#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวและประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และตกหนักบางแห่ง ในภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิ.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 28 มิ.ย. ? 2 ก.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับในช่วงวันที่ 27 ? 30 มิ.ย. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยห่างฝั่ง ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 1 ? 2 ก.ค. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่ จ. กระบี่ ขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างตั้งแต่ จ. ตรัง ลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และอ่าวไทยห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 26 ? 27 มิ.ย. 66 ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
อีกแล้ว! ปลาตายเกลื่อนหาดบางแสน เชื่อฝีมือประมงมักง่ายออกเรือลากอวนได้ปลาไม่มีราคาจับโยนทิ้งทะเล ศูนย์ข่าว?ศรี?ราชา ?- อีกแล้ว! ปลาตายเกลื่อนหาดบางแสน เชื่อฝีมือประมงมักง่ายออกเรือเรือลากอวนได้ "ปลาหางโกย" ไม่มีราคาจับโยนทิ้งลงทะเลทำถูกคลื่นซัดเกยเต็มชายหาดส่งกลิ่นเหม็นคลุ้ง นักท่องเที่ยวบ่นอุบไม่กล้าลงเล่นน้ำ เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (26 มิ.ย.)? เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองแสนสุข ได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ว่า พบปลาตายเกยชายหาดบางแสนเป็นระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร จึงรีบเดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบ พบเป็นซาก "ปลาหางโกย" จำนวนมากที่กำลังส่งกลิ่นเหม็นเน่าไปทั่วชายหาด จึงเร่งส่งพนักงานเข้าเก็บซากปลาตายใส่รถเพื่อนำไปฝังกลบถึง 2 รอบ และยังพบว่ามีปลาตายลอยเกยชายหาดอย่างต่อเนื่อง ด้าน น.ส.พรทิพย์ (สงวนนามสกุล) เผยก่อนเกิดเหตุปลาตายลอยเกยชายหาดบางแสนตนได้เห็นมีเรือประมงเข้าล้อมจับปลากลางทะเลตั้งแต่ช่วงเย็นวานนี้ และเมื่อถึงช่วงสายวันนี้มีซากปลาลอยมาติดชายฝั่ง โดยเชื่อว่าปลาที่ตายน่าจะเป็น "ปลาหางโกย" ทั้งหมด เนื่องจากเป็นปลาที่มีก้างเยอะ และไม่มีราคา เมื่อชาวประมงจับได้จะทิ้ง ซึ่งที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์?เช่นนี้มาแล้ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ น้ำทะเลมีกลิ่นเหม็นคาวมากจนทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวกล้าเข้ามาพักผ่อนหรือเล่นน้ำ โดยเช้าที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้เก็บซากปลาไปทิ้งแล้วประมาณ 7 ตัน ขณะที่ น.ส.วราภรณ์ จันทวงศ์ อายุ 37 ปี นักท่องเที่ยวจาก จ.พระนครศรีอยุธยา บอกว่า ตนเองตั้งใจพาลูกมาเที่ยวที่ชายหาดบางแสนในวันหยุด เมื่อมาเจอเช่นนี้รู้สึกเซ็ง เพราะบริเวณที่นั่งมีกลิ่นเหม็นมาก และมีปลาตายลอยเข้ามาเกยชายหาดอย่างต่อเนื่องจนทำให้ไม่กล้าลงเลนน้ำ และจากการสอบถามนายพิสุทธิ์ พยุงวงษ์ อายุ 49 ปี ผู้ประกอบการเรือกล้วย ทราบว่าสาเหตุที่มีปลาตายเกยชายหาดบางแสนจำนวนมากน่าจะเกิดจากเรือประมงที่ล้อมจับปลาแล้วได้ "ปลาหางโกย" ซึ่งเป็นปลาที่ไม่มีราคาจึงปล่อยทิ้งลงทะเล และเหตุการณ์?นี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้แล้ว "ขอฝากถึงชาวประมงว่าหากล้อมแล้วได้ปลาแบบนี้ให้เก็บให้หมดอย่าเอาไปปล่อยทิ้งทะเล เพราะพอปลาเน่าตายมีกลิ่นเหม็น หากเป็นแบบนี้บ่อยๆ จะกระทบถึงการท่องเที่ยวที่จะไม่มีนักท่องเที่ยว?เดินทางมาเที่ยวบางแสนอีก" ผู้ประกอบการ?เรือกล้วย กล่าว https://mgronline.com/local/detail/9660000057893
