดำน้ำภายในห้องต่าง ๆ ของเรือได้อย่างปลอดภัย ด้วยระดับความลึกไล่ระดับ 5-40 เมตร เหมาะทั้งนักดำน้ำทั่วไป และเรียนหลักสูตรการดำน้ำ ระดับพื้นฐาน open water diver ถึงระดับขั้นสูง advance diver เพื่อรับใบอนุญาตและขึ้นสู่มืออาชีพ dive master ครูฝึก และ instructor training เป็นครูสอนดำน้ำ ต้องใช้ระยะเวลาเรียนตั้งแต่ 3-4 วัน ถึง 2-3 เดือน

จึงเป็นการช่วยสร้างงานให้ชุมชนในท้องถิ่น สร้างรายได้ให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก เรือ-รถโดยสาร ร้านอาหาร กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ 70-80% เป็นโซนยุโรป หลัง ๆ จะมีชาวจีนเข้ามาบ้าง ส่วนคนไทยยังให้ความสนใจน้อย น่าจะมีการทำประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น เพราะแนวโน้มที่ขยายตัวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต้องการประสบการณ์สร้างสรรค์


"ธุรกิจดำน้ำ" ปรับตัวหลังโควิด

นายอัยการ เชยชื่น ครูสอนดำน้ำ (instructor) ของบริษัท บีบีไดรเวอร์ส เกาะช้าง (BB Divers Koh Chang) 1 ใน 4 บริษัทดำน้ำในเกาะช้าง กล่าวว่า ช่วง 8 ปี Wreck Dive เรือช้าง จำนวนนักดำน้ำลึกมีอัตราการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ 80% เป็นชาวต่างประเทศ คนไทย 20% และเริ่มมีนักท่องเที่ยวไทยสนใจดำน้ำ ช่วงปี 2560-2562 ก่อนโควิด-19 อัตราการเติบโตสูง มีไดฟ์ดำน้ำทุกวัน

แต่เมื่อเกิดโควิด-19 นักดำน้ำต่างประเทศเข้ามาไม่ได้ จำนวนนักดำน้ำลดลง 50% เดือนแรกบริษัทมีปรับลดเงินเดือนพนักงาน 30% ไป 1เดือน ต่อมาเริ่มฟื้นตัวเพราะปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจับตลาดคนไทย กลุ่มครูดำน้ำ และกลุ่มชาวต่างประเทศในไทย ตอนนี้Wreck Dive เรือช้าง ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางเท่าแหล่งดำน้ำลึกทางภาคใต้ จากงาน Thailand Diving Expo ต้นเดือนตุลาคม เปิดบูทคนรู้จักแค่ 20% เทียบกับทางใต้ มีบริษัททำธุรกิจดำน้ำประมาณ 70 บริษัท เกาะช้างมี 3-4 บริษัท สื่อสารได้กว้างกว่า

แต่ได้รับความสนใจเมื่อนำเสนอข้อมูลเปิดขายแพ็กเกจราคาพิเศษหมดอย่างรวดเร็ว ถ้าธุรกิจท่องเที่ยว จ.ตราด รวมตัวกันทำ พี.อาร์.อย่างจริงจัง น่าจะทำตลาดสู้กับทางใต้ หรือที่อื่น ๆ ได้ "เพราะไฮไลต์คือ ขนาดใหญ่ มีความสมบูรณ์ สวยงาม น้ำใส ดำภายในตัวเรือได้อย่างปลอดภัย มีโอกาสเห็นฉลามวาฬ ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือบางเบ้า เกาะช้าง ด้วยเรือไม้ ประมาณ 40 นาที" นายอัยการ ครูสอนดำน้ำ BB Divers กล่าว



"ตุลาคม-เมษายน ช่วงระยะเวลา 6-7 เดือนเป็นช่วงพีกของการดำน้ำลึก ก่อนโควิด-19 มีนักดำน้ำลึกทั่วไป และผู้ที่ต้องการเรียนหลักสูตรดำน้ำเริ่มขั้นพื้นฐาน ถึงเป็นครูสอนดำน้ำใช้เวลาตั้งแต่ 3-4 วัน ถึง 2-3 เดือน จะส่งผลให้มีการกระจายรายได้จากธุรกิจดำน้ำ คนในท้องถิ่นมีรายได้จากลูกเรือ คนขับเรือ เรือทัวร์ โรงแรม ร้านอาหาร รถเช่า แต่เมื่อมีสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 กลุ่มลูกค้าลดเหลือ 50% ยังมีกลุ่มคนไทยที่มีกำลังซื้อสูง และชาวต่างประเทศที่อยู่ในไทย

ถ้านักท่องเที่ยวไทย 500,000 คน มาเที่ยวทะเล สนใจดำน้ำลึก 80,000 คน ธุรกิจดำน้ำจะอยู่ได้ ตอนนี้ประคับประคองไป หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ไม่เกิน 2 ปีธุรกิจดำน้ำน่าจะปิดตัวลงหลายแห่ง เพราะช่วงทำรายได้มีเพียง 6-7 เดือน ที่เหลือคือมีแต่รายจ่าย และพบว่าที่ผ่านมามีเรือทัวร์ดำน้ำที่มาจากทางใต้และ จ.ระยอง จัดเป็นเรือทัวร์นำนักดำน้ำไปแหล่งดำน้ำลึกโดยตรง พักค้างทานอาหารบนเรือ ไม่ได้ขึ้นเกาะหรือฝั่ง เป็นผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจดำน้ำที่เกาะช้าง" นายอัยการกล่าว


เร่งทำ P.R. กระตุ้นท่องเที่ยว

ระยะเวลา 8 ปี เรือช้างเริ่มมีสภาพชำรุดปรักหักพัง จากเรือทัวร์ดำน้ำที่เข้าใกล้และผูกเชือกเรือไว้กับโครงสร้างเรือช้าง แทนการทิ้งสมอ ตามไปด้วยแรงคลื่นลมทำให้เรือขยับตัว ประกอบกับไม่มีหน่วยงานใดได้รับมอบหมายรับผิดชอบดูแล ภาคเอกชนบริษัททัวร์ดำน้ำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน จึงร้องขอ นายภิญโญ ประกอบผล ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ให้แก้ไขปัญหา

และได้ข้อสรุปว่า วันที่ 16-17 ธันวาคม 2563 จะมีโครงการติดตั้งทุ่นผูกเรือช้าง ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดตราด (ศรชล.จ.ตราด) ร่วมกับภาคเอกชนและท้องถิ่น และจะมอบหมายให้ท้องถิ่นหรือหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ดูแลบริหารจัดการต่อไป และทางกองทัพเรือจะมีการจัดทำแผนที่การเดินเรือ มีการเว้นระยะห่างเรือช้างที่ผูกทุ่น 5 เมตร เพื่อป้องกันปัญหาการเดินเรือ เพื่อรักษาเรือช้างเป็นแหล่งดำน้ำลึกที่สมบูรณ์ให้นานที่สุด

"วันติดตั้งทุ่นบริเวณเรือช้าง มีเวทีเสวนา 8 ปีเรือช้าง กับผู้มีส่วนผลักดันทำโปรเจ็กต์นี้จากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โควิด-19 เชิญบริษัทดำน้ำทั่วประเทศไทยมาร่วมงาน

เพื่อประชาสัมพันธ์ Wreck Dive เรือช้าง กลุ่มเป้าหมายคือครูดำน้ำชาวต่างประเทศที่อยู่ในไทย หรือกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ ๆ ที่ชื่นชอบกิจกรรมดำน้ำ เพื่อช่วยกระตุ้นธุรกิจการท่องเที่ยวและไม่ให้สูญเสียตลาดนักดำน้ำลึก เรามั่นใจในแม็กเนตของเรือช้าง ที่เป็นแหล่งดำน้ำขนาดใหญ่ อุดมสมบูรณ์ด้วยปะการัง สัตว์น้ำสวยงาม"


https://www.prachachat.net/local-economy/news-568246

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 09-12-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


THE EXIT : มองต่างมุม "เขื่อนกันคลื่น"



4 ปีโครงการเขื่อนป้องกันการกัดเซาะ ถูกเสนอผ่านหน่วยงานท้องถิ่นส่วนกลางกว่า 70 โครงการ แต่เรื่องนี้ถูกตั้งคำถามจากนักอนุรักษ์ ว่าการใช้โครงสร้างแข็งได้ผลจริงหรือไม่ ขณะที่ชาวบ้านหาดสมบูรณ์ จ.สุราษฎร์ธานี ที่ได้รับผลกระทบมองว่าเขื่อนแก้กัดเซาะยังจำเป็น

กว่า 5 ปี แล้วที่ครอบครัวของ เรวัตร แซ่ลิ้ม ชาวบ้านหาดสมบูรณ์ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ย้ายบ้านมาอยู่ในที่ดินเช่าของวัด เพราะบ้านหลังเดิมที่อยู่ติดกับชายหาด ถูกคลื่นกัดเซาะ จนไม่สามารถพักอาศัยต่อได้ เขาและเพื่อนบ้านอีกกว่า 20 หลังคาเรือน จึงต้องย้ายมาอาศัยพื้นที่สาธารณะประโยชน์และที่ดินวัดแทน

THE EXIT สำรวจสภาพของหาดสมบูรณ์ ที่ชาวบ้านอ้างว่าก่อนหน้านี้เคยมีบ้านตั้งอยู่กว่า 40 หลัง แต่หาดถูกกัดเซาะ จึงจำเป็นต้องย้ายออกจากพื้นที่ เสาบ้าน ที่จมอยู่ในน้ำ คือแนวเขตชี้ชัดว่าที่ดินบริเวณนี้ถูกกัดเซาะเข้ามาไม่น้อยกว่า 50 เมตร

ปัจจุบันมีบ้านไม่กี่หลัง ที่ยังคงอาศัยอยู่บริเวณหน้าหาดสมบูรณ์ ชาวบ้านที่เดือดร้อน เคยรวบรวมเงิน จ้างรถแบ็คโฮ ขุดทรายทำแนวกันคลื่น พื้นที่บางส่วนที่เหลือยู่ จึงไม่ถูกกัดเซาะ

"ชาวบ้านหาดสมบูรณ์ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานีบอกว่า ย้ายมาเพราะบ้านพัง ทะเลกัดเข้ามา บ้านลงคลองไปในปี 54 เหลือแค่เสา"

นายเรวัตร แซ่ลิ้ม ชาวบ้านหาดสมบูรณ์ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี บอกถึงปัญหาที่ต้องเผชิญ ทำให้ชาวบ้านกลุ่มนี้ เห็นด้วยหากจะมีโครงการก่อสร้างแนวกันคลื่น เพื่อชะลอการกัดเซาะ

"ที่นี่มีบ้านยื่นในทะเล 20 กว่าวา และความยาวแนวชายหาดยาวไปอีก 2-3 กิโลเมตร แต่ตอนนี้ โดนน้ำทะเลกัดเซาะจนเป็นปากคลอง จุดใหม่ทำให้พื้นที่หมู่ที่ 3 หายไป และยังยืนยันว่าชาวบ้านต้องการเขื่อนแก้กัดเซาะชายฝั่ง"

รายละเอียดโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะ จากเอกสารรับฟังความคิดเห็น มีมติเลือกใช้เขื่อนแบบหินใหญ่เรียง (Revetment) ความยาวรวม 790 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 5 เมตร ความสูง 3 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือใกล้เคียงกับถนนเลียบชายฝั่งในปัจจุบัน



ชั้นที่ 1 ด้านบนสุด ความหนา 1 เมตร 70 เซนติเมตร มีการใช้หินขนาด 85-90 เซนติเมตรต่อก้อนหินชั้นที่ 2 หรือชั้นกลาง มีความหนาของชั้นหิน 80 เซนติเมตร ใช้หินขนาด 40?45 เซนติเมตรต่อก้อน