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก
ไขปริศนา 'เอลนีโญ' รุนแรงจริงหรือไม่ เปิดข้อมูลอาจอยู่ไม่นานถึง 5 ปี ไขปริศนา 'เอลนีโญ' รุนแรงจะเริ่มรุ่นแรงช่วงไหน และจะอยู่ยาวนานเลยหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญเปิดข้อมูลปรากฏการณ์นี้กระทบฝนตกน้อยจริง ปีต่อไปไทยเผชิญปัญหาน้ำแล้ง แต่คาดการณ์ไม่ได้อยู่นานถึง 5 ปี สัญญาณเตือนจากภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ที่ไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน โดยในช่วงเดือน มี.ค.ยาวจนถึงเดือนพ.ค. คนไทยเผชิญคำดัชนีความร้อน จนเริ่มมีปรากฏการณ์แปลกๆ อย่างคำว่า คลื่นความร้อน ปรากฏในข่าวมากขึ้นทั้งๆที่ผ่านมาประเทศไทยอยู่ห่างไกลจากคำว่า คลื่นความร้อน อยู่มาก ประกอบช่วงที่ไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนมีผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศเริ่มออกมาทำนายถึงความรุนแรงของปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" มากขึ้น สร้างความวิตกและกังวลให้กับคนไทยอย่างมาก เพราะมีการคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ยาวถึง 5 ปี ซึ่งหากอยู่นานขนาดนั้นเท่ากับฝนก็จะตกน้อยลง และปริมาณน้ำในเขื่อนจะลดลงเรื่อยๆ ด้วย ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการจัดเสวนาวิชาการ หัวข้อ การส่งผ่านสภาพอากาศ ภูมิอากาศและน้ำ จากรุ่นสู่รุ่น และระบบการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคน เนื่องในงานวันคล้ายวันสถาปนากรมอุตุนิยมวิทยา ปี 2566 เพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรากฏการณ์เอลนีโญไว้อย่างน่าสนใจ ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา อธิบายถึงปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ การส่งผ่านสภาพอากาศ ภูมิอากาศและน้ำ จากรุ่นสู่รุ่น และระบบการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคน เนื่องในงานวันคล้ายวันสถาปนากรมอุตุนิยมวิทยา ปี 2566 ว่า ลักษณะอากาศที่เป็นอยู่ตอนนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกี่ยวข้องเรื่อง Climate Change ไม่ได้ ทุกสภาพเป็นไปในทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศทั้งสิ้น ที่ผ่านมาเจอปัญฝนตกเยอะเพราะลานีญา ทำให้ฝนตกเกิดนค่ามาตฐานทั้งปี 24% เท่ากับว่ามีฝนตกนอกฤดูมากขึ้น แต่ในปีนี้เราเจอกับ "เอลนีโญ" ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงปลายปี 2566 ฤดูร้อนในปีนี้ฝนตกน้อยมาก แต่อากาศร้อนแบบที่คนไทยไม่เคยเจอมาก่อน 44.6 องศา เท่ากับค่าเฉลี่ยที่เคยเกิดขึ้นในรอบสถิติ 30 ปี ที่ผ่านมาประเทศไทยเจอความกดอากาศต่ำด้านตอนบน ปกคลุมอย่างต่อเนื่องมีลมพัดมาตลอดเวลาจากแทบอินเดีย ทะเลทราย เมื่อปกคลุมหลายๆวันจะทำให้เกิดความร้อนสะสม จนเกิดคำถามว่าเป็นคลื่นความร้อนหรือไม่ แต่ประเทศไทยอุณภูมิสูงไม่เกินต่อเนื่องกันเกิน 5 วัน แต่ของประเทศไทยไม่ใช่คลื่นความร้อน ประกอบกับเรากำลังเปลี่ยนเข้าสู่ "เอลนีโญ" ด้วย จึงทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนกว่าปกติ เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นแต่เกิดมานานแล้ว แน่นอนว่า สมดุลความร้อนของโลกเปลี่ยนไป เพราะมนุษย์สร้างก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิยังเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง Climate Change มีผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น นับจากนี้ภัยจะรุนแรงมากขึ้น สังเกตุจากพายุฤดูร้อนที่มีความรุนแรงมากขึ้นเกิดฟ้าผ่าจนคนเสียชีวิต ทำให้ปีนี้พายุฤดูร้อนมีความโหดร้ายมากขึ้น เพราะมีความร้อนสะสม เมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาประเทศไทยมีการพูดถึง Monster Asian Heatwave มากยิ่งขึ้น ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า จากการศึกษาพบว่าอุณหภูมิสูงในพื้นที่ จ.ตาก และเลื่อนขึ้นไป จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้เราทราบแล้วว่าเส้นความร้อนจะอยู่ในบริเวณตอนบนของประเทศไทย ที่ผ่านมาพบว่ามีประชาชนเป็นฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด ทำให้มีตัวเลขผู้เสียชีวิตมากกว่า 12 คน เหตุการณ์คลื่นความร้อนกระทบไปจนถึงประเทศญี่ปุ่นปกติในช่วงหน้าร้อนเม.ย. เป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 12 องศาแค่ปีพุ่งไปที่ 30 องศา ด้านประเทศฟิลิปินส์มีเด็กเกิดภาวะฮีทสโตรกจำนวนมาก นอกจากนี้คลื่นความร้อนยังแพร่อิทธิพลไปจนถึงประเทศอินเดีย เนปาล เวียดนาม ลาว หากย้อนกลับมาที่ประเทศไทยมีการเก็บข้อมูลไว้ว่าเจออุณภูมิสูงสูดเจอที่จ.ตาก อุณหภูมิเฉลี่ย 30 ปี อยู่ที่ 38.5 องศา ปี 2566 เก็บข้อมูลได้ที่ 44.6 องศา สูงเกิน 5 องศาแต่ไม่ได้ต่อเนื่องกันเกิน 5 วัน ต้องศึกษาต่อว่าประเทศไทยมีคลื่นความร้อนหรือไม่ เพราะเงื่อนไขคลื่นความร้อนระบุว่า อุณภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 5 องศาอย่างน้อยติดต่อกัน 5 วัน แต่ของไทยยังคลุมเครือ ยังคงเกิดเป็นคำถามคาใจปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" ฝนจะแล้งจริงหรือไม่ จะมีผลกระทบอย่างไรบ้างต่อภาคเกษตรกรของไทย โดยเฉพาะข้าว ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุเอาไว้ว่า ลักษณะประเทศไทยฝนจะน้อยลง "เอลนีโญ" เป็นความผันแปรของอากาศ ช่วงฤดูร้อนปกติฝนน้อยอยู่แล้ว "เอลนีโญ" ทำให้ฝนหายไปเลยในฤดูร้อน ในช่วงเข้าฤดูฝนยังไม่พบว่าฝนตกทุกวัน และตกทั่วพื้นที่ จากข้อมูลพบว่าฝนตกปริมาณน้อย และยังไม่น่าพอใจ เพราะบางพื้นที่ไม่มีฝนเลยโดยเฉพาะพื้นที่หลังเขา เขตเงาฝนบริเวณภาคตะวันตกของอีสาน ไปถึงตอนกลาง แต่จะมีฝนมากบริเวณอีสานตะวันออก อีสานตอนบนส่วนภาคกลางฝนน้อยลง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลกระทบต่อการตกของฝน และทำให้ฝนตกน้อยงได้จริง ๆ ส่วนความรุนแรงของ "เอลนีโญ" ปีนี้จะแรงขึ้นช่วงประมาณ ส.ค.-ก.ย. และปลายปี 2566 จะแรงมากขึ้น เพราะเข้าสู่ช่วง "เอลนีโญ" หากถามว่าจะแล้งหรือไม่นั้นปี 2566 จะยังไม่แล้ง เพราะมีน้ำต้นทุนในเขื่อนมากอยู่ แต่ปี 2567 น้ำจะยิ่งน้อยลง น้ำจืดจะมีน้อยลง จึงจะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนว่าเกิดจาก "เอลนีโญ" และหมายถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ดังนั้นกรมอุตุฯ ต้องมีการวางแผนแจ้งเตือน แต่ภาวะการขาดน้ำจะยังไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามแต่ต้องประหยัดน้ำ แต่ปีต่อๆ ไปไทยจะเผชิญภาวะน้ำน้อย โดยเฉพาะนอกเขตพื้นที่ชลประทานที่จะเริ่มได้รับผลกระทบ นอกจากนี้กรมอุตุยังระบุขอเท็จจริงด้วยว่า "เอลนีโญ" จะอยู่ยาวนานเท่านั้น โดยจากการพยากรณ์จากแบบจำลองมีการคาดการณ์ว่า "เอลนีโญ" จะ มีลักษณะอุณภูมิร้อนขึ้นอยู่บริเวณประเทศไทย +1.5 และกำลังจะดิ่งลง โดยหากพิจารณาจากข้อมูลไม่เชื่อว่ามีค่ายาวนาน เพราะวัฏจักรเป็นระยะสั้น ไม่เคยเจอระยะยาว โอกาสที่จะเพิ่มมีแต่ไม่ได้ยาว และคาดการณ์ว่าต้นปี 2567 เอลนีโญน่าจะเป็นกลางและเข้าใกล้ลานีญา เพราะโลกมีความสวิงขึ้น ลง มีบวก และลบ แต่ลานีญา มีโอกาสเกิดยาวจริง แต่เอลนีโญโอกาสเกิดน้อยมาก เพราะโลกของเรามีขยับขึ้น-ลงต่อเนื่อง มีการปรับตลอดเวลาดังนั้นโอกาสที่จะอยู่ยาวจึงเกิดขึ้นไม่ได้มาก อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น จะส่งผลให้ประเทศไทยบางส่วนจะจมอยู่ในทะเลภายในอีกไม่กี่ปี คำถามนี้อาจจะเกิดขึ้นกับหลายคน เพราะมีการรายงานอย่างต่อเนื่องว่า น้ำแข็งขั้วโลกเริ่มมีการละลายมากขึ้น จากภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงทางภสพภูมิอากาศ ส่งผลให้น้ำแข็งและหิมะบริเวฯขั้วโลกและบนแผ่นทวีป ละลายลงสู่ทะเล ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ 2562 ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2549-2558 (30ปี) ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นประมาณ 100 มม. เฉลี่ยประมาณ 3.3 มม.ต่อปี โดยข้อมูล คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) คาดการณ์ว่าระดับน้ำมหาสมุทรทั่วโลกโดยเฉลี่ยอาจะเพิ่มขึ้นถึง 84 ซม.ในระหว่างปี 2562-2643 ตามความสูงทางภูมิศาสตร์ ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร จะเริ่มส่งผลในจังหวัด สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงทพมหานคร ก่อน เร็วที่สุดประมาณ ปี 2100 (เพิ่มขึ้น 2-4 องศา) ช้าที่สุดประมาณปี 2300 เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศา ดังนั้นกว่าที่ไทยจะจมทะแลอาจจะใช้เวลานานพอสมควร โดยสรุป คือ ปีไหนที่เกิด "เอลนีโญ" ฝนตกน้อยทุกปี ถ้ารุนแรงและต่อเนื่อ 2-5 ปีจะกระทบต่อการกักเก็บน้ำ น้ำท่วมโลกไม่มี แต่ถ้าน้ำท่วมประเทศ น้ำท่วมบางพื้นที่จะมีแน่นอน แต่น้ำท่วมโลกไม่มีเพราะโลกหมุนตลอดเวลา มีการปรับขึ้น-ลง ดังนั้การที่น้ำจะท่วมโลกไม่มีแน่นอน ต้องสร้างความตระหนักรู้ และให้ข้อมูลแก่ประชาชน https://www.komchadluek.net/quality-...ronment/552085
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
กองทุนสิ่งแวดล้อม กับการบริหารจัดการทรัพยากรฯ อย่างยั่งยืน 26 มิ.ย. ? ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ประชากรสัตว์ป่าลดลง พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย ขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากร การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน กระบวนการผลิตที่ทำลายสภาพแวดล้อมและการดึงเอาทรัพยากรไปใช้มากจนเกินไป ทำให้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมีความซับซ้อนและท้าทายมากยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีกลไกทางการเงินที่มั่นคง ที่จะมาทำหน้าที่สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืน และมีธรรมาภิบาล ที่เรียกว่า "กองทุนสิ่งแวดล้อม" กองทุนสิ่งแวดล้อมคืออะไร "กองทุนสิ่งแวดล้อม" เป็นทุนหมุนเวียน จัดตั้งขึ้นในกระทรวงการคลังตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เพื่อเป็นกลไกทางการเงินที่สร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนหน่วยงานเป้าหมายต่าง ๆ ทั้งส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม (NGOs) ในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการจัดการหรือจัดให้มีระบบบำบัดอากาศ น้ำเสีย และระบบกำจัดของเสีย สำหรับควบคุม บำบัด และกำจัดมลพิษ รวมทั้งการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามหลักการผู้ก่อให้เกิดมลพิษเป็นผู้จ่าย โดยให้การสนับสนุนเงิน ทั้งในลักษณะเงินอุดหนุนและเงินกู้ ซึ่งกรมบัญชีกลางเป็นผู้เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน และดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัตินี้ "กองทุนสิ่งแวดล้อม" มีเงินทุนเริ่มแรก 5,000 ล้านบาท จากเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิต จำนวน 500 ล้านบาท และเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 4,500 ล้านบาท และในช่วงปี พ.ศ. 2536-2538 รัฐบาลได้จัดสรรให้อีก 1,250 ล้านบาท และ 350 ล้านบาท รวมทั้งขอรับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation: JBIC) จำนวน 2,718 ล้านบาท นอกจากนี้ กองทุนสิ่งแวดล้อมยังมีรายได้หมุนเวียนจากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และเงินค่าบริการ หรือ ค่าปรับที่จัดเก็บได้จากการดำเนินการระบบน้ำเสียรวม หรือระบบกำจัดของเสียรวมของราชการที่จะได้รับในแต่ละปี (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับสนับสนุนเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมต้องส่งคืน) เป็นส่วนหนึ่งของรายรับที่จะนำไปใช้ประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จัดตั้งขึ้นอีกด้วย กองทุนสิ่งแวดล้อมมีรายได้จากไหน กองทุนสิ่งแวดล้อมมีรายได้มาจากเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิต เงินค่าบริการและค่าปรับที่จัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ และเงินจากดอกผลและประโยชน์ใดๆ ที่เกิดจากกองทุนนี้ ผลงานสำคัญของกองทุนสิ่งแวดล้อมในรอบ 3 ปี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา "กองทุนสิ่งแวดล้อม" ได้สนับสนุนเงินแก่กลุ่มเป้าหมายทั้งในลักษณะเงินอุดหนุนและเงินกู้ เพื่อดำเนินโครงการด้านการจัดการมลพิษ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้ ปีงบประมาณ 2564 สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง 75 จังหวัด รวมเป็นจำนวน 632 แห่ง ดำเนินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อให้เกิดชุมชนต้นแบบการคัดแยกขยะที่ต้นทาง อย่างน้อยจำนวน 1 หมู่บ้าน/ชุมชน และปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด หลังจากการดำเนินโครงการลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชนต้นแบบก่อนเริ่มดำเนินโครงการ ปีงบประมาณ 2565 -แก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยสนับสนุนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 3 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 69 โครงการ ดำเนินโครงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ?ชิงเก็บ ลดเผา? วงเงินรวมกว่า 66 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี (1 กุมภาพันธ์ 2564 ? 31 มกราคม 2565) เพื่อจัดเก็บเชื้อเพลิงนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่น้อยกว่า 1,300 ตัน และลดจุดความร้อน (Hot Spot) ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 -สนับสนุนเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) 47 แห่ง ในพื้นที่ 16 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ทสม. ในการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน วงเงินรวม 23.4 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี 6 เดือน (1 มีนาคม 2564 ? 31 สิงหาคม 2565) เพื่อดูแลจัดการไฟป่าและหมอกควัน จำนวน 300,000 ไร่ เกิดแนวกันชน จำนวน 600 กิโลเมตร ปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว จำนวน 70,000 ต้น เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังไฟป่า จำนวน 190 เครือข่าย และเกิดแผน กฎ กติกา ด้านการจัดการไฟป่า จำนวน 130 ฉบับ ปีงบประมาณ 2566 -สนับสนุนเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ทั่วประเทศ รวม 95 พื้นที่ วงเงินรวม 47.5 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมเครือข่าย ทสม. ในการดำเนินงาน โคก หนอง นา โมเดล และการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี (1 ตุลาคม 2565 ? 30 กันยายน 2567) เพื่อให้เกิดพื้นที่ทำเกษตรกรรมยั่งยืนที่สอดคล้องกับโคก หนอง นา โมเดล จำนวนรวม 1,548 ไร่ รวมถึงเกิดพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นจากการปลูกต้นไม้จำนวน 174,575 ต้น เกิดพันธุ์สัตว์น้ำ และสัตว์บก จำนวนรวม 474,675 ตัว สร้างความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นา เกิดความอุดมสมบูรณ์ในระบบนิเวศเกษตร คุณภาพดิน น้ำ และอากาศ ดีขึ้น จากการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรกว่า 101 ตัน เกิดการฟื้นฟู/บำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยอินทรีย์กว่า 477 ตัน -สนับสนุนองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศระดับจังหวัด วงเงินรวม 88.9 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี (1 พฤศจิกายน 2565 ? 31 ตุลาคม 2567) เพื่อจัดทำรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกและแผนการลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด และจัดทำรายงานสภาพการณ์ความเสี่ยง (Risk Profile) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดมาตรการปรับตัวและจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ ทสจ. เพื่อให้สามารถติดตามประเมินผลมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดและสามารถจัดทำรายงานสภาพการณ์ความเสี่ยงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ตลอดระยะเวลา 31 ปีที่ผ่านมา กองทุนสิ่งแวดล้อมได้ทำหน้าที่เป็นกลไกทางการเงินของประเทศไทย ในการส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งรูปแบบการปฏิบัติงานในเชิงรับ ตลอดจนการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐในเชิงรุก ทั้งยังได้ปรับทิศทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และสนับสนุนนโยบายสำคัญๆ ของประเทศ ปรับกระบวนการพิจารณาโครงการ และช่วยให้คำแนะนำต่อการพัฒนาโครงการ เพื่อให้โครงการสามารถเดินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการมลพิษรวมทั้งสามารถเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในระดับพื้นที่ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เข้มแข็งและมั่นคง เพื่อสร้างฐานในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศในระยะยาว. https://tna.mcot.net/business-1196352
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|