ชั้นล่างสุดมีความหนา 20 เซนติเมตร ใช้หินขนาด 10 - 20 เซนติเมตรต่อก้อน วางบนแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดถักทอ (WovenGeotextile) นอกจากนี้ยังมีส่วนของบันไดคอนกรีต เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงหาด และทางลาดสำหรับเรือประมงขึ้น-ลง บริษัท เอส ซี จี 1995 จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการดังกล่าว ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 52,139,900 บาท

โครงการนี้เคยถูกชาวบ้านในนามกลุ่มเครือข่ายอ่าวรักษ์บ้านดอน และประมงพื้นบ้านยื่นหนังสือคัดค้านที่ศูนย์ดำรงธรรม จ.สุราษฎร์ธานี แต่พบว่าภายหลังมีการถอดถอนข้อร้องเรียนออกไป


บางแห่งไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างแก้กัดเซาะ

นายอภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ก่อตั้งกลุ่มบีชออฟไลฟ์ เป็นอีกคน ที่มองว่าการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะในพื้นที่หาดสมบูรณ์ยังไม่จำเป็น ด้วยเหตุผลว่า การกัดเซาะที่เกิดขึ้น ไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับความกว้างของแนวชายหาด และอาจจะไม่คุ้มค่ากับผลกระทบที่อาจจะตามมาจากการสร้างกำแพงกันคลื่น จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ แต่ด้วยโครงการดังกล่าว เป็นความต้องการของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน จึงไม่สามารถปฏิเสธได้

"บางพื้นที่ไม่ได้มีปัญหาชายหาดถูกกัดเซาะรุนแรง แต่มีสภาพหาดสมบูรณ์ มีเสถียรภาพ แต่มีสร้างกำแพงกันคลื่น เพราะผู้ปฏิบัติงาน เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง มักจะบอกว่าเป็นร้องขอของท้องถิ่นประสบปัญหา ไมมีงบประมาณจึงต้องขอโครงการจากส่วนกลาง"



มีโครงการ 47 แห่งในหลายจังหวัด

จากข้อมูลของกรมโยธาธิการและฝังเมือง และกรมเจ้าท่าพบว่า ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2562 มีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้นบนชายหาดในประเทศไทย จำนวน 74 โครงการ

นักอนุรักษ์ มองว่า ตัวเลขโครงการที่เพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับการที่ "กำแพงกันคลื่น" ถูกถอดถอนชื่อ ออกจากโครงการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ทำให้การอนุมัติเดินหน้าโครงการในแต่ละแห่ง ไม่สามารถประเมินความเสี่ยง ถึงผลกระทบที่จะตามมาได้

"การมีอยู่ของ EIA ในเรื่องกำแพงกันคลื่นเป็นการประกันหลักตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม ถ้ามีความเสียหายจากการพัฒนาจะมีการฟื้นฟูเยียวยาอย่างถูกต้อง แต่ถ้าถอนเรื่องนี้ออกเพื่อให้เร็วในขั้นตอนการทำงาน แต่เป็นการทำลายหลักประกันสิทธิตรงนี้"

ในมุมมอง ผู้ก่อตั้งกลุ่มบีชออฟไลฟ์ ยังเชื่อว่า แต่ละพื้นที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบแก้ปัญหากัดเซาะที่แตกต่างกัน เช่น พัทยา ใช้วิธีถมทราย ปัจจุบันพื้นที่ชายหาดกว้างมากขึ้น นอกจากจะลดการกัดเซาะแล้วทรัพยากร ยังฟื้นตัวเองโดยธรรมชาติ

การเปิดโอกาสให้แต่ละพื้นที่ ได้ศึกษาอย่างรอบด้าน และเลือกรูปแบบที่เหมาะสม น่าจะเป็นทางออกของเรื่องนี้ มากกว่าแค่การสร้าง "กำแพงกันคลื่น"




https://news.thaipbs.or.th/content/299030

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:35


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger